วิธีสร้าง Live Stream ด้วย Google Meet เพื่องานประชุมขนาดใหญ่ — Deprecated

ต่อจาก ทุกคนใน PSU ใช้ Google Meet สำหรับประชุม / การเรียนการสอน ได้ใน 3 ขั้นตอน การประชุม มี 2 รูปแบบ 1) แบบห้องประชุมเล็ก อาจจะเป็นการประชุมเล็ก ทุกคนสามารถพูดแทรกได้ (Discussion) เป็นแนวระดมความคิด (Brainstorm) นึกถึงห้องประชุมที่ทุกคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน บนโต๊ะอาจจะมีไมโครโฟนของแต่ละคน ใครจะพูด ก็ยกมือ ขออนุญาตประธาน แล้วกดปุ่มพูด การประชุมแบบนี้ Google Meet ให้คนเข้าร่วมได้สูงสุด 250 คน ** ข้อแนะนำ ** ผู้เข้าร่วมประชุม ควรปิดไมค์ของตนเองไว้ก่อนเสมอ เพราะเสียงต่าง ๆ จะแทรกเข้าไปในห้องประชุมได้ ไว้เวลาอยากจะพูดอะไร ค่อยเปิดไมค์ แล้วพูด Google Meet จะสลับมายังหน้าของท่านเองอัตโนมัติ ปิดไมค์ใน Google Meet ทำงี้ครับ (แบบนี้คือเปิดอยู่ คลิกรูปไมค์เพื่อปิด) อย่างนี้ คือปิดเสียงแล้ว 2) แบบห้องประชุมเปิดขนาดใหญ่ การประชุมแบบนี้ เปิดให้คนจำนวนมาก สามารถเข้าฟังได้ โดยจะมีผู้พูดอยู่แหล่งเดียว อาจจะมีไมค์อยู่จำนวนหนึ่ง สำหรับให้ผู้เข้าร่วมประชุมซักถามได้ ในกรณีนี้ Google Meet สามารถรองรับการเข้าชม “พร้อม ๆ กัน” ได้ถึง 100,000 คน เรียกว่า “Live Stream” ในทางเทคนิคการใช้งาน หากผู้เข้าร่วมประชุมท่านใด ต้องการพูดกับผู้บรรยาย ก็ค่อย สลับเข้าร่วม (Join Meeting) ได้ ซึ่งก็จะสอบถามได้พร้อมกัน 250 คน วิธีทำ Live Stream บน Google Meet Live Stream ต้อง “เริ่มต้น” จาก Google Calendar เท่านั้น 1 สร้าง Event บน Google Calendar (ของ PSU เท่านั้น, Free Gmail ทำไม่ได้) เริ่มจาก คลิก วันที่ต้องการบรรยาย แล้ว ใส่ชื่อ Event เลือกช่วงเวลา แล้วคลิก More Options 2 เลือก Add Conference > Hangout Meet 3 เลือก Add live stream 4 Copy live stream link เอาไปเผยแพร่ เช่น แปะเป็น Link บน Website เป็นต้น 4 กดปุ่ม Save เป็นอันเรียบร้อย แล้วก็ รอเวลา ผู้จัดการบรรยาย ก็เข้าไปทำหน้าที่ครับ UPDATE: จากนั้น ก็เข้า Join Hangout Meet คลิก Join Now เสร็จแล้ว คลิกที่ Setting (3 จุดด้านขวาล่าง) แล้วคลิก Start Streaming วิธีการนี้ ทำให้ “คนในองค์กร” ของเรา สามารถเข้าฟังการบรรยายได้พร้อม ๆ กัน เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ต้อง Login ด้วย PSU G Suite for Education Account ก่อน จึงจะสามารถเข้าดูได้ –> Free Gmail และ ผู้ที่ไม่ได้ Login

Read More »

ทุกคนใน PSU ใช้ Google Meet สำหรับประชุม / การเรียนการสอน ได้ใน 3 ขั้นตอน

Google Meet เปิดให้บัญชีของ PSU Email “ทุกคน” สามารถใช้งานได้ (เพราะเราใช้บริการ G Suite for Education) สร้างห้องประชุมได้ * รองรับได้สูงสุด 250 คน ต่อห้อง ** สตรีมมิงแบบสด บันทึก VDO ได้ โดยเก็บบน Google Drive *** * เราในฐานะผู้มีบัญชี G Suite สามารถ สร้าง ได้ และเชิญผู้เข้าร่วม โดย ผู้เข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นต้องมี Google Account ก็ได้ (ดูอย่างเดียว) ** ถ้าต้องการทำสำหรับงานประชุมที่มีคนดูอย่างเดียวจำนวนมาก เช่น เปิดสอนคลาสใหญ่ แนะนำ วิธีสร้าง Live Stream ด้วย Google Meet เพื่องานประชุมขนาดใหญ่ *** สามารถบันทึกได้จนถึง 1 ก.ค.2020 เริ่มกันเลย 0: Login ด้วย PSU Email (หากยังไม่เคยใช้บริการมาก่อน ขอให้ดำเนินตามขั้นตอนตามนี้ https://gafe.psu.ac.th/support/1/1) และแนะนำให้เริ่มต้นจากหน้า Gmail 1: คลิกที่ App หรือ 9 จุด จากนั้นคลิกที่ ไอออน Meet ดังภาพ (หรือจะเปิด website https://meet.google.com เลยก็ได้) 2: คลิกที่ Join or start a meeting แล้วตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ แล้วคลิก Continue แล้วคลิก Allow คลิก Join Now 3: เชิญคนเข้าร่วม ทำได้โดยการ ส่ง Link ไปให้ เช่น ส่งทาง LINE/Facebook/Email หรืออะไรก็แล้วแต่สะดวก หรือ จะ Add People ก็ได้ หากต้องการห้องเฉพาะกลุ่ม นอกนั้น … บันทึก VDO คลิกรูป 3 จุดด้านล่างขวา แล้ว เลือก Record meeting แล้วก็ Accept แสดง PowerPoint เริ่มจากเปิด PowerPoint ที่ต้องการ แล้วเข้าสู่โหมด Presentation แล้วคลิก Present now แล้ว เลือก A window แล้วเลือก window ที่ต้องการแสดง แล้วกดปุ่ม Share เลือกสลับหน้าจอได้ เลือกว่าให้จะนำภาพใครขึ้น Stage หรือ จะดูในส่วนของ Chat ก็ได้ หยุดการบันทึก คลิกที่ 3 จุด ด้านล่างขวา แล้ว กด Stop recording หยุด Meeting คลิกที่รูป โทรศัพท์สีแดงตรงกลาง ไฟล์บันทึก Meeting อยู่ใน Google Drive ที่ My Drive > Meet Recordings หมายเหตุ: จะได้ไฟล์ ซึ่งสามารถ Download ออกมาเป็น .mp4 ได้ (รอสักครู่หลังสิ้นสุดการ Meeting) และ จะสามารถ Play ได้ เมื่อ Google Drive เตรียมไฟล์เสร็จ เช่น เอาไปแสดงในเว็บไซต์ ตามวิธีการ เค้าเอาไฟล์ MP4 บน

Read More »

[สภากาแฟ] ว่าด้วยเรื่องสายงานคนไอที 2020

อยากทดลองเขียนบทความแนวแชร์ความคิดเห็นส่วนตัวแบบนั่งพูดคุยง่ายๆสบายๆ โดยไม่มีรูปแบบอะไรดูบ้าง ขอเริ่มจากเรื่องนี้ล่ะกันว่าด้วยเรื่องสายงานของคนไอทีที่เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หรือชัดมานานแล้วผมพึงเข้าใจมัน  ด้วยความที่เทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสายโปรแกรมเมอร์ จนเกิดอาการซ๊อคตามไม่ทันไม่รู้จะจับอะไรก่อนดี มันดูสับสนวุ่นวายไปหมด จนกระทั่ง 2-3 ปี มานี้เริ่มจับทางถูกพอทำให้ไม่ตกขบวนบ้าง ได้รับอีเมล์จากไมโครซอฟท์ หัวข้อ “Join our Apps & Infrastructure sessions at the Open Source Virtual Summit” ลองเข้าไปอ่านรายเอียดดูว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง พบว่าหัวข้อการอบรมแบ่ง 3 track ใหญ่ๆ ได้แก่ Apps & Infrastructure Developer Data & AI เห็นได้ชัดว่าสายงานคนไอที 2020 ถ้าแบ่งแบบหยาบน่าจะเป็น 3 ลู่วิ่งนี้… ลู่วื่งที่ 1. Apps & Infrastructure เป็นของสาย System Admin หรือ SysAdmin เกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ออกแบบ วางระบบ แน่นอนว่าต้องเกี่ยวข้องกับ Cloud ทำยังไงให้มีโครงสร้างระบบพื้นฐานที่ดีสามารถี่รันแอพที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ และต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ เช่น Docker Kubernetes ฯลฯ …สังเกตว่าสายไอที Network เพียวๆ ที่เป็นฮาร์แวร์จะถูกแยกลู่ออกไปเลย คงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านๆ นั้น ได้แก้ Data Center คอนฟิก Switch ซึ่งไม่มาแตะซอฟแวร์มากนัก   ลู่วื่งที่ 2 Developer อันนี้สายโปรแกรมเมอร์ล้วนๆ รักไม่มุ่งแต่มุ่งโฟกัสที่พัฒนาแอพอย่างเดียว โค้ดคือชีวิตอย่าไปให้เค้าแตะเรื่อง Infrastructure มากนัก เทรนก็เลยมาแนว Serverless แบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง เน้นการพัฒนาแอพให้ดี เรื่องวุ่นวายปล่อยให้ Cloud จัดการให้ ลู่วิ่งที่ 3 Data & AI ยุดสมัยนี้ของมันต้องมี… แยกมากันชัดๆโฟกัสไปเลยว่าจะเอาดีทางสายนี้ สำหรับผมความคิดเห็นที่จะพูดถึงลู่นี้ไม่มีเพราะไม่รู้ 555 เพราะไม่เคยแตะเลย แต่ใครมาเอาดีสายนี้รับรองว่าอนาคตสดใสแน่นอนครับ สุดท้ายฝากลิงค์งานสามารถเข้าคลิกดู agenda ได้ : https://info.microsoft.com/AP-AzureMig-WBNR-FY20-03Mar-18-OpenSourceVirtualSummit-4491_01Registration-ForminBody.html

Read More »

วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server บน Windows

อยาก ssh เข้า Windows Server เพื่อเข้าไปรัน PowerShell หรือรัน script cmd ต้องทำอย่างไร(โดยปกติ Windows ปัจจุบันมี OpenSSH Client ติดตั้งมาโดย Default ถ้าใครต้องการแค่จะใช้ ssh/scp command ข้ามบนความนี้ได้เลยครับ) Reference : – https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/administration/openssh/openssh_install_firstuse Installation of OpenSSH For Windows Server 2019 and Windows 10 Environment : – Windows Server 2019 หรือ Windows 10 1809 ขึ้นไป วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server ผ่าน GUIเปิด Settings > Apps > Apps and Features > Manage Optional Features (Windows 10 ใช้คำว่า Optional Features) วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server ผ่าน PowerShell (Run as Administrator) – ตรวจสอบ Version ของ OpenSSH ที่จะลงก่อน – ทำการติดตั้งตาม Version ล่าสุด วิธีการสร้าง Service ให้ Start OpenSSH Server โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่องผ่าน PowerShell Run as Administrator และทำการเปิด Firewall ให้เข้าถึงได้ ทดสอบเข้าใช้งาน (สำหรับเครื่องที่ join office365 แนะนำให้เข้าผ่าน local account ครับ) การใช้งานต้องใช้คำสั่งของ powershell นะครับ ไม่ใช่ shell script ของ linux ดังนั้นการกดออกต้องใช้คำสั่ง exit ในแง่เดียวกันสามารถทำ ssh tunnel ไปมาระหว่าง Windows และ Linux ได้นะครับ แต่คงจะไม่ได้เขียน Blog ในส่วนนี้ครับ แต่จะไม่มี command ssh-copy-id ใน windows ให้ใช้คงต้อง ssh-keygen แล้ว copy key ไปสร้างในเครื่อง linux เองครับ

Read More »

ฉันโดนแฮ๊กหรือเปล่า !?!?!

หลายท่านอาจจะเคยได้รับ email หน้าตาประมาณนี้ ข้อเท็จจริงคือ เราสามารถปลอมเป็นใคร ส่ง email ออกไปให้ใครก็ได้ Truth … แล้ว จะรู้ได้อย่างไร !?! ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า Header … โดยทำตามวิธีการต่อไปนี้ 1. คลิกที่ View Full Header จะได้ผลประมาณนี้ จากภาพ จะเห็นว่า ส่งจาก (ดูจาก ล่าง ขึ้น บน) Received: from [154.117.164.59] (unknown [154.117.164.59])     by mailscan.in.psu.ac.th (Postfix) with ESMTP id 69F2B150768     for <kanakorn.h@psu.ac.th>; Thu, 5 Mar 2020 13:24:42 +0700 (ICT) แล้วจึงส่งเข้าระบบ PSU Email Received: from mailscan.in.psu.ac.th (unknown [192.168.107.12])     by mail.psu.ac.th (Postfix) with ESMTP id A034D464FC7     for <kanakorn.h@psu.ac.th>; Thu, 5 Mar 2020 13:24:46 +0700 (+07) แล้วจึงเข้า Mailbox ของ PSU (ข้อมูล version ของ cyrus เอาออกไม่ได้จริง ๆ ครับ ไว้รอ Upgrade) Received: from mail.psu.ac.th ([unix socket])     by mail (Cyrus v2.4.18-Debian-2.4.18-3) with LMTPA;     Thu, 05 Mar 2020 13:24:46 +0700 จะเห็นได้ว่า ต้นทางคือ IP Address : 154.117.164.59 ตรวจสอบว่าอยู่ที่ไหนในโลก ด้วย https://whatismyipaddress.com/ip/154.117.164.59 ประมาณ South Africa สรุป ! ไม่ได้โดน Hack (ไม่ได้เข้ามาใช้ PSU Email ส่ง) ครับ

Read More »