Tag: android

  • วิธีทำ Screen Mirror จาก Android ขึ้นมาแสดงบน PC (Ubuntu)

    เนื่องจากเครื่อง Notebook ที่ใช้ ลง Ubuntu 17.04 Desktop จึงนำเสนอวิธีนี้ก่อน

    1. ใน Android ต้องเปิด Developer Options
    2. เปิด USB Debuging
    3. เสียบ Android กับ USB
    4. ที่เครื่อง Ubuntu Desktop ติดตั้งดังนี้
      sudo apt install adb android-tools-adb ffmpeg
    5. ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อดูว่า มี Android มาต่อทาง USB หรือไม่
      lsusb
      ผลที่ได้
    6. ต่อไป ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อดูว่า ADB เห็น Android หรือไม่
      adb shell screenrecord –output-format=h264 – | ffplay
    7. ผลที่ได้คือ หน้าจอ Android จะปรากฏบน PC (Ubuntu)

    Reference:

    1. https://askubuntu.com/questions/213874/how-to-configure-adb-access-for-android-devices
  • การตั้งค่าให้ Android Emulator สามารถรัน google map ได้

    โดยปกติ Android Emulator ไม่สามารถรัน google map เนื่องจากไม่มีในส่วนของ google play serivce นั้นเอง (สังเกตุ ได้ว่าไม่มีแอพพลิเคชั่น google play) ซึ่งเมื่อนักพัฒนาทำการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีgoogle map และรองรันบน Android emulator  จะเกิดข้อผิดพลาดดังรูป
    1

    ในบทความนี้ขอนำเสนอวิธีการที่ทำให้ Genymotion ซึ่งเป็น Andriod  Emulator ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กัน เนื่องจากทำงานได้รวดเร็ว และทำงานได้ดีกับ Android Studio 🙂

    โดยหลักการก็ไม่มีอะไรมาก เมื่อ Android emulator ของเราไม่มี google play service เราก็แค่ลงไปให้ซะเลย

    1. ขั้นแรก ต้องโหลดไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้ง ดังรูป2

      โดยในส่วนของไฟล์ gapps-jb-xxxx-signed ต้องโหลดเวอร์ชั่นให้ตรงกับ android แต่ละเวอร์ชั่นที่ใช้งาน

    2. ต่อไปทำการติดตั้อง Genymotion-ARM-Translation_v1.1.zip ก่อน ซึ่งการติดตั้งก็ง่าย ๆ โดยการลากไฟล์ไปวางที่ Emulator ได้ทันที่ รอจนติดตั้งเสร็จและทำการ Restart Emulator
    3. ต่อไปก็ทำการ Gapps และ Restart Emulator อีกครั้ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
    4. ลองเปิด Emulator จะพบว่ามีแอพพลิเคชั่น google play เรียบร้อยแล้ว ลองรันทดสอบแอพพลิเคชันที่มี google map ดูได้เลย

    3

  • การเก็บพิกัด GPS ด้วย Android device

    เป็นแอพสาหรับการออกพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บพิกัด สามารถใช้ GPS ได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต แต่หากจะ share to Maps ต้องอาศัยอินเตอร์เน็ตครับ ชื่อแอพ GPS Status & Toolbox ที่ใช้ฟรี บน Android device เลยคิดว่านำมาแชร์ สำหรับใครที่ต้องการเก็บพิกัด GPS แบบง่ายๆ เพื่อนำมาใช้งานต่อในด้านอื่นๆต่อไป

    เกริ่นก่อนนิดนึงว่า ปกติแล้วนักภูมิสารสนเทศ หรือผู้ที่ทำงานด้านภูมิสารสนเทศ จะใช้เครื่อง GPS ที่เฉพาะเหมาะกับงาน ซึ่งมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ทั้งแบบธรรมดาและแบบถ่ายรูปพร้อมฝังพิกัดได้ด้วย ก็มีราคาที่แตกต่างกันไปตามรุ่นและฟังก์ชั่น ดูเพิ่มเติม
    10927839_760991123990934_745730649596261186_o

    มาเริ่มต้นใช้งานคร่าวๆ กันเลยดีกว่าคับ

    1. เข้า Play Store บน Android ของท่าน > ค้นหา GPS Status & Toolbox > คลิก install
    01

    2. เมื่อติดตั้งและเปิดแอพแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้
    02

    3. ก่อนใช้แอพ ต้องเปิด GPS ทุกครั้ง
    03

    4. เปิดแอพขึ้นมาแล้ว สังเกตว่าระบบจะ loading location เพราะต้องรอให้จับสัญญาณดาวเทียมได้ก่อน *** ส่วนกลมๆที่เห็นเป็นจุดๆ จะแสดงการจับสัญญาณดาวเทียมได้กี่ดวง ความเข้มของสัญญาณแค่ไหน (ยิ่งเยอะดวงก็ยิ่งแม่นยำในการระบุพิกัดมากยิ่งขึ้น)
    04

    5. การตั้งค่าต่างๆ ที่จำเป็นของแอพ ไปที่ menu > setting
    05

    6. Distance ตั้งค่าหน่วยระยะทาง ใช้เป็น เมตร, กิโลเมตร
    06

    7. Speed จะปรับค่าตามการเดินหรือเวลาที่เรานั่งอยู่ในรถ หน่วยเป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    07

    8. Select format จะให้แสดงค่าเป็น Latitude, Longitude หรือตั้งค่าเป็น UTM เพื่อเอาไปใช้ในโปรแกรม ArcGIS ก็ได้
    08

    9. กลับมาที่หน้าจอหลัก จะแสดงค่าต่างๆ ตามที่ตั้งค่าไว้
    09

    10. ทำการเก็บค่าพิกัด lat, long โดยการแชร์ ให้เปิด menu > share
    10

    11. เลือก share ตามที่มือถือเราลงแอพไว้ หรือเลือกส่งออกไปยัง Maps ได้เลย (ในหน้าจอไม่เห็นเพราะอยู่ด้านล่างสุด)
    11

    12. สามารถ share พิกัด to email ได้ ซึ่งลิงค์ที่ได้ สามารถเปิดที่เว็บบราวเซอร์ได้เลย โดยจะเป็น Google Map
    12

    13. โหมด Radar มีคาสั่ง Mark Location ด้วย และยังสามารถ save target (ค่าแลต-ลอง)ได้อีกด้วย
    13

    14. มีคาสั่ง Show on Map ไปยัง Google maps บนมือถือเราได้ด้วย
    14

    15. ปรับการแสดงแผนที่เป็นแบบ Satellite *** ได้ภาพที่คมชัดมาก
    15

    16. นอกจากนี้ยังสามารถวัดระยะทางได้ *** ตามตัวอย่าง วัดระยะจากถนนปากซอยไปยังจุดพิกัด จะได้ระยะทาง 45 เมตร
    16

     

    นอกจากนี้ แอพยังมีการแสดงต่างๆ อีกมากมาย อาทิเช่น ความสูง-ต่ำของพื้นที่(จากระดับน้ำทะเล) เข็มทิศ เป็นต้น ก็ลองเล่นเพิ่มเติมดูนะคับ ไม่ยาก ^^

    หมายเหตุ ความแม่นยำของการระบุค่าพิกัด ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ และพื้นที่ๆ เปิดใช้งาน (ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อสะดวกในการจับสัญญาณดาวเทียม

     

  • การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device

    การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device โดยใช้ app Email (ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่อง)

    บางท่านอาจจะเจอปัญหาว่า เช็คเมลล์เข้าได้ แต่ไม่สามารถส่งเมลล์ออกได้ ลองทำตามขั้นตอนนี้ดูนะครับ ^^

    1. ไปที่ไอคอน Email บน android
    Screenshot_2014-05-12-12-57-25

    2. ใส่ email address และ password
    Screenshot_2014-05-12-12-57-58

    3. กดปุ่ม Next

    4. รอการตรวจเช็คสักครู่
    Screenshot_2014-05-12-12-58-06

    5. เลือก IMAP account
    Screenshot_2014-05-12-12-58-11

    6. ในส่วนของ Incoming server settings

    • ให้ใส่ IMAP server ให้เป็น mail.psu.ac.th
    • Port : 143
      Screenshot_2014-05-12-12-58-56

    จากนั้น กดปุ่ม Next

    7. ในส่วนของ Outgoing server settings ให้ใส่

    • ให้ใส่ SMTP server ให้เป็น smtp2.psu.ac.th
    • Security type : TLS
    • Port : 587
      Screenshot_2014-05-12-12-59-30
      จากนั้น กดปุ่ม Next

    8. กำหนดค่า Account options หากไม่ต้องการปรับแก้ ก็ให้กดปุ่ม Next ได้เลย
    Screenshot_2014-05-12-12-59-37

    9. ทำการระบุ account a name และ display name หรือหากไม่ต้องการปรับเปลี่ยน ก็ให้กดปุ่ม Done เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการตั้งค่า
    Screenshot_2014-05-12-12-59-48

     

    *** การตั้งค่าบน android นี้ จะเหมือนกับการตั้งค่าที่ Outlook Express เพียงแต่ว่าจะต่างกันตรงที่ จะต้องกำหนดค่า Security type  เป็น TLS
    refer : วิธีตั้งค่า PSU Email สำหรับ Outlook Express