Tag: ASP.NET

  • เทคนิคการขยับแถวขึ้นลงใน Table ด้วยวิธี Drag & Drop ใน Blazor

    สำหรับ blog นี้ของผู้เขียน ถือว่าเป็นซีรี่ส์ที่ต่อเนื่องมาจาก https://sysadmin.psu.ac.th/2021/05/25/ขยับแถว-row-ขึ้น-ลง-ใน-asp-net-gridview-ด้วย-j/ และ https://sysadmin.psu.ac.th/2021/05/27/ขยับแถว-row-ขึ้น-ลง-ใน-asp-net-gridview-ด้วย-c/ ก็คือผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการขยับแถวอีกวิธีหนึ่ง ที่น่าจะเฟรนด์ลี่ต่อผู้ใช้มากกว่า นั่นก็การ Drag & Drop ก็คือผู้ใช้งานสามารถเลือกคลิก ลาก และวาง เพื่อจัดลำดับได้ตามความต้องการ ซึ่งเมื่อผู้เขียนมาทำงานบน Blazor พบว่าการ implement เรื่องนี้สามารถทำได้ง่ายมาก โดยไม่ต้องพี่งพา javascript แต่อย่างใด เรามาดูกันเลยครับ

    1. เพิ่มโค้ด HTML ในส่วนของการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ Table

    @if (provinces != null)
    {
        <table class="table table-striped" >
            <thead>
                <tr >
                    <th>ลำดับ</th>
                    <th>จังหวัด</th>
                </tr>
            </thead>
            <tbody>
                @foreach (var pr in provinces)
                {
                    <tr role="button" class="cursor-pointer"  >
                        <td>@pr.ID</td>
                        <td>@pr.Name</td>
                    </tr>
                }
            </tbody>
        </table>
    }

    2. เพิ่มโค้ด C# ในส่วนที่ควบคุมการทำงานและจำลองข้อมูล

    private List<Province> provinces = new List<Province>();
    
    protected override void OnInitialized()
    {
    
    	provinces.AddRange(new List<Province> {
    		new Province(1,"สงขลา"),
    		new Province(2,"ปัตตานี"),
    		new Province(3,"ยะลา"),
    		new Province(4,"นราธิวาส"),
    		new Province(5,"สตูล")
    	});
    
    }
    
    public class Province
    {
    	public Int32 ID;
    	public string Name;
    	public Province(int id, string name)
    	{
    		ID = id;
    		Name = name;
    	}
    }

    ซึ่งจะได้ผลลัพธ์หน้าจอดังรูป และเป้าหมายของเราก็คือสามารถคลิกเลือกจังหวัด จากนั้นลากและวางไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้

    3. จากนั้นเพิ่มโค้ดส่วนที่ควบคุมการ Drag และ Drop ทั้งใน HTML และ C#

    @if (provinces != null)
    {
        <table class="table table-striped" ondragover="event.preventDefault();">
            <thead>
                <tr >
                    <th>ลำดับ</th>
                    <th>จังหวัด</th>
                </tr>
            </thead>
            <tbody>
                @foreach (var pr in provinces)
                {
                    <tr role="button" class="cursor-pointer" draggable="true"
                @ondrop="@(()=> Drop(pr))" @ondrag="@(e => StartDrag(pr))" >
                        <td>@pr.ID</td>
                        <td>@pr.Name</td>
                    </tr>
                }
            </tbody>
        </table>
    }
    • ondragover=”event.preventDefault();” เป็นการขัดขวางการทำงานปกติของการ drag บน object เพื่อให้สามารถ drop ได้
    • @ondrop=”@(()=> Drop(pr))” เรียกฟังก์ชัน Drop พร้อมกับส่ง pr (จังหวัด) เมื่อมีเหตุการณ์ drop เกิดขึ้น
    • @ondrag=”@(e => StartDrag(pr))” เรียกฟังก์ชัน StartDrage พร้อมกับส่ง pr เมื่อมีเหตุการณ์ drag เกิดขึ้น
    /// <summary>
    /// เก็บตำแหน่งของจังหวัดที่คลิกเลือก เมื่อเริ่ม drag
    /// </summary>
    /// <param name="province"></param>
    private void StartDrag(Province province)
    {
    	currentIndex = GetIndex(province);
    }
    
    /// <summary>
    /// หาตำแหน่งของจังหวัดที่อยู่จาก list
    /// </summary>
    /// <param name="province"></param>
    /// <returns></returns>
    int GetIndex(Province province)
    {
    	return provinces.FindIndex(p => p.ID == province.ID);
    }
    
    /// <summary>
    /// เมื่อ Drop จังหวัดที่ drag มาลงในตำแหน่งที่ต้องการ
    /// </summary>
    /// <param name="province"></param>
    void Drop(Province province)
    {
    	if (province != null)
    	{
    		// หาตำแหน่งของจังหวัดที่ถูก drop
    		var index = GetIndex(province);
    
    		// หาจังหวัดที่ถูก drag มา จาก index ที่เก็บไว้ตั้งแต่เริ่ม drag
    		var current = provinces[currentIndex];
    
    		// ลบจังหวัดที่ถูก drag มา ออกจาก list
    		provinces.RemoveAt(currentIndex);
    
    		// แทรกจังหวัดที่ถูก drag มา ลงในตำแหน่งที่ drop
    		provinces.Insert(index, current);
    
    		StateHasChanged();
    	}
    }

    4. เมื่อทดสอบการทำงาน รายชื่อจังหวัดในตารางจะสามารถคลิก ลาก และวางไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้

    5. และเมื่อ drop ลงไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จังหวัดที่ลากมาก็จะแทรกเข้าไปยังตำแหน่งที่ drop

    ขั้นตอนถัดไป ท่านผู้อ่านก็แค่ทำการบันทึกตำแหน่งใหม่ของจังหวัดลงในฐานข้อมูลหรือทำอย่างอื่นได้ต่อไป ซึ่งวิธีการนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคอมโพเน้นอื่นๆ ได้ เช่น li, div หรืออย่างอื่นที่ผู้ใช้ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายการ

    ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ


    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • เทคนิคการดึงข้อมูล Youtube Video ผ่าน Youtube API

    กลับมาพบกับท่านผู้อ่านอีกครั้งหนึ่ง หลังจากห่างหายกันไปนาน เนื่องจากผู้เขียนได้รับโจทย์ที่ทำให้ต้องทำการ research เล็กน้อย จึงขอนำมาบันทึกไว้กันลืมสำหรับตัวเอง และเผื่อท่านผู้อ่านแวะเข้ามาจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

    โจทย์ที่ว่าก็คือ จะต้องดึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของ Youtube จาก URL ที่ระบุ ไม่ว่าจะเป็น Thumbmail, Title, Description ซึ่งจากการไปศึกษา API ที่ Youtube ได้จัดเตรียมไว้ให้ ก็พบว่าสามารถใช้งานได้อย่างไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด เพียงแต่เราจะต้องมี API Key ที่ต้องใช้ในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของ Youtube ดังนั้นเริ่มต้นเราจะไปดูวิธีการให้ได้มาซึ่ง API Key ก่อน

    1. เข้าไปที่ https://console.cloud.google.com/cloud-resource-manager และ login ด้วย google account ให้เรียบร้อย จากนั้นทำการสร้าง Project ใหม่

    2. ป้อนชื่อโปรเจ็ค ในที่นี้สมมติเป็น Sample Project กด CREATE

    3. จากนั้นให้ทำการ Enable API เพื่อให้โปรเจ็คที่เราสร้างสามารถใช้งานได้ โดยให้ไปที่เมนูแฮมเบอร์เกอร์ -> APIs & Services -> Enabled APIs & services

    4. กด + ENABLE APIS AND SERVISES

    5. ค้น Youtube Data API

    6. เลือก YouTube Data API v3 และกด Enable

    7. กด Enable

    8. กลับไปที่ Enable APIS And Services และเลือก YouTube Data API v3

    9. เลือก CREATE CREDENTIALS

    10. เลือก Public data และกด NEXT

    11. จะได้ API Key ที่จะนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อดึงข้อมูลจาก Youtube API ให้สำเนาเก็บไว้ใช้งานในขั้นตอนต่อไป

    เมื่อเราได้ API Key มาแล้ว เราก็จะมาถึงขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมกันต่อ เนื่องจากในตอนนี้ผู้เขียนพัฒนาโปรเจ็คต่างๆ ด้วย Blazor ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คปัจจุบันของ ASP.NET ตัวอย่างโค้ดผู้เขียนก็จะขอเขียนด้วย Blazor ซึ่งในส่วนของการติดต่อ API ก็น่าจะพอเป็นแนวทางให้กับการพัฒนาด้วยเฟรมเวิร์คอื่นหรือภาษาอื่นได้ และเพื่อไม่ให้บล็อกนี้ยาวเกินไป ผู้เขียนขอข้ามขั้นตอนการสร้างโปรเจ็คไปเลย

    1. เริ่มต้นเพื่อให้โปรเจ็คของเราสามารถใช้งาน Youtube API ได้ เราจะต้องติดตั้ง Library ที่จำเป็นก่อน โดยเราจะติดตั้งผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Nuget โดยคลิกขวาที่โปรเจ็ค เลือก Manage Nuget Packages…

    2. ค้น Youtube เลือก Google.Apis.Youtube.v3 และ Install

    3. และเพื่อให้ page ที่เราจะเขียนโปรแกรมติดต่อกับ Youtube API สามารถใช้งาน Library ดังกล่าวได้ เราจะต้องเพิ่ม using Library นั้นๆ เข้ามาก่อน

    @using Google.Apis.Services
    @using Google.Apis.YouTube.v3
    @using Google.Apis.YouTube.v3.Data
    

    4. สร้าง YoutubeService เพื่อใช้ในการติดต่อ API และเราจะกำหนด API Key ใน object นี้ ดังโค้ดตัวอย่าง

    var youtubeService = new YouTubeService(new BaseClientService.Initializer()
    {
        ApiKey = "XXxxXxXxXXX0xxxxXXxxxXxXXxxxxXXxX0XX0x0",
        ApplicationName = this.GetType().ToString()
    });

    5. สร้าง object ListRequest และกำหนดข้อมูลที่ต้องการเป็น snippet ผ่านเมทธอด List ซึ่ง snippet จะเป็น object ที่บรรจุข้อมูลต่างๆ ของวิดีโอยูทูปนั้นๆ

    VideosResource.ListRequest req = youtubeService.Videos.List("snippet");

    6. กำหนดค่าแปรวิดีโอที่เราต้องการดึงข้อมูล ซึ่งจะเป็น parameter ที่อยู่หลังตัวแปร v เช่น https://www.youtube.com/watch?v=4VTx7oIzv_8 ค่าที่เราต้องการคือ 4VTx7oIzv_8

    req.Id = "4VTx7oIzv_8";

    7. จากนั้นทำการดึงข้อมูลจาก Youtube โดยเรียกเมทธอด Execute และดึงข้อมูลที่ต้องการจาก property ต่างๆ ที่อยู่ใน object Snippet

    VideoListResponse resp = req.Execute();
    if (resp.Items.Count > 0)
    {
    	title = resp.Items.ElementAt(0).Snippet.Title;
    	description = resp.Items.ElementAt(0).Snippet.Description;
        ThumbnailDetails tmb = resp.Items.ElementAt(0).Snippet.Thumbnails;
        thumbnail = tmb.Default__.Url;
    }

    8. และโด้ด HTML ส่วนแสดงผล

    <p><b>URL : </b> @url</p>
    <p><b>Title : </b> @title</p>
    <p><b>Description : </b> @title</p>
    <p><b>Thumbnail : </b> </p>
    <img src="@thumbnail" />

    9. จะได้ผลลัพธ์ดังตัวอย่าง

    10. นอกจากนี้ผู้อ่านสามารถดึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ video นั้นๆ ได้ผ่าน object Snippet รวมทั้งมี object ย่อยๆ อีกมากมายอย่างเช่น Thumbnails เป็นต้น หรือผู้อ่านจะทดสอบการทำงานได้ง่ายๆ ผ่าน query string โดยให้แทนที่ API Key ด้วยคีย์ของท่านเอง และ Video ID ด้วย ID ของ Video ที่ต้องการได้เลย ดังตัวอย่าง

    https://www.googleapis.com/youtube/v3/videos?part=snippet&id={video IDs}&key={API key}

    สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย ขอบคุณสำหรับการแวะเข้ามาอ่าน และสวัสดีครับ


    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • การติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET บน IIS

    สำหรับนักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ที่จะต้องทำหน้าที่ครบวงจร (Full Stack Programer) สิ่งที่ต้องทำหลังจากพัฒนาเว็บขึ้นมาเสร็จแล้ว คือการติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ (Deploy) ในบทความนี้จะเล่าขั้นตอนหลักๆ ในการติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET (ไม่ว่าจะพัฒนาด้วย .Net Framework เวอร์ชันไหนก็ขั้นตอนเดียวกัน เปลี่ยนแปลงแค่ .Net Runtime ที่ใช้งาน) บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ IIS (Internet Information Services) ซึ่งหน้าตาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวอร์ชันของ IIS แต่ขั้นตอนการตั้งค่ายังคงคล้ายคลึงกัน

    Publish เว็บไซต์ (กรณีใช้ Visual Studio)

    1.คลิกขวาที่ชื่อโปรเจ็ค เลือก Publish

    2.จะได้หน้าจอเลือกประเภทในบทความนี้เลือกเป็น Folder เพื่อใช้วิธีการ Deploy แบบนำไฟล์ไปวางที่ Server เอง ดังรูป

    3. เลือกที่ตั้งไฟล์ กด Finish

    4. ตั้งค่าการ Publish จากในรูปคือให้ลบไฟล์ที่มีอยู่ก่อน และใช้รูปแบบ Release ในการ Compile

    5. ตัวอย่างไฟล์ที่ทำการ Publish เสร็จแล้ว

    6. ทำการ Copy ไฟล์ทั้งหมดไปวางใน wwwroot บน Server

    ติดตั้ง Component ต่างๆ

    1.ในบทความนี้ใช้ Windows Server 2016 Datacenter เป็นตัวอย่าง ซึ่งการติดตั้ง Component ต่างๆ สามารถทำได้ผ่าน Server Manager > Manage > Add Roles and Features ได้เกือบทั้งหมด ยกเว้น Runtime อื่นๆที่เว็บไซต์มีการนำมาใช้งานเพิ่มเติม

    2. ติดตั้ง IIS , ASP.NET และ Component ที่เกี่ยวข้อง โดยไปที่ Server Role > Web Server (IIS) และทำการเลือก Component ต่างๆดังรูป จากนั้นกด Next

    3. ติดตั้ง .Net Framework เวอร์ชันที่เว็บไซต์ใช้งาน ในตัวอย่างใช้ .Net Framework 4.6 โดยสามารถเลือกจาก เมนู Features ดังรูป

    4. เท่านี้ก็จะมี Component ที่จำเป็นในการติดตั้งเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย ASP.NET แล้ว

    สร้าง และตั้งค่า Application Pool

    1.เปิดโปรแกรม IIS โดยไปที่ Start > Windows Administrative Tools > Internet information Services (IIS) จะได้หน้าจอดังรูป

    2. เลือกเมนู Application Pool จากนั้นคลิก Add Application Pool จะได้หน้าจอการตั้งค่าดังรูป โดยที่ .Net CLR Version จะแยกเป็น 2.0.xxx และ 4.0.xxx โดยหากต้องการใช้งาน .Net Runtime 3.5 – 4.x สามารถเลือกเป็น 4.0.x ได้ทั้งหมด

    3. เมื่อสร้างสำเร็จ จะมีรายการ Application Pool ที่เราสร้างดังรูป

    สร้าง และตั้งค่าเว็บไซต์ ทดสอบเรียกใช้งาน

    1.ในการสร้างไซต์นั้น หากบน Server นั้นยังไม่มีเว็บไซต์ใดๆ สามารถใช้ Default Web Site ได้เลย แต่ถ้ามีเว็บไซต์อื่นๆอยู่ก่อนแล้ว จะต้องพิจารณาว่าจะให้บริการในแบบใด เป็น Application ที่อยู่ภายใต้เว็บไซต์เดิม หรือแยกออกมาเป็นอีก URL ในส่วนนี้ บทความจะไม่ลงรายละเอียด โดยจะแสดงวิธีการเพิ่ม ไซต์ใหม่ภายใต้ URL เดิมที่มีอยู่แล้วโดยเลือกเมนู Add Website จะได้หน้าจอการตั้งค่าดังรูป

    2. จากนั้นทำการตั้งค่า Default Document โดยคลิกเลือกที่ชื่อเว็บไซต์ เลือกไฟล์ที่ต้องการกำหนดเป็นหน้าแรกของเว็บไซต์

    3. ตั้งค่าต่างๆของเว็บไซต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละเว็บไซต์ว่ามีการใช้งาน Feature ใดบ้าง ดังรูป (อีกช่องทางนึงคือการแก้ไขไฟล์ web.config โดยตรง)

    4. ทำการทดสอบเรียกใช้งาน โดยคลิกที่เมนู Browse เพื่อเรียกดูแบบ Localhost หรือหากมี URL อยู่แล้วสามารถเรียกดูผ่าน URL/ApplicationName ดังรูป

    ในขั้นตอนติดตั้งชิ้นงานจริง แน่นอนว่าอาจมีขั้นตอนเพิ่มเติมตามแต่ละเว็บไซต์ และอาจพบปัญหาต่างๆ แตกต่างกันไปตามเวอร์ชันของวินโดวส์, IIS, .Net Runtime แต่อย่างไรก็ดีหวังว่าบทความนี้จะเป็นไกด์ไลน์ ให้เห็นภาพขั้นตอนคร่าวๆในการติดตั้งเว็บไซต์หนึ่งๆ สำหรับผู้เริ่มต้นครับ

  • เรียนรู้วิธีการ Import ข้อมูลในรูปแบบไฟล์ Excel ในแบบ Single และ Multiple sheet ด้วย ASP.NET (C#)

                “ข้อมูล” นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการทำงานหรือการแสดงผลข้อมูลของระบบหรือเว็บไซต์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจมีที่มาจากการจัดการเองผ่านระบบจัดการข้อมูล (Back office) หรือมีการนำเข้าจากแหล่งอื่นเนื่องจากข้อมูลที่ต้องการบันทึกเข้าสู่ระบบดังกล่าวอาจมีจำนวนมาก ทำให้การป้อนข้อมูลผ่านระบบทีละรายการเป็นไปอย่างลำบากและเกิดความผิดพลาดได้โดยง่าย เช่น ข้อมูลการเงิน ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น อีกทั้งยังพบว่ามีบางกรณีที่ผู้ใช้มีความต้องการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลและส่งออกมาในรูปแบบไฟล์อื่นๆเพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้โดยง่าย ซึ่งโดยทั่วไปผู้ใช้มักเก็บข้อมูลเหล่านี้ในรูปแบบไฟล์ต่างๆ เช่น ไฟล์ Excel หรือ ไฟล์ Access ดังนั้น นักพัฒนาของระบบที่มีความต้องการจัดการข้อมูลในลักษณะนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อมูลตามรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนขอเสนอวิธีการ Import ข้อมูลให้ออกมาในรูปแบบไฟล์ Excel พัฒนาโดยใช้ ASP.NET ด้วย C# เนื่องจากเป็นกรณีความต้องการที่พบบ่อยและสามารถนำข้อมูลจากไฟล์ไปใช้งานต่อได้โดยง่าย ซึ่งจะพูดทั้งในลักษณะแบบ Single sheet และแบบ Multiple sheet เพื่อที่จะช่วยให้ผู้พัฒนาที่มีความสนใจสามารถเห็นภาพการทำงานโดยรวม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบที่ท่านกำลังพัฒนาอยู่ได้

    กรณีนำเข้าข้อมูล(Import) ซึ่งในบทความนี้จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

    • การนำเข้าข้อมูลแบบ Single sheet ถือเป็นการนำเข้าในแบบทั่วไป ไม่ซับซ้อนมากนัก
    ฝั่ง Client
    <%@ Page Language="C#" AutoEventWireup="true" 
    CodeFile="Excel.aspx.cs" Inherits="ExcelTest" %>
    <!DOCTYPE html PUBLIC "-//W3C//DTD XHTML 1.0 Transitional//EN" "http://www.w3.org/TR/xhtml1/DTD/xhtml1-transitional.dtd">
    <html xmlns="http://www.w3.org/1999/xhtml">
    <head runat="server">
    <title></title>
    </head>
    <body>
    <form id="form1" runat="server">
    <asp:FileUpload ID="FileUpload1" runat="server" />
    <div>
    <asp:GridView ID="GridView" runat="server">
    </asp:GridView>
    <asp:Button ID="btnImport" runat="server" 
    onclick="btnImport_Click" Text="Import" />
    </div>
    </form>
    </body>
    </html>
    ฝั่งเซิร์ฟเวอร์
    protected void btnImport_Click(object sender, EventArgs e)
    {
    try
    {
    ////เป็นการกำหนดชื่อของไฟล์ที่ต้องการจะบันทึกลงเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีการระบุพาธรวมทั้งนามสกุลของไฟล์ตามไฟล์ที่รับเข้ามา
    string fileName =  Path.Combine(Server.MapPath("~/ImportDocument"), Guid.NewGuid().ToString() + Path.GetExtension(FileUpload1.PostedFile.FileName));
    
    ////บันทึกไฟล์ดังกล่าวลงเซิร์ฟเวอร์
    FileUpload1.PostedFile.SaveAs(fileName);
    
    string conString = "";
    
    string ext = Path.GetExtension(FileUpload1.PostedFile.FileName);
    
    ////เป็นส่วนของเงื่อนไขในการตั้งค่า ConnectionString ในการอ่านไฟล์ Excel ด้วย OleDb ซึ่งจะแยกด้วยนามสกุลของไฟล์ Excel ที่รับมา
    if (Path.GetExtension(ext) == ".xls")
    {
    conString = "Provider=Microsoft.Jet.OLEDB.4.0;Data Source=" +
     fileName + ";Extended Properties=\"Excel 8.0;HDR=Yes;IMEX=2\"";
    }
    else if (Path.GetExtension(ext) == ".xlsx")
    {
    conString = @"Provider=Microsoft.ACE.OLEDB.12.0;Data Source=" + 
    fileName + ";Extended Properties='Excel 12.0;HDR=YES;IMEX=1;';";
    }
    
    ////เป็นการเปิดการเชื่อมต่อผ่าน OleDb
    OleDbConnection con = new OleDbConnection(conString);
    
    if (con.State == System.Data.ConnectionState.Closed)
    {
    con.Open();
    }
    
    
    DataTable dtExcelSchema;
    
    dtExcelSchema = con.GetOleDbSchemaTable(OleDbSchemaGuid.Tables,
     null);
    ////ดึงค่าชื่อของ Worksheet ที่อ่านมาจากไฟล์ Excel ที่รับเข้ามา
    string SheetName = dtExcelSchema.Rows[0]["TABLE_NAME"].ToString();
    
    ////เขียนคำสั่งในการดึงข้อมูลจาก Worksheet ดังกล่าว ซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้ายกับการเขียนคำสั่ง sql command ในการดึงข้อมูลตารางโดยทั่วไป และเปรียบ Worksheet นั้นเป็นตาราง
    string query = "Select *  from [" + SheetName + "]";
    
    OleDbCommand cmd = new OleDbCommand(query, con);
    OleDbDataAdapter da = new OleDbDataAdapter(cmd);
    DataSet ds = new DataSet();
    da.Fill(ds);
    da.Dispose();
    con.Close();
    con.Dispose();
    ////เป็นการสมมติโครงการสร้างตาราง หากเป็นการทำงานจริงส่วนนี้จะหมายถึงตารางในฐานข้อมูลของแต่ละระบบ
    DataTable table = new DataTable();
    table.Columns.Add("EmployeeID", typeof(string));
    table.Columns.Add("EmployeeName", typeof(string));
    ////เป็นการวนค่าเพื่อบันทึกลงฐานข้อมูล แต่ในกรณีนี้จะเป็นเพียงแค่การเพิ่มแถวข้อมูลลงใน datatable ที่ชื่อ table เท่านั้น
    foreach (DataRow dr in ds.Tables[0].Rows)
    {
    //// dr["EmployeeID"].ToString() ชื่อของค่าฟิลด์ต้องตรงกับชื่อของคอลัมน์ใน Worksheet ที่อ่านมาจากไฟล์ Excel
    table.Rows.Add(dr["EmployeeID"].ToString(), dr["EmployeeName"].ToString());
    }
    ////นำค่าที่ได้แสดงในกริดวิว
    GridView.DataSource = table;
    GridView.DataBind();
    
    }
    catch (Exception)
    {
    throw;
    }
    }
    • การนำเข้าข้อมูลแบบ Multiple Sheet จะใช้ในกรณีที่มีจำนวนของ Worksheet ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับข้อมูล ซึ่งจะมีความซับซ้อนกว่าแบบแรก โดยหลักการทำงานโดยสรุปจะเป็นในลักษณะของการดึงข้อมูล Worksheet ที่มีทั้งหมดในไฟล์ Excel ที่อ่านได้ และนำไปเพื่อวนอ่านค่าข้อมูลในแต่ละชีทและนำค่าเหล่านั้นลงฐานข้อมูล ซึ่งจะอธิบายเป็นส่วนๆดังนี้
    1. การดึงข้อมูลชื่อ Worksheet ที่มีทั้งหมดในไฟล์ที่รับเข้ามา
     public static string[] getExcelSheets(string mFile)
    {
    try
    {
    string strXlsConnString;
    strXlsConnString = "Provider=Microsoft.Jet.OLEDB.4.0;Data Source=" + mFile + ";Extended Properties='Excel 8.0;HDR=Yes;IMEX=1'";
    OleDbConnection xlsConn = new OleDbConnection(strXlsConnString);
    xlsConn.Open();
    
    ////เป็นการดึงค่าชื่อ Worksheet ของไฟล์ excel ที่กำลังอ่าน โดยตารางหรือชีทใน Excel จะมีสัญลักษณ์ $ ต่อท้ายชื่อเสมอ
    DataTable xlTable = new DataTable();
    xlTable = xlsConn.GetOleDbSchemaTable(OleDbSchemaGuid.Tables, null);
    System.String strExcelSheetNames = "";
    string sheetName;
    for (int lngStart = 0; lngStart < xlTable.Rows.Count; 
    lngStart++)
    {
    ////เป็นการเอา '' ออกจากชื่อตาราง/worksheet ที่ดึงมาได้
    sheetName = xlTable.Rows[lngStart][2].ToString().Replace("'", "");
    
    ////เป็นการคัดกรองเฉพาะตัวที่เป็นตารางหรือworksheet เนื่องจากจบด้วย $
    if (sheetName.EndsWith("$"))
    {
    ////เป็นการเชื่อมตัวสุดท้ายด้วย ~ เพื่อใช้ในการตัดคำในขั้นตอนถัดไป
    strExcelSheetNames += sheetName.Substring(0, sheetName.Length - 1) + "~";
    }
    }
    ////เป็นการตัด  ~ ตัวสุดท้ายออกจากการเชื่อมคำ
    if (strExcelSheetNames.EndsWith("~"))
    {
    strExcelSheetNames = strExcelSheetNames.Substring(0,
    strExcelSheetNames.Length - 1);
    }
    xlsConn.Close();
    xlsConn.Dispose();
    char[] chrDelimter = { '~' };
    ////เป็นการตัดคำด้วย ~ และส่งค่าตัวแปร array ของ string ที่เป็นชื่อ worksheet ทั้งหมดที่อ่านได้กลับไป
    return strExcelSheetNames.Split(chrDelimter);
    
    }
    catch (Exception exp)
    {
    throw new Exception("Error while listing the excel" +
    " sheets from upload file " + exp.Message, exp);
    }
    }
    2. การอ่านค่าข้อมูลใน Worksheet ที่มีทั้งหมดในไฟล์ที่รับเข้ามา โดยมีการส่งค่าของชื่อ Worksheet และชื่อของไฟล์ที่อ่าน รวมทั้งฟิลด์เพิ่มเติมที่ต้องการระบุในการอ่านค่า ซึ่งจะทำงานในลักษณะเดียวกับการ Import แบบ Single sheet นั่นเอง
    public static DataSet getXLData(string xlSheetName,
    string xlFileName, string AdditionalFields)
    
    {
    try
    {
    string connstr = "Provider=Microsoft.Jet.OLEDB.4.0;Data Source=" 
    +  xlFileName + ";Extended Properties='Excel 8.0;HDR=Yes;IMEX=1'";
    OleDbConnection xlConn = new OleDbConnection(connstr);
    DataSet xlTDS = new DataSet("xlDataSet");
    xlConn.Open();
    OleDbDataAdapter xlDA = new OleDbDataAdapter("Select" + AdditionalFields +  " * from [" + xlSheetName + "$] ", xlConn);
    xlDA.Fill(xlTDS);
    xlConn.Close();
    xlConn.Dispose();
    
    ////เป็นการลบแถวที่มีค่าว่างออกจากการอ่านข้อมูลในไฟล์
    RemoveEmptyRows(xlTDS.Tables[0], (AdditionalFields.Length -
    
    AdditionalFields.ToLower().Replace(" as ", "").Length) / 4);
    
    return xlTDS;
    }
    catch (Exception e)
    {
    throw new Exception("Error while reading data from excel sheet", e);
    }
    }
    
    public static void RemoveEmptyRows(DataTable dtbl,
    
    System.Int32 intNumberOfFieldsToIgnore) ////เป็นการตรวจสอบค่าว่างในแต่ละแถว
    System.String strFilter = "";
    System.Int32 intAvgColsToCheck =
    Convert.ToInt32((dtbl.Columns.Count - intNumberOfFieldsToIgnore) * 0.75);
    if (intAvgColsToCheck < 3)
    {
    intAvgColsToCheck = dtbl.Columns.Count;
    }
    System.Int32 lngEnd = dtbl.Columns.Count;
    lngEnd = lngEnd - intAvgColsToCheck;
    
    ////เป็นการเชื่อมเงื่อนไขในการดึงข้อมูลว่าให้ฟิลด์ใดบ้างที่ห้ามเป็นค่าว่าง ในที่นี้จะทำการวนดูคอลัมน์ที่มีใน worksheet นั้นๆ และเชื่อมเป็นเงื่อนไข
    for (int lngStartColumn = dtbl.Columns.Count;
    lngStartColumn > lngEnd; lngStartColumn--)
    {
    strFilter += "[" + dtbl.Columns[lngStartColumn - 1].ColumnName +
    "] IS NULL AND ";
    
    }
    
    ////ทำในกรณีที่มีอย่างน้อย 1 คอลัมน์ถูกเพิ่มเป็นเงื่อนไขในการตรวจสอบค่าว่าง และลบคำว่า “AND” สุดท้ายออก เพื่อนำไปใช้งานในการกรองข้อมูลตามเงื่อนไขนี้
    if (strFilter.Length > 1)
    {
    strFilter = strFilter.Remove(strFilter.Length - 4);
    
    }
    DataRow[] drows = dtbl.Select(strFilter);
    ////ลบแถวเมื่อพบว่าค่าของฟิลด์นั้นๆ เป็นค่าว่าง
    foreach (DataRow drow in drows)
    {
    dtbl.Rows.Remove(drow);
    }
    }
    3. เขียนการทำงานเมื่อกดปุ่ม “Import”
    protected void btnImport_Click(object sender, EventArgs e)
    
    {
    ////เรียกใช้เมธอดในการบันทึกไฟล์ Excel ที่รับเข้ามาตามพาธของโฟลเดอร์ที่กำหนด
    string fileName = uploadXLFile(FileUpload, Server.MapPath("~/ImportDocument"));
    
    ////เรียกใช้เมธอดในการดึงค่าชื่อ WorkSheet ที่มีทั้งหมดในไฟล์ โดยมีตัวแปร array ชนิด string มารับข้อมูลดังกล่าว
    string[] listExcelSheet = getExcelSheets(fileName);
    
    DataSet DSTotal = new DataSet();
    ////วนลูปข้อมูล WorkSheet ตามชื่อในตัวแปร array และส่งค่าให้กับเมธอดที่ใช้ในการอ่านค่าข้อมูลในแต่ละ WorkSheet นั้น
    for (int i = 0; i < listExcelSheet.Count(); i++)
    {
    DataSet DS = getXLData(listExcelSheet[i], fileName, "");
    DSTotal.Merge(DS);
    
    }
    
    ////แสดงผลตัวอย่างข้อมูลที่อ่านได้ในกริดวิว ซึ่งในการใช้งานจริงในส่วนนี้ผู้พัฒนาจะต้องนำข้อมูลที่อ่านได้เหล่านี้วนบันทึกลงฐานข้อมูลเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในการ Import ข้อมูลแบบ Single sheet นั่นเอง
    if (DSTotal.Tables[0].Rows.Count > 0)
    {
    GvData.DataSource = DSTotal.Tables[0];
    GvData.DataBind();
    
    }
    }
    }
    
     public static string uploadXLFile(FileUpload fileUpload, string mPath)
     {
     mPath = Path.Combine(mPath ,Guid.NewGuid().ToString() + Path.GetExtension(fileUpload.PostedFile.FileName));
     fileUpload.SaveAs(mPath);
     return mPath;
     }
    
    

     

    จะเห็นว่าจริงๆแล้วการทำงานใน 2 ลักษณะจะมีหลักการพื้นฐานคล้ายกัน ซึ่งจะสรุปได้ดังนี้

    • บันทึกไฟล์ Excel บนเซิร์ฟเวอร์ตามพาธที่กำหนดเพื่อให้สามารถเรียกอ่านค่าได้
    • เชื่อมต่อกับ OleDb โดยการกำหนดค่าต่างๆ เพื่อใช้ในการอ่านค่าจากไฟล์ Excel นั้นๆ
    • กำหนดคำสั่ง sql command ในการดึงข้อมูลจาก WorkSheet ซึ่งต้องมีการระบุชื่อของ WorkSheet นั้นๆ
    • สั่ง run คำสั่งดังกล่าวและนำค่าที่ได้ไปประมวลผลต่อไป
    • หากเป็นกรณีแบบ Multiple sheet เราจะไม่สามารถทราบจำนวนและชื่อของ WorkSheet ตายตัว จึงต้องเพิ่มการทำงานที่ทำการวนค่าเพื่อดึงข้อมูลชื่อ WorkSheet และทำตามกระบวนการต่อไป
    หมายเหตุ : Namespace ที่ต้องอ้างอิงเพิ่มเติมในการใช้งานโค้ดที่กล่าวไว้ข้างต้น มีดังนี้
                –  System.IO
                –  System.Data.OleDb
                –  System.Data
                –  System.Text

                สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนจะขอเสนอวิธีการ Import ข้อมูลด้วยไฟล์ Excel ไว้เพียงเท่านี้ก่อน หากมีผู้รู้ท่านใดมีข้อเสนอแนะที่ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน สามารถชี้แจงเพิ่มเติมได้เป็นกรณีศึกษาเพื่อการเรียนรู้ หากผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ และสำหรับท่านผู้พัฒนาที่มีความสนใจเกี่ยวกับการ Export ข้อมูลไฟล์ Excel ด้วย ASP.NET(C#) สามารถติดตามต่อได้ใน Part II นะคะ

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
     http://www.codeproject.com/Articles/33271/Import-and-Export-to-Multiple-Worksheets
    http://dotnetawesome.blogspot.com/2013/11/how-to-import-export-database-data-from_18.html