วิธีการติดตั้ง SDK Sentry บน Platforms .NET (Asp.Net)

Step 1 ลง Sentry.AspNet ผ่าน NuGet Package Manager โดยใช้คำสั่ง Install-Package Sentry.AspNet -Version 3.20.1 Step 2 Create project ผ่าน Sentry เลือก Server เป็น ASP.NET และตั้งชื่อ aspnet-e-admission จากนั้น ก็กดปุ่ม Create Project เมื่อกดสร้างเรียบร้อยแล้ว จะเห็น Project ชื่อ aspnet-e-admission ตามรูป เมื่อคลิกดูรายละเอียด จะแสดงดังภาพ Step 3 Project Settings>Client Keys นำค่า DSN ที่อยู่ในส่วน Client Keys ไปใช้งานต่อในส่วนของตั้งค่า Web.config ศึกษาวิธีการตั้งค่า SDK Sentry บน Platforms .NET Step 1 ตั้งค่า Web.config เพิ่ม key “SentryDsn” และค่า value ได้มาจาก Project Settings>Client Keys Step 2 ตั้งค่า Global.asax.cs 2.1 เรียก library sentry ที่ต้องใช้งาน 2.2 ตั้งค่า Application_Start 2.3 ตั้งค่า Application_BeginRequest 2.4 ตั้งค่า Application_EndRequest 2.5 ตั้งค่า Application_Error 2.6 ตั้งค่า Application_End Step 3 ทดสอบรันเวบ และเปิด projects ใน Sentry เมื่อทดสอบรันเวบ ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (PSU Admission) จะเห็น Latest Releases ถ้าเลขเวอร์ชันตรงกับที่รัน แสดงว่าติดตั้งสำเร็จ หวังว่า km จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ ที่มา https://docs.sentry.io/platforms/dotnet/guides/aspnet/

Read More »

เปลี่ยน iPad เป็นหน้าจอเสริมไร้สายสำหรับ PC/Notebook (Windows)

ในปัจจุบัน iPad เรียกว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในชีวิตประจำวันของใครหลายๆคน แต่บางครั้งซื้อ iPad มาแล้วรู้สึกว่ายังใช้งานไม่คุ้มค่า ไม่ค่อยได้หยิบมาเล่นเพราะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานมากกว่า แล้วถ้าเราสามารถเอา iPad มาใช้ประโยชน์เพิ่มเป็นจอเสริมพกพา เชื่อมต่อแบบไร้สาย มีแบตเตอรี่ในตัวใช้งานได้สบายๆ หลายชม.แบบไม่ต้องเสียบสายชาร์จ แถมยังใช้ความสามารถขอจอทัชสกรีน apple pencil ได้ น่าจะใช้งานได้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ถ้าทำงานในฝั่งของ Mac OS สามารถใช้งาน iPad เป็นจอเสริมได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม แต่ถ้าฝั่งของ Windows เราจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม(Freeware) ที่ชื่อว่า “ Spacedesk “ โดยจะต้องติดตั้งทั้งใน Notebook และ iPad Download Spacedesk : https://www.spacedesk.net/ โปรแกรมรองรับการใช้งานบน Windows 8.1/10/11 Notebook/PC เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมบน Windows แล้วให้เปิดโปรแกรม Spacedesk จากช่อง Search หรือจาก Taskbar ก็ได้ ให้ตรวจสอบ IP ที่ Notebook ทำการเชื่อมต่อ WIFI (เนื่องจากทั้ง Notebook และ iPad ต้องเชื่อมต่ออยู่บนเครือข่ายเดียวกัน) iPad/Tablet เมื่อติดตั้ง Spacedesk บน iPad แล้วให้กดเพิ่ม IP ของ Notebook ตามรูป เมื่อตรวจสอบที่โปรแกรมฝั่ง Notebook จะแสดงสถานะการเชื่อมต่อดังรูป และข้อดีอีกอย่างของการใช้งาน iPad เป็นจอเสริมคือคือการใช้ความสามารถของการ Touch Screen และ Apple Pencil บน Windows ได้

Read More »

Data cleansing ทำให้ข้อมูลสะอาดก่อนเอาไปใช้/วิเคราะห์

Data cleansing เป็นส่วนสำคัญในการทำ ETL (Extract, Transform, Load) data cleansing process เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับ การระบุและ แก้ไขหรือลบ ข้อผิดพลาด ความไม่สอดคล้องหรือความไม่แม่นยำในข้อมูลก่อนที่จะโหลดเข้าสู่ที่เก็บข้อมูล ขั้นตอนการทำ Data cleansing ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ data cleansing ทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ผ่านกระบวนการ ETL ไปยังที่เก็บข้อมูลต้องมี accurate consistent และ reliable โดยเป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ตั้งไว้ตามมาตราฐานขององค์กรหรือตามมาตราฐานสากล Data Profiling การประมวลผลข้อมูล (Data Profiling) เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการ ETL (Extract, Transform, Load) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์คุณภาพ โครงสร้าง และเนื้อหาของข้อมูลเพื่อตรวจสอบปัญหาหรือความไม่สอดคล้องที่ต้องการแก้ไขก่อนการโหลดข้อมูลเข้าสู่ระบบเป้าหมาย ขั้นตอนดังกล่าวประกอบไปด้วย: โดยรวมแล้ว การทำ Data profiling เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการ ETL เนื่องจากมันช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่โหลดเข้าระบบเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สอดคล้องกัน และเชื่อถือได้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ Data Standardization จัดข้อมูลให้เข้ากับมาตราฐานองค์กรหรือมาตราฐานสากล ตัวอย่างมาตราฐานข้อมูลของไทย คู่มือการจัดทํามาตรฐานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐData Standardization for e-Government Interoperability Manual Data Parsing เป็นกระบวนการแปลงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น ที่อยู่ จะแยกออกเป็น บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นต้น การแยกวิเคราะห์ข้อมูลสามารถใช้เพื่อดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มีหลายวิธีในการทำ Data Parsing วิธีการหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปคือการใช้ parser generator สำหรับแปลงรูปแบบข้อมูลเฉพาะ เมื่อสร้างโปรแกรมแยกวิเคราะห์แล้ว สามารถใช้เพื่อแยกวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ อีกวิธีหนึ่งในการทำ Data Parsing คือการใช้ library หรือ API ทั้งทำเองหรือเอาที่ท่านอื่นๆทำไว้แล้ว Data Transformation เปลี่ยนข้อมูลไปเป็นรูปแบบที่ต้องการ โดยใช้รูปแบบดังนี้ 1.ใช้ data dictionary เพื่อให้ตรงกันทั้งหมด เช่น ตัวย่อ กทม. กรุงเทพฯ เป็นต้น 2.ใช้ data validation tool เพื่อความถูกต้อง (accurate) 3.ใช้ data quality tool เพื่อระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดในข้อมูล (correct errors) 4.ใช้ data transformation tool ทำงานเอง Data Enrichment กระบวนการเติมข้อมูลหรือการทำให้ข้อมูลที่เรามีอยู่แล้วสมบูรณ์ขึ้น โดยมาเป็นข้อมูลจากภายนอกหรือจากแหล่งอื่นๆ เช่น มีข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาอยู่ แล้วเอาข้อมูลการได้รับทุนกับข้อมูลการกู้ยืมมาประกอบ มาเติ่มทำให้มิติของการวิเคราะห์หรือมุมมองเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น Data Deduplication การตรวจสอบการซ้ำกันของข้อมูลทำได้โดยการเขียน Query ตรวจสอบหรือใช้เครื่องมือกลุ่ม data profiling, data quality ช่วยก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Data Validation การตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ส่วนใหญ่จะทำโดยการทำ Data aggregation ข้อมูลต้นทาง ปลายทาง เหมือนเป็นการตรวจสอบกระบวนการที่ทำมาว่าถูกต้องตามกฏเกณฑ์ที่ว่างไว้หรือไม่ Documentations การเขียนเอกสารการทำความสะอาดข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทำความสะอาดข้อมูล มันช่วยให้แน่ใจว่ากระบวนการทำความสะอาดข้อมูลสามารถทำซ้ำได้และมีประสิทธิภาพ การเขียนเอกสารควรรวมข้อมูลดังนี้: การเขียนเอกสารการทำความสะอาดข้อมูลควรเขียนอย่างชัดเจนและกระชับ และควรเข้าใจและสามารถติดตามได้ง่าย การเอกสารควรอัพเดทเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในโครงการทำความสะอาดข้อมูลด้วย เคล็ดลับสำหรับการเขียนเอกสารการทำความสะอาดข้อมูล: Monitoring เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยติดตามการทำ data cleansing เป็นไปตามกฏหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ ตรวจสอบ error log มีข้อมูลส่วนไหนมีปัญหาดำเนินการไม่ได้บ้าง อาจจะทำเป็น Dashboard สำหรับ Monitoring Data Cleansing Process แสดงวันเวลาดำเนินการ ผลลัพธ์สำเร็จหรือ error เท่าไร เป็นต้น Check List ทั้งหมดนี้ก็คืองานที่ต้องทำและต้องตรวจสอบสำหรับการทำ Data cleansing ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่รู้จบ ทำวนไปเพื่อรักษาความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลไปจนกว่าไม่มีใครใช้ข้อมูลนั้นอีกแล้ว ขอบคุณสำหรับการเข้ามาอ่านบทความนี้นะครับ บันทึกไว้เพื่อช่วยจำในการทำงาน ถ้าผิดพลาดประการใด สามารถ comment แนะนำได้นะครับ

Read More »

มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.2 : ลงมือสร้าง Flow ด้วย Power Automate)

            หลังจากที่ EP. ที่แล้ว เราได้มีการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ทั้งในส่วนของแบบฟอร์มที่จะใช้ในการกรอกข้อมูล และลิสต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลกันไปแล้ว แต่ถ้าใครยังไม่เคยอ่าน สามารถติดตามได้ที่ลิงค์นี้นะคะ มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.1 : ขั้นตอนการเตรียมตัว) และมาถึง EP.นี้ ก็ได้เวลาลงมือสร้าง Flow ที่จะควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ ที่จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้กับเราได้โดยที่เราไม่ต้องลงมือเองกันแล้ว และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มขั้นตอนต่อไปกันเลยดีกว่านะคะ ขั้นตอนการสร้าง Flow โดยใช้ Power Automate  1.ไปยัง Power Automate เพื่อสร้าง Flow การทำงานที่เราต้องการ โดยการกดปุ่ม เพื่อเลือก Apps ที่เป็น Power Automate จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการเช่นเคยค่ะ 2. สร้าง Flow : โดยการกดปุ่ม Create ที่ฝั่งซ้ายมือ และเลือกรูปแบบ Flow ที่ต้องการ ซึ่งมีทั้งแบบที่สร้างใหม่ด้วยตนเองและสร้างจากต้นแบบที่มีก็ได้ แต่สำหรับกรณีนี้ขอเลือกแบบ Automated cloud flow นะคะ 3. ระบุชื่อ Flow และเหตุการณ์ที่ต้องการให้ทำงานอัตโนมัติ : เมื่อเลือกรูปแบบ Flow ที่ต้องการได้แล้ว เราจะต้องตั้งชื่อ Flow และทำการเลือกเหตุการณ์ที่เราต้องการให้ระบบทำงานอัตโนมัติกันค่ะ ซึ่งในที่นี้ขอเลือกเป็นเหตุการณ์ที่แบบฟอร์มมีการบันทึกข้อมูล หรือตัวเลือก “When a new response is submitted” ตามภาพค่ะ 4. เลือกแบบฟอร์มที่จะใช้ในการบันทึกข้อมูล : หลังจากระบุเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว เราจะต้องทำการเลือกแบบฟอร์มที่เราสนใจหลังมีการบันทึกข้อมูล โดยเลือกระบุในค่า Form Id โดยระบบจะแสดงตัวเลือกแบบฟอร์มที่เราสร้างขึ้นไว้ทั้งหมดมาให้เลือก ในที่นี้ขอเลือก “แบบฟอร์มยืมอุปกรณ์ในหน่วยงาน” นะคะ 5. สร้างขั้นตอนถัดไป : หลังจากเลือกแบบฟอร์มที่เราต้องการนำข้อมูลมาบันทึกเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก New Step เพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงานขั้นต่อไป ตามภาพค่ะ 6. ระบุเนื้อหาที่ต้องการใช้งาน : โดยขั้นตอนการทำงานต่อไปที่เราต้องดำเนินการก็คือ การนำเนื้อหาของแบบฟอร์มที่เราต้องการมาใช้งานค่ะ โดยเราจะต้องเลือก “Get response details” ซึ่งขอแนะนำวิธีในการค้นหาให้ง่ายขึ้นโดยการใส่คำค้น “Microsoft Form” ลงไป เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแบบฟอร์มของเราเป็น Microsoft Form นั่นเอง แต่หากแบบฟอร์มที่ท่านต้องการใช้เป็นชนิดอื่น ก็สามารถค้นหาตามชนิดนั้นๆได้ค่ะ 7. ระบุแบบฟอร์มและ Response Id : หลังจากนั้น ระบบจะแสดงหน้าจอให้ทำการระบุแบบฟอร์มที่ต้องการเอาเนื้อหาข้อมูลมาใช้งาน และกำหนด Response Id 8. การระบุแบบฟอ์มทำเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น หลังจากนั้นให้ทำการเลือก Response Id จากแบบฟอร์ม ตามภาพได้เลยค่ะ 9. เมื่อกำหนดค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ ให้ทำการสร้างขั้นตอนถัดไป โดยการกดปุ่ม New Step เพื่อจัดการขั้นต่อไปกันเลยค่ะ 10. ระบุ SharePoint และลิสต์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล : ขั้นตอนถัดมา ถึงเวลาที่เราจะต้องระบุว่าข้อมูลจากแบบฟอร์มที่เราระบุในขั้นตอนก่อนหน้านี้จะนำไปบันทึกลงที่ใด โดยในที่นี้จะบันทึกลงลิสต์ใน SharePoint ที่เราเตรียมไว้กันนะคะ โดยการใช้คำค้น “Sharepoint” และเลือก “Create Item” เพื่อให้ข้อมูลจากแบบฟอร์มที่เราได้มาถูกบันทึกลงในลิสต์ใน Share Point ที่เราต้องการกันค่ะ 11. โปรแกรมจะให้เราระบุไซต์ของ Share Point และลิสต์ที่เราต้องการเก็บข้อมูล 12. ระบุไซท์ใน SharePoit : เลือกไซต์ Share Point ซึ่งเป็นที่อยู่ของลิสต์ที่เราเตรียมไว้ในการเก็บข้อมูลให้ถูกต้อง 13. ระบุลิสต์ที่ต้องการเก็บข้อมูล : เลือกลิสต์ที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลจากแบบฟอร์ม ในกรณีนี้ขอเลือกลิสต์ที่ชื่อว่า “การยืม-คืนอุปกรณ์ในหน่วยงาน” ตามที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนที่ 2 ข้างต้น

Read More »

มารู้จักวิธีการบันทึกข้อมูลจาก Microsoft Form ลง List ใน SharePoint ด้วยเจ้าเครื่องมือ Power Automate กันเถอะ (EP.1 : ขั้นตอนการเตรียมตัว)

               ในปัจจุบันพบว่า มีการใช้งานแบบฟอร์มในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อความสะดวก และลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ไม่ว่าจะเป็น Google Form หรือ Microsoft form เพื่อรับข้อมูลจากผู้ใช้ เนื่องจากใช้งานง่าย และสะดวก และทำให้ผู้ที่กรอกข้อมูล สามารถกรอกข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องอาศัยการกรอกแบบฟอร์มกระดาษอย่างแต่ก่อน แต่ในส่วนของการเก็บข้อมูลและการนำไปใช้ก็อาจจะมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งโดยปกติแบบฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ก็จะสามารถ Export ข้อมูลออกมาในรูปแบบไฟล์ Excel หรือ CSV ได้อยู่แล้ว แต่สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนจะขอหยิบยกวิธีการเก็บข้อมูลจาก Microsoft form มาเก็บในลิสต์(List) ซึ่งเป็นเปรียบเสมือนฐานข้อมูลหรือตารางที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint  โดยที่ไม่ต้องมา Import ข้อมูลจากไฟล์ Excel หรือ CSV ที่เรานำมาจากแบบฟอร์มอีก ซึ่งเราจะใช้ตัวช่วยที่ชื่อว่า Power Automate เพื่อมาลดขั้นตอนการทำงานเหล่านี้ให้กับเรากันค่ะ                โดยก่อนที่เราจะเริ่มเรียนรู้วิธีการบันทึกข้อมูลดังกล่าว สิ่งที่เราจะต้องมีเพื่อให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง นั่นก็คือ แบบฟอร์ม Microsoft Form ที่ใช้ในการกรอก ลิสต์ใน SharePoint ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากแบบฟอร์ม Flow ที่สร้างจาก Power Automate ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากแบบฟอร์มลงในลิสต์นั่นเองค่ะ หมายเหตุ : ในบทความนี้ ผู้ใช้จะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างฟอร์ม และลิสต์ที่ใช้เก็บข้อมูลใน SharePoint แต่จะขอเน้นไปที่วิธีการสร้าง Flow ใน Power Automate เพื่อบันทึกข้อมูลแทนนะคะ และการใช้งาน Microsoft Form SharePoint และ Power Automate จริงๆแล้วสามารถเข้าใช้งานได้จากหลายช่องทาง แต่ในตัวอย่างนี้จะใช้ผ่าน Office 365 นะคะ                โดยใน EP. นี้จะเป็นขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์ในข้อ 1 และ 2 ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะไปสร้าง Flow ในขั้นตอนที่ 3 ให้โปรแกรมทำงานอัตโนมัติกันใน EP. ถัดไปนะคะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มขั้นตอนการจัดเตรียมเครื่องมือใน 2 ขั้นตอนแรก กันเลยดีกว่าค่ะ ขั้นตอนที่ 1 : การจัดเตรียมแบบฟอร์ม Microsoft Form โดยเราจะเตรียมและสร้างแบบฟอร์ม Microsoft Form ที่ต้องการให้เรียบร้อย ซึ่งจะต้องมีการระบุชนิดและการบังคับกรอกในข้อมูลแต่ละรายการให้ครบถ้วน โดยจะขอแนะนำวิธีการคร่าวๆ ดังนี้ 1.ไปยังแบบฟอร์ม โดยการกดปุ่มเพื่อเลือก Apps ที่เป็น Form จาก Microsoft 365 ที่เราต้องการกันค่ะ 2. หลังจากนั้นจะแสดงรายการ App ใน Microsoft Office365 มาให้เลือก ในที่นี้ขอเลือก Form ดังภาพ 3. จะปรากฎหน้าจอและปุ่มให้สร้างแบบฟอร์ม ให้กดลูกศร และเลือก New Form ตามภาพ 4. หลังจากนั้นให้ทำการระบุข้อมูลที่ต้องกรอกในแบบฟอร์ม พร้อมระบุชนิด และการบังคับกรอกของข้อมูลให้เรียบร้อย และสามารถเลือกสไตล์ให้กับแบบฟอร์มของเราเพื่อเพิ่มความสวยงามได้ด้วยเช่นกันนะคะ โดยเริ่มจากการตั้งชื่อแบบฟอร์ม และกดปุ่ม Add new เพื่อเพิ่มข้อในแบบฟอร์มของเรากันค่ะ 5. หากเราเคยมีการทำแบบฟอร์มและใส่หัวข้อก่อนหน้านี้ โปรแกรมจะดึงข้อมูลที่เราเคยทำไว้มาแนะนำ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเรา กรณีที่ข้อมูลหัวข้อคล้ายๆกัน และไม่ต้องระบุใหม่ทั้งหมด โดยจะเลือกจากส่วนของ Recommended ค่ะ หรือเราจะเลือกสร้างใหม่เองก็ได้นะคะ 6. ในกรณีที่ต้องการเพิ่มข้อใหม่ที่ไม่ได้มาจากส่วนของการแนะนำ(Recommended) โปรแกรมจะแสดงหน้าจอให้เราระบุค่าต่างๆ จะเห็นว่า ในการสร้างหัวข้อใหม่แต่ละรายการ เราสามารถระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ ดังภาพ 7. หลังจากนั้น ให้ทำการระบุชื่อหัวข้อ และสามารถระบุค่าต่างๆได้ ดังนี้ 8. หลังจากที่ได้สร้างแบบฟอร์มและกำหนดค่าต่างๆในแต่ละข้อของแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้วจะได้ผลลัพธ์ดังภาพค่ะ ตัวอย่างของแบบฟอร์มที่ใช้ในการกรอกข้อมูลในมุมมองของผู้กรอก 2. ตัวอย่างหน้าจอการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม เพิ่มเติม ท่านสามารถ Copy

Read More »