แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)

ผมได้จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ในแนวทาง Virtual Desktop Infrastructure” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ อาคารวิทยบริการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง คิดว่านำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้น่าจะเกิดประโยชน์ คุณลักษณะของระบบ VMware vSphere ESXi 6.7 เป็น software จัดการ server Dell EMC PowerEdge Systems เป็น hardware ชนิด Rack Server จำนวน 5 เครื่อง แต่ละเครื่องมี RAM 512 GB มี GPU ชนิด NVIDIA Tesla M10 32 GB และมี SAN Storage ขนาด 50 TB L2/3 network switch ที่มี 10 G Base-T จำนวน 2 ตัว VMware Horizon 7 เป็น software สำหรับทำ VDI เครื่องที่ให้ใช้งานเป็น PCoIP zero client จำนวน 480 ชุด user account เป็น Local Microsoft AD สำหรับห้องคอม ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้ทดลองใช้งานเป็นผู้ใช้งาน ได้รับข้อคิดเห็นจากประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่จัดซื้อเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ได้เห็นวิธีการ cloning VM ทำภายใน server สะดวกมาก เพราะ zero client ไม่มี hard disk เป็นแค่จอภาพ+อุปกรณ์เชื่อมต่อกับ server สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการนำระบบ VDI ไปใช้งาน ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Virtualization Technology ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ DHCP Sever, DNS Server ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Microsoft AD ผู้ดูแลต้องมีความรู้พื้นฐานการจัดการ PC , Windows ผู้ดูแลควรมีการติดตั้งและทดสอบโปรแกรมที่จะนำมาใช้กับระบบ VDI ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Server และ Network ระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศภายในห้อง Data Center ที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เจอในการใช้งานระบบ VDI vcenter ล่ม (ระบบไฟฟ้าภายในห้อง Data Center มีปัญหา,ไฟล์สำคัญโดนลบ) การ Clone เครื่อง (ใช้งานได้ไม่ครบทุกเครื่อง) ค่า Error ไม่สื่อความหมาย (Clone แล้วเครื่องไม่พร้อมใช้งาน) ข้อมูลทั้งระบบมีขนาดที่โตขึ้น (การเก็บข้อมูลในเครื่องผู้ใช้งาน Drive C,D) ทรัพยากรไม่เพียงพอเมื่อมีการสร้างเครื่องใช้งานเยอะเกินไป ต้องประเมิน Disk Storage ให้เพียงพอ ปัญหาเกี่ยวกับ user account ที่จะใช้ VM ในตอนแรกจะให้ใช้ Microsoft AD ของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจาก AD ของมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกแบบมาให้คอนฟิกได้ง่าย จึงเปลี่ยนเป็นสร้าง Local AD ผูกกับ zero client เป็นเครื่อง ๆ ไป เปิดเครื่อง กด Enter ก็เข้าถึงหน้าต่าง Windows ราว ๆ 30-40 วินาที ข้อดีของการนำระบบ VDI มาใช้งาน การบริหารจัดการเครื่องมีประสิทธิภาพขึ้น เมื่อเทียบระหว่าง Zero

Read More »

Quick Analysis ใน Excel 2016 : ชุดคำสั่ง “Formatting”

จากบทความที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ เรื่อง แนะนำการใช้เครื่องมือ Quick Analysis ใน Excel 2016 : ชุดคำสั่ง “Text” สำหรับโจทย์ที่เป็นตัวอักษร แต่ครั้งนี้จะมาเล่าต่อของ Quick Analysis ในชุดคำสั่ง “Formatting” เหมือนเดิมนั่นแหละ แต่โจทย์จะเปลี่ยนไปเป็นตัวเลขบ้าง มาดูกันสิว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง สำหรับรอบนี้ได้สมมุติข้อมูลเป็นข้อมูลเวลาการทำงานในแต่ละวันของพนักงานที่ทำงานเป็นกะ เป็นรายชั่วโมง โดยคนคนนี้ทำงาน ได้กี่ชั่วโมงในแต่ละวัน ดังรูป มาดูว่าจะมีลูกเล่นอะไรบ้างค่ะ ส่วน Data bar เป็นการแสดง Bar หรือแท่งของข้อมูลนั่นเองค่ะถ้าไม่เห็นภาพ มาปฏิบัติกันดีกว่าค่ะ โดยเลือกช่วงของข้อมูล และเลือก Formatting เลือก Quick Analysis จากนั้นเลือก Data bar ตามขั้นตอนดังรูป ผลลัพธ์ที่ได้ ดังรูปด้านล่างค่ะ เป็นการแสดง Bar ให้เห็นถึงปริมาณของชั่วโมงการทำงานนั่นเอง ส่วน Greater จะเลือกข้อมูลที่มีข้อมูลที่สูงกว่า ที่เรากำหนด สามารถทำได้ดังนี้ค่ะโดยเลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ เลือก Quick Analysis และเลือก Formatting จากนั้นเลือก Greater จะปรากฎ Dialog ขึ้นมาเพื่อให้ใส่ จำนวนที่จะให้ว่าให้เลือกข้อมูลที่ดีกว่าอะไร ในที่นี้ระบุเป็น “8” จากนั้น จะให้แสดงข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขเป็นอย่างไร ในที่นี่เลือกเป็น “Light Red Fill with Dark Red Text” คือให้ cell และอักษร ที่เข้าเงื่อนไขเป็นสีแดง นั่นเอง (สามารถทำตามได้จากรูปด้านล่างค่ะ) และผลลัพธ์ คือใน Column C จะทำการ เปลี่ยนสีของ cell และ อักษร เป็นสีแดง สำหรับ วันที่มีการทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงนั่นเอง ส่วน Color จะแสดงข้อมูลในลักษณะของสี เพื่อแสดงถึงข้อมูลด้วยสีต่าง ๆ โดยตัวเลขน้อยสุดจะเป็น สีแดง เลขสูงสุดจะเป็นสีเขียว สำหรับข้อมูลตัวเลขกลาง ๆ จะเป็นสีที่แตกต่างออกไป มาทำเพื่อให้เห็นภาพดีกว่าค่ะ โดยเลือกช่วงข้อมูล จากนั้นเลือก Quick Analysis และเลือก Color ผลลัพธ์ จะเป็นดังรูปด้านล่างค่ะ ค่ะ จากที่แสดงมาทั้งหมด อาจจะพอช่วยให้เห็นภาพ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลด้วย Excel ในมุมต้องการได้นะค่ะ บางครั้งในการทำข้อมูลอาจจะต้องมีการประยุกต์นำเทคนิคนี้นิด อันนี้หน่อยมาช่วยๆ กัน ถึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการนะค่ะ หวังว่าบทความนี้พอจะเป็นแนวทาง สำหรับผู้อ่านได้บ้าง ไม่มากก็น้อยนะค่ะ…ขอบคุณค่ะ

Read More »

สร้าง Hello World app ง่ายๆด้วย Xamarin.Forms

สวัสดีค่ะ จาก post ที่แล้วได้แนะนำ วิธีติดตั้งเครื่องมือที่ใช้พัฒนา app ด้วย Xamarin.Forms ไปแล้ว บทความนี้เราจะมาเริ่มสร้าง app ง่ายๆ นั่นก็คือ Hello World app หรือ แอพสวัสดีชาวโลก นั่นเองค่ะ เพื่อเรียนรู้การทำงานและทำความเข้าใจ solution/project structure ของ Xamarin มาเริ่มกันเลยค่า…1. ก่อนอื่นเราต้องสร้าง project ขึ้นมาก่อน เปิด Visual Studio แล้วเลือก Create New Project ดังรูป 2. เลือก Cross Platform และเลือก Mobile App (Xamarin.Forms) template หลังจากนั้น ตั้งชื่อ Project และระบุ path ของ project ตามต้องการแล้วกด OK ดังรูป 3. หน้า Select template จะมี template ให้เลือก 3 แบบ คือ Blank, Master-Detail และ Tabbed– Blank คือ project เปล่าๆ ว่างๆ ไม่มี page ใดๆ generate มาให้– Master-Detail คือ project ที่ generate page ในลักษณะ Mater Detail เป็นตัวอย่างมาให้พร้อม– Tabbed คือ project ที่ generate page ในลักษณะ Tab menu มาให้เลือกได้ตามสะดวก ขึ้นอยุ่กับ app ว่าเป็นแบบไหน ผู้เขียนเลือก Blank template ไปก่อน อยากเพิ่มอะไรค่อยเพิ่มทีหลังได้ค่ะ ส่วนของ Platform ก็เลือกเลยว่าอยากให้คอมไพล์เป็น app ของ platform ไหนบ้าง และในส่วนของ Code Sharing Strategy จะมีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ .NET Standard กับ Share Project ให้กดเลือก .NET Standard ซึ่งเป็นCode Sharing รูปแบบใหม่ที่ทาง Microsoft แนะนำ แล้วกด OK ดังรูป 4. เสร็จแล้วจะได้หน้าตา project ที่มีโครงสร้างแบบนี้ พร้อมให้เราเขียน code พัฒนา app แล้วค่ะ ก่อนที่เราจะทดลอง run ดูผลลัพธ์ เรามาดู Solution/Project structure กันคร่าวๆ ก่อนว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เราต้องเขียน code ลงตรงไหน ยังไงบ้าง Solution/Project Structure ใน solution ที่เราสร้างขึ้นมาจะประกอบไปด้วย share project และ project ตาม platform ที่เราได้เลือกไว้ที่หน้า template จากตัวอย่างข้างบนจะประกอบด้วย 1. HelloWord คือ share project ที่เราสามารถเขียน code ทั้งหมดภายใต้ project นี้ ทั้งส่วน UI ที่เขียนด้วย XAML และส่วน business logic ต่างๆ ที่เขียนด้วย C#2. HelloWorld.Android คือ android platform project ที่มีการ add

Read More »

ทำความรู้จัก Xamarin.Forms + วิธีติดตั้งบน Windows

การพัฒนา Mobile Application ปัจจุบันมีหลากหลาย solution ให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแบบ native แยกตามแต่ละแพลตฟอร์ม , พัฒนาแบบ hybrid และแบบ cross platform นอกจากจะมีรูปแบบการพัฒนาให้พิจารณาเลือกแล้ว ยังมี Mobile framework ที่หลากหลายที่เรานำมาใช้ในการพัฒนา app ไม่ว่าจะเป็น React Native, Ionic, Fluter,Android Studio, Xcode, Xamarin เป็นต้น โดยบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ Xamarin.Forms ซึ่งเป็น framework หนึ่งที่นิยมใช้ในการพัฒนา mobile app กัน พร้อมทั้งแนะนำวิธีติดตั้งเครื่องมือเพื่อใช้งาน Xamarin คืออะไร? Xamarin คือ framework หนึ่งในการพัฒนา mobile app แบบ cross platform ของค่าย Microsoft ที่สามารถเขียน code ด้วยภาษา C# แล้วคอมไพล์เป็น native app ให้สามารถรันบน ios , android และ windows platforms ได้ ซึ่งปัจจุบันตัว Xamarin เองก็มีรูปแบบการพัฒนาออกเป็น 2 แนวทาง คือ Xamarin Native และ Xamarin.Forms แล้ว Xamarin.Forms กับ Xamarin Native ต่างกันยังไง? Xamarin Native หรือที่ฝรั่งเรียก Traditional Xamarin Approach เนี่ยเป็นรูปแบบที่ทาง Xamarin ได้พัฒนาออกมาใช้เป็นรูปแบบแรก (ปัจจุบันก็ยังมีให้ใช้อยู่) ซึ่งเป็น shared code platform concept โดยเราสามารถใช้ code ฝั่ง business logic ร่วมกันได้ แต่ code ฝั่ง UI เราก็ต้องเขียน code แยกตาม sdk ของแต่ละ platforms ซึ่งผู้พัฒนาต้องรู้จักการใช้ control ต่างๆ การวาง layout ของแต่ละ platform มาพอสมควร Xamarin.Forms เป็น concept และ tools รูปแบบใหม่ของ Xamarin ที่สามารถแชร์ code ระหว่าง platform ได้ 100% คือสามารถเขียน code เพียงครั้งเดียวทั้งฝั่ง business logic และ UI แล้วคอมไพล์เป็น native app ให้รันได้ทุก platforms (ios, android และ windows) ในส่วนของ UI จะเขียนด้วย XAML เช่นเดียวกับ WPF แต่ต่างกันที่การจัด layout และ control UI ที่มีแตกต่างกัน ซึ่งหากนักพัฒนาคนไหนเคยเขียน WPF มาแล้วก็สามารถเขียน mobile app ด้วย Xamarin.Forms ได้ง่ายขึ้น Xamarin.Forms เหมาะกับ? Developer ที่คุ้นเคยกับ .NET framework เนื่องจากจะคุ้นเคยกับ Tools ที่ใช้งานและทำให้เข้าใจ concept และสามารถพัฒนา app ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พัฒนา Data Entry app เนื่องจาก Xamarin.Forms มี Simple UI control ให้พร้อมใช้งาน ต้องการ app ที่คุ้มค่าแต่ใช้ budget น้อย

Read More »

วิธีสร้างสมุดโทรศัพท์ของหน่วยงานด้วย Google Contact

เคยเป็นไม๊ จะโทรศัพท์หาเพื่อนร่วมงาน แต่ไม่รู้ว่า เบอร์มือถือ เบอร์ที่โต๊ะ หรือ Email อะไร วิธีการที่บางหน่วยงานทำ คือ ทำแผ่นพับเป็นสมุดโทรศัพท์เก็บใส่กระเป๋าตังค์บ้าง เป็นกระดาษแปะบ้าง บางทีก็หาย บางทีก็ไม่ได้พกบ้าง หรือ บางทีทำเป็นเว็บให้ค้นหาบ้าง … บางแห่งถึงกับต้องลงแรงเรียน Mobile App ก็มี (อิอิ) จะดีกว่าไม๊ ถ้าแค่ฝ่ายบุคคล แค่รวบรวม ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น เบอร์มือถือ เบอร์โต๊ะ และ Email ใส่ Excel แล้วจากนั้น ใครใคร่จะ Import ใส่ Google Contact ของตนเองได้เลย แล้วหลังจากนั้น จะโทร จะค้นหา ก็สามารถทำในมือถือของตนเองได้เลย !!! ไม่ต้องพก ไม่ต้องติดตั้ง App เพิ่ม ใช้ได้ทั้ง iOS, Android และบน Computer ก็ยังได้ มาดูกัน สร้าง Excel เก็บข้อมูล การนำเข้า (Import) ข้อมูลเข้า Google Contact มีทริคนิดเดียว คือ บรรทัดแรกของไฟล์ จะต้องเป็น Header ที่กำหนดชื่อตามรูปแบบมาตราฐาน กล่าวคือ ตั้งหัวข้อว่า “ชื่อ”, “นามสกุล”, “ชื่อเล่น”, “มือถือ”, “เบอร์โต๊ะ” อะไรอย่างนี้ +++ไม่ได้+++ ต้องตั้งเป็น “Given Name”,”Family Name”, “Name Suffix”,”Phone 1 – Type”,”Phone 1 – Value”,”Phone 2 – Type”,”Phone 2 – Value”,”Group Membership” Given Name = ชื่อFamilay Name = นามสกุลName Suffix = ใช้เป็นชื่อเล่นก็ได้Phone 1 – Type = ประเภทโทรศัพท์อันที่ 1 (เช่น Mobile)Phone 1 – Value = หมายเลขโทรศัพท์อันที่ 1 (เช่น เบอร์มือถือ) Phone 2 – Type = ประเภทโทรศัพท์อันที่ 2 (เช่น Work)Phone 2 – Value = หมายเลขโทรศัพท์อันที่ 2 (เช่น เบอร์โต๊ะ) Group Membership = จะให้ Label ว่าอย่างไร ดังตัวอย่างนี้ จากนั้น Save เป็นแบบ CSV File สมมุติชื่อว่า contact.csv นำเข้า Google Contact เสร็จแล้ว ก็จะได้ใน Google Contact มี Label ตามภาพ (1 contact มีหลาย ๆ label ได้)ในภาพ จะเห็นว่า Contact ที่เพิ่งนำเข้าไป จะปรากฏใน Label cc2019, myContact และ Imported on 5/7 ซึ่งเป็น Default วิธีการนี้ มีข้อดีคือ แม้จะมี contact ที่ซ้ำกัน ก็ไม่เป็นไร เราสามารถ Merge ทีหลังได้ หรือ เลือกลบที่เป็น Label ของปีก่อน ๆ ได้

Read More »