Category: Operating System

  • Virtual data center with OpenNebula

    OpenNebula เป็นชื่อของ open source software สำหรับทำ virtual data center เวอร์ชั่นล่าสุดคือ 5.6.1 (https://opennebula.org)

    ผมได้ทดลองในห้องปฏิบัติการ และเขียนเป็นขั้นตอนการติดตั้งจนกระทั่งได้ VM ขึ้นมา แต่ยังไม่ลงรายละเอียดถึงขั้นใช้งาน storage network ได้ ซึ่งจะได้ทดลองกันต่อไป

    ในตอนนี้ จะเรียกว่า basic set up ก็ได้นะ ในการ set up ระบบจริงตามคำแนะนำ แต่ละเครื่องควรมี network card 2 cards เพื่อแยกระหว่าง network ที่ให้บริการ กับ Management network

    การ set up จะต้องมีเครื่องที่เป็น Front-end เพื่อทำหน้าที่เป็น database และเว็บเพจสำหรับทำ configuration และสั่งการ และจะต้องมีเครื่องที่เป็น Hypervisor อย่างน้อย 1 เครื่อง โดยเลือกได้ว่าจะใช้ KVM หรือ vcenter สเปคเครื่อง hypervisor นี้ต้องรองรับ Virtualization extensions (Intel VT-x or AMD-V)

    เตรียมการทดลองโดยใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมนำมาใช้มี 3 เครื่อง อายุเครื่องก็พอสมควร (ตามกำลังทรัพย์ที่มีในห้องปฏิบัติการ) แต่ทั้ง 3 เครื่องนี้ มีเพียง 1 network card ครับ เครื่อง Front-end 1 เครื่อง สเปค Pentium(R) Dual-Core CPU E5200 @ 2.50GHz มี RAM 4 GB อันนี้เป็นเครื่องทั่วไปที่รัน apache2 web server และ mariadb database ได้ ใช้เครื่อง KVM จำนวน 2 เครื่อง เพื่อจะให้เห็นว่าสามารถสร้าง VM ไปที่ KVM node ที่ต้องการได้ เครื่อง KVM node01 เป็น AMD Phenom(tm) II X4 945 Processor มี RAM 8 GB และ KVM node02 เป็น Intel(R) Core(TM) i5 CPU M 520 @ 2.40GHz มี RAM 4 GB

    นอกจากเครื่องคอมฯ แล้ว ผมก็มี network switch (L2-managed) เพื่อกำหนด port ให้รองรับ 802.1Q VLAN ผมออกแบบให้มี 2 VLAN คือ VLAN ID 6 (untagged) และ VLAN ID 7 (tagged) ซึ่ง VLAN 6 ก็คือ ครึ่งแรกของ network class C 192.168.6.0 เขียนแบบ CIDR 192.168.6.0/25 มี gateway คือ 192.168.6.1 และ VLAN 7 ก็คือ ครึ่งหลังของ network 192.168.6.128/25 มี gateway คือ 192.168.6.129

    ผมเขียนขั้นตอนไว้ในเว็บไซต์ opensource.psu.ac.th จะสะดวกกว่านำมาใส่ไว้ในบล็อกนี้ทั้งหมด เข้าไปที่ https://opensource.cc.psu.ac.th/Ubuntu1804 ก็จะเห็น link ต่อไปนี้

    แล้วจะมานำเสนอเรืองราวถัดไปครับ

  • Ubuntu server 18.04 config static IP with netplan

    เดิมก่อนหน้า Ubuntu server 18.04 LTS จะออกมาให้ใช้งานกันนั้น จะเป็น Ubuntu server 16.04 LTS เราตั้งค่า (config) static IP ให้กับ server ด้วยไฟล์นี้ /etc/network/interfaces ซึ่งก็คือ software package ชื่อ ifupdown และ DNS resolver ที่ใช้ก็คือ resolvconf

    แต่ใน Ubuntu server 18.04 นี้ เปลี่ยนไปใช้ package ชื่อ netplan แก้ไขที่ไฟล์ /etc/netplan/01-netcfg.yaml และใช้ DNS resolver คือ systemd-resolve ซึ่งจะ connect สอบถามชื่อ DNS จาก internal DNS ที่ IP 127.0.0.53 (ตรวจดูด้วยคำสั่ง cat /etc/resolv.conf)

    โดย default จะเป็นค่า network interface แบบ รับค่า IP มาจาก DHCP server

    ไฟล์ /etc/netplan/01-netcfg.yaml

    network:
    version: 2
    renderer: networkd
    ethernets:
    enp0s3:
    dhcp4: yes
    dhcp6: yes

    หากต้องการใช้เลข IP แบบ Static IP ก็ต้องตั้งค่าเองในแฟ้ม /etc/netplan/01-netcfg.yaml เป็นตัวอย่างประมาณว่า IP คือ 10.0.100.251 ใน class C (/24) มี gateway คือ 10.0.100.1 ทำหน้าที่ nameserver ด้วย และมี nameserver ที่สองคือ 192.100.77.10

     network:
    version: 2
    renderer: networkd
    ethernets:
    enp0s3:
    dhcp4: no
    addresses: [ 10.0.100.251/24 ]
    gateway4: 10.0.100.1
    nameservers:
    addresses:
    - 10.0.100.1
    - 192.100.77.10

    หลังจากแก้ไขค่าเสร็จแล้ว สั่งให้ network ทำงานใหม่ ใช้คำสั่ง sudo netplan apply

    ถ้าตอนนี้ใช้ netplan version 0.36.3 เราสามารถตั้งชื่อ network interface เป็นชื่อ vif1 แทน physical network interface เดิม

    ก่อนอื่น ให้ใช้คำสั่ง ifconfig เพื่อดูค่า MAC address ของ enp0s3 สมมติคือ 44:bb:33:85:91:08

    ตัวอย่างการแก้ไขข้อมูล

    network:
    version: 2
    renderer: networkd
    ethernets:
    vif1:
    match:
    macaddress: "44:bb:33:85:91:08"
    set-name: vif1
    dhcp4: no
    addresses: [ 10.0.100.251/24 ]
    gateway4: 10.0.100.1
    nameservers:
    addresses:
    - 10.0.100.1
    - 192.100.77.10

    หลังจากแก้ไขค่าเสร็จแล้ว ใช้คำสั่ง sudo reboot

    หลาย ๆ คน อาจจะอยากตั้งชื่อ network interface เป็นชื่อ eth0 แบบเดิมที่ชินตา ก็ทำได้ครับ ลองดูครับ และหมายเหตุไว้สักนิดว่า ไวยกรณ์ของไฟล์ *.yaml นี้ ต้องมีการเว้นวรรค เยื้องเข้า ให้ถูกต้องด้วยนะ เยื้องด้วยช่องว่างอย่างน้อย 2 spaces (เค้าว่ามา)

    ผมได้รวบรวมเป็น wiki เอาไว้สำหรับเรื่องคล้าย ๆ กันนี้

  • วิธีติดตั้ง HTTPS ด้วย Certificate ของ Let’s Encrypt

    จาก มาใช้งาน let’s encrypt กันเถอะ ของอาจารย์ฉัตรชัย ผมขอขยายความต่อ เอาแบบว่า Copy-Paste กันเลย

    โดยในที่นี้ …

    • OS เป็น Ubuntu 18.04
    • Web Server เป็น Apache
    • ที่ Firewall เปิดให้เข้าถึง TCP 80 / 443 จาก Internet ได้ — มันจำเป็นสำหรับการ Verification ของ Certbot ครับ *** ในเบื้องต้นนะ 🙂 ***

    Let’s Encrypt คืออะไร อ่าน …
    https://letsencrypt.org/getting-started/

    เริ่มต้น ต้องติดตั้ง Certbot ก่อน อ่าน …
    https://certbot.eff.org/

    ดูต้นฉบับการติดตั้งของ Ubuntu 18.04 และใช้ Apache ได้จาก
    https://certbot.eff.org/lets-encrypt/ubuntubionic-apache

    ติดตั้ง Certbot ก่อน

    ใช้คำสั่งต่อไปนี้ จาก User ที่สามารถ sudo ได้

    sudo apt-get update
    sudo apt-get install software-properties-common
    sudo add-apt-repository ppa:certbot/certbot
    sudo apt-get update
    sudo apt-get install python-certbot-apache 

    แบบ Auto

    จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อให้ certbot ทำการติดตั้ง Certificate และแก้ไขไฟล์ (ในที่นี้ใช้ Apache) Configuration ให้เลย

    sudo certbot --apache

    แบบแก้ไขเอง

    หรือถ้าจะทำเอง โดยต้องการเอาเฉพาะ Certificate มา แล้วทำการแก้ไขไฟล์ Apache Configuration เองก็ได้

    sudo certbot --apache certonly 

    ระบบจะถาม

    • ยอมรับเงื่อนไขไม๊ –> แน่นอน (A) Accept
    • email address ให้ใส่ไปตามจริง
    • ต้องการให้แสดง email address เปิดเผยหรือไม่ –> ผมตอบ No นะ
    • และ บอกว่า Domain Name ของเราคืออะไร ให้ใส่ FQDN ไป เช่น kx1.in.psu.ac.th เป็นต้น

    จากนั้น Certbot จะ Callback ไป ให้มีการ Verification จาก Internet ว่าสามารถเข้าถึงได้จริงหรือไม่ (ตรงนี้ ใน PSU ต้องแจ้งทาง Network Admin เพื่อเปิด Port ที่ Firewall ให้เข้าถึง TCP 80 และ 443 ให้สำเร็จก่อน)

    เมื่อ Verification สำเร็จ ก็จะได้ไฟล์ Certificate และ Private Key มา จะอยู่ที่ (path แต่ละเครื่องจะแตกต่างกันตรงที่ Domain Name ที่กำหนดข้างต้น) ตามลำดับ

    /etc/letsencrypt/live/kx1.in.psu.ac.th/fullchain.pem
    /etc/letsencrypt/live/kx1.in.psu.ac.th/privkey.pem

    แก้ไขไฟล์

    /etc/apache2/sites-available/default-ssl.conf

    ให้มีค่าต่อไปนี้

    SSLCertificateFile  
       /etc/letsencrypt/live/kx1.in.psu.ac.th/fullchain.pem
    SSLCertificateKeyFile 
        /etc/letsencrypt/live/kx1.in.psu.ac.th/privkey.pem

    จากนั้นใช้คำสั่งนี้ เพื่อเปิดใช้งาน https

    sudo a2enmod ssl

    ใช้คำสั่งนี้ เพื่อใช้งาน default-ssl

    sudo a2ensite default-ssl

    และทำการ Restart apache ด้วยคำสั่งนี้

    sudo systemctl reload apache2

    ทดสอบใช้งาน HTTPS

    ใช้งานได้

    NOTE

    • จริง ๆ แล้ว ในองค์กร สามารถทำเครื่อง ๆ หนึ่งขึ้นมา เพื่อติดตั้ง certbot แล้วขอ Certificate มา ของ Domain ต่าง ๆ แล้วค่อย “ย้าย” certificate และ key file ไปเครื่องที่จะใช้งานจริง แล้ว ชี้ Domain Name ใหม่ไปยังเครื่องนั้นก็ได้ แต่เมื่อครบ 90 วัน ต้อง Renew ใหม่ (ทดลองทำกับ Google Compute Engine โดยสร้าง Certificate โดยชี้ Domain ไปยัง IP จริง ของ Google พอเรียบร้อยแล้ว ก็แล้วย้ายไฟล์ ย้าย Domain Name มาที่ IP ภายใน ใช้งานได้ เหมือนกัน) — วิธีนี้ลักไก่เอาได้ แต่ก็จะยุ่งยากหน่อย และต้องระวัง 90 วันที่จะต้อง Renew
    • แต่จะให้ถูกต้อง ก็ควรใช้งานกับเครื่องที่เปิด Firewall ให้เข้าถึง TCP 80 / 443 ได้ เพื่อติดตั้ง certbot จะดีกว่า
    • สามารถขอ Wildcard ได้ เช่น จะขอ *.kx1.in.psu.ac.th ก็ได้ แต่ต้องมีความรู้ DNS กว่านี้หน่อย เดี๋ยวค่อยมาเล่าให้ฟังครับ
    • [UPDATE] กรณีเป็น Web Hosting กล่าวคือ ให้บริการหลาย ๆ Virtual Host เช่น เครื่องหลักใช้ชื่อว่า kx1.in.psu.ac.th ถ้าต้องการให้ www.something.psu.ac.th ชี้มาที่เครื่องนี้ด้วย ก็ทำ www CNAME kx1.in.psu.ac.th.  (ที่ zone something.psu.ac.th) มาก็ได้ แล้วค่อยใช้ certbot ที่เครื่อง kx1.in.psu.ac.th นี้ สร้าง Certificate ให้ก็ได้ครับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • How to install Office Professional Plus 2019 in PSU

    • สามารถ download ได้จาก https://licensing.psu.ac.th
    Office Professional Plus 2019
    • ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย
    • เมื่อเปิดหน้าของ Office Professional Plus 2019 เลื่อนลงมาล่างสุดจะมีให้ Download อยู่ 2 ส่วน
    Download
    • โดย Office pro plus 2019 setup คือส่วนที่จำเป็นต้องโหลด และสามารถเลือกโหลด Configuration Setup ได้ตามภาษาและสถาปัตยกรรมที่ต้องการ
    • เมื่อโหลดเสร็จแล้ว ติดตั้งโดยการเปิด cmd เรียกใช้ cmd ด้วยการกด windows+R
    • การติดตั้ง Office Professional Plus 2019 จะเป็นการติดตั้งผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
    Run cmd
    cmd
    • พิมพ์ cd ไปยังโฟลเดอร์ที่ดาวน์โหลดทั้งสองไฟล์ไว้ (ในตัวอย่างโหลดไฟล์ไว้ที่ Desktop)
    Download location
    • พิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ โดยเลือกตามรุ่นและสถาปัตยกรรมที่เลือก
    1. o2019proplussetup.exe /configure o2019proplus32en.xml
    2. o2019proplussetup.exe /configure o2019proplus32th.xml
    3. o2019proplussetup.exe /configure o2019proplus64en.xml
    4. o2019proplussetup.exe /configure o2019proplus64th.xml
    Setup command
    • จะมีหน้า User control ให้ตอบ Yes แล้วจะได้หน้าต่างติดตั้งขึ้นมา
    Installing
    • รอจนเสร็จ
    installation is finished!
    Finish
    • เปิด Microsoft word สร้างเอกสารใหม่
    Blank document
    • คลิกเมนู File แล้วเลือก account
    Account
    • มองไปด้านขวาในส่วนของ Product Information หากยังไม่มีข้อความว่า Product Activated ให้คลิก Change Product key
    Product Information
    • ให้นำคีย์จากเว็บ https://licensing.psu.ac.th มาใส่แล้วกด Activate Office
    • ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยก่อนทำขั้นตอนนี้
    Activate Office
    • สำหรับผู้ใช้ทั่วไปจบเพียงเท่านี้ ขอให้สนุก
    • สำหรับ Power Users และคนที่ต้องการใช้ Office ภาษาอื่นๆ มากกว่าภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
    • หากเปิดดูในแฟ้ม o2019proplus64en.xml จะมีส่วนที่แก้ไขได้
    <Configuration>
      <Add SourcePath="https://bahamut.psu.ac.th/office2019-64" OfficeClientEdition="64"
     Channel="PerpetualVL2019">
          <Product ID="ProPlus2019Volume" PIDKEY="NMMKJ-6RK4F-KMJVX-8D9MJ-6MWKP">
             <Language ID="en-us" />
          </Product>
          <Product ID="ProofingTools">
            <Language ID="th-th" />
          </Product>
      </Add>
      <Property Name="AUTOACTIVATE" Value="1" />
      <Display Level="Full" AcceptEULA="TRUE" />  
      <Logging Level="Standard" Path="%temp%" /> 
    </Configuration>
    </code>
    • ได้แก่ SourcePath และ Language ID
    • โดยค่าที่เป็นไปได้ของ SourcePath คือ โฟลเดอร์ปลายทางที่จะได้เป็นที่เก็บตัวติดตั้ง Office Professional Plus 2019 เช่น d:\download ซึ่งแปลว่าโหลดตัวติดตั้งมาเก็บไว้ที่ d:\download
    • และค่าที่เป็นไปได้ของ Language ID ได้แก่ รหัสภาษาที่ไมโครซอฟท์กำหนดโดยสามารถดูได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/DeployOffice/office2016/language-identifiers-and-optionstate-id-values-in-office-2016
    • ตัวอย่างไฟล์ที่แก้เสร็จแล้ว
    <Configuration>
      <Add SourcePath="d:\download" OfficeClientEdition="64" 
    Channel="PerpetualVL2019">
          <Product ID="ProPlus2019Volume" PIDKEY="NMMKJ-6RK4F-KMJVX-8D9MJ-6MWKP">
             <Language ID="ja-jp" />
          </Product>
          <Product ID="ProofingTools">
            <Language ID="ja-jp" />
          </Product>
      </Add>
      <Property Name="AUTOACTIVATE" Value="1" />
      <Display Level="Full" AcceptEULA="TRUE" />  
      <Logging Level="Standard" Path="%temp%" /> 
    </Configuration>
    </code>
    • วิธีใช้งานให้พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ใน cmd
    o2019proplussetup.exe /download o2019proplus64en.xml
    download
    • จะค้างอยู่จนกว่าจะ download เสร็จ
    downloading
    • เมื่อ download เสร็จแล้วสามารถพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ใน cmd เช่นเดิม เพื่อเริ่มกระบวนการติดตั้ง แบบที่กล่าวมาแล้ว
    o2019proplussetup.exe /configure o2019proplus64en.xml
    • จบขอให้สนุกครับ
  • การนำเสนอรูปภาพให้น่าสนใจใน Power Point ด้วย Slide master

    ตามหัวข้อเลยนะคะ อาจเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนทราบอยู่แล้ว ถือว่าเป็นการทบทวนแล้วกันนะคะ มาดูกันเลย

    การสร้าง Logo ให้กับทุกหน้าใน slide

    ปัญหา : ถ้าเราต้องมาจัดวางโลโก้อยู่เองทีละหน้าก็ต้องใช้เวลาในการจัดตำแหน่ง ถึงแม้จะ Copy ได้ก็เถอะ Slide master ช่วยได้ค่ะ

    1.ไปที่แท็บเมนู View –> Slide Master คลิกขวาที่แท็บด้านซ้ายเลือก Insert Layout

    2.ไปที่แท็บเมนู Insert –> Picture เลือกรูปที่ต้องการ

    3.จากนั้นเลื่อนกล่อง Picture มาบริเวณที่เราต้องการแสดงโลโก้ ในที่นี้เลื่อนมาบริเวณมุมขวาบน

    4.คลิกขวาที่ Slide ที่กำลังจัดทำ Rename Layout เพื่อแก้ไขชื่อ Layout

    5.ไปที่แท็บ Slide Master –> Close Master View

    6.ที่แท็บ Home –> New Slide –> Custom Logo Layout

     

    7.คลิกขวา New Slide ก็จะได้ Layout ที่มีโลโก้ตามต้องการ

    การสร้างหน้าสำหรับแนะนำตัว

    1.ไปที่แท็บเมนู View –> Slide Master คลิกขวาที่แท็บด้านซ้ายเลือก Insert Layout

    2.ไปที่แท็บ Slide Master –> Insert Placeholder –> Picture

    3.ไปที่แท็บ Format –> Edit Shape –> Change Shape –> Oval เพื่อเปลี่ยน Shape ตามต้องการ

    4.ไปที่แท็บ Insert –> Shapes –> Line เพื่อสร้างเส้นแบ่งระหว่างรูปภาพและเนื้อหา

    5.ไปที่แท็บ Slide Master –> Insert Placeholder –> Text เพื่อใส่เนื้อหา

    6.คลิกขวาที่ Slide ที่กำลังจัดทำ Rename Layout เพื่อแก้ไขชื่อ Layout

    7.ไปที่แท็บ Slide Master –> Close Master View

    8.ที่แท็บ Home –> New Slide –> Custom Layout

    1. สามารถเพิ่มรูปภาพและพิมพ์ข้อความเนื้อหาเข้าไปตามต้องการ โดยมีรูปแบบตาม Custom Layout ที่ได้ออกแบบไว้

    การนำเสนอรูปภาพจำนวนหลาย ๆ รูปใน 1 slide ให้น่าสนใจ

    1.ไปที่แท็บเมนู View –> Slide Master คลิกขวาที่แท็บด้านซ้ายเลือก Insert Layout แล้วลบ Label ต่าง ๆ ออกให้หมด

    2.ไปที่แท็บ Slide Master –> Insert Placeholder –> Picture

    3.ลากวางในตำแหน่งตามต้องการ

    4.คัดลอก Picture อันที่ทำเรียบร้อยแล้วมาวางต่อ ๆ กันแล้วปรับขนาด ดังรูป

    5.ไปที่แท็บ Slide Master –> Close Master View

    6.ที่แท็บ Home –> New Slide –> Custom Layout

    7.สามารถเพิ่มรูปตามต้องการได้ และสามารถเพิ่มรูปโดยไม่ตรง Resize ขนาด ไม่ต้องปรับอะไร

    วันนี้แค่นี้ก่อนแล้วกันนะคะ ขอบคุณทุกคนที่ติดตามค่ะ

  • เปลี่ยน font หัว column ใน Excel ง่ายๆ

    วันนี้ทางผู้เขียนขอเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ด้วยบทความอันแสนสั้น และเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

    ซึ่งสามารถทำตามได้ง่ายๆ เกี่ยวกับเจ้าตัว Microsoft Excel นี่แหละ ปะ! … เรามาเริ่มเลยละกัน

    สำหรับคนที่ใช้ Excel กันอยู่แล้ว หลายๆ คนอาจจะเคยสงสัยเหมือนผู้เขียน ว่ารูปแบบตัวอักษร

    ที่อยู่บนหัวตารางเนี่ย เราสามารถเปลี่ยนมันได้มั้ย เปลี่ยนเป็นตามแบบที่เราชอบได้รึเปล่า ???

     

    จริงๆ แล้วรูปแบบของหัวตาราง มันคือรูปแบบที่เรียกว่า Normal Style นั่นเอง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า

    ถ้าเราไปเปลี่ยนเจ้า Normal Style ตัวนี้ รูปแบบหัวตารางของเราก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย…จริงมั้ย

     

    คำถามถัดมาละ … แล้วเราจะไปเปลี่ยนเจ้า Normal Style ตัวนี้ได้ยังไง ไปตรงไหน เลือกอะไร ???

    วันนี้ขอเขียนขั้นตอนการเปลี่ยน Normal Style แบบง่ายๆ กลั้นหายใจไม่ถึง 10 วิ ก็เสร็จละ ปะ ลุยยย !

     

    Step 1. ขาดไม่ได้เลยนะขั้นตอนนี้ …. เปิด Excel ก่อนเลย แหะๆ พอเปิดแล้วก็จะได้มาประมาณนี้

    (สังเกตจากที่จากรูป แบบ Normal Style ตัวอักษรหน้าตาก็จะพื้นๆ เรียบๆ นิดหน่อย)

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 2. ให้คลิกขวา ตรงรูปแบบที่ชื่อว่า Normal จากนั้น ให้เลือก Modify… ตัวอย่างตามรูปที่ 2 เลยนะ

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 3. จะปรากฏหน้าต่างเล็กที่ชื่อว่า Style ขึ้นมา ให้เราคลิกเลือกปุ่ม Format… ไปได้เลย

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 4. หลังจากเลือก Format… แล้ว Excel ก็จะแสดงหน้าต่าง Format Cells ขึ้นมา ให้เราเลือกรูปแบบ

    ของ Font, Style, Size หรืออื่นๆ ตัวอย่างตามรูปด้านล่างเลยนะทุกคน เมื่อเราเลือกเรียบร้อยแล้วก็กด OK และ OK

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    Step 5. เมื่อกด OK จนครบแล้วก็จะเห็นรูปแบบ Font ตัวอักษรตรงหัว Column เปลี่ยนไป ตัวอย่างตามรูปเลยจ๊ะ

    แท่น แท่น แท๊นนนนนนนน …. เย้ Font เปลี่ยนแล้ววววว !!

     

     

     

     

     

     

     

     

    เป็นยังไงกันบ้าง ง่ายมั้ย ง่ายเนอะ คลิกไปคลิกมา ปุบปับๆ ก็เสร็จละ ซึ่งเจ้าตัว Normal Style ตัวนี้ที่เราเปลี่ยน

    เมื่อไหร่ที่เราเปิดไฟล์ใหม่ Style เหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเช่นเดิมน๊าาาาา สบายใจได้ สำหรับครั้งนี้

    ผู้เขียนขอขอบคุณทุกคนที่เผลอคลิกเข้ามาอ่านนะ 55+ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันจะมีประโยชน์ให้กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย

    ***************************************************************************************************************

    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

    –> http://www.inwexcel.com/10-excel-secrets/

  • รวมร่าง Windows กับ Linux ใช้งานในเครื่องเดียวกันแบบเนียนๆ

    จุดประสงค์

    สามารถใช้งาน Windows กับ Linux ได้ในเครื่องเดียวกันและในเวลาเดียวกันเหมือนเป็นทองแผ่นเดียวกัน แก้ปํญหา Dev / SysAdmin ส่วนใหญ่ที่ต้องใช้ Linux เป็นหลักในการทำงานแต่ต้องเผื่อใจต้องทำงานบน Windows ด้วยในบางเวลา เช่น ทำเอกสาร MS Word ไม่ให้เพี้ยน หรือ Adobe PhotoShop หรือโปรแกรมที่ไม่สามารถทำการติดตั้งลงใน Linux ได้ และที่สำคัญคือการทำงานระหว่างสองระบบต้องไหลลื่นและรวดเร็ว ประหยัด กินทรัพยากรน้อย

    หากยังนึกภาพไม่ออก สามารถดูวิดีโอนี้ครับ  Windows 10 + Linux Lite (Seamless) 

    สเปกเครื่อง

    สามารถใช้บน windows 7, 8, 10 แต่ขอให้มี RAM อย่างน้อย 4 GB จะดีมากถ้า RAM 8 GB แต่ในที่นี้จะเป็นการติดตั้งและใช้งาน Linux บน Windows 10 64 bit  

    (more…)
  • วิธีแก้ไข Excel เปิดไฟล์ CSV แล้วอ่านภาษาไทยไม่ออก

    ผู้ใช้จะใช้คำประมาณว่า “เป็นภาษาต่างดาว” เอ่อ … ภาษาต่างดาวเนี่ยเป็นไงครับ ? อย่างคนเขียนคำว่า “私はあなたを愛している” ทำไมเราถึงรู้ว่า นี่คือภาษาญี่ปุ่น หรือ “我愛你”  ทำไมเราถึงรู้ว่า นี่เป็นภาษาจีน หรือ “Я люблю тебя” เป็นภาษารัสเซีย

    เปลี่ยนเป็นคำว่า “เป็นภาษาที่อ่านไม่ออก” หรือ “ไม่ออกมาเป็นภาษาไทย” จะถูกต้องกว่านะครับ

    ปัญหา

    ผู้ใช้เปิดไฟล์ที่แน่ใจได้ว่า Export จากระบบมาเป็น Unicode/UTF-8 แน่นอน

    สังเกต Column F

    เหตุ

    Microsoft Excel เค้าจะ Default ใช้ Charset เป็น Windows-874

    วิธีการแก้ไข

    สร้างไฟล์ Excel ใหม่

    คลิกเมนู Data -> From Text/CSV
    (ของใครเมนูภาษาไทย เทียบเคียงเอาเองนะครับ)

    เลือกไฟล์ CSV ที่ต้องการ เบื้องต้นตอนจะ Import จะได้เห็นสิ่งที่ Excel ทำ คือ Default เป็น Windows-874

    ต่อไป เปลี่ยนที่ File Origin เป็น Unicode/UTF-8
    หรือ แล้วแต่ที่ต้นทาง Export มา

    ก็จะได้ ภาษาไทยสวยงาม

    เมื่อคลิก Load ก็จะได้ข้อมูลที่เป็น “ภาษาไทย” อ่านออกแล้ว

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • Hardening your HTTP response headers

    Introduction

    HTTP Response headers คือ ค่าของสตริงที่ส่งกลับมาจากเซิร์ฟเวอร์ที่มีเนื้อหาตามที่ถูกร้องขอ โดยปกติจะใช้บอกข้อมูลทางเทคนิค เช่น เบราเซอร์ควรแคชเนื้อหา, ประเภทของเนื้อหาคืออะไร, ซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ และอื่น ๆ   HTTP Response headers ถูกใช้เพื่อส่งต่อนโยบายความปลอดภัยไปยังเบราเซอร์  ทำให้การเปิดเว็บไซต์ของเรามีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

    Header ของ Apache2 ที่ควรต้องใส่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมีดังนี้

    Content Security Policy

    Header เรื่อง Content Security Policy (CSP) ช่วยให้กำหนดต้นทางของเนื้อหาที่อนุญาตสำหรับเว็บไซต์ โดยการจำกัดเนื้อหาที่เบราเซอร์สามารถโหลดได้ ได้แก่ js และ css

    สามารถสร้าง CSP ได้จาก https://report-uri.com/home/generate ทั้งนี้ต้องทดสอบการทำงานทุกครั้งเนื่องจาก การกำหนดค่าบางอย่างอาจทำให้เว็บไซต์ ทำงานไม่ถูกต้อง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://scotthelme.co.uk/content-security-policy-an-introduction/ สำหรับ Apache2 เพิ่ม Header ต่อไปนี้ ในแฟ้มของไซต์ที่ต้องการ เช่น /etc/apache2/site-enabled/lsc-ssl.conf  หรือแฟ้ม .htaccess ในไซต์ที่ต้องการ (ซึ่งแนะนำว่าใช้ .htaccess จะได้ไม่ต้องรีสตาร์ทเซิร์ฟเวอร์) เพื่อเปิดการใช้งาน CSP


    Header always set Content-Security-Policy "default-src https: data: 'unsafe-inline' 'unsafe-eval'"

    HTTP Strict Transport Security (HSTS)

    เว็บไซต์ ต้องมีการตั้งค่าให้ redirect จาก HTTP ไปยัง HTTPS เสมอ และ HSTS จะเป็น Header ที่กำหนดให้เบราเซอร์จำสถานะของ HTTPS เอาไว้แม้ว่าจะเป็นการเปิดจาก bookmark ที่เป็น HTTP ก็ตาม ก็จะถูกบังคับให้เป็น HTTPS รายละเอียดเพิ่มเติม https://scotthelme.co.uk/hsts-the-missing-link-in-tls/ เช่น เมื่อเปิด http://licensing.psu.ac.th ก็จะถูก redirect ไป https://licensing.psu.ac.th

    Header always set Strict-Transport-Security "max-age=31536000; includeSubDomains"

    X-Frame-Options

    X-Frame-Options หรือ XFO header จะช่วยป้องกันผู้ใช้จากการโจมตีแบบ clickjacking ที่ผู้บุกรุกสามารถโหลด iframe จากไซต์ของเขาบนไซต์ของเราได้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเราเชื่อว่าไม่อันตราย!! รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.troyhunt.com/clickjack-attack-hidden-threat-right-in/

    Header always set X-Frame-Options "SAMEORIGIN"

    X-Xss-Protection

    Header นี้ใช้กำหนดค่าการป้องกัน XSS ที่มีอยู่บนเบราเซอร์ต่างๆ โดยการตั้งค่าจะมี 0 คือ ปิดการทำงาน 1 คือเปิดการทำงาน และ 1; mode=block ซึ่งจะกำหนดให้เบราเซอร์ทำการบล็อคการกระทำใดๆ ก็ตามที่มากกว่าการล้างข้อมูลสคริปต์

    Header always set X-Xss-Protection "1; mode=block"

    X-Content-Type-Options

    X-Content-Type-Options ใช้ในการป้องกันการโจมตีผ่านทางช่องโหว่ MIME sniffing ซึ่งจะเกิดเมื่อ เว็บไซต์อนุญาตให้ผู้ใช้อัพโหลดเนื้อหาไปยังเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งผู้ใช้อาจเปลี่ยนหรือซ่อนไฟล์อันตราย แล้วอัพโหลดขึ้นเซิร์ฟเวอร์ รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.keycdn.com/support/x-content-type-options/

    Header always set X-Content-Type-Options "nosniff"

    เบื้องต้นแนะนำเท่านี้ก่อนครับ พิเศษ!! สำหรับผู้ใช้งาน wordpress มีปลั๊กอินชื่อ HTTP Headers ใช่ตั้งค่า Header ต่างๆ ที่เล่ามาข้างต้นได้อย่างสบายใจหายห่วง!!! ไม่ต้องแก้ .htaccess ไม่ต้องแก้ config ใด ๆ  เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะพบว่ามี Header อีกมากที่สามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะกล่าวอีกในครั้งต่อ ๆ ไป

    ต้นฉบับ

    https://scotthelme.co.uk/hardening-your-http-response-headers/

    มีวิธีการเซ็ตสำหรับ Nginx และ IIS สามารถดูเพิ่มเติมได้ครับ
    อย่าลืม!!

    ตรวจ HTTP Response ได้ที่ https://securityheaders.com

    จบขอให้สนุก