Nessus Essentials

เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่ Nessus Essentials จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุดจึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ เช่น หากใช้ Ubuntu ก็ทำตาม วิธี https://sysadmin.psu.ac.th/2023/02/14/ubuntu-oval/ ที่ Ubuntu มีให้แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้ว เครื่องมือที่สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ diis.psu.ac.th มีใช้สำหรับตรวจสอบช่องโหว่คือNessus Professional ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรายปี และการใช้งาน ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถส่งอีเมลถึง itoc@psu.ac.thแจ้งความประสงค์ ขอให้ตรวจสอบช่องโหว่เว็บไซต์ URL…วันที่… เวลา… ซึ่งจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2 ชั่วโมง itoc@psu จะส่งรายงานผลการตรวจสอบจาก Nessus ให้กับท่านตามอีเมล @psu.ac.th ที่แจ้งความประสงค์เข้ามาตามลำดับคำขอ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถสมัครใช้บริการ Nessus ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายNessus Essentialshttps://www.tenable.com/products/nessus/nessus-essentialsซึ่งรองรับ 16 … Read more

ระบบสารสนเทศ (5/5) : ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF) ระบบ Health Insurance for Foreigners หรือมีชื่อย่อว่า ระบบ HIF เป็นระบบน้องใหม่ของทางทีมพัฒนาสารสนเทศนักศึกษา เป็นระบบที่เปิดใช้สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไปโดยระบบนี้จะมีการเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศนักศึกษา ระบบ HIF เป็นระบบที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาบันทึกข้อมูลการพำนักว่าขณะนี้นักศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าหากนักศึกษาต่างชาติคนใดที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย นักศึกษาคนนั้นจำเป็นต้องมีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งคำว่าประกันสุขภาพคือ ประกันที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทุกกรณี ซึ่งประเภทของประกันที่มีผลกับข้อมูลว่าประกันสมบูรณ์หรือไม่ ได้แก่ เมื่อนักศึกษาต่างชาติดำเนินการซื้อประกันตามที่ต้องการ นักศึกษาจะต้องมาบันทึกข้อมูลในระบบ HIF เพื่อแจ้งรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ ชื่อประกัน รูปถ่ายกรมธรรม์ และช่วงวันที่ของประกัน และดำเนินการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล หน้าหลักของระบบ HIF เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันตามที่นักศึกษาบันทึกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Pass” และหากไม่ถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Fail” เพื่อแจ้งให้นักศึกษาดำเนินการแก้ไข เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลรายงาน ได้แก่ รายงานนักศึกษาทั้งหมด รายงานนักศึกษาต่างชาติไม่ได้พำนักในประเทศไทย รายงานประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุม/หรือหมดอายุกรณีนักศึกษาอยุ่ในประเทศไทย และรายงานประกันสุขภาพที่ใกล้หมดอายุ ซึ่งรายงานเหล่านี้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ติดตามนักศึกษาในความรับผิดชอบของตนเองได้ หน้าหลักของระบบ HIF ส่วนของเจ้าหน้าที่ ส่วนในระบบสารสนเทศนักศึกษาจะมีข้อความแจ้งเตือนให้กับนักศึกษาต่างชาติทราบว่า ขณะนี้นักศึกษาได้เลือกสถานะการพำนักในประเทศไทย หรือต่างประเทศ … Read more

ระบบสารสนเทศ (4/5) : ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.) ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ หรือเรียกสั่น ๆ ว่า ระบบ Course Spec. เดิมมีชื่อว่าระบบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกสั่น ๆ ว่าระบบ มคอ.ออนไลน์ หรือ TQF Online ระบบ Course Spec. ระบบ Course Spec. เป็นระบบที่เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2564 ทั้ง 5 วิทยาเขต โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ Course Spec. ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้ ระบบ Course Spec. สาเหตุที่มีการปรับปรุงจากระบบ มคอ.ออนไลน์ เนื่องจากมีการปรับปรุงรูปแบบต้นแบบจาก มคอ.3 และ มคอ. 4 มาเป็น “แผน” และต้นแบบจาก มคอ.5 และ … Read more

ระบบสารสนเทศ (3/5) : ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission) ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เป็นระบบที่ให้ผู้สมัคร (นักเรียน/นักศึกษา) สมัครเข้ามาเพื่อศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า “ม.อ.” ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์เป็นระบบที่อยู่ในการรับผิดชอบของศูนย์รับนักศึกษาและการทดสอบ ซึ่งพัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่จะมาถึงระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่ เรามีการปรับปรุงมากี่ครั้ง ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือระบบ E-Admission (URL : https://e-admission.psu.ac.th/) ในปัจจุบันเริ่มใช้สำหรับรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา โดยเป็นการพัฒนาใหม่จากระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เวอร์ชั่นเดิม โดยมีการพัฒนาปรับปรุงการใช้งาน ได้แก่ เว็บไซต์ปัจจุบันของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ดังรูป เมนูต่าง ๆ ของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ที่ผู้สมัครทุกคนจะต้องดำเนินการขึ้นอยู่กับโครงการที่เลือก ดังรูป *** กว่าจะมาเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันเราก็มีการปรับปรุงระบบ เสริม เติม แต่งจนมีความสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ หากมีส่วนใดของระบบที่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ทางทีมพัฒนาระบบ ฯ พร้อมที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น *** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

ระบบสารสนเทศ (2/5) : ระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)

ระบบทะเบียนนักศึกษา และระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS) ระบบสารสนเทศนักศึกษา มีตัวย่อคือ SIS มีนักศึกษาหลายคนจะเรียกว่า S I S (อ่านว่า เอส ไอ เอส) แต่บางคนจะเรียกกว่าระบบ SIS (อ่านว่า ซิส) ซึ่ง SIS ในที่นี้ไม่ได้มาจากคำว่า sister ที่แปลว่าน้องสาวหรือพี่สาวนะคะ แต่ย่อมาจากคำว่า Student Information System ระบบจะเกิดขึ้นมาใช้งานจนถึงปัจจุบันก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ความเป็นมาของระบบลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนในปัจจุบันก็สามารดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้ แม้ว่าช่วงลงทะเบียนจะมีบางหน้าจอที่แสดงผลเนื่องจากมีการเข้าใช้งานที่เกินกว่าที่เครื่องแม่ข่าย (Server) จะรับได้ แต่ทางทีมพัฒนาระบบฯ ได้ตรวจสอบและวางแผนรับมือทุกครั้งในช่วงการลงทะเบียนเรียน คุณทั้งหลายอาจจะมีเสียงบ่นว่าระบบช้า ระบบไม่เสถียร หรือระบบไม่ทันสมัย แต่กระบวนการทำงานที่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ทดสอบจนแทบจะไม่เกิดข้อผิดพลาดมาตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบันก็ 7 ปีมาแล้วค่ะ เมื่อย้อนกลับไปสมัยก่อนที่พวกรุ่นพี่ของเราต้องมาเขียนใบคำร้องลงวิชาเรียน แล้วไปรวมตัวที่งานทะเบียนของมหาวิทยาลัย เข้าแถว ถือใบลงทะเบียนเรียน พร้อมกันลุ้นว่าเจ้าหน้าที่จะคีย์ข้อมูลรายวิชาแล้วระบบแจ้งมาว่า ลงทะเบียนสำเร็จ หรือว่าจำนวนนักศึกษาเต็มแล้วในรายวิชานั้น ๆ และต้องมาลุ้นว่าแถวเพื่อนที่ยืนอยู่ข้าง ๆ … Read more