Category: Utilities

  • Create a feedback form with NotionForms

    สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน มาค่ะ เรามาต่อกันใน Blog ที่ 4 ของรอบ TOR นี้
    ซึ่งผู้เขียนขอพาไปรู้จักกับ NotionForms

    ถ้าพร้อมแล้ว ไปค่ะ ไปเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน 😜


    NotionForms 💬
    NotionForms was created to help Notion users to achieve more with their favourite tool.
    Need a contact form? Doing a survey? Create a form in 3 minutes
    and receive responses directly in Notion.


    เอาจริงๆ หลายๆ ท่านก็คงจะรู้จักวิธีการสร้างฟอร์ม สร้างแบบสอบถาม ด้วยเครื่องมืออื่นๆ มาบ้างแล้ว เช่น google form, microsoft form หรือ อื่นๆ NotionForms ก็คล้ายๆ กับเครื่องมือเหล่านั้น อาจจะมีแตกต่างกันบ้างในเรื่องของลูกเล่น หรือฟังก์ชัน ให้เราได้ลองใช้งานกันค่ะ

    เมื่อพร้อมแล้ว เรามาทดลองสร้าง Form ด้วย NotionForms ตัวนี้กันเลย

    💡 หมายเหตุ : แบบฟอร์มที่เราสร้างขึ้นด้วย NotionForms ข้อมูลการตอบกลับจะถูกเก็บไว้ใน Notion

    Step 1

    ก่อนอื่นเราต้องสร้างฐานข้อมูลหรือตารางสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบฟอร์มของเราขึ้นมาก่อน ตัวอย่างใน Blog นี้ผู้เขียนขอสร้างตารางชื่อ Admission Feedback เก็บข้อมูล 4 column
    – name (type = text)
    – feedback (type = text)
    – the system is easy to use (type = select)
    – How do you feel after using the system (type = select)

    โดย column ที่อยู่ในรูปแบบ select เราก็จะเพิ่ม option เข้าไป เช่น column “How do you feel after using the system” ก็จะมี 2 option
    1. 👍 ฉันถูกใจสิ่งนี้
    2. 👎 ฉันไม่ถูกใจ

    📌 วิธีการสร้าง Table เก็บข้อมูลใน notion สามารถตามไปอ่านได้ใน Blog ก่อนหน้า จัดการข้อมูลง่ายๆ ด้วย Database Notion

    Step 2

    ไปยัง NotionForms

    คลิก Create Form จากนั้น Register ข้อมูล โดยใช้ Email เดียวกับตอนสมัครเว็บไซต์ Notion

    Step 3

    คลิก Create a new form

    Step 4

    ให้เลือก Notion Database Name สำหรับขั้นตอนนี้ให้เราระบุชื่อ Database ที่เราสร้างไว้ใน Notion (ตามในขั้นตอนที่ 1) จากตัวอย่างเราจะเลือก Database ที่ชื่อ Admission Feedback


    Step 5

    NotionForms จะดึงข้อมูล Column ทั้งหมดที่เราสร้างไว้ใน Admission Feedback จาก Notion ขึ้นมาแสดง เราสามารถปรับแต่งการแสดงผลของ Forms ได้ตามต้องการ (setting ได้ภายใต้ฟังก์ชันที่ใช้ฟรีอะนะทุกคน 😜)

    Step 6

    แนะนำให้เพื่อนๆ เลื่อนลงมาในส่วนของการ Custom Block เราสามารถกำหนดการแสดงผลข้อมูล Column ของเราได้ เช่น ปิด/เปิด การแสดงผลหัวข้อใน form ได้ และยังสามารถ setting ค่าอื่นๆ เพิ่มเติมได้

    Step 7

    ตัวอย่างแบบฟอร์มนี้ผู้เขียนต้องการให้ Column ที่เป็น Type select ทั้ง 2 รายการ แสดงข้อมูล Option ภายในที่เรากำหนดเอาไว้ทันที โดยไม่ต้องคลิกเลือกจาก Dropdownlist ในฟอร์ม

    วิธีการ คือ ในส่วนของ Custom Block ให้ผู้ใช้ทดลองคลิก ⚙️ หลัง column จากนั้นเลื่อนหาส่วน select Option ให้ ✅ หน้าช่อง Always show all select options.

    Step 8

    ตัวอย่างผลลัพธ์การแสดงผลของ Form ที่ได้จากการตั้งค่าของเรา ก็จะแสดง Option ภายในที่เรากำหนดไว้ หากเราพอใจแล้ว ต้องการนำ Form ดังกล่าวไปใช้ต่อ ให้เพื่อนๆ คลิก “Create Form” ได้เลย

    Step 9

    NotionForms ก็จะ Generate URL ขึ้นมาให้เราซึ่งสามารถ copy และนำไปใช้ต่อได้เลย

    ตัวอย่างการนำมา embed ไว้ใน Notion Page ของเรา เพียงเท่านี้เราก็จะได้หน้าสำหรับเก็บ Feedback จากลูกค้าแบบน่ารัก น่าใช้ สวยงาม ด้วยเวลาอันรวดเร็ว

    👍👍👍


    เป็นยังไงกันบ้างค่ะ ผู้เขียนก็ยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์กับใครหลายๆคน ให้สามารถนำไปปรับใช้ หรืออย่างน้อยได้มาทำความรู้จัก เห็นหน้าค่าตากับเจ้าตัวที่ชื่อว่า NotionForms กันไม่มากก็น้อย

    💜💙💚 ตามคติ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหามมม นะทุกคน 💚💙💜

    📍 พบกันใหม่ใน Blog หน้า ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ตอนนี้ผู้เขียนก็ยังนึกไม่ออกแหละ 555+ เอาเป็นว่าเจอกันใหม่โอกาสหน้าน๊า ….. 🙂

  • จัดการข้อมูลง่ายๆ ด้วย Database ใน Notion

    สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน สำหรับ Blog ที่ 3 ในรอบ TOR นี้ ผู้เขียนขอแนะนำการสร้าง Database เก็บข้อมูลบน Notion กันค่ะ

    📍 Blog นี้จะไม่ลงลึกในส่วนการสมัครใช้งาน notion แต่จะเน้นในส่วนของการสร้าง Table เพื่อเก็บข้อมูล

    Notion 💬
    Notion is a workspace with lots of tools to help you stay organized and productive.
    You can use notes, tasks, wikis and databases to manage projects, tasks, ideas and more.

    📲 More than a doc. Or a table. Customize Notion to work the way you do.


    📢 หากผู้อ่านอยากรู้ว่า Notion คืออะไร สามารถไปอ่านได้ที่ More than noting “Notion” ซึ่งมีสมาชิกผู้ร่วมอุดมการณ์เขียนแบบย่อๆ เอาไว้เรียบร้อยแล้ว

    มาค่ะ เรามาเริ่มขั้นตอนการสร้าง Database Notion กัน —>> สมัครใช้งาน Notion คลิกที่นี่ 📌

    ตัวอย่าง Blog นี้จะแนะนำการสร้าง Table สำหรับเก็บข้อมูลบันทึกการแจ้งปัญหาการใช้งานจากลูกค้า


    📝 Step 1 — เมื่อเราสมัครใช้งานให้เรียบร้อยแล้ว ให้เราเลือก Add a page ขึ้นมาจาก Sidebar ด้านซ้ายมือ

    📝 Step 2 — ตั้งชื่อ Page ตามต้องการ ตัวอย่างนี้ขอตั้งชื่อ “Report Problem” และเลือก Database รูปแบบ “Table”

    📝 Step 3 — เลือก New database เพื่อเริ่มต้นกำหนดและสร้าง Table เพื่อเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เราต้องการ

    📝 Step 4 — กำหนด column ที่เราต้องการลงใน Table ตัวอย่างจะเก็บข้อมูล 5 column (ผู้อ่านสามารถทดลองกำหนดในรูปแบบตามที่ตนเองต้องการได้เลย)

    • รายละเอียดของปัญหา (Type = Text)
    • Category (Type = Multi-select)
    • ชื่อผู้แจ้ง (Type = Text)
    • หมายเลขติดต่อกลับ (Type = Phone)
    • วันที่แจ้ง (Type = Date)

    📝 Step 5 — เรามาทดสอบเพิ่มข้อมูลลง Table กัน ให้เอาเมาส์ไปชี้บน record ว่าง ใน column แรก เลือก OPEN ก็จะปรากฏหน้าจอให้เราเพิ่มรายละเอียดข้อมูลตามรายการ Column ที่เราสร้างไว้

    💡 แนะนำให้ทดลองเพิ่มเข้าไปหลายๆ รายการนะ

    📝 Step 6 — เมื่อสร้างรายการเรียบร้อยแล้ว เรามาลองนำข้อมูลรายการดังกล่าวที่อยู่ในมุมมอง Table ไปแสดงในมุมมองอื่นๆ –>> ให้เราคลิกสัญลักษณ์ +

    📝 Step 7 — เราสามารถเลือก View ได้หลายมุมมอง เช่น Calendar, Board, Timeline, List หรือ Gallery ตัวอย่างนี้ขอทดลองแสดงในรูปแบบ Calendar ละกันนะ

    💡 เราสามารถ Customize การแสดงผลข้อมูลในหน้าดังกล่าวเพิ่มเติมได้นะ ให้คลิกตรงจุด 3 จุดหน้าปุ่ม New ตามในรูป จากนั้น หน้าต่าง notion ก็จะ View Option ขึ้นมาให้เราสามารถกำหนด หรือปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ

    📌 สะดวก ใช้งานง่าย มี Template มากมาย รวมทุกฟังก์ชันไว้ในที่เดียว แนะนำ Notion นะทุกคน ! 📌


    📢 สุดท้าย ท้ายสุด ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยค่ะ แล้วพบกันใหม่
    Blog หน้า จะมาแนะนำการสร้าง Notion Form เพื่อสร้างแบบสำรวจ หรือแบบฟอร์มเก็บข้อมูล Feedback จากลูกค้ากันค่ะ

  • สร้าง ER Diagram ง่ายๆ ด้วย Toad for Oracle

    สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน Blog ที่ 2 ของ TOR รอบนี้จะขอว่าด้วยเรื่องของ ER Diagram กันค่ะ การจัดทำ ER Diagram โดยปกติเราสามารถทำได้หลากหลายวิธี ใช้งานได้มากมายหลากหลายเครื่องมือ ก็แล้วแต่แหละเนอะ ว่าใครถนัดแบบไหน ใช้เครื่องมือใด

    สำหรับทางผู้เขียนจะคลุกคลีตีโมงอยู่กับ Toad for Oracle เป็นหลัก ครั้งนี้เลยจะมาขอแชร์วิธีการเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีความสะดวกสบายในการสร้าง ER Diagram จากข้อมูลตารางที่อยู่ในฐานข้อมูลของเราโดยอัตโนมัตินั่นเอ๊งงงง !!!

    ปะ …. เรามาเริ่มกันเลยละกัน

    1. เมื่อเราเปิด Toad for Oracle และ Connect เข้า Database ที่เราต้องการเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้หน้าจอตามรูป
      ปล…หน้าตาอาจจะต่างกันเล็กน้อยแล้วแต่ version ของแต่ละคนที่ใช้งาน

    2. ให้คลิกเลือกเมนู “Database” —> จากนั้นเลือกเมนู “Report” —> เลือกเมนู “ER Diagram” เมื่อเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้พื้นที่ Workspace ของเราขึ้นมา ตัวอย่างดังรูปด้านล่างเลยจ๊ะ

    3. จากนั้นคลิกเลือก Add Objects ตรงสัญลักษณ์เครื่องหมาย + สีเขียวๆฟ้าๆ จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้เราเลือก Table หรือ View จาก Schema ที่เราต้องการ เพื่อ “Add to ER Diagram

    ปล … ทั้งนี้หากเราไม่เลือกที่ละรายการ ก็สามารถเลือกได้ว่า Select All , Deselect All หรือ Invert selection ผ่าน เครื่องมือที่มีให้ได้เช่นเดียวกัน

    4. เราลองมาเลือก Table ข้อมูลที่เราต้องการนำมาสร้าง ER Diagram กันเลย และเมื่อเลือกเรียบร้อยแล้วก็ให้คลิกปุ่ม “OK” ได้เลยนะ จากนั้นก็จะได้หน้าตา ER Diagram ที่โยงความสัมพันธ์ของข้อมูลให้แล้ว ดังรูปเลยทุกคน !!

    5. และหากเราต้องการให้ใน ER Diagram ของเราแสดงเพียงแค่ชื่อ Column Name เท่านั้น ไม่แสดงรายละเอียดอื่นๆ ก็แนะนำให้เลือกตรงข้อความ All Columns จากนั้นเลือกแสดงแบบ “Column Names only

    6. เมื่อเลือกแสดงแบบ Column Names only ก็จะได้หน้าตาดังรูปด้านล่างนะ

    เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย Blog นี้พอจะช่วยให้การสร้าง ER Diagram สำหรับผู้อ่านง่ายขึ้นบ้างมั้ย ?

    ทั้งนี้ …. ทางผู้เขียนก็ขอออกตัวก่อนเลย มันมีมากมายหลายวิธีจริงๆ ในการสร้าง ER Diagram ทั้งอาจจะง่ายกว่าวิธีนี้ หรือยุ่งยากกว่าวิธีนี้ก็เป็นได้ ผู้เขียนจึงอยากจะขอแชร์วิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อช่วยในการทำงานของทางผู้เขียนเองเท่านั้น และก็ยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน ไม่มากก็น้อย ตามคติที่ว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามมมมม” นั้นเอง 555+

    Special Thanks : Supervisor Regist Team สำหรับคำแนะนำในการใช้งานแง๊บบบบ 🙂

  • ตรวจสอบ Battery ด้วยคำสั่งเดียว (Windows OS)

    เคยมั้ยครับอยากรู้ว่า Battery ของ Notebook ที่เราใช้งานอยู่ Design Capacity จากโรงงานเท่าไหร่ Full Charge Capacity ตอนนี้เหลือเท่าไหร่ ปกติก็ต้องหาโหลดโปรแกรม ติดตั้งและค่าที่ได้ออกมาบางทีก็ไม่ครบถ้วน เสี่ยงต่อมัลแวร์ ต้องเลือกแหล่งที่มาดีๆ สำหรับท่านที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows นั้น มีเครื่องมือที่ชื่อว่า powercfg ติดมาอยู่แล้วนะครับ จริงๆความสามารถของมันที่เกี่ยวกับการจัดการพลังงานของเครื่องมีเยอะมากครับ สามารถใช้คำสั่ง powercfg /? เพื่อเรียกดูความสามารถอื่นๆได้ โดยในบทความนี้ผมจะแนะนำวิธีการออก Battery report เพื่อตรวจสอบ Battery ของเราครับ

    • เปิด cmd ขึ้นมา (พิมพ์ค้นหาว่า cmd )
    • พิมพ์คำสั่ง powercfg /batteryreport /output “c:\battery-report.html”

  • เสร็จเรียบร้อยครับเราก็จะได้ไฟล์ battery-report.html อยู่ที่ c:\ สามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์ หรือที่จัดเก็บได้
  • ไฟล์ดังกล่าวสามารถเปิดดูด้วย Browser ได้ทุกตัวครับ โดยในไฟล์ดังกล่าวจะประกอบไปด้วย

    ข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
    ข้อมูล Battery ชื่อรุ่นและสิ่งที่เราอยากทราบนะครับ จากโรงงานความจุเท่าไหร่ (Design Capacity) ตอนนี้ชาร์ทเต็มแล้วได้เท่าไหร่ (Full Charge Capacity)
    ถ้าใครอยากทราบประวัติก็มีให้ดูครับ (ลดเร็วมาก เนื่องจากผมใช้งานแบบเสียบสายชาร์ทไว้ตลอดเวลา)
    สุดท้ายคือค่าประมาณเวลาที่ Battery ใช้งานได้ โดยช่องแรกคือเวลาที่ใช้ปกติ ช่องที่สองคือเวลา Stand by โดยคิดจาก Full Charge Capacity ช่องที่สาม สี่ คิดจาก Design Capacity ซึ่งคิดจากประวัติการใช้งานเครื่องของเราครับ (น่าจะเป็นค่าเฉลี่ย เปิดโปรแกรมที่ใช้พลังงานเยอะๆ ตลอดเวลาก็น่าจะต่ำกว่านี้)
  • ทำ functional design อย่างง่ายด้วยโปรแกรม Sandcastle Help File Builder

    เมื่อพัฒนาโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาทำเอกสารการเขียนอธิบายโค้ดต่อ บางครั้งมันยุ่งยากเสียเวลา วันนี้มีวิธีที่สะดวกและรวดเร็วเพียงแค่เขียนอธิบายใน Class ที่เราต้องการอธิบาย เช่น Constructors, Properties, methods

    ตัวอย่างการเขียนอธิบายโค้ด

    โดยทั่วไปแล้วการเขียน Logic ต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานต่อหรืออ้างอิงโค้ดที่เราเขียนมักจะ build code เป็นไฟล์ .dll เพื่อให้ระบบอื่นมาเชื่อมต่อและเรียกใช้งานได้ โดยขั้นตอนแรกเราใช้โปรแกรม Sandcastle Help File Builder สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิ้งก์ https://github.com/EWSoftware/SHFB/releases และ download และติดตั้งตามลิ้งก์

    SHFBInstaller_v2019.11.17.0.zip 45.1 MB

    เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย หน้าตาก็จะประมาณนี้

    โปรแกรม Sandcastle Help File Builder

    ก่อนอื่นเราต้องไปตั้งค่าการ build code ใน Visual Studio ในส่วนของ XML ตามไฮไลต์สีเหลือง

    การตั้งค่า XML ใน Visual Studio

    จากนั้นก็กด Build ใน Visual Studio

    แสดงการ Build ใน Visual Studio

    เมื่อ build เสร็จ เราจะได้ไฟล์ .dll และ .xml

    ไฟล์ .dll และ .xml

    เมื่อได้ไฟล์ .dll และ .xml เรียบร้อยแล้ว ก็เพิ่มในโปรแกรม Sandcastle Help File Builder โดยไปที่เมนู File > Project Explorer > Documentation Sources > Add Documentation Source

    เมนูการเพิ่ม Add Documentation Source

    เมื่อเลือกไฟล์ .dll และ .xml เรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้แสดงตามภาพ

    แสดงผลลัพธ์เมื่อ Add Documentation Source เสร็จ

    จากนั้นตั้งค่าเมนู Help File ตามตัวอย่างข้างล่าง

    ตั้งค่าเมนู Help File

    จากนั้นตั้งค่าเมนู Visibility ตามตัวอย่างข้างล่าง

    ตั้งค่าเมนู Visibility

    เมื่อตั้งค่าโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปที่เมนู Documentation > Build Project

    เมนู Documentation > Build Project

    รอโปรแกรมประมวลผลสักครู่ เราก็จะได้ไฟล์ .chm ออกมา

    ไฟล์ .chm

    เมื่อเปิดไฟล์ .chm เราก็จะได้ผลลัพธ์ Help File ตามรูปแบบที่แสดงตามภาพด้านล่าง

    ผลลัพธ์ Help File 1
    ผลลัพธ์ Help File 2
    ผลลัพธ์ Help File 3
    ผลลัพธ์ Help File 4
  • การส่ง Line Notify ด้วย Command Line

    ถ้าจะส่ง Line Notify ต้องมี Line Token ก่อน ซึ่งมีวิธีการขอดังนี้
    1. เข้าไปยังwebsite https://notify-bot.line.me/my/
    2. Login ด้วย LINE Account
    3. คลิกที่ปุ่ม Generate token

    4. ตั้งชื่อ Line ที่จะแสดงตอนแจ้งเตือน ในช่องตามรูป

    5. เลือกว่าจะ Notify ไปที่ group ใด ซึ่ง group ที่เราเลือกจะเป็นสีเขียว แล้วให้กดปุ่ม Generate Token

    6. จะได้ Line Token มาดังรูป

    หลังจากได้ Line Token แล้ว ให้เราเปิดโปรแกรม Command Promt ขึ้นมา โดยถ้าเป็น windows10 ให้กดที่รูปแว่นขยายที่ taskbar แล้วพิมพ์ Command Promt แล้วกดที่ปุ่ม open ทางด้านขวา

    จะมีโปรแกรมปรากฎดังรูป

    ให้ใส่ข้อความดังนี้

    curl -X POST -H “Authorization: Bearer Token” -F “message=XXX” https://notify-api.line.me/api/notify

    โดยที่ตัวอักษรสีแดงให้ทำการแทนที่ดังนี้
    Token แทนที่ด้วย Line Token ที่ขอไว้ตอนต้น
    XXX แทนที่ด้วย ข้อความที่ต้องการส่ง

    เมื่อใส่ข้อความเสร็จแล้วให้กด Enter

    ถ้าส่งข้อความสำเร็จโปรแกรม Command Promt จะขึ้นดังรูป

    แล้วที่ Line ก็จะได้รับข้อความดังรูป

  • Windows Terminal (3)

    • ติดตั้ง WSL2 ก็แล้ว แต่ใช้แค่ bash ดูไม่ว้าววววว เลย ให้ดูตัวอย่างก่อนที่

    https://github.com/ohmyzsh/ohmyzsh/wiki/Themes

    สวยงามอล่างฉ่าง
    • มาติดตั้ง zsh และ theme กัน
    • เริ่มจากติดตั้ง zsh
    sudo apt install zsh
    install zsh
    • ต่อด้วยคำสั่งต่อไปนี้เพื่อติดตั้ง ohmyzsh
    sh -c "$(curl -fsSL https://raw.githubusercontent.com/ohmyzsh/ohmyzsh/master/tools/install.sh)"
    • จากภาพจะมีการเปลี่ยน default shell ด้วยเปลี่ยนจาก bash เป็น zsh ฉะนั้นเมื่อเปิด wsl terminal ครั้งใดก็จะได้เป็น zsh shell ทุกครั้ง
    • สิ่งที่เพิ่มมาและมีความสำคัญมากคือ .oh-my-zsh และ .zshrc
    • เสร็จละง่าย!! แต่ theme ตั้งต้นอาจจะไม่ฉูดฉาด
    • แก้ไขแฟ้ม .zshrc ด้วย editor ที่ชื่นชอบ!
    • ดูชื่อ theme ต่างๆ ได้ที่ https://github.com/ohmyzsh/ohmyzsh/wiki/Themes
    • มองหาคำว่า ZSH_THEME=”robbyrussell” สามารถเปลี่ยน robbyrussell เป็นอย่างอื่นได้เลย เช่น bira เปลี่ยนแล้ว save เมื่อออกมาอยู่ที่ prompt ให้พิมพ์
    . ./.zshrc
    • (อ่านว่า จุด-เว้นวรรค-จุด-สแลช-จุด-แซ่ด-เอส-เอช-อาร์-ซี)
    • หรือพิมพ์ว่า
    source .zshrc
    • ก็จะเปลี่ยนหน้าตาไปทันที ก่อนหน้านี้ต้องเคยติดตั้ง powerline font มาก่อนซึ่งในตอนที่ 1 ได้ให้ติดตั้งไปแล้ว จะได้ดังรูป
    • สวยแล้ว ทั้งนี้สวยแต่ละคนไม่เท่ากันก็อาจจะลองเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นๆ ได้เลย หรือหากต้องการเขียนเองก็ทำได้ อ่านเอกสารเองนะจ๊ะ
    • เท่านี้ก่อนสำหรับ zsh shell
    • สำหรับ zsh สามาติดตั้งได้บน linux server แทบทุกดิสโทรเลยทีเดียว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ubuntu หรือ debian ยังมี repository และ plugin เสริมต่างๆ ของ zsh อีกด้วย (ค่ายอื่นอาจจะมีแต่ไม่ได้ใช้งานมากเลยไม่ทราบนะครับ)
    • จบขอให้สนุก
    • ต้นฉบับ https://ohmyz.sh/
  • ทำ bootable USB drives ด้วยโปรแกรม Rufus for Windows

    เป็นวิธีการทำให้เราสามารถ boot Linux/Windows ด้วย USB Drive แทนการ Boot จากแผ่น DVD ผมใช้งานมาตั้งแต่เวอร์ชั่น 2.6 ตอนนี้ 3.8 แล้ว ก็มาอัปเดตอีกสักครั้ง

    ขั้นตอน

    1.ดาวน์โหลด ISO file ที่จะนำมาทำ Bootable USB drive

    2.ดาวน์โหลดโปรแกรม Rufus จากที่นี่ https://rufus.ie/

    Rufus : Create bootable USB drives the easy way

    3.นำไฟล์มาวางไว้ที่ Desktop ใช้ได้โดยไม่ต้องทำขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม

    4.เสียบ USB Drive

    5.เปิดโปรแกรม Rufus

    จากรูปภาพ

    • หมายเลข 1 ช่อง Device บอกว่าเสียบ USB Drive 8 GB แล้ว
    • หมายเลข 2 ช่อง SELECT คลิกตรงคำว่า SELECT
    • หมายเลข 2.1 และ 2.2 คลิกเลือก ISO file ที่ดาวน์โหลดมา
    • หมายเลข 3 ช่อง Partition scheme และ Target system สามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งเป็น MBR หรือ UEFI
    • หมายเลข 4 คลิก Start เพื่อเริ่ม

    6.คลิก OK ยืนยันการใช้ค่าที่แนะนำตามรูปหมายเลข 5 และ 6

    7.รอจนเสร็จ ก็ดึง USB drive ออกได้เลย ทดสอบนำไป boot ใช้งานได้

    ผมคิดว่าโปรแกรมนี้น่าใช้ และ ใช้ง่ายดี

  • ให้ Visual Studio Code แสดงสีและ Intellisense (Robot framework)

    เมื่อติดตั้ง Visual Studio Code เสร็จแล้ว ก่อนที่เราจะเริ่ม Code กัน หรือ Code ไปแล้วมันรู้สึกว่า นี่เรากำลังใช้ Note pad กันหรืออย่างไร ไม่มีสีสัน แยกส่วน Code ต่าง ๆ เพื่อลดการลายตา และมันยากต่อการอ่าน Code และไม่มี Intellisense อะไรเลย พิมพ์เองล้วน ๆ หน้าตาก็ประมาณนี้สีเดียว

    มาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรกัน ไปที่เมนู Extensions แล้ว ค้นหาด้วยคำว่า robot แล้ว Enter

    ให้คลิก Install ตัว Robot Framework Intellisense

    เมื่อ Install เสร็จจะเห็นได้ว่ามีสีสันแล้วนะ

    และมี Intellisense ด้วยแล้วนะ