Windows CRLF to Unix LF Issues in Cygwin Shell Script

เมื่อเรารัน shell script ของโปรแกรม Cygwin for Windows ซึ่งมีการเขียนคำสั่งไปตัดเอาข้อความผ่านคำสั่ง (Command Line) ของ Windows มาใส่ในตัวแปรของ shell script เช่น ในตัวอย่างนี้คือคำสั่ง ipconfig เมื่อได้ข้อความที่ต้องการมาเราจะได้ \r แถมมาให้ด้วยต่อท้าย เพราะ Windows style line ending จะมี CRLF (\r\n)  ในขณะที่ Linux style line ending จะมี LF (\n) เท่านั้น น่าแปลกใจมากว่า เราเคยรัน shell script นี้ใน Windows 7 ใช้งานได้ แต่พอเป็น Windows 10 build 1709 มันรันไม่ได้   ปัญหา เมื่อเปิด Cygwin Terminal ขึ้นมา จะได้เป็น bash shell ในไฟล์ test.sh ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ เมื่อสั่งรัน จะพบว่าพบข้อผิดพลาด ตัวแปร ZONEX จะไม่มีค่า ซึ่งจริง ๆ จะต้องได้คำว่า zone1 $ cat test.sh #!/bin/bash DHCPSERVER=$(ipconfig /all | grep -i “DHCP Server” | cut -d: -f2 | xargs) MAC=$(ipconfig /all | grep -A4 -i “^Ethernet Adapter Ethernet” | tail -1 | cut -d\: -f2 | tr – : | xargs) ZONEX=$(curl -s http://${DHCPSERVER}/dhcpd.txt | grep -i ${MAC} | awk ‘{print $2}’ | cut -d’_’ -f1) echo “DHCP SERVER is ${DHCPSERVER}” echo “MAC is ${MAC}” echo “Zone is ${ZONEX}” สั่งรันดูผลลัพธ์ด้วยคำสั่ง bash test.sh $ bash test.sh DHCP SERVER is 192.168.6.150 MAC is 50:7B:9D:30:2E:4B Zone is ผมก็ตรวจสอบด้วยวิธีการ debug คือ เพิ่ม -x ดังตัวอย่างนี้ $ bash -x test.sh ++ ipconfig /all ++ grep -i ‘DHCP Server’ ++ cut -d: -f2 ++ xargs + DHCPSERVER=$’192.168.6.150\r’ ++ ipconfig /all ++ grep -A4 -i ‘^Ethernet Adapter Ethernet’ ++ tail -1 ++ cut -d: -f2 ++ tr

Read More »

วิธี upgrade Node.js ใน Bash ของ Windows 10 ให้เป็นรุ่นปัจจุบัน

ปัญหาคือ บน Windows 10 เราสามารถใช้ Windows Subsystem for Linux (WSL) หรือ Bash Shell ได้ ซึ่งจริงๆมันก็คือ Ubuntu 16.04.3 แต่ว่า เวลาจะใช้งาน Node.js ติดตั้งพวก Firebase, Angular อะไรพวกนี้ จะทำไม่ได้ เพราะรุ่นที่ให้มามันเก่ามาก วิธีการคือ (Reference: https://nodejs.org/en/download/package-manager/#debian-and-ubuntu-based-linux-distributions) ใช้คำสั่งต่อไปนี้ curl -sL https://deb.nodesource.com/setup_8.x | sudo -E bash – apt-get install -y nodejs ก็เรียบร้อย

Read More »

วิธีป้องกันไม่ให้ Notebook Windows 10 เข้าสู่ Hibernate หลังจาก Sleep 180 วินาที

ปัญหามีอยู่ว่า บางที เราก็อยากจะแค่ ปิดฝา Notebook แล้วให้มัน Sleep แล้วเมื่อเปิดอีกครั้ง ก็สามารถทำงานต่อได้เลย แต่ค่า Default คือ ระบบจะเข้าสู่ Sleep เป็นเวลา 180 วินาที (3 นาที) แล้วหลังจากนั้นก็จะ Hibernate ทำให้ เวลากลับมาทำงานใหม่ ต้องรอสักพัก (แบบว่าอยากได้เหมือน Macbook อ่ะ เปิดปั๊บ ทำงานต่อได้เลย) วิธีการมีดังนี้ กดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์ sleep > เลือก Power & sleep settings คลิก  Additional power settings เลือก Change plan settings Change advanced power settings ใน Sleep > Hibernate after จากเดิม น่าจะเป็น 180 seconds ก็เปลี่ยนให้เป็น Never แล้วคลิก OK หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

วิธีติดตั้งระบบ Cyrus IMAP Cluster (Cyrus Murder)

ต่อจาก Mail Clustering with Cyrus Murder และ How Cyrus Murder (Mail Clustering) work? คราวนี้ มาลง รายละเอียดทีละขั้นตอน ระบบ Cyrus IMAP Cluster หรือ Cyrus Murder นี้ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นต่ำ 3 เครื่อง คือ frontend, backend, mupdate ต่อไปนี้ จะเป็นวิธีการทำ แต่ละเครื่อง   Prerequisite ทั้งหมดเป็น Ubuntu 16.04 Server, ทำการ update และ upgrade แล้ว และ เข้า SSH ด้วย user ที่สามารถ sudo ได้ และรุ่นของ cyrus-imapd, cyrus-murder ที่ใช้เป็น 2.4.18 ทุกเครื่อง มี user ชื่อ ‘cyrus’ และ ทำการตั้งรหัสผ่านไว้เรียบร้อย เฉพาะเครื่องที่เป็น Backend จะต้องมี uesr ชื่อ ‘mailproxy’ และทำการตั้งรหัสผ่านไว้เรียบร้อย ด้วยอีก 1 คน ในที่นี้ จะใช้ pam-ldap ติดตั้งใน Backend ทุกเครื่อง MUPDATE ( mupdate1.example.com ) ติดตั้ง cyrus-murder ด้วยคำสั่ง sudo apt install cyrus-murder cyrus-common sasl2-bin ระบบจะติดตั้งตั้งโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึง postfix ด้วย ให้เลือกเป็น No configuration ไป แก้ไขไฟล์ /etc/cyrus.conf ใน Section “SERVICES” ประมาณบรรทัดที่ 62 ให้ uncomment เพื่อได้บรรทัดนี้ mupdate       cmd=”mupdate -m” listen=3905 prefork=1 จุดสำคัญคือ mupdate -m คือ ตัวที่จะบอกว่า ทำหน้าที่เป็น MUPDATE Master แก้ไขไฟล์ /etc/imapd.conf เพื่อกำหนด admins ในที่นี้ให้ใช้ชื่อ cyrus โดยการ uncomment ประมาณบรรทัดที่ 55 และแก้ sasl_pwcheck_method เป็น saslauthd sasl_pwcheck_method: saslauthd sasl_mech_list: PLAIN admins: cyrus จากนั้น start ระบบขึ้นมา จะพบว่ามีการเปิด port 3905 รออยู่ sudo /etc/init.d/cyrus-imapd start netstat -nl | grep 3905 แก้ไขไฟล์ /etc/default/saslauthd บรรทัดที่ 7 START=yes แล้ว start saslauthd sudo /etc/init.d/saslauthd start BACKEND ( backend01.example.com) ติดตั้ง sudo apt install cyrus-imapd cyrus-common cyrus-clients sasl2-bin แก้ไขไฟล์ /etc/imapd.conf โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ไว้ท้ายไฟล์ #SASL sasl_pwcheck_method: saslauthd sasl_mech_list: PLAIN # MUPDATE servername: backend01.example.com admins: cyrus    proxyservers:

Read More »

GCP #01 วิธีการสร้าง Virtual Machine บน Google Cloud Platform

ขั้นตอน มี Google Account ไปที่ https://console.cloud.google.com/start สำหรับคนที่ใช้ครั้งแรก ควรจะใช้สิทธิ์ Free Trial 300 USD / 12 Month ในการใช้งาน จะต้องมี Billing Account โดยต้องกรอกข้อมูล บัตร Credit/Debit ซึ่งต้องเป็น VISA/MasterCard เท่านั้น และต้องไม่ใช่ Prepaid ด้วย https://cloud.google.com/billing/docs/how-to/payment-methods#add_a_payment_method เมื่อเสร็จแล้วจะได้ Credit อย่างนี้ ต่อไป สร้าง Virtual Machine กัน ไปที่ เมนู > Cloud Launcher จะเห็นได้ว่า ตอนนี้ระบบจะสร้าง “My First Project” ไว้ให้ ซึ่งเราสามารถ สร้าง Project ใหม่ก็ได้ แต่ตอนนี้ใช้อย่างนี้ไปก่อน ต่อไป จะลองสร้าง Ubuntu Server ขึ้นมาใช้งาน ในที่นี้จะสร้าง Ubuntu 14.04 พิมพ์ Ubuntu ในช่องค้นหา แล้ว เลือก Ubuntu 14.04 จากนั้น คลิก Launch on Compute Engine ตั้งชื่อตามต้องการ (ถ้าต้องการ) สามารถเลือก Zone และ Machine Type ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกัน ค่าเริ่มต้น Machine Type: n1-standard-1 จะให้ 1 vCPU, 3.75 GB RAM และ 10 GB standard persistent disk หากต้องการ Disk เพิ่ม สามารถคลิก Change เพื่อเพิ่มได้​ (standard persistent disk จะราคาถูกกว่า ssd มาก) ต่อไป กำหนดเรื่องเของ Firewall ถ้าให้บริการ HTTP/HTTPS ก็คลิกเลือกได้เลย ในกรณีที่ต้องการกำหนดค่าอื่นๆ เช่น Disk, Network, SSH Key ให้คลิก “Management, disks, networking, SSH keys” เสร็จแล้วกดปุ่ม Create รอสักครู่ ก็จะได้ VM มาใช้งานแล้ว ในที่นี้ จะได้ External IP ซึ่งใช้ในการติดต่อจาก Internet มา แต่หากมีการ Restart/Stop IP address นี้ก็จะเปลี่ยนไป (การ Fix มีค่าใช้จ่ายนิดหน่อย) และ การติดต่อไปยัง VM ก็สามารถทำได้ โดยการคลิก SSH ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จาก Console นี้ หากต้องการใช้งานจาก Client อื่นก็ทำได้ แต่ต้องกำหนด SSH Key กันนิดหน่อย ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง เพิ่มเติม ในกรณีต้องการเปิด Port เพิ่มที่ไม่ใช่ HTTP/HTTPS ให้คลิกที่ Menu > Network Services > Firewall Rules แล้วกำหนดค่าตามต้องการ โดยการ Create Firewall Rule หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »