Everything are connected together

“ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน” สวัสดี ผู้อ่านทุกท่านนะครับ นี่คือบทความฉบับปฐมภูมิของผู้เขียน ที่จะนำพาท่านไปพบกับบทความในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้เขียนพยามสรรสร้างบทความนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดที่เรียบง่าย แต่ได้ไอเดีย เพื่อนำไปสร้างนวัตกรรมหรือนำไปประยุกต์ใช้งานกับหน้าที่การงาน ที่เราต่างร่วมกันทำเพื่อองค์กรของเราให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป กล่าวถึงหัวข้อที่ผู้เขียนเรื่อง “Everything are connected together” เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนได้สกัดมาจากงานที่ผู้เขียนปฏิบัติจริงและได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ จนกระทั่งเริ่มยืนและเดินได้ เติบโตขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มทักษะในการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ในบทความนี้จะไม่เน้นเนื้อหาในเชิงลึก แต่จะนำเสนอแก่นสาร ที่รวบรวมแนวความคิดของผู้เขียนที่มีต่อการปฏิบัติงาน เพื่อนำเสนอไอดีย และแง่มุมต่าง ๆ ที่มันสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างจากการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านต่อไป ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีตลอดจนเครื่องมือต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายให้เราเลือกนำมาใช้งาน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ “ทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน” เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ผู้อ่านคงจะเริ่มคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ในชีวิตประจำวันที่เราใช้ Internet มันเชื่อมโยงทุกสิ่งอย่าง อย่างไรก็ตามในหลาย ๆ มิติของการเปลี่ยนแปลงมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน นั่นคือทุกอย่างล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ผู้เขียนพยามสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริง หากเราจะก้าวไปข้างหน้า จงอย่างไปยึดติด … Read more

อย่าเชื่อเครื่องมือมากเกินไป …

เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ผมได้ทำการทดสอบเครื่องมือเจาะระบบ “N”  (ใช้ทดสอบว่าระบบเป้าหมายมีช่องโหว่ใดให้โจมตีบ้าง) ภายใต้ภาระกิจ “Honeypot” เพื่อทดสอบว่า เครื่องมือดังกล่าว สามารถรับรองความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก่อนที่จะอนุญาตให้เข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ *** การทดลองนี้อยู่ในสภาวะควบคุมที่รัดกุม เป็นระบบที่สร้างขึ้นมา แยกออกจากระบบอื่นที่อาจจะได้รับผลกระทบ และเป็นการทดลองเพื่อวัดความสามารถของเครื่องมือ ไม่ได้มุ่งโจมตีผู้ใด หรือระบบใด *** วิธีการทดสอบ จัดให้มีเครื่องทดสอบ ชื่อ honeypot.in.psu.ac.th อยู่บน VM และใช้เครื่องมือเจาะระบบ “N” ตรวจสอบ 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (Baseline 01) เป็นการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Ubuntu 16.04 LTS แบบ Default และ Update ให้เป็นปัจจุบันที่สุด แล้วรีบแจ้งให้ “N” ตรวจสอบ ครั้งที่ 2 (Baseline 02) ทำการติดตั้ง Web Server, PHP, MySQL และติดตั้งช่องโหว่อย่างง่ายที่พัฒนาขึ้นเอง … Read more

จดหมายลอกลวง 23/4/61

ช่วง ศุกร์ที่ 20 ถึง เช้าวันนี้ จันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 พบว่า มีผู้ใช้หลายท่านได้รับ email ลักษณะประมาณนี้ แล้วมีคำถามว่า เป็นของมหาวิทยาลัยส่งจริงหรือไม่ ตอบก่อนเลยว่า “ไม่ใช่อีเมลของทางมหาวิทยาลัย” เป็นจดหมายหลอกลวง ทางระบบของมหาวิทยาลัยจะไม่ส่ง email แจ้งเตือนใดๆอย่างนี้ ข้อสังเกต ลิงค์ใน email ที่ให้คลิก จะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ psu.ac.th (ทราบไม๊ครับ ? ว่าโดเมนเนมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ psu.ac.th ???) ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ของมหาวิทยาลัย จะต้องปรากฏ รูปกุญแจเขียว และ โดเมนเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งใช้โดเมนเนม psu.ac.th ดังภาพ ผู้ส่ง (From) ในทางปฏิบัติ จะ “ตั้งค่า” ให้เป็นใครก็ได้ แต่ในที่นี้ เค้าจะไม่สามารถตั้งค่าเป็น @psu.ac.th ได้ เพราะเราได้ทำการจดทะเบียน DomainKeys Identified Mail … Read more

ติดตั้ง Piwik บน Ubuntu 16.04

ถ้าอยากมี Web Analytic ใช้เอง ทำไงได้บ้าง             PIWIK [1] เป็นโปรแกรมที่เป็น Opensource ใช้สำหรับทำ Web Analytic โดยมีจุดเด่นใหญ่ ๆ คือมีข้อมูลอยู่ในองค์กรเอง และรองรับมุมมองต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่ควรจะมี (จริง ๆ ใช้ Google Analytic ก็ได้ครับ ขอเสนอเป็นทางเลือกในกรณีที่ต้องการอะไรที่ private หน่อย) การติดตั้งลักษณะก็จะเป็นการติดตั้ง mysql (หรือ mariadb), php, apache (หรือ nginx) ดังนี้ครับ ทำการติดตั้ง Ubuntu 16.04[2] ทำการติดตั้ง nginx+mariadb+php (สามารถติดตั้งเป็น apache+mysql+php[3]ก็ได้ครับ) MariaDB sudo apt install mariadb-server mariadb-client Nginx sudo apt install … Read more

Spark #03: Query Apache Access Log with Spark SQL

ต่อจาก Spark #02: Cluster Installation ซึ่งทำให้เรามี Spark Cluster ที่พร้อมจะทำงานแบบ Distributed Computing แล้ว ขั้นตอนการติดตั้ง Hadoop Cluster อย่างง่าย ทำให้มี Hadoop HDFS เป็นพื้นที่จัดกับ Zeppelin #01 Installation ทำให้สามารถใช้งาน Spark ได้ง่ายขึ้น บทความนี้ จะกล่าวถึงการนำเข้าไฟล์ Apache Access Log เข้าไปเก็บไว้ใน Hadoop HDFS แล้ว ให้ Apache Spark Cluster เข้าไปค้นหาข้อมูล โดยใช้ภาษา SQL ผ่าน Spark SQL API นำ Apache Access Log เข้า HDFS ให้ Copy Apache Access Log ที่มีอยู่มาเก็บไว้ในเครื่องที่สามารถติดต่อ … Read more