การใช้งานเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลหรือการ remote จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง นับว่ามีความจำเป็นเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน ซึ่งตัวระบบปฏิบัติการเองก็มีเครื่องมือรองรับ เช่น ใน Windows จะมี Remote Desktop นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่รองรับการทำงานลักษณะนี้ เช่น TeamViewer หรือ AnyDesk ซึ่งบางซอฟต์แวร์หากใช้งานในลักษณะฟรี ก็อาจจะมีข้อจำกัดในการใช้งานบ้าง ดังนั้นในบทความนี้จะนำเสนอการใช้งาน remote ผ่าน chrome browser ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี และค่อนข้างจะรองรับการทำงานทั่ว ๆ ไปได้ โดยไม่จำกัดเรื่องการเข้าใช้งาน (บางซอฟต์แวร์อาจจะมีการจำกัดจำนวนครั้งในการใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น)
เตรียมการเบื้องต้นก่อนการใช้งาน
- ติดตั้ง chrome browser ทั้งฝั่งเครื่องต้นทางและฝั่งเครื่องปลายทาง
- เตรียมบัญชีผู้ใช้งานสำหรับ google หรือ google account เพื่อใช้สำหรับ remote
ขั้นตอนการติดตั้งและตั้งค่า Extensions “Chrome Remote Desktop”
- การใช้งาน remote ผ่าน chrome browser นั้น อันดับแรกจะต้องทำการติดตั้ง Extensions เพิ่มก่อน ซึ่งก็คือ Chrome Remote Desktop ซึ่งช่องทางการดาวน์โหลดสามารถทำได้จากเมนูที่อยู่ในหน้าจอ chrome ได้เลยดังรูป โดยการกดที่เมนู Apps
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-98-1024x192.png)
ถ้าไม่เจอเมนู Apps ให้ไปที่เมนู Bookmarks และเลือก Show bookmark bar ดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-88.png)
จะปรากฏแถบว่าง ๆ ใต้ช่อง URL ซึ่งแถบนี้ก็คือ bookmark bar นั่นเอง
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-93-1024x157.png)
คลิกขวาที่ bookmark bar จากนั้นเลือกเมนู Show apps shortcut
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-95.png)
เมื่อกดเลือกเมนู Apps แล้ว ในหน้าจอ chrome จะปรากฏรายการดังนี้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-87.png)
เลือก Web Store เพื่อเข้าไปดาวน์โหลด Chrome Remote Desktop
2. ในช่อง Search the store พิมพ์ chrome remote desktop เพื่อค้นหา
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-102-1024x472.png)
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-104-1024x466.png)
กดเลือก Chrome Remote Desktop จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้ง extension นี้เพิ่มเติมให้กับ chrome browser
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-108-1024x381.png)
เมื่อกดปุ่ม Add to Chrome จะมีกล่องข้อความถามเพื่อยืนยันการติดตั้ง ให้กดปุ่ม Add extension เพื่อยืนยัน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-109-1024x490.png)
เมื่อติดตั้งสำเร็จจะมีข้อความแจ้งดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-111-1024x363.png)
สังเกตว่าหลังช่อง URL จะปรากฏไอคอน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-112.png)
ซึ่งมีไว้สำหรับแสดงและเรียกใช้งาน extensions ที่ติดตั้งไปนั่นเอง
3. ทำการติดตั้ง Chrome Remote Desktop ทั้งฝั่งเครื่องต้นทางและปลายทางที่ต้องการ remote
4. การเรียกใช้งานสามารถทำได้ดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-113-1024x264.png)
จากนั้นเลือก Chrome Remote Desktop
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-115.png)
5. ก่อนที่จะทำการ remote หรือตั้งค่าการ remote จะต้องทำการ login บน chrome browser ก่อนด้วยบัญขี google ที่ได้เตรียมไว้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-117.png)
6. เริ่มต้นการตั้งค่าครั้งแรกโดยเลือก Remote Access ซึ่งครั้งแรกสุดจะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมก่อน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-118.png)
กดตรงไอคอนดังรูป เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้งเพิ่มเติม
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-119.png)
ไฟล์ติดตั้งชื่อ chromeremotedesktophost.msi
รันไฟล์นี้เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม หรือกดยอมรับและติดตั้งจากหน้าจอ chrome browser ดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-121.png)
ในขั้นตอนการติดตั้งจะมีให้ตั้งชื่อเครื่อง
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-123.png)
จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนในการสร้างรหัส PIN โดย PIN นี้ใช้สำหรับให้เครื่องต้นทางที่ต้องการ remote เข้ามา ทำการกรอกเพื่อเชื่อมต่อ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-127.png)
เมื่อตั้งค่าเสร็จสิ้นทั้งเครื่องต้นทางและปลายทางแล้ว ในบัญชี google เดียวกัน จะเห็นเครื่องที่เราได้ตั้งค่า remote ไว้ดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-131.png)
7. สามารถแก้ไขชื่อเครื่องและตั้งค่ารหัส PIN ใหม่โดยเลือกที่ไอคอน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-138.png)
จะเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่าดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-142.png)
8. การปิดการเชื่อมต่อระยะไกล สามารถทำได้โดยการเลือกที่ไอคอน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-136.png)
เมื่อปิดการเชื่อมต่อแล้วสามารถกลับมาเปิดใหม่ได้อีกครั้งดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-144.png)
9. เริ่มต้นการ remote โดยเลือกรายการที่เป็น อุปกรณ์ระยะไกล
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-146.png)
จากนั้นจึงใส่รหัส PIN ที่ได้ตั้งค่าไว้สำหรับเครื่องนั้น ๆ (เครื่องปลายทาง) ก็จะสามารถ remote เข้าไปที่เครื่องปลายทางได้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-149.png)
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-150.png)
เมื่อ remote สำเร็จแล้ว สามารถควบคุมการทำงานจากเครื่องต้นทางได้เสมือนไปทำงานอยู่ที่เครื่องปลายทาง
ส่วนด้านขวาของหน้าจอจะมีสัญลักษณ์คล้ายหัวลูกศร สำหรับใช้เพื่อเรียกเมนูสำหรับปรับแต่งและควบคุมการทำงานของหน้าจอ remote
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-152.png)
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-154.png)
การตั้งค่าการควบคุมระยะไกล หรือ Remote Support
การตั้งค่าการควบคุมระยะไกล หรือ Remote Access ที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ เป็นการตั้งค่าสำหรับการรีโมต โดยอาศัยบัญชี google บัญชีเดียวกันเพื่อ remote ไปมาระหว่างเครื่องสองเครื่องหรือมากกว่า แต่หากต้องการ remote โดยใช้บัญชี google อื่นสามารถตั้งค่าได้ในส่วนของ Remote Support ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้เหมาะกับการที่จะให้ผู้ที่ทำงานอยู่อีกเครื่องทำการ remote เข้ามาช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาที่หน้าจอของอีกฝ่าย เช่น ผู้ดูแลระบบ remote ไปช่วยดูปัญหาที่เครื่องของผู้ใช้ โดยทั้งผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ต่างก็มีบัญชี google เป็นของตัวเอง
- ลักษณะการใช้งาน Remote Support จะเป็นการสร้างรหัส PIN สำหรับการเข้าถึงเป็นครั้ง ๆ ไป
- หน้าจอการใช้งาน จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ฝั่งรับการสนับสนุน และฝั่งให้การสนับสนุน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-160.png)
3. ฝั่งเครื่องที่ที่ต้องการรับการสนับสนุน ต้องทำการสร้างรหัสสำหรับให้เครื่องที่จะเข้ามาสนับสนุนทำการกรอกดังรูป
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-161.png)
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-163.png)
4. ฝั่งเครื่องที่จะเข้ามาสนับสนุน หรือ remote เข้ามาช่วยเหลือ จะต้องได้รับแจ้งรหัสตัวเลขที่ทางฝั่งเครื่องปลายทางแจ้งมา เพื่อนำมากรอกในส่วนของ ให้การสนับสนุน
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-167.png)
จากนั้นกดปุ่มเชื่อมต่อ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-169-1024x448.png)
5. เมื่อฝั่งเครื่องที่จะเข้ามาสนับสนุนกรอกรหัสและกดปุ่มเชื่อมต่อ ฝั่งเครื่องที่ขอรับการสนับสนุน จะปรากฏข้อความให้ยืนยันว่าจะยอมรับการเชื่อมต่อหรือไม่
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-171.png)
เมื่อตอบ Share แล้ว ฝั่งเครื่องที่จะ remote เข้ามาก็จะสามารถเชื่อมต่อเข้ามาที่เครื่องที่ขอรับการสนับสนุนได้
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-174-1024x556.png)
และฝั่งผู้รับการสนับสนุนสามารถหยุดการเชื่อมต่อได้โดยเลือก Stop Sharing จากแถบเมนูด้านล่าง
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-175.png)
เบื้องหลังการทำงาน
สำหรับการทำงานเบื้องหลัง จะมี Service ที่ชื่อ Chrome Remote Desktop Service ที่คอยตรวจสอบและจัดการเรื่องการเชื่อมต่อ
![](https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2020/11/image-177.png)
ดังนั้น หากมีปัญหาเชื่อมต่อไม่ได้อาจจะตรวจสอบว่า service นี้ยังทำงานอยู่หรือไม่
อ้างอิง สามารถดูข้อมูลการตั้งค่าและการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่
https://support.google.com/chrome/answer/1649523?co=GENIE.Platform%3DDesktop&hl=en