Migrate จากฐานข้อมูล MySql มายัง Oracle ด้วย Sql Developer

เนื่องจากงานที่รับผิดชอบ จะต้องมีการโอนย้ายข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นๆมายัง Oracle เป็นประจำ พบว่าการย้าย MySql มายัง Oracle นั้นสามารถทำได้ง่ายมาก (อาจเพราะเจ้าของเดียวกัน) โดยมีวิธีดังนี้ 1. ดาวส์โหลดและติดตั้ง Oracle SQL Developer 2. ทำการเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูล Oracle ด้วย User system 3. สร้าง Oracle User สำหรับเก็บข้อมูลจาก MySql และกำหนดสิทธิให้เรียบร้อย 4. ดาวส์โหลดไฟล์ Third Party JDBC Driver สำหรับ My Sql 5. เปิดการใช้งาน Third Party JDBC Driver โดยไปที่ Tools > Preferences > Database > Third Party JDBC Drivers 6. ทำการ Restart โปรแกรม Sql Developer เมื่อทำการ New Connection จะมีตัวเลือกเพื่อเชื่อมต่อไปยัง My Sql 7. ทำการเชื่อมต่อไปยัง My Sql  หากต้องการเพียง Data, Schema สามารถคลิกขวาตารางที่ต้องการเลือก Copy To Oracle ได้เลย เพียงเท่านี้ ข้อมูล Table, Field ก็จะถูกโอนย้ายและ Map Data Type ให้อัตโนมัติสามารถ Query จาก Oracle ได้เลย แต่สำหรับงานที่ต้องการ Constraint, Trigger, ฯลฯ ด้วย จะมีขั้นตอนเพิ่มเติมดังนี้ ไปที่  Tools > Migration > Migrate กำหนด User ที่จะใช้เป็น Migrate Repository (เก็บข้อมูลต่างๆขณะดำเนินการ Migrate) 2. กำหนดโฟลเดอร์จัดเก็บ Script, Log file 3. เลือก Connection My Sql ที่ต้องการ Migrate 4. เลือก My Sql User ที่ต้องการ Migrate 5. การ Map Data Type สามารถใช้ค่า Default ได้ 6. เลือก Sql Object ที่ต้องการ 7. เลือก Connection ของ DB User ที่ใช้เก็บโครงสร้าง และคำสั่งต่างๆ ที่ระบบใช้ในการ Migrate 8. กำหนด User เป้าหมายที่จะนำข้อมูลเข้า จากนั้นเลือก Finish เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยครับ ข้อควรระวังคือการเลือก Repository User ควรสร้างขึ้นมาใหม่ เนื่องจากจะมีการสร้าง Table ขึ้นมาระหว่างการ Migrate และการกำหนดสิทธิให้กับ User ต่างๆให้ครบถ้วน แบบที่สองดูเหมือนหลายขั้นตอน แต่ก็เป็นแบบ Wizard ที่ใช้งานได้ไม่ยาก หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

[บันทึกกันลืม] วิธีย้ายทั้ง Folder จาก Google Drive ไปยัง Shared Drives ขององค์กร

จากที่ Google Apps for Education หรือ Google Workspace for Education ปัจจุบัน ซึ่งจากเดิม ชูนโยบาย Unlimited Storage มาเป็น 100 GB ต่อ คน และ 100 TB ต่อ องค์กร — เพียงพอ ต่อการใช้งานเพื่อการศึกษาจริง ๆ ถ้าจัดการให้ดี เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลง ผมว่า ก็เรา ๆ นี่แหล่ะ ใช้พื้นที่เค้าแบบไม่ใช่เพื่อการศึกษา ต้องยอมรับก่อน แล้วเรามาแก้ไขกัน มีบางคนในองค์กร เอาไปเก็บไฟล์หนัง ไม่เกี่ยวกับการศึกษา จริงหรือไม่ รู้อยู่แก่ใจ, เรื่องนี้ Super Admin ขององค์กรตรวจสอบได้ ด้วย Google Vault จัดการให้เด็ดขาด (Super Admin รายงานได้ ผู้มีอำนาจต้องตัดสินใจ … กล้าไม๊ ค่อยมาดูกัน) บางองค์กรไม่มีมาตรการควบคุมบัญชี สร้างมากเกินความจำเป็น แล้วบางคนเอาบัญชีไปขายใน Lazada, Shopee จริงไม่จริง รู้อยู่แก่ใจ บางคน เอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ได้สิทธิ์ แต่เอาพื้นที่ Shared Drives ไปปล่อยให้ เว็บโป๊ เว็บหนังซีรี่ ใช้พื้นที่ซะงั้น ก็เป็นธรรมดา Google ลงทุนทรัพยากร แต่ไม่ได้ใช้ให้ถูกตามวัตถุประสงค์ ก็ต้องมีการควบคุม งานส่วนตัว ใช้ My Drive, งานของหน่วยงาน ใช้ Shared Drives จบ (บางคนบอกว่า ย้ายไป Microsoft OneDrive ก็ได้วะ 5TB … ทำเหมือนเดิม เดี๋ยวก็จะได้ผลเหมือนเดิม) ผมได้เล่าไว้บ้างแล้ว เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ของ Shared Drives มาดูวิธีแก้ปัญหากันดีกว่า จากเดิม คนในสำนักงานก็จะชอบใช้ My Drive แล้ว Share ให้คนในหน่วยงานใช้กัน ก็เข้าใจได้ เพราะตอนแรกไม่มี Shared Drives เคยทำอย่างไรก็จะทำอย่างนั้น ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว คือ งานส่วนรวม เอาไปเก็บใน Shared Drive เอาหล่ะ สมมุติว่า เราเคยใช้ Folder หนึ่ง เก็บสารพัดสิ่งที่เกี่ยวกับงานจริง ๆ แต่มันอยู่ใน My Drive (พื้นที่ส่วนตัว) สมมุติใช้ Folder ชื่อ parent ในนั้นมี Sub folder ย่อย และมีไฟล์ย่อย ๆ ซ้อน ๆ ลงไปจำนวนมาก แนะนำว่า แต่ละหน่วยงาน เช่น ระดับภาควิชา หรือ ระดับหน่วยงาน ไปสร้างพื้นที่ไว้บน Shared Drives ปัญหาคือ … การย้ายไฟล์จาก​ Google Drives ไปยัง Shared Drives นั้น ทำได้ในระดับไฟล์ ไม่สามารถย้ายทั้ง Folder ได้ ใครใคร่ย้าย ก็เลือกไฟล์ แล้วคลิกขวา Move to ไป แต่กรณี ของผมมีไฟล์ ที่สร้างจากอุปกรณ์ ขนาด 400-800 kb จำนวน …. 60 GB คิดคร่าว ๆ 2 ไฟล์ เป็น 1 MB ก็ราว ๆ 60 x 1024 x 2 = 122,880

Read More »

[บันทึกกันลืม] แก้ปัญหารัน Shell Script กับมือทุกอย่างสมบูรณ์ แต่พอใช้ cron แล้วพัง

เรา “จำกันมา” ว่า การเขียน Shell Script นั้น ทำด้วยมืออย่างไร ก็เขียนลงไปในไฟล์ แล้วเอา Shell เช่น Bash ไป Run แล้วเอาไปตั้งในไฟล์ /etc/cron.d/mycron ปัญหาคือ บางทีเขียนด้วยภาษา Script เช่น python, R แล้วบางที ก็อยากจะเพิ่มภาษาไทยเข้าไป ตามสูตร ก็ต้องใช้คำสั่ง locale ตรวจสอบ ก็จะพบว่า เป็น UTF-8 สวยงาม เขียนใส่ข้อมูลที่ประมวลผลมา ก็จะได้เป็นภาษาไทยสวยงาม แต่ พอเอาไปใส่ Shell Script ผลออกมาเป็นตัวอักษรบนตัวเลข ซึ่งนั่นคือ UTF-8 HEX code เหตุของปัญหา ก็ลองเอา คำสั่ง locale ไปใส่ใน Shell Script แล้วดูผลในไฟล์พบว่า สรุปคือ locale ตอนใช้ cron เป็น Default อย่างนี้ (พอดีทำงานบน docker ที่ base image มาจาก debian) วิธีแก้ไขปัญหา google สิครับ รออะไร ไปพบข้อมูลจาก https://www.logikdev.com/2010/02/02/locale-settings-for-your-cron-job/ คือ ให้ใส่ ลงไปใน cron ด้วย อย่างเช่น แล้วก็อย่าลืม เป็นอันเรียบร้อย หวังว่าจะมีประโยชน์ครับ

Read More »

Youtube ~ Checks !!

Hi ผู้อ่านทุกๆ ท่านนนนนนน ช่วงนี้เป็นช่วงการระบาดระลอกใหม่ ของ COVID-19 ซึ่งเรื่องที่ตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เรื่องนึงเลยก็คือ การต้องทำงานแบบ WFH นั่นเอง !! (เฮ้อ ….) ส่วนตัวของผู้เขียนงานหลักๆ ในช่วงนี้ก็จะเป็นการอบรมออนไลน์ และสร้างสื่อวิดีโอ เพื่อแนะนำการใช้งานง่ายๆ ของระบบที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ โดยผู้เขียนเลือกจะที่ใช้ช่องทางการเผยแพร่วิดีโอ ผ่าน Youtube ซึ่งสะดวก และง่ายต่อการเข้าถึง ล่าสุด Youtube เหมือนจะมีเครื่องมือใหม่คือ Youtube Studio ที่มีส่วนเข้ามาช่วยตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ของวิดีโอ ตั้งแต่ในส่วนขั้นตอนการอัปโหลด ก่อนการเผยแพร่ออกไป ซึ่ง … เฮ้ย มันโอเคเลยนะ ที่เราจะรู้ว่าวิดีโอเรามีการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ หรือไม่ ไม่ใช่อัปโหลดแล้ว คนอื่นมาดูแล้ว แต่เพิ่งได้รับแจ้งว่าเนื้อหาภายในมีการละเมิดลิขสิทธิ์ !! (ตัวผู้เขียนเองก็เคยโดนอยู่บ่อยๆ แหะๆ) แล้วขั้นตอนการตรวจสอบทีว่าเพิ่มเข้ามาเนี่ย มันอยู่ตรงไหน ? งั้นไป ไปดูกันเลย …. ขอเริ่มต้นด้วยขั้นตอนหลักๆ ในการอัปโหลดวิดีโอ กันก่อนนะ ทุกคน ขั้นตอนที่ 1 เลือก “อัปโหลดวิดีโอ” ขั้นตอนที่ 2 เลือกวิดีโอที่ต้องการอัปโหลด ขั้นตอนที่ 3 อัปโหลดวิดีโอ เตรียมเผยแพร่ ทุกคนสังเกตุ เห็นอะไรมั้ย …. นั่นไง ส่วนที่เขียนว่า “ตรวจสอบ” (Checks) เมื่อระบบประมวลผลเรียบร้อยแล้ว หากวิดีโอของเราที่อัปโหลดขึ้นไป ได้รับการตรวจสอบเบื้องต้น และพบว่าผ่าน ตรงส่วน “การตรวจสอบ” ดังกล่าวจะขึ้นเครื่องหมายถูก เหมือนตัวอย่างในภาพ จากนั้นให้เรากดปุ่ม “ถัดไป” เมื่อเราคลิกมาจนถึงส่วนของการตรวจสอบ ภายในก็จะมีข้อความบอกเราถึงรายละเอียดในการตรวจสอบลิขสิทธิ์ พบ/ไม่พบปัญหา และเราก็ยังสามารถคลิก “ดูข้อมูลเพิ่มเติม” เพื่อศึกษารายละเอียดได้มากยิ่งขึ้นด้วยนะ เจ้าตัวเครื่องมือ Checks เนี่ย หลักๆ เลยจะทำหน้าที่ตรวจสอบวิดีโอที่เราอัปโหลด ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านลิขสิทธิ์หรือไม่ ที่พบโดยส่วนใหญ่เลยคือพวกเพลงที่ใช้ประกอบในวิดีโอของเรานั่นแหละ ข้อดี ของเจ้าตัวเครื่องมือใหม่นี้ จะช่วยให้เราๆ หรือชาว youtuber, creator ได้มีโอกาสแก้ปัญหาในวิดีโอของเราก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการเผยแพร่ จะแสดงให้เราเห็นรายละเอียดของปัญหา และผลกระทบที่จะมีตามมาได้ หรือง่ายๆ เลย Checks จะช่วยปกป้องตัวเราให้ไม่ต้องไปเผชิญกับปัญหาการร้องเรียนการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยมิได้ตั้งใจนั่นเอง ผู้เขียนหวังว่า blog สั้นๆ ที่ได้นำมาเล่าสู่กันฟังนี้จะช่วยให้ผู้อ่านหลายๆ ท่าน ได้รับรู้ข้อมูล และนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยแหละเนอะ ขอบคุณแหล่งที่มา : youtube.com มานะที่นี้ด้วยแง๊บบบบ

Read More »

Chrome ~ Live Caption

กราบสวัสดีคุณผู้อ่านทุกๆ ท่านนนน … blog วันนี้ ผู้เขียนจะขอว่าด้วยเรื่องของ Google Chrome Live Caption !! คาดว่าหลายๆ ท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเช่นเดียวกับผู้เขียน เช่น เมื่อเราต้องการดูข้อมูลวิธีการอะไรสักอย่างนึง เราก็จะ Search google เพื่อหาข้อมูล บ่อยครั้งที่ข้อมูลที่เราได้จะอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ซึ่งมีผู้รู้หลายๆ ท่านมาแชร์เอาไว้ และก็บ่อยครั้งอีกเช่นเดียวกัน ที่ความรู้เหล่านั้นอยู่ในรูปแบบภาษาอังกฤษ (ซึ่งทักษะภาษาอังกฤษของผู้เขียนก็ … นะ T T) ปัญหาของผู้เขียนก็คือ ฟังไม่ทัน ฟังไม่เข้าใจ เค้าพูดอะไร !! 55+ ดังนั้นผู้เขียนจึงหาข้อมูล หาวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ตัวเองสามารถเข้าใจในข้อมูลเหล่านั้นได้เพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลาที่จำกัด ค้นไปค้นมา นั่นแน่ … ก็มาเจอกับ Feature ใหม่ของ Google Chrome ที่มีชื่อว่า Live Caption นั่นเอง Live Caption บน Google Chrome แปลง่ายๆ เลยก็คือ มันจะช่วยขึ้น Subtitle ให้เราสามารถอ่านตามไปได้ และสามารถใช้งานได้ดีกับวิดีโอบน youtube หรือแม้กระทั่ง Podcast (แต่ปัจจุบันยังรองรับแค่ภาษาอังกฤษ เท่านั้นนะ) คำถามถัดมา แล้วเราจะทำยังไงให้ Google Chrome ของเรา แสดง Live Caption ได้ละ … ไป ไปเริ่มตั้งค่ากันเลย step 1 : เปิด Browser google chrome ขึ้นมาก่อน จากนั้นไปที่จุด 3 จุด มุมขวาบนของ Browser —> เลือก Settings step 2 : เลือกเมนู Advance step 3 : เลือก Accessibility step 4 : สุดท้ายเลือก on คำสั่ง live caption ตามในรูปเล้ยยยย เมื่อเราตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาดูผลลัพธ์กัน ว่าจะเป็นยังไง หน้าตาที่ได้ก็ประมาณตามวิดีโอตัวอย่างด้านล่างนี้นะ จริงๆ แล้วจากที่หาข้อมูลพบว่า Feature Live Caption ตัวนี้เนี่ย เค้าออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้มีปัญหาทางการได้ยิน แต่เอาจริงๆ นะ ผู้เขียนมองว่ามันมีประโยชน์ไม่น้อยเลยกับคนทั่วไป ถึงแม้ตอนนี้จะยังคงรองรับเพียงแค่ภาษาอังกฤษ แต่นั่นผู้เขียนก็มองว่ามันดีมากๆ แล้ว แถมยังสามารถใช้ได้ทั้งการดูวิดีโอแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์ เลยด้วย ดีมากจริงๆ ยังไงก็แล้วแต่ ผู้เขียนก็หวังเหมือนเดิมอีกเช่นเคย หวังว่า blog นี้จะยังคงมีประโยชน์กับหลายๆ คน ไม่มากก็น้อย แนะนำให้ลองไปใช้กันดูนะทุกคน ขอบคุณแหล่งที่มา : ข่าวไอทีใน https://www.techhub.in.th/ ไว้น่ะที่นี้แง๊บบบบ

Read More »