ในปัจจุบันพบว่า มีการใช้งานแบบฟอร์มในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อความสะดวก และลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น Google Form หรือ Microsoft form เพื่อรับข้อมูลจากผู้ใช้ เนื่องจากใช้งานง่าย และสะดวก และทำให้ผู้ที่กรอกข้อมูล สามารถกรอกข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องอาศัยการกรอกแบบฟอร์มกระดาษอย่างแต่ก่อน แต่ในส่วนของการเก็บข้อมูลและการนำไปใช้ก็อาจจะมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยปกติแบบฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ก็จะสามารถ Export ข้อมูลออกมาในรูปแบบไฟล์ Excel หรือ CSV ได้อยู่แล้ว แต่สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนจะขอหยิบยกวิธีการเก็บข้อมูลจาก Microsoft form มาเก็บในลิสต์(List) ซึ่งเป็นเปรียบเสมือนฐานข้อมูลหรือตารางที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint โดยที่ไม่ต้องมา Import ข้อมูลจากไฟล์ Excel หรือ CSV ที่เรานำมาจากแบบฟอร์มอีก ซึ่งเราจะใช้ตัวช่วยที่ชื่อว่า Power Automate เพื่อมาลดขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ให้กับเรากันค่ะ
โดยก่อนที่เราจะเริ่มเรียนรู้วิธีการบันทึกข้อมูลดังกล่าว สิ่งที่เราจะต้องมีเพื่อให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง นั่นก็คือ
- แบบฟอร์ม Microsoft Form ที่ใช้ในการกรอก
- ลิสต์ใน SharePoint ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากแบบฟอร์ม
- Flow ที่สร้างจาก Power Automate ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากแบบฟอร์มลงในลิสต์นั่นเองค่ะ
หมายเหตุ : ในบทความนี้ ผู้ใช้จะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างฟอร์ม และลิสต์ที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint แต่จะขอเน้นไปที่วิธีการสร้าง Flow ใน Power Automate เพื่อบันทึกข้อมูลแทนนะคะ และการใช้งาน Microsoft Form SharePoint และ Power Automate จริงๆแล้วสามารถเข้าใช้งานได้จากหลายช่องทาง แต่ในตัวอย่างนี้จะใช้ผ่าน Office 365 นะคะ
โดยใน EP. นี้จะเป็นขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์ในข้อ 1 และ 2 ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะไปสร้าง Flow ในขั้นตอนที่ 3 ให้โปรแกรมทำงานอัตโนมัติกันใน EP. ถัดไปนะคะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มขั้นตอนการจัดเตรียมเครื่องมือใน 2 ขั้นตอนแรก กันเลยดีกว่าค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 : การจัดเตรียมแบบฟอร์ม Microsoft Form โดยเราจะเตรียมและสร้างแบบฟอร์ม Microsoft Form ที่ต้องการให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการระบุชนิดและการบังคับกรอกในข้อมูลแต่ละรายการให้ครบถ้วน โดยจะขอแนะนำวิธีการคร่าวๆ ดังนี้
1.ไปยังแบบฟอร์ม โดยการกดปุ่มเพื่อเลือก Apps ที่เป็น Form จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการกันค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture1.png)
2. หลังจากนั้นจะแสดงรายการ App ใน Microsoft Office365 มาให้เลือก ในที่นี้ขอเลือก Form ดังภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture2.png)
3. จะปรากฎหน้าจอและปุ่มให้สร้างแบบฟอร์ม ให้กดลูกศร และเลือก New Form ตามภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture3.png)
4. หลังจากนั้นให้ทำการระบุข้อมูลที่ต้องกรอกในแบบฟอร์ม พร้อมระบุชนิด และการบังคับกรอกของข้อมูลให้เรียบร้อย และสามารถเลือกสไตล์ให้กับแบบฟอร์มของเราเพื่อเพิ่มความสวยงามได้ด้วยเช่นกันนะคะ โดยเริ่มจากการตั้งชื่อแบบฟอร์ม และกดปุ่ม Add new เพื่อเพิ่มข้อในแบบฟอร์มของเรากันค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture1-1.png)
5. หากเราเคยมีการทำแบบฟอร์มและใส่หัวข้อก่อนหน้านี้ โปรแกรมจะดึงข้อมูลที่เราเคยทำไว้มาแนะนำ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรา กรณีที่ข้อมูลหัวข้อคล้ายๆกัน และไม่ต้องระบุใหม่ทั้งหมด โดยจะเลือกจากส่วนของ Recommended ค่ะ หรือเราจะเลือกสร้างใหม่เองก็ได้นะคะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture2-1.png)
6. ในกรณีที่ต้องการเพิ่มข้อใหม่ที่ไม่ได้มาจากส่วนของการแนะนำ(Recommended) โปรแกรมจะแสดงหน้าจอให้เราระบุค่าต่างๆ จะเห็นว่า ในการสร้างหัวข้อใหม่แต่ละรายการ เราสามารถระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ดังภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture4-1.png)
7. หลังจากนั้น ให้ทำการระบุชื่อหัวข้อ และสามารถระบุค่าต่างๆได้ ดังนี้
- ชื่อหัวข้อ
- ระบุว่าเป็นข้อมูลที่ต้องบังคับกรอกหรือไม่
- ระบุว่าต้องการให้เป็นหัวข้อที่มีการกรอกข้อมูลที่มีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด เช่น ข้อมูลพวกรายละเอียดต่างๆ หรือไม่
- การเลื่อนลำดับหัวข้อ โดยการกดลูกศรขึ้น-ลง หรือลากไปทั้งกล่องเพื่อไปยังลำดับที่ต้องการได้
- การทำสำเนาหัวข้อ ในกรณีที่หัวข้อมีลักณะคล้ายกัน เพื่อประหยัดเวลาในการสร้างข้อใหม่
- การลบหัวข้อ
ดังภาพค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture3-1.png)
8. หลังจากที่ได้สร้างแบบฟอร์มและกำหนดค่าต่างๆในแต่ละข้อของแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วจะได้ผลลัพธ์ดังภาพค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture4.png)
ตัวอย่างของแบบฟอร์มที่ใช้ในการกรอกข้อมูลในมุมมองของผู้กรอก
- ตัวอย่างผลลัพธ์แบบฟอร์มหน้าแรก
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture5.png)
2. ตัวอย่างหน้าจอการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture6-1.png)
เพิ่มเติม ท่านสามารถ Copy ลิงค์ของฟอร์มไปใช้งาน ได้โดยการกดปุ่ม Collect Response ดังภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture7.png)
ซึ่งจะปรากฏหน้าจอให้ระบุการตั้งค่าต่างๆเพิ่มเติม และเราสามารถ Copy ลิงค์ของฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล และสามารถทำเป็นลิงค์แบบสั้นได้ ดังภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture8.png)
นอกจากนี้ ท่านยังสามารถระบุการตั้งค่าในส่วนของการกำหนดขอบเขตของผู้ที่จะมากรอกแบบฟอร์มว่าต้องเป็นคนในองค์กร หรือหน่วยงานหรือไม่ และต้องการให้เก็บข้อมูลชื่อผู้กรอกข้อมูล และสามารถกรอกข้อมูลได้คนละ 1 ครั้งต่อแบบฟอร์มหรือไม่ หรือจะระบุตัวบุคคลที่สามารถทำแบบฟอร์มนี้ก็ได้เช่นกันค่ะ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานแบบฟอร์มในแต่ละครั้ง และทั้งหมดนี้ก็จะเป็นวิธีการสร้างแบบฟอร์มอย่างคร่าวๆ เพื่อเตรียมนำไปใช้งานในขั้นตอนถัดไปกันค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 : การจัดเตรียมลิสต์ในการเก็บข้อมูล ที่มีใน SharePoint โดยมีการระบุชื่อและชนิดของแต่ละคอลัมน์ และต้องอย่าลืมว่าข้อมูลคอลัมน์แต่ละรายการในลิสต์ต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่มีในแบบฟอร์มในขั้นตอนที่ 1. โดยวิธีการสร้างลิสต์ มีดังนี้
1.ไปยัง SharePoint โดยการกดปุ่ม เพื่อเลือก Apps ที่เป็น SharePoint จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการกันค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture9-2.png)
2. หลังจากนั้นให้ทำการสร้างลิสต์ขึ้นมา โดยการคลิกปุ่ม New และเลือก List ตามภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture10.png)
3. เลือกชนิดของลิสต์ที่ต้องการสร้าง ซึ่งจะเห็นว่าสามารถนำเข้าข้อมูลจากลิสต์ที่มีอยู่ หรือจากไฟล์ Excel และ CSV ได้ด้วย แต่ในกรณีเราจะสร้างจาก “Blank list” ตามภาพค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture11-1.png)
4. ระบุชื่อของลิสต์ที่เราต้องการเก็บข้อมูล ในที่นี้จะขอระบุชื่อเป็น “การยืม-คืนอุปกรณ์ในหน่วยงาน” ดังภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture12.png)
5. จากนั้นสร้างคอลัมน์ และระบุชนิดของข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูล โดยการกดปุ่ม Add column และต้องอย่าลืมว่า คอลัมน์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนี้ต้อง สอดคล้อง กับข้อมูลที่กรอกในแบบฟอร์มที่เราสร้างในขั้นตอนที่ 1 ด้วยนะคะ และแนะนำให้ตั้งชื่อให้สื่อความหมายกับข้อมูลที่เก็บเพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ และลดความสับสนได้ค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture5-1.png)
6. โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้เราระบุชนิดของข้อมูลในคอลัมน์ที่เราต้องการจะเพิ่ม ดังภาพค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture6-2.png)
7. จากนั้น โปรแกรมจะให้เราระบุรายละเอียดของคอลัมน์ที่ต้องการเพิ่มเติม ซึ่งจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของข้อมูล
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture7-1.png)
8. หลังจากที่เราสร้างคอลัมน์จนครบตามที่ต้องการแล้ว เราก็จะมีลิสต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขในภายหลังได้ ดังภาพค่ะ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture13.png)
9. การจัดการข้อมูลในลิสต์ โดยปกติข้อมูลในลิสต์ เราสามารถเพิ่มได้โดยตรงจากหน้าลิสต์ในขั้นตอนต่างๆ อย่างสังเขป ดังนี้
- การเพิ่มข้อมูล โดยการกดปุ่ม New ซึ่งจะแสดงหน้าจอให้กรอกข้อมูล ดังต่อไปนี้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture8-1.png)
นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่ม/แก้ไขข้อมูลได้โดยการกดปุ่ม Edit in grid view เพื่อจัดการข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งจะแสดงหน้าจอให้แก้ไขในอีกมุมมอง แล้วแต่ความถนัด ดังนี้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture10-1.png)
ท่านสามารถเพิ่มข้อมูลใหม่ในมุมมอง grid view ได้โดยการกดปุ่ม Add new item หากกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถกลับไปยังมุมมองแรกได้โดยการกดปุ่ม Exit grid view เพื่อกลับไปยังมุมมองการดูข้อมูลปกติดังนี้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture12-1.png)
- การแก้ไขข้อมูลจากมุมมองดูข้อมูลทั่วไป สามารถทำได้หลายวิธี โดยการกดปุ่ม Edit หรือ Edit in grid view ตามที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ หรือ หากต้องการลบข้อมูล สามารถเลือกรายการที่ต้องการลบ และกดปุ่ม Delete ได้ตามภาพ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/Picture11-2.png)
จะเห็นว่า ในลิสต์เองก็มีความสามารถในการจัดการข้อมูล เพิ่ม/แก้ไข/ลบได้ในตัวเองอยู่แล้ว แต่บทความที่ผู้เขียนหยิบยกมานี้ ได้มีการนำแบบฟอร์มมาใช้เป็นช่องทางให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลเข้ามา เพื่อความสะดวก และใช้งานง่ายในการกรอกข้อมูลจากผู้ใช้นั่นเอง
และมาถึงตรงนี้เราก็จะมีทั้ง แบบฟอร์ม และ ลิสต์ ที่พร้อมจะใช้ในการเก็บข้อมูลกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ถึงคราวที่เราต้องไปเตรียม Flow กันบ้าง แต่สำหรับการสร้าง Flow ที่จะใช้ในการบันทึกข้อมูลจากฟอร์มมาลงลิสต์ที่เตรียมไว้จะขอพูดถึงใน EP. ถัดไปละกันนะคะ(เนื่องจาก EP. นี้ก็เริ่มจะยาวเกินไปแล้ว) ไว้เจอกันใน EP.2 นะคะ ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบ และหวังว่าจะพอเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะคะ