ระบบสารสนเทศ (1/5) : ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ ชาว ม.อ. ทราบหรือไม่ว่ามหาวิทยาลัยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้งานภายในมหาวิทยาลัยที่มีหลากหลายระบบ พัฒนาขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ เช่น ระบบทะเบียนนักศึกษา ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ระบบสารสนเทศบุคลากร ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น พวกท่านทราบหรือไม่ว่าแต่ละระบบสารสนเทศกว่าจะออกมาให้ใช้งานกัน ทีมพัฒนาฯ ต้องทำอะไรกันบ้าง วันนี้จะขอมาเล่าส่วนของการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น จนเปิดใช้งานระบบ แบบคร่าวๆ เข้าใจง่ายกันค่ะ ก่อนการพัฒนาระบบสักระบบ ต้องวิเคราะห์ความเร่งด่วน หรือแผนการใช้งานระบบ มีการเข้าคิวการพัฒนา เมื่อสรุปจะพัฒนาระบบใดระบบหนึ่ง มีขั้นตอนอย่างไรมาดูกันค่ะ ช่วงที่ 1 : Requirement เจ้าภาพ จะทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นวิทยาเขต คณะ เพื่อรวบรวมความต้องการให้ชัดเจนว่าจะจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง กระบวนการ หรือรายงานเป็นอย่างไร ทีมพัฒนาระบบฯ : (1) จัดทำเอกสารเปิดโครงการ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาระบบ (2) เอกสารรายงานการประชุมกับลูกค้า (3) เอกสารประเมินความเสี่ยง ช่วงที่ 2 : Analysis and Design ทีมพัฒนาฯ จะรวบรวมความต้องการจากลูกค้า เพื่อมาวิเคราะห์กระบวนการทำงาน พร้อมทั้งออกแบบหน้าจอและฐานข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยทีมพัฒนาจะออกแบบหน้าจอที่ต้องการพัฒนาเพื่อมานำเสนอให้ลูกค้าตรวจสอบว่าระบบมีความครบถ้วน ถูกต้อง สีของหน้าจอ ปุ่มต่าง ๆ มีความสะดวกสบายกับการใช้งานหรือไม่ ซึ่งส่วนนี้ยังสามารถปรับปรุงความต้องการให้สอดคล้องกับการใช้งานจริงได้มากที่สุด และสรุปเป็นเอกสาร Requirement Checklist เพื่อยืนยันความต้องการกับเจ้าภาพอีกครั้ง ทีมพัฒนาระบบฯ : (4) จัดทำเอกสาร Requirement Checklist (5) เอกสาร Requirement Specification (6) เอกสาร Software Design (7) เอกสารประชุมติดตามความก้าวหน้าภายในทีม ช่วงที่ 3 : Development ช่วงนี้ทีมพัฒนาฯ จะเร่งมือในการพัฒนาระบบตาม Requirement Checklist เมื่อระบบสารสนเทศมีการพัฒนาไประยะหนึ่งก็จะมีการนัดประชุมกับลูกค้า เพื่อให้ดูความก้าวหน้าของระบบว่ามีการพัฒนาไปถึงส่วนใด ตรงตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่ เมื่อมีการพัฒนาเสร็จแต่ละฟังก์ชั่น ก็จะส่งต่อให้กับทีมทดสอบระบบ หากมีความต้องการเพิ่มเติมระหว่างการพัฒนาจะมีการปรับปรุงระบบส่วนนี้จะเรียกกว่า Change Request ซึ่งจะไปนับรวมกับ Requirement Checklist ทีมพัฒนาระบบฯ : (8) ติดตามการพัฒนาระบบโดยใช้โปรแกรม Azure DevOps ช่วงที่ 4 : Testing ช่วงนี้จะเป็นงานของทีมทดสอบระบบ จะต้องตรวจสอบว่าทีมพัฒนาฯ ได้พัฒนาเสร็จสิ้นตาม Requirement Checklist โดยทีมทดสอบจะทำการเขียน Test case ที่ครอบคลุมว่ากระบวนการทุกกระบวนการก่อนที่จะส่งต่อให้กับผู้ใช้งาน (User) ต้องครบถ้วน สมบูรณ์ หากผิดพลาดไม่ตรงตามความต้องการจะส่งกลับไปยังทีมพัฒนาฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบให้ถูกต้อง ครบถ้วนที่สุด เมื่อทดสอบครบทุกฟังก์ชั่น จะมีการนัดประชุมลูกค้าเพื่อส่งมอบระบบ โดยจะมีเอกสาร Acceptance Checklist ให้ลูกค้าตรวจสอบหัวข้อในการพัฒนาระบบทั้งหมดในระบบ ทีมพัฒนาระบบฯ : (9) ทดสอบระบบโดยใช้โปรแกรม Azure DevOps โดยทดสอบตาม Test case ทุกเงื่อนไข (10) เอกสาร Acceptance Checklist ช่วงที่ 5 : Training เมื่อพัฒนาระบบครบถ้วนตาม Requirement Checklist ช่วงนี้จะเป็นการอบรมผู้ใช้งาน (User) หากเป็นระบบใหม่ทางทีมพัฒนาฯ จะอบรมใหม่ทั้งระบบ อาจจะแบ่งเป็นส่วนของเจ้าหน้าที่ อาจารย์ หรือเป็นผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นระดับต่างๆ แต่หากเป็นระบบที่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ก็ขึ้นอยู่กับว่าการพัฒนามีความแตกต่างจากระบบเดิมมากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องจัดอบรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ และในยุคปัจจุบันมีการอบรมผ่านช่องทางออกไลน์ ทำให้สะดวกกับผู้เข้าอบรมมากยิ่งขึ้น ทีมพัฒนาระบบฯ : (11) เอกสารการอบรมระบบ (12) คู่มือการใช้งานระบบในรูปแบบเอกสาร หรือ VDO ช่วงที่ 6 : Deployment เมื่อปรับปรุงระบบจนพร้อมใช้งานแล้ว ก็แจ้งเปิดระบบอย่างเป็นทางการตามที่เจ้าภาพต้องการ เช่น เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2565 เป็นต้น ซึ่งทีมพัฒนาระบบฯ จะมีการเฝ้าระวังระบบในช่วงการใช้งานในช่วงแรกว่าสามารถใช้งานได้สมบูรณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระบวนการใช้งานของแต่ละระบบ เช่น หากเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ จะต้องตรวจสอบตั้งแต่ช่วงที่เจ้าหน้าที่คณะจัดทำโครงการ ตลอดจนผู้สมัครสามารถสมัครสมาชิก จนสามารถสมัครโครงการ ชำระเงินได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทีมพัฒนาระบบฯ : (13) เอกสาร Operation Guideline (14)

Read More »
Capturing website with screenshotr.app

📸 How to Capture screen website แบบเก๋ๆ

         🙏สวัสดีครับ การเขียน Blog หรือการทำคู่มือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านหรือใช้งานระบบ ปกติแล้วเราก็จะใช้ปุ่ม print screen เพื่อ capture หน้าจอแล้วก็ save as image ออกมาเลย หรือเอารูปที่ capture มา ไปใช้กับโปรแกรมอื่นก็ได้ เช่น Photoshop, Illustrator หรือ Mockup Generator เพื่อที่จะได้รูปประกอบที่สวยงามและเหมาะแก่การนำเสนอให้น่าสนใจมากขึ้น            เอาหละ จากที่เกริ่นมา เรามีเครื่องมือมานำเสนอทุกคน เครื่องมือที่จะไปช่วยเรา Capture หน้าจอออกมาแล้วนำมาใส่ในกรอบ Browser เก๋ๆให้เราเลย เราก็แค่ใส่ URL และกด Download ออกมาใช้งานได้เลย เครื่องมือที่ว่ามีชื่อว่า 🎊 “Screenshotr” 🎊 (คำว่า Screenshot + ตัวอักษร r)             Screenshotr เป็นเครื่องมือจัดการ Capture screen และ Mockup ออนไลน์ เปิด Browser ขึ้นไป พิมพ์ที่แถบ URL ไปว่า ฉันจะไปที่  screenshotr.app  เข้าผ่านเว็บแบบนี้แสดงว่าาาาา น้องเป็น Online tool ไม่ต้องโหลดโปรแกรมใดๆ ใช้งานได้ทันที สะดวกมากมาย ที่สำคัญ ฟรี จ้าาา มาถึงตรงนี้แล้วคงสงสัยว่าหน้าตามาจะออกมาเป็นยังไง ไปดูกันเลยยย            หน้าตาดู Professional ขึ้นมาเลยทันที 😎 อันนี้คือเลือกสีพื้นหลังมา ใส่เงาแล้ว Download รูปออกมาแล้ว ใช้เวลาประมาณ 45-60 วินาที ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถ Customize ส่วนต่างๆได้เช่น ขนาดของ Canvas, การแสดง URL, ประเภทของไฟล์, Scale ของภาพ หน้าตาของเจ้า Screenshotr จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ ส่วนของ Preview รูป, แถบด้านซ้ายสำหรับการปรับค่าต่างๆ, แถบข้างบนสำหรับการใส่ URL และ Upload รูปภาพ 🌈 วิธีการใช้งาน            จบไปแล้วสำหรับวิธีใช้งาน มีแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ ก็ได้ภาพออกมาแบบสวยงาม ยังมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอีกมากมาย ไว้มีโอกาสนะมา(แนะนำ)ขายของให้ใหม่อีก แล้วพบกันใหม่ สวัสดี 😘🥳🥳

Read More »

✏️ More than noting “Notion”

ทุกวันนี้เวลาเราใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าเราไม่จดโน๊ต ทุกอย่างเราก็จะต้องจดจำทุกอย่างอยู่ในหัวสมองเราเอง แน่นอนการจดจำในหัวสมองเรานั้นมันก็ไม่ได้มีความถูกต้อง แม่นยำ 100% การจดโน๊ตก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยเตือนความจำ ระหว่างการจดก็จะเป็นส่วนช่วยในการจดจำได้ดียิ่งขึ้น จะดีไหมถ้ามีเครื่องสักตัวหนึ่งที่ เราสามารถจดโน๊ตของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว มันสามารถนำข้อมูลที่เราจดไป มาใช้งานต่อได้อีก เช่นการจดรายงานการประชุมโดยมีการแปะลิ้งค์ รูป ข้อความได้ลงในหน้ากระดาษ แล้วใช้การ mentions ผู้เข้าร่วมประชุมให้มา revise และ approve ได้ จุดไหนผิดถูกสามารถ comment ได้ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็สามารถ Lock ไฟล์นั้นๆได้และ Export ออกไปเป็น PDF สำหรับการส่งรายงานก็ทำได้เช่นกัน 🤔 What is Notion? Website: Notion – One workspace. Every team. Notion เป็นเครื่องมือการจดโน๊ตที่เป็นได้มากกว่าการจด จดแล้วก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ในระหว่างการจดก็มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกเช่น การใส่ Heading1,2,3 List ประเภทต่างๆ Checkbox และอื่นๆอีกมากมาย และที่สำคัญ เราสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Database ได้ ซึ่งเราก็จะสามารถเรียกใช้ซ้ำ ใส่ความเชื่อมโยงให้กับ Database หลายๆอันที่เราสร้างขึ้นมาได้ อันนี้แค่ยกตัวอย่างมาส่วนหนึ่งนะครับ ตัวเครื่องมือนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการใช้งานในชีวิตประจำวันของเราด้วยท่าทางไหนก็ได้ จะเห็นได้ว่ามีประโยชน์มากๆ ผมจึงอยากแนะนำให้ทุกคนมาใช้กัน Notion เป็น base on web-browser application สามารถทำได้จากอุปกรณ์ไหนก็ได้ แถมยังมีเวอร์ชั่น Windows/Mac OS iOS และ Android อีกด้วย Used cases of using Notion Note เป็นการจดบันทึกทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น บันทึกการประชุม มีการคุยในหัวข้อต่างๆที่ลงรายละเอียดก็มีการใช้ sub-page เข้ามาแบ่งสัดส่วนให้อ่านง่าย สวยงาม หรือการจดบันทึกเตือนความจำ Work log เป็นการจดบันทึกการปฏิบัติงานโดยการใช้ส่วนของ Database มาเก็บข้อมูลและจัดการข้อมูลประเภทของ work log และรายละเอียดการทำงาน สามารถตั้งให้แสดงผลในรูปแบบของ Table หรือ List หรือ Calendar ก็ได้ด้วย เมื่อถึงรอบรายงานก็ Export ออกเป็น csv หรือทำการแชร์หน้าที่จดบันทึกไปยังผู้ประเมินได้โดยตรง Software Document เป็นการประยุกต์ใช้การจดบันทึก แต่เราสามารถสร้าง Template ให้กับเอกสารได้ซึ่งเราสามารถตั้งให้มี Layout แบบเฉพาะได้ ตั้งส่วนของ Header ส่วนต่างๆตั้งไว้ได้ ตั้งส่วนของตัวอย่างข้อมูลไว้ได้ เวลาเราจะสร้างเอกสารก็สามารถเลือก Template นั้นมาใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาสร้างใหม่ตั้งแต่ต้น จริงๆแล้วตัว Notion เองก็มี Template สำเร็จรูปมาให้เราใช้งานด้วยเช่นกัน มีเยอะมาก หลากหลายหมวด สามารถเลือกใช้มาตั้งต้นแล้วใช้งานต่อได้เลย

Read More »

UX Design Processes

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของ การออกแบบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และดีต่อผู้ใช้ การสร้างสินค้าและบริการจะต้องประกอบไปด้วยการออกแบบทางด้านประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือ UX เพราะทุกสิ่งที่ถูกคิดค้นหรือสร้างขึ้นล้วนต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ สร้างเพื่ออะไร ทำไปทำไม ตอบโจทย์อะไรกับผู้ใช้ ซึ่งการออกแบบมีด้วยกัน 6 ขั้นตอนหลักๆดังนี้ Step 1 : Understanding Environment (Discovery phase) เป็น phase แห่งการทำความเข้าใจ การทำความเข้าใจในที่นี้หมายถึง การที่เราเข้าใจผู้ใช้, เข้าใจ brand, เข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะเอามาเป็นแนวทางในการทำ research ให้ phase ถัดไป User การทำความเข้าใจผู้ใช้งานระบบ -> Pain Point discovery การค้นหา Pain point ของผู้ใช้ เราต้องเข้าใจว่าปัญหาของผู้ใช้คืออะไรบ้าง เราคิดว่าจะแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง Brand เป้าหมาย/จุดประสงค์ขององค์กร เราต้องรู้โปรเจคนี้มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจหรือเป้าหมายขององค์กรเราอย่างไร ต้องพยายามยึดติดอยู่กับเป้าหมายขององค์กรเพราะมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ Clear Needs & Conditions ความต้องการและเงื่อนไขที่ชัดเจน เราจะทำอะไร เราต้องทำภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง Step 2 : Research (Infomation Gathering, Hypothesis phase) เมื่อเราทราบถึงเป้าหมายของการสร้างหรือพัฒนาสินค้าและทราบถึงปัญหาของผู้ใช้แล้ว ขั้นต่อไปคือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม phase นี้จึงเป็น phase แห่งการค้นคว้า เก็บข้อมูลตั้งต้นเพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป การ research มีด้วยกันหลายวิธี Interview การสัมภาษณ์ 1:1 Interview การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับผู้ใช้ จะเป็นเหมือนการพูดคุยทั่วไปถึงเรื่องการใช้งานระบบ เคยเจอปัญหาอะไรมาบ้าง ยังคงติดปัญหาในจุดไหนอยู่ไหม ในการใช้งานระบบเขามองหาอะไรอยู่ การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทำให้ทราบถึงความจริงใจและอารมณ์ของผู้ใช้ สามารถนำมาเป็นตัววัดความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ของข้อมูลชุดนั้น การสัมภาษณ์แบบนี้สามารถทำแบบพูดคุยตัวต่อตัวหรือทาง meeting/conference/telephone ก็ได้ Group Interview การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม เป็นวิธีการที่ให้ข้อมูลได้แบบไม่ค่อยละเอียด แต่ได้จุดที่สำคัญ มีการกรองกันจากการพูดคุยภายในกลุ่ม ลักษณะการถามก็จะเป็นเหมือนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้อาจจะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมา กลุ่มของผู้ใช้ 3-5 คนก็เพียงพอไม่จำเป็นต้องไปเก็บจากผู้ใช้ 100-1000 คน (Rule of thumb) Surveys การทำแบบสอบถาม ในการสร้างแบบสอบถามขึ้นมา เราต้องรู้ถึงปัญหาของผู้ใช้ ปัญหานี้เกิดในผู้ใช้กลุ่มไหน แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นสมมติฐาน หลักการสร้างแบบสอบถาม แยกปัญหาออกมา โดยดูความสำคัญว่า ปัญหาอันไหนสามารถวัดและทำ Testing ได้แล้วนำมาทำให้เป็นคำถามแบบที่ Interactive ได้ พยายามตั้งคำถามปลายเปิดแต่ยังสามารถทำให้เรามองเห็นคำตอบได้ *ไม่ควรตั้งคำถาม Yes/No, Rating เนื่องจากไม่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้ ตัวอย่างของการทำ survey ที่ดี Hypothesis: สงสัยว่าหน้าแรกของระบบมันไม่จูงใจผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ออก (nothing grabs user’s attention) วิธีถาม: 5seconds test นำหน้าเว็ปจริงๆมาและใช้ Heat map ในการวิเคราะห์โดยกำหนดโจทย์ว่า ให้ผู้ประเมินคลิกจุดแรกที่ผู้ใช้สนใจภายใน 5วินาที คำตอบ: Heat map result ผู้ใช้สนใจตรงไหนมากที่สุด สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อได้ Hypothesis: ข้อสงสัยที่คิดว่าลูกค้าไม่เข้าใจว่าเค้าทำอะไรได้บ้างบนเว็ปไซต์ของเขา วิธีถาม: 5seconds test ดูหน้าเว็ปแล้วถามว่า คิดว่าหน้านี้เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง คำตอบ: ลำดับของความชัดเจนว่า ผู้ใช้สนใจอะไรเป็นอันดับแรก และอันดับตามๆมา Hypothesis: สงสัยว่า content มันน่าจะไม่ดึงดูดผู้ใช้แน่ๆ วิธีถาม: นำเว็ปไซต์คู่แข่งมาเปิดคู่กันกับเว็ปไซต์เราและทำในลักษณะของ A/B testing โดยทำ hot spot test ให้ผู้ประเมินเลือก section ของเว็ปตัวอย่าง 3 ชิ้นที่คิดว่าจำเป็นสำหรับเขา คำตอบ: section ที่เขามองหาแต่เราไม่มี หรือจุดไหนที่มีเหมือนกัน หรือจุดไหนที่เรามีแต่คนอื่นไม่มี ข้อดี:: Scale ได้, รวดเร็ว, วิเคราะห์ง่าย ข้อเสีย:: คำตอบอาจจะมีการเอนเอียงได้ (Bias) ไม่สามารถอธิบายแทนสิ่งที่ผู้ใช้เจอมาได้ทั้งหมด คำตอบที่ได้ไม่หลากหลาย และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลจากผู้ใช้ ถ้ามีการออกแบบแบบสอบถามไม่ดี ทำให้เกิดการพลาดโอกาส Usability Testing การสำรวจการใช้งานในกลุ่มเป้าหมาย การทำ

Read More »

UX, everything related!

เรามักได้ยินคำว่า UI เป็นประจำเมื่อเราพัฒนาระบบแต่ รู้หรือไม่ว่านอกจาก UI แล้วมันมีอีกหนึ่งอย่างที่ควรรู้และสำคัญยิ่งกว่าแต่ถูกมองข้ามไปคือ UX (ย่อมาจาก User experience) หลายๆคนมักจะสับสนว่า UI และ UX มันคือสิ่งเดียวกัน จริงๆแล้วมันคือคนละอย่างกันเลย วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง UI :: User Interface User Interface คือหน้าตาของระบบที่ผู้ใช้ได้เห็น ได้ตอบสนอง ไม่ใช่ระบบในทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียวที่มี UI ถ้าเทียบกับขวดซอสมะเขือเทศ ขวดก็คือหนึ่งใน UI เช่นกันหรืออาหาร 1 จาน หน้าตาของอาหารก็ถือว่าเป็น UI ด้วย “UI เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้หรือจับต้องได้“ UX :: User Experience User Experience คือ Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ที่เราได้ส่งมอบให้ มากกว่า Interface ที่ผู้ใช้งานได้ตอบสนอง เราจะไป focus ที่ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วได้บรรลุวัตถุประสงค์ของเราหรือไม่ “UX คือสิ่งที่อยู่กับความรู้สึก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่วัดประเมินผลได้” ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพ การออกแบบ UX ของการรับประทานอาหารจานหนึ่ง เราอยากให้ผู้ใช้รู้สึก fresh ก่อนตามด้วยความแน่นของรสชาติที่ตั้งใจปรุงตามมา ก็ต้องออกแบบจานอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบ หรือการให้กินคู่กับเครื่องดื่มบางอย่าง จะช่วยส่งเสริม/เติมเต็มให้ผู้กินได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ได้ จริงๆแล้ว นอกจาก website หรือ application ที่ต้องมี UX ที่ดีเป็น 1 ในองค์ประกอบแล้ว ทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวันก็ต้องมี UX ที่ดีเช่นกัน Why should we have to care on UX? UX เรียกได้ว่าเป็นสารต้นต้นของสินค้าก็ว่าได้ การทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีมักจะเป็น 1 ในวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบสินค้าและบริการ เพราะถ้าทำออกมาแล้ว ผู้ใช้ไม่ enjoy ใช้แล้วลำบากกว่าเดิม แล้วใครจะมาใช้งาน? สินค้าบางอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นซอสมะเขือเทศออกแบบขวดซอสแบบทั่วไป เวลาใช้ผู้ใช้จะต้องเคาะ/เขย่าขวด ซอสจึงจะออกมา การออกแบบขวดให้เป็นแบบคว่ำ บีบแล้วซอสออกเลย เป็นการแก้ปัญหาของผู้ใช้ เมื่อผลิตออกมาจึงขาย ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้ ผู้ใช้ก็ happy, win win ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ แล้วเราจะไปหาข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์หละ แน่นอน UX = Research Research เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม การสัมภาส การสังเกตการใช้งาน การลงพื้นที่จริง หรือการอิงข้อมูลทางสถิติหรือข้อมูล log ยิ่งทำเยอะยิ่งทำให้เกิด UX ที่ดี การมี user experience ที่ดีมาจากการทำ Research หรือการค้นความหาข้อมูล ถามว่าการตามหาข้อมูลจะทำได้อย่างไรหละ User Research การ research ข้อมูลของผู้ใช้งาน/กลุ่มผู้ใช้งาน จะได้ออกแบบได้ตรงจุด ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เช่น อายุ เพศ ที่อยู่ เป็นต้น ผู้ใช้ที่เราขายคือใคร กลุ่มไหนบ้าง ทำงานอะไร ผู้ใช้สินค้าเรามีบุคลิกอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร รวมไปถึง รูปภาพของผู้ใช้ ควรเป็นรูปที่สามารถสื่อถึง Lifestyle ของคนๆนั้นได้ จะดีมากๆ ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวแปรตั้งต้นที่เราจะต้องมาออกแบบระบบอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่เราเก็บข้อมูลมา จะเห็นได้ว่า ยิ่งเราทำ research มาเท่าไหร โอกาสของการสร้างสินค้ามาให้ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้ จะทำให้สินค้าเราขายออกได้ง่ายกว่าเช่น การออกแบบระบบสารสนเทศที่กลุ่มผู้ใช้ระบบ 90%เป็นผู้มีอายุ การทำระบบให้เขาใช้งานก็ควรมีตัวอักษรที่ใหญ่กว่าทั่วไป มีการทำ Shortcut เมนูที่ง่าย ไม่สับซ้อน Brand Research คนที่ว่าจ้างหรือว่าง่ายๆคือเจ้าของระบบคือใคร Brand หรืออัตลักษณ์ของเขาเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ขององค์กร สีขององค์กร design token ขององค์กร ก็เป็นอีก 1 อย่างที่ต้องมีการศึกษาข้อมูลด้วยเช่นกัน Problem Research นอกจากการ research ผู้ใช้แล้ว เราก็ควรศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะอะไรผู้ใช้ถึงเลิกใช้ ทำไมผู้ใช้ถึงไม่ใช้ feature นี้ ทำไมผู้ใช้สับสนในการใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งสารตั้งต้นที่จะทำไปออกแบบและพัฒนาสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถสำรวจปัญหาเหล่านี้ได้จากการให้ผู้ใช้ทำแบบสอบถาม การลงพื้นที่จริงไปสังเกตการใช้งานระบบ

Read More »