เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 6 Harbor (an enterprise-class registry server)

จากตอนที่แล้ว เราสามารถทำ Docker registry แบบง่าย ๆ โดยใช้ basic authentication (htpasswd) สำหรับในตอนนี้ เราจะมาทำ Harbor ซึ่งเป็น docker registry ที่มีผู้พัฒนาให้เราสร้างได้ง่ายมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถให้เราเชื่อมต่อ LDAP/AD เพื่อทำ user authentication และอื่น ๆ อีกมาก ผมทดสอบกับ ubuntu server เวอร์ชั่น 16.04 สมมติว่า เราจดชื่อ FQDN ไว้คือ docker-registry.in.psu.ac.th ให้แก้ไข hostname ให้ถูกต้อง ดังนี้ $ sudo vi /etc/hostname docker-registry.in.psu.ac.th สั่งรีบูตเครื่อง $ sudo reboot   ติดตั้ง ssl certificate เนื่องจากเรายังไม่ได้ใช้ certificate ที่ซื้อมา เราจะใช้ ssl-cert-snakeoil ไปก่อนก็ได้ $ sudo apt install ssl-cert ก่อนจะทำในขั้นตอนต่อไป ขณะนี้ได้ติดตั้ง docker ไว้แล้ว วิธีติดตั้งดูจากเรื่อง เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 1 Containers (Build, Ship and Run) หลังจากติดตั้ง docker แล้ว ในการติดตั้ง harbor จะต้องติดตั้ง docker-compose เพิ่ม ทำดังนี้ $ sudo apt install docker-compose   ติดตั้ง harbor $ wget https://github.com/vmware/harbor/releases/download/v1.1.2/harbor-offline-installer-v1.1.2.tgz $ tar xvf harbor-offline-installer-v1.1.2.tgz $ cd harbor/ แก้ไขค่า hostname, ui_url_protocol และ ssl_cert ดังนี้ $ vi harbor.cfg #set hostname hostname = docker-registry.in.psu.ac.th #set ui_url_protocol ui_url_protocol = https …… #The path of cert and key files for nginx, they are applied only the protocol is set to https ssl_cert = /etc/ssl/certs/ssl-cert-snakeoil.pem ssl_cert_key = /etc/ssl/private/ssl-cert-snakeoil.key ทำการติดตั้ง sudo ./install.sh   เข้า web browser ไปยัง https://docker-registry.in.psu.ac.th login เข้าเป็น username admin ในครั้งแรกจะได้รหัสผ่านคือ Harbor12345 แล้วตั้งค่า configuration ตัวอย่างเช่น Authentication ด้วย OpenLDAP แบบ Anonymous Bind ที่เครื่อง ldap server IP คือ 10.168.16.18 ดังนี้ เข้าเมนูตามลำดับดังนี้ Administration > Configuration > Authentication ใส่ข้อมูลเฉพาะช่องที่แนะนำ   Auth Mode: LDAP LDAP URL*: ldaps://10.168.16.18 LDAP Base DN*: dc=example,dc=com LDAP UID*:

Read More »

เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 5 Docker registry

อยากลองใช้ docker แต่ยังไม่ต้องการนำ image อัปโหลดไปไว้บน docker hub จะทำอย่างไรได้มั้ย ที่นี่มีคำตอบครับ เราสามารถนำ docker image ที่ได้สร้างขึ้นนั้นไปเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า Docker registry ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 อย่างคือ Public registry อยู่ที่ hub.docker.com เราจะต้องลงทะเบียนเพื่อขอมีบัญชีผู้ใช้จึงจะสามารถอัปโหลด image ไปเก็บไว้ได้ ส่วนอีกอย่างก็คือ Private (Local) registry จะเป็นการสร้างที่เก็บส่วนตัว ที่เก็บของหน่วยงาน ในบทความนี้จะสาธิตทำที่เก็บ image สำหรับทดสอบงาน การใช้งาน Docker public registry ต้องมี user account ที่ cloud.docker.com จะต้อง login ก่อนจึงจะ push image ขึ้นไปได้ เหมือนที่แสดงตัวอย่างไว้ในบล็อก “เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 1” $ docker login ตัวอย่างคำสั่ง push ที่ผมนำ image ไปเก็บไว้ $ docker push woonpsu/docsdocker:part1 ซึ่งเรียกใช้จากที่เครื่องใดก็ได้ ด้วยคำสั่ง pull $ docker pull woonpsu/docsdocker:part1   แต่หากเรายังไม่พร้อมที่จะนำ image ไปไว้บนนั้น เราก็ทำ Local registry ไว้ใช้เองไปพราง ๆ ก่อน ทำได้ 2 แบบ คือ 1. Local registry ที่ใช้งานภายในเครื่องของเราเครื่องเดียว 2. Local registry ที่เราเปิดให้เครื่อง client อื่น ๆ เข้ามาใช้ร่วมได้ Local registry แบบที่ใช้งานภายในเครื่องของเราเครื่องเดียว (localhost:5000) ใช้คำสั่งนี้เพื่อเริ่มต้นสร้าง registry container $ docker run -d -p 5000:5000 –restart=always –name myregistry registry:2 จากนั้นเรา pull image สักอัน จาก hub.docker.com เช่น $ docker pull ubuntu:16.04 หลังจากดัดแปลง(ไม่ทำก็ได้)ตามต้องการแล้วก็ใส่ tag localhost:5000/my-ubuntu ดังนี้ $ docker tag ubuntu:16.04 localhost:5000/my-ubuntu $ docker images แล้วก็ push image ไปยัง local registry ซึ่งก็คือ เครื่องที่เรากำลังใช้งาน (localhost) ใช้ port หมายเลข 5000 ดังนี้ $ docker push localhost:5000/my-ubuntu ซึ่งวิธีการเรียกใช้งาน image ที่เก็บไว้นั้น เป็นดังนี้ $ docker pull localhost:5000/my-ubuntu ก่อนไปทำตัวอย่างถัดไปซึ่งเป็นแบบที่ 2 ให้ลบ container ชื่อ myregistry ที่ทดสอบเสร็จแล้ว ที่ต้องลบเพราะว่าใช้ port หมายเลขเดียวกัน หากใช้หมายเลข port ต่างกัน ก็ไม่ต้องลบ $ docker stop myregistry $ docker rm myregistry   Local registry แบบที่เราเปิดให้เครื่อง client อื่น ๆ เข้ามาใช้ร่วมได้ (docker-registry.localdomain:5000) เราจะต้องเริ่มต้นที่การกำหนดชื่อเครื่อง ผมสมมติตั้งชื่อว่า docker-registry.localdomain ให้กับ

Read More »

เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 4 Stacks

ในตอนที่แล้ว เราได้เรียนรู้แล้วว่าเราสามารถสร้าง swarm ที่เป็น cluster of machines ที่รัน Docker แล้ว deploy app เกิดเป็น container จำนวนหนึ่งที่กระจายอยู่ในเครื่อง 2 เครื่อง ในตอนนี้ เราจะทำความเข้าใจในส่วนบนสุดใน hierachy ของ distributed applications คือ Stack (ในตอนนี้เราอยู่ที่นี่) Service Container Stacks คือ การนำ service หลาย ๆ อันที่ทำงานร่วมกัน เช่น จาก web page จะมีการนำข้อมูลไปใส่ใน database หรือ สร้าง web page ที่จะนำข้อมูลไป plot เป็น กราฟ เป็นต้น ในตอนที่ 2 นั้นเราได้ใช้คำสั่งเกี่ยวกับ stack ไปบ้างแล้วเป็น single stack ที่รันอยู่บน single host ซึ่งไม่ค่อยเกิดขึ้นจริงใน production แต่เราอาจจะต้องทำ multiple services รันไปบน multiple machines ก็ได้ มาดูกันต่อไป ตัวอย่างเช่น เราจะเพิ่ม service เกี่ยวกับการสร้างภาพ diagram ของ swarm ของเรา ทำดังนี้ 1. ไปยังเครื่องที่มีไฟล์ docker-compose.yml ที่สร้างไว้แล้ว cd ~/myservice 2. เปิดไฟล์ docker-compose.yml แล้วเพิ่ม service ชื่อ visualizer ดังนี้ version: “3” services: web: # replace username/repo:tag with your name and image details image: woonpsu/docsdocker:part1 deploy: replicas: 5 restart_policy: condition: on-failure resources: limits: cpus: “0.1” memory: 50M ports: – “80:80” networks: – webnet visualizer: image: dockersamples/visualizer:stable ports: – “8080:8080” volumes: – “/var/run/docker.sock:/var/run/docker.sock” deploy: placement: constraints: [node.role == manager] networks: – webnet networks: webnet: ที่เพิ่มเข้ามา 1 service ก็คือ service ชื่อ visualizer เราจะได้เห็นว่ามีการใช้ key ต่าง ๆ เช่น volumes, placement และ constraints เพื่อเขียนเป็นข้อกำหนดตามที่ image ชื่อ dockersamples/visualizer:stable ต้องการให้ตั้งค่าเป็นอย่างนั้น 3. รันคำสั่งนี้ซ้ำ docker stack deploy -c docker-compose.yml testlab 4. เปิดเว็บเพจ http://node_ip:8080 โดยแทนที่ node_ip ด้วย IP ของเครื่องที่อยู่ใน swarm cluster ตัวอย่าง visualizer นี้เป็น standalone service ที่รันแบบไม่ได้ต้องใช้ service อื่นประกอบ ไม่ได้ขึ้นกับอะไรเลย ต่อไปเรามาสร้าง service ที่ต้องมีอันอื่นทำงานร่วมกัน (dependency) เราจะติดตั้ง database

Read More »

เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 3 Swarms

ในตอนที่แล้ว เราทำ app ขึ้นมา และกำหนดค่าว่าจะรันเป็น service และเพิ่มจำนวน replicas เป็น 5x เพื่อให้บริการแบบ load-balancing แต่ทำบนเครื่อง host เครื่องเดียว เรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการใช้ Docker แบบ a single-host mode แต่ในบทความนี้ เราจะเปลี่ยนให้ Docker ไปทำงานแบบ swarm mode โดยที่เมื่อเราใช้คำสั่ง docker deploy จะเป็นการ deploy app ของเราไปรันบน cluster ของเครื่องจำนวนหลาย ๆ เครื่อง ทำความเข้าใจกันสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ Swarm Cluster swarm คือ เครื่องจำนวนหนึ่งที่รัน docker และได้ join เข้ามายัง cluster หลังจากนี้ในการรันคำสั่งใด ๆ ของ docker จะเรียกว่าเป็นการรันโดย swarm manager และเครื่องเหล่านี้ซึ่งอาจเป็น physical หรือ virtual machine ก็ได้ จะถูกเรียกว่า nodes swarm manager คือ เครื่องที่สามารถสั่งหรืออนุญาตให้เครื่องอื่น join เข้ามา และเครื่องนั้นจะถูกเรียกว่า workers เราจะเพิ่มเครื่อง workers เพื่อเป็นการนำมาช่วยในเรื่องของเพิ่มจำนวนหน่วยทำงานเท่านั้น และการสั่งคำสั่งเพื่อสร้าง app ยังคงต้องทำที่เครื่อง manager เหมือนเดิม การสร้าง swarm รันคำสั่ง docker swarm init เพื่อเปิดใช้ swarm mode ตอนนี้เราจะได้ swarm manager จากนั้นไปรันคำสั่ง docker swarm join ที่เครื่องอื่น ๆ เพื่อ join เข้า swarm เป็น workers ข้อควรระวัง จะต้องตั้งชื่อ hostname ให้กับเครื่องทุกเครื่องเพื่อให้มีชื่อที่แตกต่างกัน อย่าใช้ชื่อว่า ubuntu ทั้งหมด จะงง ผมเจอมาแล้ว จงแก้ไขไฟล์ /etc/hosts และ ไฟล์ /etc/hostname แล้ว reboot ก่อนเริ่มสร้าง swarm ผมทดสอบด้วย VM ใน Oracle VM VirtualBox อยู่ใน Windows 10 ตั้งค่า network adapter เป็น Bridge จึงใช้ IP ของที่ทำงานได้ ดังรูป เช่น เครื่องที่ 1 ให้ตั้งชื่อว่า docker-vm1 ซึ่งก็คือเครื่องที่ทำไว้ในบทความตอนที่ 1 และ 2 ต้องกลับไปเปลี่ยนชื่อ เครื่องที่ 2 ให้ตั้งชื่อว่า docker-vm2 ซึ่งก็คือเครื่อง ubuntu server ว่าง ๆ ตัวใหม่ในบทความตอนที่ 3 นี้ที่จะเป็น worker มาสร้าง two-machine cluster ให้เป็น swarm กัน 1. ติดตั้ง docker ลงใน ubuntu server ตัวใหม่ (ชื่อเครื่อง docker-vm2) 2. อยู่ที่เครื่องที่เป็น swarm manager (ชื่อเครื่อง docker-vm1) รันคำสั่ง docker swarm init จะได้ข้อความแจ้งว่า จะต้องใช้คำสั่งอย่างไรที่เครื่องที่จะ join เข้ามาเป็น worker (แบบ manual คือ จดบรรทัดที่ได้รับคำแนะนำเอาไว้) 3. ไปที่เครื่อง ubuntu

Read More »

เตาะแตะไปกับ Docker ตอนที่ 2 Services (Scale and load-balancing)

ในตอนนี้ เราก็จะขยับขึ้นไปอีก 1 level ใน hierachy ของ distributed application Stack Service (ในตอนนี้เราอยู่ที่นี่) Container Service 1 Service รันจาก 1 image โดยระบุ port ที่จะใช้ กำหนดจำนวน contrainer ที่จะรัน โดยที่เราสามารถเพิ่มจำนวน (Scale) service ให้รองรับโหลดมาก ๆ ได้ เราจะทำได้โดยการเขียน docker-compose.yml เริ่มต้นโดยการสร้างไฟล์นี้ไว้ใน directory ว่าง mkdir myservice cd myservice สร้างไฟล์ชื่อ docker-compose.yml ด้วยเอดิเตอร์ vi ดังนี้ vi docker-compose.yml คัดลอกเนื้อหาจากตัวอย่าง https://docs.docker.com/get-started/part3/#your-first-docker-composeyml-file โดยแก้ไขในบรรทัด image: username/repository:tag ให้เป็น image: woonpsu/docsdocker:part1 ดังนี้ version: “3” services: web: # replace username/repo:tag with your name and image details image: woonpsu/docsdocker:part1 deploy: replicas: 5 resources: limits: cpus: “0.1” memory: 50M restart_policy: condition: on-failure ports: – “80:80″ networks: – webnet networks: webnet: สำหรับสิ่งที่อยู่ในไฟล์ docker-compose.yml นั้น อธิบายอย่างคร่าว ๆ ก็คือจะบอกว่า ดึง image ที่เรา upload ไว้จากบทความในตอนที่แล้ว ซึ่งก็คือ woonpsu/docsdocker:part1 จะสร้าง container กี่อันจาก image นี้ และจะใช้ %CPU เท่าไร จะใช้ Port หมายเลขอะไร มี network อะไรสำหรับทำ load-balancing (a load-balanced overlay network) สังเกตในไฟล์ Compose จะเห็นการกำหนดค่า version: เป็น “3” คือความหมายที่เกี่ยวกับเรื่อง compatibility สรุปอย่างสั้น ๆ คือ เราจะทำต่อไปยังตัวอย่างการใช้งาน docker swarm จึงใช้ค่า version เป็น 3 ตอนนี้ก็มารัน load-balancing กัน โดยเริ่มต้นสร้างหรือเข้าร่วม swarm docker swarm init หากไม่ run คำสั่งนี้ ก็จะพบ error “this node is not a swarm manager.” ตั้งชื่อ app เช่น testlab เป็นต้น แล้วพิมพ์คำสั่งดังนี้ docker stack deploy -c docker-compose.yml testlab ตรวจดูรายการ docker stack ps testlab ถึงตรงนี้ เราลองไปที่ http://server_ip แล้วกด F5 ซ้ำ ๆ จะเห็นว่า หน้าเว็บที่แสดงนั้นถูกดึงมาจาก container แต่ละตัว สังเกตที่หลังคำว่า Hostname จะเป็นเลข container ID ที่ให้บริการ หากเราต้องการเพิ่มจำนวน replicas ก็เข้าไปแก้ไขไฟล์ docker-compose.yml แล้วรันคำสั่ง

Read More »