เตรียม Linux Lite ไว้ใช้เมื่อฉุกเฉิน

Linux มีหลายค่าย เช่น Ubuntu หรือ CentOS เป็นต้น เมื่อนำมาเพิ่มเติม Graphic User Interface (GUI) ให้ใช้งานได้ง่ายเช่นเดียวกับ Microsoft Windows ก็จะทำให้ Linux น่าใช้งานมาก สามารถใช้งานประจำวันได้เช่นเดียวกับ Microsoft Windows เลยนะครับ ผมจะข้ามเรื่องราวความเป็นมาของคำว่า Linux ไปนะครับ เอาเป็นว่าใครไม่รู้จักจริง ๆ ก็ Google Search เอานะครับ Linux ค่าย Ubuntu ถูกนำมาใส่ GUI โดยผู้พัฒนาหลายทีม ปัจจุบันจึงมีตัวเลือกให้ใช้งานอยู่เยอะมาก อันนี้บางคนก็ว่าเป็นข้อด้อยที่ทำให้มือใหม่ “งง” ไม่รู้จะเลือกตัวไหน ตัวที่ผมคิดว่าน่าใช้งานก็จะมี Linux Mint ซึ่งผมก็ใช้งานมาหลายปีทีเดียว วันนี้ผมพบว่ามี Trend ใหม่ที่ค่อนข้างน่าสนใจ คือ Linux Lite ครับ เป็นลิสต์ 1 ใน 5 ชื่อที่มีการโพสต์ไว้ในบล็อก “5 Lightweight Linux For Old Computers”  เป็น Linux ที่มีขนาดเล็กที่ทดสอบดูแล้วว่าใช้งานได้ดีกว่าอีก 4 ชื่อที่กล่าวถึงในบล็อกนั้น ยิ่งเล็กมากเป็นเบอร์ 1 นี่ จะไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานประจำวันได้เลย มันจะเหมาะกับงานแอดมินมากกว่า Linux Lite มีหน้าเว็บเพจที่มี Road Map ในการพัฒนาที่ชัดเจนทีเดียว ลองเข้าไปอ่านดูได้ที่ https://www.linuxliteos.com/ ครับ ทำให้ผมคิดว่าจะลองใช้งานตัวนี้แทน Linux Mint เพราะว่า Linux Lite มีขนาดที่เล็กกว่า และรู้สึกว่าใช้งานได้ง่าย ๆ เมนูก็คล้ายกับ Windows 7 ที่เราคุ้นเคย ผมตั้งชื่อบล็อกที่ผมเขียนในวันนี้ว่า “เตรียม Linux Lite ไว้ใช้เมื่อฉุกเฉิน” ผมคิดว่าพวกเราส่วนใหญ่จะใช้ Microsoft Windows กันทุกวัน แต่หากว่าวันใดที่เครื่องของเรา หรือ เพื่อนเรายกเครื่องมาให้เราช่วยดูเมื่อเกิดปัญหา หลาย ๆ ครั้งเรื่องราวมันจะจบลงที่ระบบปฏิบัติการเสียหาย ต้องล้างเครื่อง (Format) ใหม่ หรือไม่ก็อาจเกี่ยวกับ USB Flash Drive ที่ใช้เก็บไฟล์ข้อมูลที่ไปติดไวรัสคอมพิวเตอร์มาจากเครื่องคอมฯที่อื่น หากเราเรียนรู้วิธีการในวันนี้จะช่วยให้เราพร้อมที่จะจัดการปัญหาได้ทั้งแก่ตัวเองและช่วยเหลือเพื่อนของเราครับ ที่ผมจะทำก็คือผมจะติดตั้ง Linux Lite ลงไปใน USB Flash Drive เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เราก็นำไปเสียบเข้าที่เครื่องคอมฯที่ BIOS สามารถตั้งค่าให้ boot USB Hard Disk ได้ เราจะต้องทำดังนี้ 1. ให้แน่ใจว่า USB Flash Drive มีขนาดไม่น้อยกว่า 8 GB และพร้อมให้ฟอร์แมตได้ 2. ในเครื่อง Windows ของเรามีโปรแกรมที่ใช้สำหรับเขียนไฟล์ .iso ลงไปใน USB Flash Drive ได้ ผมเลือกใช้โปรแกรมชื่อว่า Rufus ล่าสุดคือรุ่น 2.14 3. ไปยังเว็บไซต์ https://www.linuxliteos.com/ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ .iso ล่าสุดคือรุ่น 3.4 เลือกว่าจะเอา 32 Bit หรือ 64 Bit ไม่ต่างกันครับ (32 Bit จะนำไปใช้กับเครื่องที่มี RAM มากกว่า 4 GB ไม่ได้ครับ และ 64 Bit ก็จะนำไปใช้กับเครื่องเก่า ๆ ที่เมนบอร์ดเป็น 32 Bit ไม่ได้) 4. ขั้นตอนติดตั้งคือ เสียบ USB Flash Drive จากนั้น เปิดโปรแกรม Rufus เลือกตำแหน่งที่วางไฟล์ .iso

Read More »

วิธีติดตั้ง Kubernetes ด้วย CoreOS (ตอนที่ 2 Worker Node)

ถ้าต้องการระบบจัดการ docker container สักตัวต้องทำอย่างไร (ตอนที่ 2)             จากตอนก่อนหน้านี้ รู้จักกับ Kubernetes และวิธีติดตั้ง Kubernetes ด้วย CoreOS (ตอนที่ 1 Master Node)[1] ก็มาต่อด้วยการติดตั้งบนเครื่อง Worker ต่อครับ  วิธีการติดตั้ง Kubernetes Worker Node[2] ทำการติดตั้ง CoreOS บน Worker Node สร้าง directory ดังนี้ sudo mkdir -p /etc/kubernetes/ssl ทำการ copy ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้มาไว้ใน folder ดังนี้ File: /etc/kubernetes/ssl/ca.pem File: /etc/kubernetes/ssl/${WORKER_FQDN}-worker.pem File: /etc/kubernetes/ssl/${WORKER_FQDN}-worker-key.pem เปลี่ยน permission และ owner file เฉพาะไฟล์ -key* ดังนี้ sudo chmod 600 /etc/kubernetes/ssl/*-key.pem sudo chown root:root /etc/kubernetes/ssl/*-key.pem ทำการทำ link เผื่อให้ config แต่ละ worker เหมือน ๆ กัน cd /etc/kubernetes/ssl/ sudo ln -s ${WORKER_FQDN}-worker.pem worker.pem sudo ln -s ${WORKER_FQDN}-worker-key.pem worker-key.pem จากนั้นตั้งค่า flannel network เป็น network ที่เอาไว้เชื่อมแต่ละ pod ให้สามารถคุยกันได้ข้ามเครื่อง เพื่อสร้างวง virtual ip ให้กับ pod ดังนี้ sudo mkdir /etc/flannel ทำการสร้างไฟล์ option.env sudo vim /etc/flannel/options.env เนื้อหาในไฟล์ดังนี้ FLANNELD_IFACE=<Worker IP> FLANNELD_ETCD_ENDPOINTS=http://<Master IP>:2379,http://<Node1 IP>:2379,http://<Node2 IP>:2379 จากนั้นทำการสร้าง flannel service ดังนี้ sudo mkdir -p /etc/systemd/system/flanneld.service.d/ sudo vim /etc/systemd/system/flanneld.service.d/40-ExecStartPre-symlink.conf เนื้อหาในไฟล์ดังนี้ [Service] ExecStartPre=/usr/bin/ln -sf /etc/flannel/options.env /run/flannel/options.env จากนั้นทำการตั้งค่า docker เพื่อกำหนดให้ใช้งานผ่าน flannel โดยสร้างไฟล์ config ดังนี้ sudo mkdir -p /etc/systemd/system/docker.service.d sudo vim /etc/systemd/system/docker.service.d/40-flannel.conf เนื้อหาในไฟล์ดังนี้ [Unit] Requires=flanneld.service After=flanneld.service [Service] EnvironmentFile=/etc/kubernetes/cni/docker_opts_cni.env โดยที่ทำสร้างไฟล์ docker_opts_cni.env ขึ้นมาประกอบดังนี้ sudo mkdir -p /etc/kubernetes/cni sudo vim /etc/kubernetes/cni/docker_opts_cni.env เนื้อหาในไฟล์ดังนี้ DOCKER_OPT_BIP=”” DOCKER_OPT_IPMASQ=”” จากนั้นทำการ restart docker service สักรอบดังนี้ sudo systemctl restart docker หนังจากนั้นทำการสร้าง config ไฟล์สุดท้ายสำหรับ flannel ดังนี้ sudo mkdir -p /etc/kubernetes/cni/net.d sudo vim /etc/kubernetes/cni/net.d/10-flannel.conf เนื้อหาในไฟล์ดังนี้ { “name”: “podnet”, “type”: “flannel”, “delegate”: { “isDefaultGateway”: true } } ทำการ start flannel service

Read More »

อยากรู้ว่า Windows 10 Firewall Inbound Rules เปิดหรือปิด SMBv1, SMBv2 หรือไม่

อยากรู้ว่า Windows 10 Firewall Inbound Rules เปิดหรือปิด SMBv1, SMBv2 หรือไม่ ทดสอบจากเครื่อง Linux ที่ตั้งอยู่ใน network เดียวกัน ทำ nmap ค้นหา SMB (TCP Port 445) ไปที่เครื่อง Windows IP 192.168.x.yy   ครั้งที่ 1 รายการ File and Printer Sharing (SMB-In) ใน Firewall Inbound Rules เมื่อตั้งค่า Enabled = No ผลลัพธ์ $ nmap -A -T4 -Pn -p445 192.168.x.yy Starting Nmap 7.01 ( https://nmap.org ) at 2017-05-15 13:52 ICT Nmap scan report for 192.168.x.yy Host is up. PORT STATE SERVICE VERSION 445/tcp filtered microsoft-ds Nmap done: 1 IP address (1 host up) scanned in 2.39 seconds ครั้งที่ 2 รายการ File and Printer Sharing (SMB-In) ใน Firewall Inbound Rules เมื่อตั้งค่า Enabled = Yes ผลลัพธ์ $ nmap -A -T4 -Pn -p445 192.168.x.yy Starting Nmap 7.01 ( https://nmap.org ) at 2017-05-15 13:55 ICT Nmap scan report for 192.168.x.yy Host is up (0.00048s latency). PORT STATE SERVICE VERSION 445/tcp open microsoft-ds Microsoft Windows 10 microsoft-ds Service Info: OS: Windows 10; CPE: cpe:/o:microsoft:windows_10 Host script results: | smb-security-mode: | account_used: guest | authentication_level: user | challenge_response: supported |_ message_signing: disabled (dangerous, but default) |_smbv2-enabled: Server supports SMBv2 protocol Nmap done: 1 IP address (1 host up) scanned in 47.82 seconds ครั้งที่ 3 รายการ File and Printer Sharing (SMB-In) ใน Firewall Inbound Rules เมื่อตั้งค่า

Read More »