Crystal Report : รูปที่ใส่ไป ทำไม size ถึงกลับไป(ใหญ่)เท่าเดิม

เคยหรือไม่ ที่ใส่รูปลงไปในรายงาน จากนั้นหากต้องการ Config ค่าของรูปนั้น เมื่อจัดการเสร็จ กด OK ออกมา รูปที่ท่านใส่ไปนั้น กลับขยายกลายร่างกลับสู่ขนาดจริง ซึ่งบางครั้งหากท่านไม่ได้มีการย่อขนาดรูปให้ตรงตามที่ต้องการก่อนแต่ใช้วิธี Config ในส่วนของ Object Picture แทน ท่านอาจจะเจอปัญหานี้กันบ้าง วิธีแก้ไขง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆ หลาย ๆ ท่านอาจจะคาดไม่ถึง หรือหลาย ๆ ท่านอาจจะรู้แล้ว แต่ผู้เขียนเพิ่งได้กลับมาจับ Crystal Report อีกครั้ง ได้เจอปัญหานี้เข้า เลยอยากมาแชร์ และเป็นการบันทึกไว้อ่านเองด้วย มาดูกันเลยค่ะว่า วิธีจัดการมีขั้นตอนอย่างไร ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตกใจกับความง่ายยยยยยย นี้นะคะ ไปกันเล้ยยยยย ^^ เมื่อท่านลาก Object Picture มาแล้ว ให้เลือก Menu Format Object ที่ ๆ ท่านเข้าไป Config รูปปกติค่ะ จากนั้นที่ Tab Picture เมื่อท่านตั้งค่าทุกอย่างเสร็จแล้วอย่าเพิ่งกดปุ่ม OK นะคะ เบรกก๊อนนน >< ให้สลับกลับไปที่ Tab Common ก่อนค่ะ สังเกตดี ๆ นะคะ ที่วงไว้สีแดง ๆ หนา ๆ ตัวนี้เลยค่ะ Can Grow เจ้าปัญหา ให้กลับมาดูก่อนนะคะ ว่ามีเครื่องหมายถูกอยู่ข้างหน้ารึเปล่า ถ้าไม่มี ไม่เป็นไรค่ะ นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ให้กด OK ออกได้เล้ยยย แต่ถ้ามีเครื่องหมายถูกอยู่ เอาออกด่วน ๆๆๆๆ เลยค่ะ ไม่งั้น รูปที่ท่านใส่ไว้ ก็จะ Grow กลับสู่ขนาดดั้งเดิม ซึ่งหากท่านใส่ไว้แบบไม่ปรับขนาดมาก่อน แล้วมีขนาดใหญ่มาก ก็จะเป็นปัญหาได้ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂

Read More »

Crystal Report : Term & Condition หรือ Privacy Policy ที่ต้องมีต่อท้ายรายงาน ทำได้อย่างไร

หลาย ๆ ครั้งที่เราพิมพ์เอกสาร แล้วจำเป็นต้องมีเอกสารแนบท้ายกระดาษเป็นพวก Term & Condition หรือ Privacy Policy ซึ่งเอกสารพวกนี้จะอยู่ท้ายสุดของเอกสาร และทุกครั้งเมื่อมีการพิมพ์เอกสารชุดอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องมีเอกสารเดียวกันนี้แนบท้ายไป เนื่องจากช่วงนี้ได้มีการเข้ามาจับ Crystal Report อีกครั้ง จึงได้มีโอกาสได้ทำเอกสารแนบท้ายนี้ จึงต้องการเขียนไว้สำหรับเตือนความจำและอยากส่งต่อให้กับผู้ที่กำลังทำได้ทราบต่อไป อ่ะ เรามาเริ่มกันเลย อันดับแรก เริ่มจากสร้างรายงานที่เป็นไฟล์เอกสารแนบท้าย สร้างและจัดรูปแบบให้เรียบร้อย เพราะต่อไปนี้ ไฟล์เอกสารแนบท้ายเหล่านี้ จะกลายไปเป็น Subreport ของรายงานหลัก โดยไปที่ส่วนของ Report Footer คลิกขวา เลือก Insert -> Subreport ระบบจะมีหน้าต่าง Subreport มาให้ระบุไฟล์ Crystal Report ที่ต้องการให้เป็น Subreport ซึ่งให้เลือกไฟล์ที่เราสร้างไว้ จากนั้นจะได้ Subreport วางไว้ในส่วนของ Section Report Footer เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปเป็นการ Config ให้สามารถแสดง Subreport เป็นหน้าสุดท้ายโดย คลิกขวาที่แถบ Section เลือก Section Export ไปที่ Report Footer -> Tab Paging ให้ ทำเครื่องหมาย / หน้า New Page Before แต่เนื่องจากเราวาง Subreport ไว้ที่ Section Report Footer ทำให้เมื่อลอง Preview จะพบว่า หัวกระดาษและท้ายกระดาษส่วนอื่นแสดงด้วย ดังนั้นเราต้องมาจัดการในส่วนอื่น ๆ โดยเขียน Formula ใน Section อื่น ๆ ที่แสดงทุกหน้า เช่น Section Report Header, Section Page Header เป็นต้น ในที่นี้จะจัดการส่วน Section Page Header a จากนั้นทางขวา ในส่วนของ Suppress คลิกที่ x-2 เพื่อทำการเขียน Formula จะพบหน้าต่าง Formula จากนั้น เขียนคำสั่งดังภาพด้านล่าง ซึ่งเป็นคำสั่งตรวจสอบว่า ถ้าหน้าปัจจุบัน คือหน้าสุดท้าย ให้ทำการซ่อน Section Page Header จากนั้นกด Save and close เพื่อปิด และเขียนคำสั่งเดียวกันนี้ใน Section ส่วนอื่น ๆ ที่ต้องการซ่อนในหน้าสุดท้ายจนครบ จากนั้นทดลอง Run ดูจะพบว่า หน้าสุดท้ายที่ต้องการให้แสดง Term & Condition หรือ Privacy Policy จะไม่มี Section ส่วนอื่นมากวนใจ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂

Read More »

บันทึกหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วย Xbox Game Bar Hidden Feature บน Windows10

ใครที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ Windows 10 และกำลังมองหาโปรแกรมที่จะบันทึกหน้าจอเป็นคลิป โดยที่ไม่อยากจะต้องหาโปรแกรมเสริมจากที่อื่น ซึ่งอาจจะต้องเสียเงิน หรือกินพื้นที่ของเครื่องแล้วละก็ใน Windows 10 มี Hidden Feature ที่ช่วยบันทึกหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณขณะใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม ด้วย Xbox Game Bar Xbox Game Bar สร้างขึ้นใน Windows 10 เพื่อใช้จับภาพวิดีโอและภาพหน้าจอขณะเล่นเกมพีซีได้ แม้ว่าชื่อจะเหมือนทำมาเฉพาะสำหรับเกม แต่จริงๆแล้ว สามารถบันทึกได้หน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณเหมือนโปรแกรมบันทึกภาพทั่วไปเลย วิธีการบันทึก• กดปุ่ม Windows + G เพื่อเริ่มใช้งาน ซึ่งจะปรากฏแถบเครื่องมือต่าง ๆ ให้เลือกใช้งาน (สามารถกดจับภาพหน้าจอ, กดบันทึกวิดีโอหน้าจอ, กดเปิด-ปิดไมค์ และอื่นๆ ได้จากส่วนนี้) – Capture เอาไว้ใช้ในการกดบันทึกต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพ, บันทึกหน้าจอหรือปิดไมค์ – Audio ไว้สำหรับตั้งค่าระบบเสียงของคุณ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือเสียงจากในตัวเครื่องและเสียงที่มาจากไมค์ของคุณ – Performance แสดงสถานะการใช้ทรัพยากรในเครื่องของคุณ สามารถกดบันทึกวิดีโอหรือจับภาพหน้าจอได้ที่แถบ Game Bar หรือกดคีย์ลัด ดังนี้• เริ่มต้น/หยุด การบันทึก (Start/stop recording)กดปุ่ม : Windows+Alt+R • จับภาพหน้าจอ (Take screenshot) กดปุ่ม Windows +Alt+Prtscn • เปิด/ปิด ไมโครโฟน (Microphone on/off)กดปุ่ม Windows+Alt+M สำหรับไฟล์ที่บันทึกโดยปกติจะถูกเก็บไว้ที่ : C:\Users\USER\Videos\Captures คุณสามารถตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณว่าได้เปิดใช้งานฟังก์ชัน Xbox Game Bar แล้วหรือไม่ โดยพิมพ์ Settings ตรงช่องค้นหาด้านซ้ายของหน้าจอ แล้วเลือกเมนู Settings และเลือก Gaming จะปรากฎหน้า Xbox Game Bar ให้ตรวจสอบว่า On ไว้หรือไม่ หากต้องการปิดการใช้งาน ก็สามารถ Off ไว้ได้หรือต้องการเปลี่ยน Key board Shortcut สำหรับการใช้งานฟังก์ชันนี้ ก็สามารถกำหนดเองได้จากหน้านี้เช่นกัน เมนู Captures ทางซ้าย ในส่วนนี้จะเป็นการกำหนดโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บไฟล์วิดีโอที่อัดไว้ แค่เพียงกดไม่กี่ปุ่ม คุณก็สามารถบันทึกหน้าจอของคุณ หรือจะทำสื่อต่าง ๆ ได้แล้ว ของดีใกล้ ๆ ตัวลองเข้าไปใช้ดู คุณอาจจะติดใจก็ได้นะคะ ขอขอบคุณ : YouTube : Win G

Read More »

ขยับแถว (row) ขึ้น/ลง ใน ASP.NET Gridview ด้วย Code Behind

เช่นเคยครับ จากบล็อก ขยับแถว (row) ขึ้น/ลง ใน ASP.NET Gridview ด้วย jQuery เป็นการเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ ASP.NET Gridview ด้วยการประยุกต์ใช้ jQuery บทความต่อมา ก็จะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์เดียวกัน แต่จะเป็นการพัฒนาด้วยโค้ดฝั่ง code behind เนื่องจากการทำงานฝั่ง code behind จะไม่สามารถเคลื่อนย้ายเร็คคอร์ดของ gridview ได้โดยตรง ดังนั้นเราจะทำทางอ้อม ด้วยการใช้ฟิลด์ในตารางฟิลด์หนึ่งมาเป็นข้อมูลสำหรับเรียงใน Gridview เมื่อต้องการย้ายเร็คคอร์ด เราก็จะเปลี่ยนตัวเลขในฟิลด์นี้ แล้วทำการเรียงข้อมูลใหม่ และแสดงผลข้อมูลใน Gridview อีกครั้ง ไปดูขั้นตอนต่างๆ กันเลยครับ 1. ในส่วนของโค้ด HTML จะมีการปรับปรุงเพิ่มเล็กน้อยเฉพาะในส่วนของปุ่ม UP/DOWN ซึ่งเราจะเปลี่ยนไปใช้ปุ่มที่เป็นคอนโทรลของ ASP.NET เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมจากฝั่ง code behind ได้ โดย CommndName ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเป็นการเลือก up หรือ down CommandArgument ใช้สำหรับระบุแถวที่คลิกเลือก 2. ในส่วนของโค้ดที่ใช้สร้างข้อมูลเพื่อแสดงใน Gridview เราจะเพิ่มฟิลด์ขึ้นมาอีก 1 ฟิลด์ เพื่อใช้กำหนดลำดับการแสดงผล จากตัวอย่างโค้ด ก็คือฟิลด์ SEQ 3. เพิ่มโค้ดในส่วนของ gvBib_RowCommand ซึ่งเป็น event ที่จะเกิดเมื่อมีการคลิกปุ่ม UP หรือ DOWN เมื่อทดลองรัน จะปรากฏผลลัพธ์ดังรูปด้านล่าง เมื่อทดลองคลิกปุ่ม UP หรือ DOWN ระบบก็สามารถย้ายแถวที่ต้องการไปยังตำแหน่งที่ก่อนหน้าหรือถัดไปได้อย่างถูกต้อง ยกเว้นการคลิก UP ที่แถวแรก และ DOWN ที่แถวสุดท้าย จะเกิด Error ดังภาพ โดยเราจะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมก่อนว่า เมื่อคลิกปุ่ม UP จะต้องไม่ใช่แถวแรก และคลิกปุ่ม DOWN จะต้องไม่ใช่แถวสุดท้าย เมื่อทดสอบรันอีกครั้ง ก็พบว่าสามารถทำงานได้ปกติ เมื่อคลิกปุ่ม UP ที่แถวแรก หรือปุ่ม DOWN ที่แถวสุดท้าย ก็จะไม่เกิด Error ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ที่ผู้อ่านน่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตัวเอง จนกว่าจะพบกันใหม่ สวัสดีครับ แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://stackoverflow.com/questions/44976025/move-rows-up-and-down-in-asp-net-gridview https://www.aspdotnet-suresh.com/2012/06/move-aspnet-gridview-rows-up-and-down.html https://stackoverflow.com/questions/7994371/how-to-move-the-rows-in-the-gridview-up-and-down https://stackoverflow.com/questions/11986507/move-asp-net-gridview-rows-up-and-down-with-button-click-with-sorting-enabled

Read More »