Category: Operating System

  • การติดตั้ง Apache2 + PHP5 บนเครื่อง Ubuntu 14.04 LTS

    มาเริ่มขั้นตอนการติดตั้งกันเลยครับ

    วิธีการติดตั้ง Apache2 Web Server

    1. ทำการติดตั้ง Apache ผ่าน apt-get ดังนี้ครับ

    # sudo apt-get install -y apache2 
    

    2. ให้ทำการ Restart Apache ด้วยคำสั่ง

    # sudo service apache2 restart
    

    จะเห็นได้ว่าจะมี Warning เกี่ยวกับ Domain Name ไม่ต้องตกใจครับ สามารถใช้งานได้ แต่เพราะยังไม่ได้จด Domain ให้กับ IP เครื่องที่ติดตั้ง ทุกครั้งที่ Restart ก็จะมีการฟ้องจนกว่าจะจดครับ

    ถ้าไม่ต้องการให้ขึ้น Warning ดังกล่าว ให้ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/apache2.conf ดังนี้

    – เปิดไฟล์ /etc/apache2/apache2.conf

    sudo nano /etc/apache2/apache2.conf
    

    – เพิ่มข้อความท้ายไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter)

    ServerName localhost

    3. จากนั้นทำการ Restart Apache อีกครั้งจะไม่พบข้อความ Warning อีกแล้ว

    # sudo service apache2 restart

    4. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน HTTP โดยพิมพ์คำสั่ง http://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ เช่น

    http://192.168.99.1
    

    5. ในกรณีที่ต้องการติดตั้ง SSL ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อเปิด site ดังนี้

    sudo a2enmod ssl
    sudo a2ensite default-ssl

    6. จากนั้นให้สั่ง Restart Apache ตามปกติ

    # sudo service apache2 restart
    

    7. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน HTTPS โดยพิมพ์คำสั่ง https://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์ เช่น

    https://192.168.99.1
    

    8. ในกรณีที่ต้องการยกเลิกการติดตั้ง SSL ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อปิด site ดังนี้

    sudo a2dismod ssl
    sudo a2dissite default-ssl

    9. จากนั้นให้สั่ง Restart Apache ตามปกติ

    # sudo service apache2 restart
    

    *หมายเหตุ วิธีการดู IP ให้พิมพ์ดังนี้

    ifconfig

    ให้วิธีการดูให้สังเกตุตามรูปตัวอย่าง

    2014-05-22_102420

    – eth0 เป็น ip จาก nat interface
    – eth1 เป็น ip จาก bridge interface
    – lo เป็น ip จาก loopback interface

    วิธีการเปลี่ยน Apache Server Default Port

    *ยกตัวอย่างการเปลี่ยนจาก port 80->8080

    1. เปิดไฟล์ /etc/apache2/sites-enabled/000-default.conf

    sudo nano /etc/apache2/sites-enabled/000-default.conf
    

    2. แก้ไขข้อความในไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter)

    <VirtualHost *:8080>

    3. เปิดไฟล์ /etc/apache2/ports.conf

    sudo nano /etc/apache2/ports.conf
    

    2. แก้ไขข้อความในไฟล์ดังนี้ (วิธีการ save ให้กด Ctrl-X แล้วกด y แล้ว enter)

    Listen 8080

    3. จากนั้นให้สั่ง Restart Apache ตามปกติ

    # sudo service apache2 restart
    

    4. ทำการทดสอบเข้าใช้งาน โดยพิมพ์คำสั่ง http://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์:8080 เช่น

    http://192.168.99.1:8080

    ตั้ง PHP5 เพื่อใช้งานกับ Apache2 Web Server
    1. ทำการติดตั้ง PHP5 ดังนี้

    sudo apt-get install -y php5 libapache2-mod-php5
    

    2. วิธีการสร้างไฟล์ตรวจสอบสามารถทำได้ดังนี้

    – เปิดไฟล์ /var/www/html/info.php

    sudo sh -c 'echo "<?php echo phpinfo(); ?>" > /var/www/html/info.php'
    

    – จากนั้นทำการเปิด web http://หมายเลขไอพีของเซิร์ฟเวอร์/info.php ตัวอย่าง

    http://192.168.99.1/info.php
  • การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device

    การตั้งค่า PSU Email สำหรับ Android device โดยใช้ app Email (ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่อง)

    บางท่านอาจจะเจอปัญหาว่า เช็คเมลล์เข้าได้ แต่ไม่สามารถส่งเมลล์ออกได้ ลองทำตามขั้นตอนนี้ดูนะครับ ^^

    1. ไปที่ไอคอน Email บน android
    Screenshot_2014-05-12-12-57-25

    2. ใส่ email address และ password
    Screenshot_2014-05-12-12-57-58

    3. กดปุ่ม Next

    4. รอการตรวจเช็คสักครู่
    Screenshot_2014-05-12-12-58-06

    5. เลือก IMAP account
    Screenshot_2014-05-12-12-58-11

    6. ในส่วนของ Incoming server settings

    • ให้ใส่ IMAP server ให้เป็น mail.psu.ac.th
    • Port : 143
      Screenshot_2014-05-12-12-58-56

    จากนั้น กดปุ่ม Next

    7. ในส่วนของ Outgoing server settings ให้ใส่

    • ให้ใส่ SMTP server ให้เป็น smtp2.psu.ac.th
    • Security type : TLS
    • Port : 587
      Screenshot_2014-05-12-12-59-30
      จากนั้น กดปุ่ม Next

    8. กำหนดค่า Account options หากไม่ต้องการปรับแก้ ก็ให้กดปุ่ม Next ได้เลย
    Screenshot_2014-05-12-12-59-37

    9. ทำการระบุ account a name และ display name หรือหากไม่ต้องการปรับเปลี่ยน ก็ให้กดปุ่ม Done เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการตั้งค่า
    Screenshot_2014-05-12-12-59-48

     

    *** การตั้งค่าบน android นี้ จะเหมือนกับการตั้งค่าที่ Outlook Express เพียงแต่ว่าจะต่างกันตรงที่ จะต้องกำหนดค่า Security type  เป็น TLS
    refer : วิธีตั้งค่า PSU Email สำหรับ Outlook Express

  • วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Laptop ไม่สามารถปรับควบคุมแสงสว่าง Brightness Control ใน Ubuntu 14.04

    วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Laptop ไม่สามารถปรับควบคุมแสงสว่าง Brightness Control ใน Ubuntu 14.04

    ปัญหานี้เกิดกับ Laptop ที่มีการ์ดแสดงผลของยี่ห้อ [Intel Graphics] ซึ่งจะไม่สามารถปรับควบคุมความเข้มความสว่างของจอภาพเพื่อปรับลด/เพิ่ม แสงได้ตามปกติ
    Desktop_Ubuntu

    – ให้ลองใช้คำสั่งตรวจสอบ video/graphic card ของท่านดูก่อนว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใด
    ls /sys/class/back light/
    list graphic card

    ถ้าปรากฎว่าแฟ้มข้อมูลที่แสดงออกมามีแฟ้มชื่อ intel_backlight อาจจะเกิดปัญหากับการปรับลด/เพิ่ม แสงของหน้าจอ ให้แก้ไขดังนี้

    touch /usr/share/X11/xorg.conf.d/20-intel.conf
    touch 20-intel.conf

    sudo vi /usr/share/X11/xorg.conf.d/20-intel.conf
    Selection_005
    จากนั้นพิมพ์ข้อมูลดังนี้

    Section "Device"
            Identifier  "card0"
            Driver      "intel"
            Option      "Backlight"  "intel_backlight"
            BusID       "PCI:0:2:0"
    
    EndSection

    หลังจากพิมพ์ข้อความเสร็จให้ทำการบันทึกแฟ้มดังกล่าว จากนั้นให้ลองล็อกเอาท์ logout หรือทำการ restart เครื่องใหม่ และลองใช้ฟังค์ชั่นคียร์ปรับลด/เพิ่ม แสงของจอภาพ
    เป็นอันเสร็จเรียบร้อย… ^_^

  • เรียนรู้ด้วยตนเอง Linux System Administration I และ II

    linux-tutorial

    ขอแนะนำแหล่งความรู้สำหรับทุกท่านที่ต้องการเรียนรู้ Linux ซึ่งผมและอาจารย์ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม ได้รวบรวมเขียนไว้และจัดอบรมไปแล้ว 1 รุ่น ใน Workshop I สอนด้วย Ubuntu 12.04 และใน Workshop II Ubuntu 14.04 ออกมาพอทันให้ได้ใช้กันครับ

    Workshop Linux System Administration I
    (http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA1)
    เนื้อหา
    เป็นการให้ความรู้ในการทำหน้าที่ system administrator เพื่อดูแลระบบปฏิบัติการ Linux โดยจะใช้ Ubuntu ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานกันมาก โดยจัดเนื้อหาเป็น 2 ตอน ในตอนแรกนี้จะเป็นความรู้จำเป็นที่จะเป็นพื้นฐานไปสู่การเป็นมืออาชีพที่สามารถดูแล server ด้วยตนเองต่อไปได้อย่างมั่นใจ โดยใช้เวลา 2 วัน

    LSA-I

    Workshop Linux System Administration II
    (http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA2)
    เนื้อหา
    เป็นการให้ความรู้ในการทำหน้าที่ system administrator เพื่อดูแลระบบปฏิบัติการ Linux โดยจะใช้ Ubuntu ในตอนที่ 2 นี้จะเป็นความรู้ในการติดตั้ง server การดูแล server การป้องกันและตรวจสอบความปลอดภัย server และ web application ที่ติดตั้งในเครื่อง โดยใช้เวลา 2 วัน

    LSA-II

    วิธีการเรียนใน workshop ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติด้วย Ubuntu server ที่ติดตั้งใน Oracle VM Virtualbox ซึ่งเป็นโปรแกรมในการจำลองเครื่องเสมือนจริง

    สำหรับเพื่อนๆที่ไม่ได้เข้า workshop ลองเข้าไปอ่านกันได้นะครับ และเพื่อนๆที่เข้า workshop ก็ทบทวนได้เมื่อต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับ Linux System Administration I และ II

  • วิธีตั้งค่า Apache web server 2.4.x แตกต่างจาก 2.2.x

    asf_logo_wide
    เก็บตกจากวันวานเปิดอบรม Workshop Linux System Administration II (WS-LSA2) ที่ศูนย์คอมฯ 2 วัน ผมเตรียมเอกสาร workshop วิธีตั้งค่าหลายๆเรื่องบน ubuntu 12.04 แต่พอดีกับที่ ubuntu 14.04 ออกมาแล้ว จึงนำ ubuntu 14.04 มาให้ผู้เรียนใช้ติดตั้ง มันก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก ubuntu 12.04 ตั้งแต่เริ่มต้น installation จนกระทั่งมาถึงเรื่องที่เราจะตั้งค่าเกี่ยวกับ Apache web server ซึ่งทำให้ต้องแก้ไขเอกสารประกอบการสอนกันสดๆตอนนั้นเลย (ฮา)

    เพราะว่า Apache Web Server ที่อยู่ในแผ่น ubuntu 14.04 นั้นเป็นเวอร์ชั่น 2.4.7 ซึ่งมี Default Document Root อยู่ที่ /var/www/html ต่างจาก Apache Web Server เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ (2.2.x) ที่มี Default Document Root อยู่ที่ /var/www เป็นต้น

    พอจะสรุปได้ดังนี้

    Apache Web Server 2.2.x ทำแบบนี้
    1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www
    หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/testjoomla

    2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available
    จะมีไฟล์ชื่อ default และ default-ssl มาให้
    และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็สร้าง config file ที่มีชื่อไฟล์อย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/sites-available/pma หลังจากนั้นเราก็ enable VirtualHost นี้ จาก config ที่เราสร้างขึ้นใหม่ โดยการใช้คำสั่ง sudo a2ensite pma แล้วก็สั่ง restart apache

    3.เมื่อเข้าไปดูในไฟล์ default
    DocumentRoot จะอยู่ที่ /var/www

    4.Apache2 config file จะอยู่ที่ /etc/apache2/conf.d
    สมมติว่าต้องการเพิ่มการป้องกัน joomla web server ด้วย config file ชื่อ jce จะต้องทำดังนี้
    สร้างไฟล์ที่จะมีชื่ออย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/conf.d/jce แค่นี้ก็ได้แล้ว แล้วก็สั่ง restart apache และเมื่อจะไม่ใช้ config file jce นี้แล้ว ก็แค่ลบไฟล์นี้ทิ้ง

    แต่สำหรับ Apache Web Server 2.4.x วิธีการจะแตกต่างไป ดังนี้
    1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www/html
    หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/html/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/html/testjoomla

    2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available
    จะมีไฟล์ชื่อ 000-default และ default-ssl มาให้ (ต่างจาก 2.2.x)
    และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็ต้องสร้าง config file ที่มี .conf ต่อท้ายชื่อไฟล์ด้วย เช่น /etc/apache2/sites-available/pma.conf
    หลังจากนั้นเราก็ enable VirtualHost นี้ จาก config ที่เราสร้างขึ้นใหม่ โดยการใช้คำสั่ง
    sudo a2ensite pma แล้วจึงจะสั่ง restart apache สำเร็จ

    3.เมื่อเข้าไปดูในไฟล์ default
    DocumentRoot จะอยู่ที่ /var/www/html

    4.Apache2 config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/conf-available และต้องสั่ง enable config file ที่ต้องการใช้งานก่อนจึงจะใช้งานได้ แล้วจะเกิดไฟล์ขึ้นอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/conf-enabled
    สมมติว่าต้องการเพิ่มการป้องกัน joomla web server ด้วย config file ชื่อ jce จะต้องทำดังนี้ เราต้องตั้งชื่อให้มี .conf ต่อท้ายด้วยคือ /etc/apache2/conf-available/jce.conf
    และใช้คำสั่งเพื่อ enable config file ดังนี้ sudo a2enconf jce แล้วก็สั่ง restart apache จึงจะสำเร็จ และเมื่อจะไม่ใช้ config file นั้น ก็จะต้องสั่งดังนี้ sudo a2disconf jce แล้วก็สั่ง restart apache จึงจะสำเร็จ

    ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็น guide ให้แอดมินคิดออกว่า “เอ๊ะ! ทำไมเราตั้งค่าไม่ได้ทั้งๆที่เคยทำได้และทำอยู่บ่อยๆด้วย”

    ขอบคุณครับ

  • เทคนิคการใช้งานคำสั่ง screen บน Linux

    ในกรณีที่อยู่ภายนอกระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัย การจะเข้าถึง Linux Server ของตนเองนั้น อาจจะทำได้โดย

    1. VPN เข้ามา แล้ว จึงใช้ SSH Client ต่างๆ เพื่อเข้าถึง
    2. SSH มายัง Server ที่ เปิดให้ Secure Shell ได้จากภายนอก แล้วจึง ssh จากเครื่องดังกล่าว ไปยัง Server ที่ต้องการ

    ปัญหาคือ การใช้งาน VPN ทำให้ ได้ IP เป็น Private ภายในมหาวิทยาลัย อาจจะไม่สะดวกในบางประการ ครั้นจะต้อง ssh ไปยังเครื่องที่เปิดให้ แล้วค่อยไปต่อก็ไม่สะดวกนัก เพราะ ถ้าต้องทำงานกับหลายๆเครื่อง ก็ต้อง ssh กันหลายรอบ

    บทความนี้ ขอยกตัวอย่างว่า มีเครื่อง xxx.psu.ac.th เปิดให้ ssh จากภายนอกเข้ามาได้ และมีเครื่อง aaa.psu.ac.th, bbb.psu.ac.th, ccc.psu.ac.th และ ddd.psu.ac.th เป็นเครื่องที่ต้องการจะเข้าไปจัดการ ด้วย SSH Client และสมมุติให้เครื่องต่างๆ เปิด Firewall ให้ xxx.psu.ac.th สามารถ ssh ไปได้

    วิธีการหนึ่งที่สะดวกกว่าการ ssh หลายๆรอบ คือ การใช้คำสั่ง screen

    ขั้นตอนคือ

    1. ssh ไปยังเครื่อง xxx.psu.ac.th
    2. ใช้คำสั่ง screen
    3. จากนี้ไป เป็นการติดต่อไปยัง Server ต่างๆ …
    4. ที่ Shell ของ screen บนเครื่อง xxx.psu.ac.th ใช้คำสั่ง ssh username@aaa.psu.ac.th ก็จะได้เข้าถึง aaa.psu.ac.th ได้
    5. เมื่อต้องการ ติดต่อไปยัง bbb.psu.ac.th ก็ กดปุ่ม Ctrl + a แล้วกดตัว c (c ตัวพิมพ์เล็ก) จากนั้นจะได้ Prompt ใหม่ของ xxx.psu.ac.th แล้วใช้คำสั่ง ssh username@bbb.psu.ac.th
    6. เมื่อต้องการ ติดต่อไปยัง ccc.psu.ac.th ก็ กดปุ่ม Ctrl + a แล้วกดตัว c (c ตัวพิมพ์เล็ก) จากนั้นจะได้ Prompt ใหม่ของ xxx.psu.ac.th แล้วใช้คำสั่ง ssh username@ccc.psu.ac.th
    7. เมื่อต้องการ ติดต่อไปยัง ddd.psu.ac.th ก็ กดปุ่ม Ctrl + a แล้วกดตัว c (c ตัวพิมพ์เล็ก) จากนั้นจะได้ Prompt ใหม่ของ xxx.psu.ac.th แล้วใช้คำสั่ง ssh username@ddd.psu.ac.th
    8. ต่อไป หากต้องการดูว่า มีการเชื่อมต่อไปยัง Server ใดไว้บ้าง ใช้คำสั่ง Ctrl + a แล้ว กด ” (Double Quote) ก็จะแสดง รายการของ Server ที่ติดต่อไป โดยนำหน้าด้วย ตัวเลข เริ่มจาก 0, 1, 2 และตามด้วยชื่อ โดยเริ่มต้น จะเป็นชื่อ Shell เช่น bash ทำให้จำได้ยาก แต่สามารถ ใช้ปุ่ม ลูกศร บนคีย์บอร์ด เพื่อเลื่อนขึ้นลงได้ ให้ เลื่อนไปที่อันแรก แล้วกด Enter (ซึ่งก็คือเครื่อง aaa.psu.ac.th)
    9. ต่อไป เราสามารถตั้งชื่อได้ โดยใช้คำสั่ง Ctrl + a แล้วกดตัว A (A ตัวพิมพ์ใหญ่) แล้วตั้งชื่อ เป็น aaa.psu.ac.th แล้วกด Enter จากนั้น ลอง ทำข้อ 8 ใหม่ จะพบว่า สามารถตั้งชื่อได้แล้ว ซึ่งจะง่ายขึ้น ในการสลับหน้าจอ
    10. จากนั้น ทำข้อ 8 เพื่อ สลับไปยัง bbb, ccc, ddd เพื่อตั้งชื่อ
    11. ถ้าต้องการสลับไปตามลำดับ ใช้คำสั่ง Ctrl + a แล้วกดตัว n (n ตัวพิมพ์เล็ก) จะสลับไปเรื่อยๆตามลำดับ
    12. ถ้าต้องการสลับไปยังหน้าจอ ลำดับไกลๆ เช่น เปิดไว้ 8 ตัว ก็กดคำสั่ง Ctrl + a แล้วกด ‘ (Single Quote) ตามด้วย ตัวเลขลำดับของหน้าจอ
    13. เมื่อต้องการ กลับมายัง xxx.psu.ac.th ก็แค่กด Ctrl + a แล้วกดปุ่ม d (d ตัวพิมพ์เล็ก),  จากนี้ หากต้องการหยุดการทำงานแล้ว ก็สามารถ exit ออกไปได้เลย โดยที่ เครื่อง xxx ยังติดต่อกับเครื่อง aaa, bbb, ccc, ddd ไว้เหมือนเดืม
    14. แต่เมื่อต้องการ กลับไปใช้ screen ใหม่ ลองใช้คำสั่ง screen -ls เพื่อเรียกดู Session
    15. และใช้คำสั่ง screen -r เพื่อ กลับไปยัง screen ที่ทำงานค้างอยู่ได้

    วิธีการนี้ ทำให้ งานไม่สะดุด เพราะสิ่งที่ run ค้างไว้ ยังคงทำงานต่อไป และสามารถกลับมาทำงานเมื่อไหร่ก็ได้ แถม คนที่ใช้ Shell ผ่านทาง SmartPhone, Tablet ที่ต้องพิมพ์ Password ยากๆ ก็แค่พยายาม ssh ไปยังเครื่อง xxx ครั้งเดียว หลังจากนั้น ก็สามารถ สลับหน้าจอไปมา โดยไม่ต้องพิมพ์ Password ยากๆเหล่านั้นอีกครับ 😉

    ลองดูครับ

  • วิธีการ Charge iPhone ที่ถูกต้อง

    สรุป Battery ของ iPhone
    1. ใช้ Lithium-ion Batteries ซึ่งแตกต่างกับ Nickle-Base Batteries ซึ่งจะมีปัญหา memory effect ดังนั้น สามารถ Recharge ได้ ทุกครั้ง เมื่อมีโอกาส โดยไม่ต้องรอให้หมดแล้วค่อย Charge
    2. Battery ของ iPhone จะมี Charge Cycle ที่ 500 Cycles, โดยแต่ละ cycle คือ จำนวน % ที่ Charge เข้าไป เช่น ถ้าเราใช้ Battery จาก 100% เหลือ 75% หรือ หมายความว่า ใช้ไป 25% แล้ว จะ Charge ทุกครั้ง …. 1 Cycle จะเท่ากับการทำอย่างนี้ 4 รอบ … เมื่อครบ 500 Cycles แล้ว … ฺBattery ก็จะเสื่อม คือเก็บไฟล์ได้แค่ 80% และลดลงเรื่อยๆ
    3. แต่ เพื่อให้ได้ Exercise ควรใช้ให้ Battery “ใกล้” หมด เดือนละครั้ง แต่ …. ห้ามใช้จนหมด
    4. ข้อเสียของ Lithium-ion คือ พอผลิตเสร็จ ออกจากโรงงาน … มันจะเริ่มเสื่อมทันทีไม่ว่าจะใช้หรือไม่ … ดังนั้น ถ้า iPhone4 ออกมา 2 ปี แล้วไปซื้อ แม้ว่าจะเป็นมือ 1 เลย ตัว Battery ก็จะเสื่อมไปบ้างแล้ว T.T
    5. ดังนั้น การใช้ App ที่เปลือง Battery ทำให้ ต้องมีการใช้พลังงานเยอะ ตามมาด้วยการต้อง Charge บ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้ Charge Cycle ครบ 500 cycles เร็วขึ้น และการ Charge ไป ใช้ไป อาจทำให้ Battery ร้อน แล้วระเบิดได้

    เท่าที่อ่านมา ประมาณนี้ครับ

    Reference

    http://www.apple.com/batteries/iphone.html
    http://www.apple.com/batteries/
    http://electronics.howstuffworks.com/everyday-tech/lithium-ion-battery.htm
    http://boards.straightdope.com/sdmb/showthread.php?t=475998

  • Shorewall Blacklist

    • ใช้ได้กับ Shorewall 4.4.12 ขึ้นมา
    • แก้แฟ้ม /etc/shorewall/interfaces โดยเพิ่มความว่า blacklist ต่อท้ายของเดิม เป็น

    net eth0 detect tcpflags,logmartians,nosmurfs,blacklist

    • เพิ่มลิสต์ที่ต้องการบล็อคลงไปในแฟ้ม /etc/shorewall/blacklist
    • ตัวอย่างค้นหาเครื่องที่ต้องการบล็อคการเข้าถึงพอร์ต 80 และ 443

    grep -R phpmyadmin/scripts/setup.php /var/log/apache2|cut -d: -f2|awk '{ print $1 }'|sort -t'.' -n -k1,1 -k2,2 -k3,3 -k4,4|uniq

    • จากตัวอย่างในเครื่องเราไม่มี phpmyadmin แต่มีคนพยายามเข้าถึงตัวติดตั้ง phpmyadmin ฉะนั้นบล็อค IP พวกนี้ไว้ก่อน (บล็อคถาวรกรั่กๆ…)
    • เอา IP จากข้อที่แล้วมาใส่ในแฟ้ม /etc/shorewall/blacklist รูปแบบ

    #ADDRESS/SUBNET PROTOCOL PORT

    • เช่น

    93.115.210.90 tcp 80,443
    93.174.93.153 tcp 80,443
    94.23.58.185 tcp 80,443
    94.102.51.155 tcp 80,443
    103.247.21.60 tcp 80,443
    107.6.88.155 tcp 80,443
    109.163.232.218 tcp 80,443
    110.170.34.220 tcp 80,443
    111.90.168.5 tcp 80,443
    115.84.101.78 tcp 80,443
    115.238.101.45 tcp 80,443
    115.239.253.11 tcp 80,443
    116.93.105.112 tcp 80,443
    117.35.96.146 tcp 80,443
    118.140.120.26 tcp 80,443
    119.52.254.20 tcp 80,443
    119.57.51.154 tcp 80,443
    122.49.0.220 tcp 80,443
    123.125.148.79 tcp 80,443
    125.210.204.242 tcp 80,443

    • restart shorewall

    sudo shorewall restart

    • IP ที่ถูกแบล็คลิสต์ อาจหายไปจากสารบบ ทำให้ shorewall start ไม่ขึ้น ต้องลบไอพีดังกล่าวออกไปก่อนจึงจะ start ได้

    Compiling /etc/shorewall/blacklist...
    ERROR: Unknown Host (93.x4.93.153) : /etc/shorewall/blacklist (line 23)

    • จบ… ขอให้สนุกครับ

    ที่มา http://shorewall.net/manpages/shorewall-blacklist.html

    • คีย์เวิร์ดสำหรับแบน
    • /CFIDE/administrator/enter.cfm
    • /MyAdmin/scripts/setup.php
    • /myadmin/scripts/setup.php
    • /phpMyAdmin/scripts/setup.php
    • /pma/scripts/setup.php
    • /w00tw00t.at.blackhats.romanian.anti-sec:)
    • เป็นต้น