วิธีการติดตั้ง Chat GPT บน Windows

ChatGPT คืออะไร มาจากไหน ChatGPT คือโปรแกรม AI ประเภทแชทบอท (Chatbot) หรือที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือโปรแกรมโต้ตอบที่มีการผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้าไปด้วย ซึ่งเจ้า ChatGPT นั้นถูกพัฒนาโดยองค์กร OpenAI ที่เคยฝากผลงาน AI เจ๋งๆ มาแล้วทั้ง DALL-E จิตรกร AI ที่เคยสร้างกระแส AI Art ในช่วงแรกๆ และ OpenAI Five เกมมิ่งบอทของ DOTA 2 ที่เคยล้มโปรเพลเยอร์ระดับโลกมานับไม่ถ้วน โดย ChatGPT คือผลงานชิ้นล่าสุดที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2022 นี้เอง ซึ่งเป้าหมายหลักของ ChatGPT นั้นคือการเป็นโปรแกรมแซตบอทที่เป็นมิตร เข้าถึงได้ และตอบโจทย์การทำงานของมนุษย์ให้มากที่สุด ChatGPT ใช้ทำอะไรได้บ้าง ถ้าให้นึกถึงโปรแกรมแชทบอทที่หลายๆ คนพอนึกภาพออกนั้น ก็คงจะไม่พ้น Simsimi แชทบอทที่เคยฮิตฮอตในบ้านเราเมื่อหลายสิบปีก่อน แล้วลองจินตนาการว่า Simsimi ผสมกับ Google แล้วจะออกมาเป็นอะไร นั่นแหละคือสิ่งที่ใกล้เคียงกับ ChatGPT มากที่สุด เพราะความเจ๋งของ ChatGPT นั้นไม่ใช้ความสามารถในการโต้ตอบประโยคพูดคุยทั่วๆ ไป แต่ความสามารถที่แท้จริงของ ChatGPT คือการตอบคำถามที่ซับซ้อนกว่านั้นหลายเท่า อย่างเช่นการสั่งให้เขียนบทความทั้งชิ้นขึ้นมา เขียนคำสั่งสำหรับงานโปรแกรมมิ่ง หาบัคในโค้ดโปรแกรม หาคำตอบให้กับการบ้านที่เรากำลังทำอยู่ การสรุปข้อมูลยากๆ เหล่านี้ให้กลายเป็นคำตอบที่เข้าใจได้ง่าย ใช้ภาษาที่มีความเป็นมิตร เสมือนกับมีมนุษย์ตัวเป็นมานั่งตอบคำถามอยู่ตรงหน้าเลยทีเดียว แถมยังใช้เวลาโต้ตอบเพียงมีกี่วินาทีเท่านั้น และด้วยความสามารถเหล่านี้เองที่ทำให้ ChatGPT นั้นกลายเป็นกระแสไวรัลในปัจจุบัน วิธีการติดตั้ง Chat GPT บน Windows 1. ดาวน์โหลดโปรแกรม ChatGPT_0.11.0_windows_x86_64.msi  2. เป็น command line ด้วยการกด Windows+R หรือไปที่ช่อง Search แล้วพิมพ์ cmd  3. เปิด Directory อยู่ที่โปรแกรม ด้วยคำสั่ง     cd %HOMEPATH%/Downloads 4. ใช้คำสั่งในการติดตั้งโปรแกรม  โดยใช้คำสั่ง       # install the latest version      winget install –id=lencx.ChatGPT -e                             หรือ        # install the specified version       winget install –id=lencx.ChatGPT -e –version 0.10.0 5. หลังจากติดตั้งเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Login เข้าใช้งานด้วยอีเมล์ของตัวเอง อ้างอิง : https://github.com/lencx/ChatGPT

Read More »

Ubuntu OVAL

เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่สำหรับอูบุนตู เพิ่มเติม สำหรับ Ubuntu 24.04 10Jun2024 เมื่อได้รับทราบข้อมูลช่องโหว่ของลีนุกซ์อูบุนตูที่ดูแลอยู่จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุดจึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ Ubuntu มีมาให้ด้วยคำสั่งsudo apt updatesudo apt dist-upgradeแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้วตามคำแนะนำของ Ubuntu ที่มีประกาศข่าวเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับอูบุนตูไว้ที่ https://ubuntu.com/security/notices อูบุนตูมี Ubuntu OVAL (Open Vulnerability and Assessment Language) ไว้ให้ใช้ตรวจสอบช่องโหว่ ซึ่งใช้โปรแกรมชื่อ OpenSCAP เพื่อทำรายงานช่องโหว่ให้ดูได้เอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ตัวอย่างการใช้งานจริงกับเครื่องบริการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต Ookla Server ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างแสดง

Read More »

สร้าง chart ง่ายสุด ๆ ด้วย Power Point

ตามหัวข้อเลยค่ะ อาจจะเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ ที่บางคนรู้แล้ว แต่บางคนก็ยังไม่รู้ (รึปล่าว😁) เข้าเรื่องกันดีกว่าค่ะ👌 ปกติเราอาจจะใช้ word หรือลาก box ข้อความมา แต่วันนี้เราจะมาใช้ power point ทำแผนผังองค์กร หรือ chart อะไรก็ได้ ใช้เวลานิดเดียวและง่ายสุด ๆ เลยค่ะ สมมุติเรามีรายชื่อคนในองค์กร ตามตัวอย่าง จากนั้นจัดลำดับการเป็นหัวหน้าและลูกน้อง โดยใช้ปุ่ม Increase List Level หมายถึงรายชื่อที่เลือกเป็นลูกน้องของ ใบเฟิร์น สามารถเลือกรายชื่อที่ต้องการและคลิกปุ่ม Decrease List Level หรือ crease List Level เพื่อปรับลำดับตามต้องการ ดังรูป จากนั้นไปที่ Home –> Convert to SmartArt –> More SmartArt Graphics –> Hierarchy อยากได้ตัวไหนก็เลือกได้เลยค่ะ ก็จะได้ผังองค์กรทันทีเลย จากนั้นก็สามารถแก้ไข ปรับแต่งได้ คลิกเลือกที่รูปแล้วเลือกไฟล์รูปเพื่อปรับแต่ง คลิกที่ชื่อเพื่อปรับสี ขนาดตัวอักษรได้ ที่ “SmartArt Design” เราสามารถเลือกเปลี่ยน theme สีได้ที่ “Change Colors” แต่หากต้องการปรับแต่งเองให้คลิกที่ “Convert to Shapes” แต่ข้อควรระวังถ้าเลือก “Convert to Shapes” แล้วจะแก้กลับไม่ได้แล้วนะ แค่นี้เองค่ะ ง่ายมากเลยใช่มั๊ยหล่ะ😉 อ่านมาถึงแล้วก็ขอขอบคุณทุกกำลังใจ😍นะคะ

Read More »

วิธีใช้ Power Query ดึงข้อมูลจาก PSU Web API

PSU Web API เป็นเว็บที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ JSON ทุกท่านที่มี PSU Passport สามารถสมัครเพื่อขอใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ api.psu.ac.th โดยปัจจุบันข้อมูลที่เปิดให้บริการแล้วคือ ข้อมูลส่วนกลาง ข้อมูลระบบสารสนเทศนักศึกษา และข้อมูลระบบสารสนเทศบุคลากร สำหรับทุกท่านที่สนใจใช้บริการข้อมูลสามารถศึกษาวิธีการได้จากคู่มือของระบบค่ะ วันนี้จะขอนำเสนอวิธีการดึงข้อมูลจาก PSU Web API ที่ให้บริการออกมาเป็นรูปแบบตารางด้วย Power Query ใน Microsoft Excel 365 กันค่ะ ซึ่งการดึงข้อมูลด้วย Power Query นี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดในการเขียนโปรแกรมเพื่อดึงข้อมูลมาใช้งานกันค่ะ STEP 1 : เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูล PSU Web API STEP 2 : ตั้งค่า Power Query Editor STEP 3 : ทำการ Transpose และแตก List ข้อมูล STEP 4 : Power Query ดึงข้อมูลจาก PSU Web API มาแสดงเป็นตารางเรียบร้อยแล้วค่ะ ^_^ หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ

Read More »

วิธีรวมข้อมูล Excel จากหลายชีทเข้าด้วยกันเป็นตารางเดียวด้วย Power Query

Power Query เครื่องมือสำคัญของ Power BI และ Microsoft Excel 2016 | 2019 | 365 ที่จะช่วยจัดการข้อมูลให้ได้ตามต้องการ ไม่ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน การเปลี่ยนประเภทข้อมูล การจัดตารางหรือคิวรี การจัดคอลัมน์ การจัดการข้อมูลที่บกพร่อง การรวมข้อมูล การแยกข้อมูล การปรับแต่งข้อมูล และการสร้างรูปแบบข้อมูล จุดเด่นของ Power Query ในการใช้งาน Microsoft Excel เราอาจจะมีความจำเป็นที่จะรวมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ซีทเป็นตารางเดียว เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อ วันนี้จึงจะขอนำเสนอความสามารถของ Power Query เพื่อรวมข้อมูล Excel แต่ละชีทรวมเป็นตารางเดียวโดยเริ่มจาก STEP 1 : ทำการแปลงข้อมูลในแต่ละชีทให้เป็นตาราง STEP 2 : รวมข้อมูลเป็นตารางเดียวด้วย Power Query STEP 3 : กำหนดรายละเอียดของ Query STEP 4 : กำหนดรายละเอียดของคอลัมน์ STEP 4 : Power Query รวมข้อมูล Excel จากหลายชีทเข้าด้วยกันเป็นตารางเดียวเรียบร้อยแล้วค่ะ ^_^ หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ

Read More »