ไวรัส shortcut
เหตุที่ตั้งชื่อบทความว่า ไวรัส shortcut ไม่ได้หมายความว่าไวรัสประเภทนี้ชื่อ shortcut แต่เป็นอาการทีเกิดขึ้นเมื่อไวรัสตัวนี้ทำงาน โดยสาเหตุและลักษณะอาการที่พบคือ เมื่อเรานำ flash drive หรืออุปกรณ์จำพวก removable drive (เช่น external hardisk) ไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ไฟล์ที่อยู่ใน flash drive หรือ removable drive จะหายไป และจะมีไฟล์ shortcut เกิดขึ้นแทนที่ โดย shortcut มักจะถูกตั้งชื่อเหมือนกับไฟล์ข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ซึ่งหากเราเผลอเปิดไฟล์ shortcut ดังกล่าว ก็จะเป็นการไปเรียกไฟล์ไวรัสให้ทำงานนั่นเอง ส่วนไฟล์ข้อมูลเดิมนั้นไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เมื่อแรกเริ่มที่ติดไวรัสมานั้น ไฟล์เหล่านี้จะถูกซ่อนไว้ไม่ให้เห็นนั่นเอง ตัวอย่างไฟล์ shortcut ที่ไวรัสสร้างขึ้น ข้อสังเกตุคือจะมีไอคอนเป็นแบบ shortcut (ไอคอนรูปลูกศร) แนวทางการแก้ไข (ในบทความนี้จะยกตัวอย่างบน Windows 8.1) อันดับแรกสิ่งที่ต้องเตรียมคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ติดไวรัส เพื่อใช้สำหรับกำจัดไวรัสและกู้ข้อมูลที่อยู่ใน flash drive หรือ removable […]
สั่งให้ Excel พูดด้วยเครื่องมือ Speak Cells
สำหรับ blog ในวันนี้ ทางผู้เขียนขอแนะนำเทคนิคการใช้งานเครื่องมือใน Quick Access Toolbar (QAT) ที่จะสามารถทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น โดยการเลือกเครื่องมือที่มีการใช้งานบ่อยๆ มาไว้ในที่ที่เข้าถึงง่าย แล้ว Quick Access Toolbar คืออะไร ? อธิบายแบบง่ายๆ เลยนะ มันคือ แถบคำสั่งที่อยู่มุมบนด้านซ้ายของตัวโปแกรมชุด Office ไม่ว่าจะเป็น Excel, Word หรือ PowerPoint เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้งานคำสั่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ คือพวกปุ่ม Save, Undo, Redo นั่นแหละ แล้วถ้าหากเราต้องการ Add คำสั่งอื่นๆ เพิ่มเข้ามาละ จะต้องทำยังไง ? วิธีการเพิ่มคำสั่งใน Quick Access Toolbar วิธีที่หนึ่ง สามารถ Add ได้จากปุ่มที่เห็นอยู่แล้ว ดูตัวอย่างได้ตามรูปด้านล่าง คลิกขวาบนคำสั่งที่ต้องการ จากนั้นเลือก Add to […]
การสลับภาษาด้วย “~” Linux Mint 18.2 64 bit
สำหรับใครที่ในช่วงนี้เบื่อๆเซ็งๆระบบปฎิบัติการ Windows อยากลองอะไรใหม่ๆให้กับชีวิตบ้าง ใจก็อยากไป macOS แหละ ครั้นจะเอามาลงที่เครื่องเรา มันได้เหรอ(คิดในใจเบาๆ) ว่าแล้วก็หันไปซบอก OpenSource อย่าง linux ดีกว่า linux ก็จะประสบปัญหาการเปลี่ยนภาษาเหมือนตอนที่เราลง Windows ใหม่ๆ ต้องกด Left Alt + Shift เพื่อเปลี่ยนภาษา มันก็จะลำบากหน่อยๆ กดไปบ้างไม่ไปบ้างแต่คนที่ชินแล้วก็ปล่อยเขาไปนะค่ะ ส่วนเรายังไม่ชินปกติก็จะใช้ Grave “~” ตลอด ซึ่ง linux เดิมจะใช้ ปุ่ม Ctrl+Shift ในการเปลี่ยนภาษา สืบไปสืบมาได้ความว่า linux จะใช้ “~” แทนการอ้างอิง path home จึงไม่สามารถใช้ “~” เปลี่ยนภาษาได้ แต่สำหรับใครที่ยังไม่ชินก็สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเปลี่ยนภาษาได้เนอะ […]
App Analytics: เครื่องมือจัดเก็บวิเคราะห์สถิติและเฝ้าระวัง แอพลิเคชั่นบน iOS
นักพัฒนาหลายท่านโดยเฉพาะ นักพัฒนาเว็บ น่าจะคุ้นเคยกับบริการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ สกิติเว็บไซด์อย่างเช่น Google Analytic เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความจำเป็นมากที่นักพัฒนาต้องบอกได้ว่า ผู้ใช้ของเรามีจำนวนเท่าไหร่ เกิดข้อผิดพลาดมากน้อยเพียงใด และช่วงเวลาใดที่มีการใช้งานเยอะ เพื่อเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการให้บริการ รวมถึงการกำหนดเวลาปิดระบบเพื่อบำรุงรักษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของ แอพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ iOS เองก็มีเครื่องมือที่ชื่อว่า App Analytics ให้ใช้งาน โดยที่นักพัฒนาไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่แอพพลิเคชั่นของท่านอยู่ในสถานะ พร้อมให้ใช้งาน (Ready For Sale) ก็สามารถเข้าใช้งาน App Analytics ได้ทันที โดยมีขั้นตอน และการแปลผลดังนี้ เข้าไปยัง https://itunesconnect.apple.com ทำการ Login ด้วย Apple Developer Account เลือกเมนู App Analytics เมื่อเข้าไปยังหน้าแรกจะมีรายการแอพพลิเคชั่นของเราแสดงอยู่ พร้อมข้อมูลเบื้องต้น ในระยะเวลา 1 เดือนล่าสุด (สามารถเปลี่ยนช่วงเวลาได้) โดยข้อมูลที่แสดงอยู่ประกอบไปด้วย Impressions : จำนวนครั้งที่แอพพลิเคชั่นของเราปรากฏให้ผู้ใช้เห็นเช่น อยู่ในผลการค้นหา, […]
Test Flight: อัพโหลดแอพลิเคชั่นขึ้นทดสอบบน App Store โดยผู้ใช้จริง
ไม่ว่าจะพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วยวิธีการใดก็ตาม เมื่อพัฒนาเสร็จเรียบร้อย และผ่านการทดสอบจากผู้พัฒนาเองโดยการใช้ Simulator หรืออุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้ เรียบร้อยแล้ว สำหรับแอพพลิชั่น ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และต้องรองรับกับความหลากหลายของอุปกรณ์ทั้งรุ่นของระบบปฏิบัติการ ขนาดหน้าจอ และฮาร์ดแวร์ จำเป็นต้องมีการทดสอบ โดยผู้ใช้จริงจำนวนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ในการลดข้อผิดพลาด เมื่อเปิดให้ใช้งานจริง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ เข้าไปยัง https://itunesconnect.apple.com ทำการ Login ด้วย Apple Developer Account เลือกเมนู My Apps จะเข้าสู่หน้าจอจัดการ หากยังไม่มี Application Record ต้องทำการสร้างก่อน โดยคลิกที่ปุ่ม จากนั้นจะได้หน้าจอสำหรับป้อนข้อมูลแอพพลิเคชั่นของเรา กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นกรอกข้อมูลอื่นๆ อัพโหลดภาพตัวอย่างตามข้อกำหนดของ Apple ให้ครบถ้วน (รายละเอียดในส่วนนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมจาก https://developer.apple.com/app-store/review) เมื่อสร้าง Application Record เรียบร้อย เลือกที่ไอคอนแอพลิเคชั่นของเรา จะได้หน้าจอดังรูป เลือกเมนู TestFlight จะแสดงหน้าจอรายการ Build (ไฟล์ ipa ของแอพลิเคชั่น) ที่เราได้อัพโหลดไว้กรณีไม่ปรากฏดังตัวอย่าง แสดงว่าไม่มี […]