Category: Desktop Computer (PC, linux, windows, mac)

  • ระวังการใช้งานบนเครื่องที่ยังเป็น Windows XP จะถูกติดตั้ง Key Logger ระบาดในมหาวิทยาลัย

    ช่วง 2-3 วันนี้ ระบบ PSU Webmail ตรวจพบว่า มีบัญชีผู้ใช้อย่างน้อย 3 ราย ถูกใช้งานจากสิงคโปร์ และตุรกี  แล้วส่ง email ออกไปเป็นจำนวนมาก ระบบตรวจจับได้ จึงทำการ Force Reset Password ของระบบ PSU Email บัญชีผู้ใช้ดังกล่าวอัตโนมัติ

    IP ที่ใช้งาน PSU Webmail ดังภาพด้านบน ตรวจสอบแล้ว พบว่า มาจาก

    • 202.189.89.116 จากเครือข่ายของ Twentieth Century Fox ที่ ตุรกี
    • 206.189.89.212 จากเครือข่ายของ Twentieth Century Fox ที่ สิงคโปร์
    • 128.199.202.189 จากเครือข่ายของ DigitalOcean ที่สิงคโปร์

    ส่งอีเมลจำนวน 4 ฉบับ ถึง 800 emails ภายใน 1 นาที ดังภาพ

    ในการตรวจสอบเชิงลึกต่อไป พบว่า IP  206.189.89.116 ยังพยายาม Login ไปยังบัญชีผู้ใช้ 2 ใน 3 ข้างต้นอีกด้วย จึงสันนิษฐาน ว่า น่าจะเป็นคนร้ายกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่สลับแหล่งที่เข้าใช้ PSU Webmail ไปมา

    จากการลงพื้นที่ ไปดูที่เครื่องผู้ใช้ พบว่า มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน คือ

    1. ยืนยันว่า ไม่เคยคลิกเปิด email ที่ต้องสงสัยจริง ๆ (เอ่อ ใครก็จะพูดเช่นนั้น เอาว่าไม่มีหลักฐาน ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่จริง)
    2. *** มีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง *** ซึ่งหนึ่งในนั้น จะเป็น Windows XP และมีโปรแกรมเถื่อนเป็นจำนวนมาก

    จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าผู้ใช้ยืนยันว่า ไม่ได้คลิก email หลอกลวงแน่ ๆ และยืนยันว่า ไม่ถูกหลอกแน่ ๆ เป็นจริง ก็น่าจะเป็นเพราะพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ที่เป็น Windows XP ซึ่งเป็นไปได้อีกว่า คงจะมี Key Logger หรือ โปรแกรมดักจับการพิมพ์บน Keyboard แล้วส่งไปให้คนร้าย

     

    ในภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังมีเครื่องรุ่นเก่าที่ยังใช้ Windows XP อยู่ แถมยังใช้โปรแกรมเถื่อนที่อาจจะติดมาจากร้าน หรือ คนในออฟฟิซเองเอามาติดตั้งอยู่ หากสามารถ Enforce ให้เปลี่ยนได้ น่าจะลดปัญหาพวกนี้ได้

     

    กำลังหาหลักฐานที่หนักแน่นพอ เพื่อนำเสนอผู้ใหญ่ต่อไปครับ

     

  • ปัญหาในการลืมรหัสผ่านจะหมดไปด้วย … LastPass

    blog ที่ 3 สำหรับปีนี้ ทางเราขอนำเสนอ แทน แท่น แท๊นนนน Extension ที่ชื่อว่า “LastPass” นั่นเอง

    ส่วนเสริมตัวนี้จะช่วยให้ปัญหาการลืม Password ที่เข้าเว็บต่างๆ ทั้งร้อยแปดพันเก้า ที่เราเข้าใช้งานหมดไป
    ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับอย่างนึงว่า เว็บไซต์ที่เราใช้บริการทั้งหลายทั้งมวลนั้นมีมากมายหลากหลายเหลือเกิน

    ทั้งงานเอย social เอย หรือแม้แต่จะเป็น ฐานข้อมูลในการเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนจะต้องมีการสร้าง

    account เพื่อเข้าไปใช้งานทั้งสิ้น และสิ่งนึงที่เราจะเจอบ่อยๆ ก็คือ website นี้ รหัสผ่านอะไรแล้วน้ออออ !! 55+

    อะ ไม่พูดพร่ำทำเพลงมากมาย ไปดูเจ้าตัว Extension “LastPass” กันเถิดดดด …..

    1. ติดตั้ง Extension ผ่านลิงค์นี้ได้เลย คลิก  จากนั้นเริ่มต้นสร้างบัญชี เพื่อเข้าใช้งาน

    ปล…จากนั้นต่อไปในอนาคตเราก็จะปล่อยให้ LastPass ช่วยเราจำในส่วนที่เหลืออื่นๆไง

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    2.โดยให้ตั้งรหัสผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด (อันนี้เพื่อความปลอดภัยนั่นแหละ)

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    3. เมื่อเราตั้งรหัสผ่านตรงตามเงื่อนความปลอดภัยที่กำหนด ก็จะพบกับหน้าจอตามรูป จากนั้น คลิก “NEXT” โลดดด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    4. เมื่อดำเนินการครบตามขั้นตอนแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาเจ้า LastPass เรียบๆ ดูแล้วใช้งานง่าย ไม่ยากๆ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    5. คราวนี้เราก็มาจัดการเพิ่มข้อมูล ที่เราต้องการให้เจ้า LastPass ช่วยเราจำกันเถอะ โดยสามารถคลิกเลือก

    ในส่วนเมนูด้านซ้ายของหน้าจอ หรือจะเลือกจาก Icon ด้านล่างมุมขวาของหน้าจอก็ได้เช่นเดียวกัน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    6. ตัวอย่างเช่น สร้างข้อมูลรายละเอียดของเว็บที่เราเข้าใช้งานเป็นประจำ Gmail เป็นต้น จากขั้นตอนที่ 5

    เมื่อคลิก เพิ่มเว็บไซต์ ก็จะพบกับหน้าจอประมาณนี้นะ เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ก็กด “บันทึก” ได้เลย

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    7.  จากนั้นระบบก็จะบันทึกข้อมูลเว็บไซต์ Gmail ของเราเอาไว้ เราก็ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกเว็บที่เราอยาก

    ให้เจ้า LastPass ช่วยจำ เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ปัญหาการลืมรหัสผ่านเข้าเว็บต่างๆ ที่มีมากมายก่ายกองของเรา

    ก็จะหมดไป

    ** ปล… แต่ต้องไม่ลืมรหัสผ่านที่ใช้เข้า LastPass ตัวนี้น๊าาาา 555+

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    8. สำหรับความปลอดภัยอื่นๆ เราก็สามารถเข้าไปดู ไปตั้งค่าได้ โดยเลือกผ่านเมนู การตั้งค่าบัญชี ซึ่งก็จะมีทั้งแบบ

    ฟรี และหากต้องการที่ปลอดภัยมากขึ้นไปอีกระดับก็ต้องเป็นแบบ premium กันแหละ แนะนำว่าลองเล่น ลองคลิกๆ

    ศึกษาเพิ่มเติมกันได้นะ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    สุดท้ายทางผู้เขียนหวังว่า อย่างน้อย ๆ เจ้าตัว Extension LastPass ตัวนี้ จะเป็นผู้ช่วยที่มีประโยชน์อีกตัวนึงสำหรับ

    ผู้อ่านทุกคน อย่างน้อยๆ หากจดในกระดาษแล้วหาย ก็เปลี่ยนมาให้ LastPass ช่วยจำกันเถิด แฮ่ …..

     

    ขอบคุณ แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://www.lastpass.com/how-lastpass-works

  • How to install PSU SSL VPN Client ubuntu 18.04

    • เปิด terminal
    • เริ่มด้วยการติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็น
      sudo apt install -y openfortivpn
    • สร้างแฟ้ม /home/username/fortivpn.config มีข้อความว่า
      host = vpn2.psu.ac.th
      port = 443
      username = PSU Passport Username
      password = PSU Passport Password
      trusted-cert = 34df1a6bd3705782fd17152de0c4fe0b3e7f31302cbdcf737b113c17a5b9ff09
    • สั่งรันคำสั่ง
      sudo openfortivpn -c fortivpn.config
    • ได้ข้อความประมาณว่า
    • แปลว่าเชื่อมต่อได้แล้ว หากต้องการยกเลิกการเชื่อมต่อให้กด ctrl-c จะได้ข้อความประมาณว่า
    • แปลว่ายกเลิกการเชื่อมต่อแล้ว
    • ต้องเปิด terminal ที่รันคำสั่ง openfortivpn ไว้ตลอดเวลาที่เชื่อมต่อห้ามปิด
    • จบสไตล์คอมมานไลน์ ….

    หากอยากได้ง่ายกว่านี้

    • ติดตั้งโปรแกรม OpenFortiGUI โหลดที่ https://hadler.me/linux/openfortigui/ โดยเลือกโปรแกรมสำหรับ Ubuntu 18.04
    • โหลดมาแล้วติดตั้งด้วยคำสั่ง
      sudo dpkg -i openfortigui_0.6.2-1_bionic_amd64.deb
    • จะมี error message มากมาย ให้ต่อด้วยคำสั่ง
      sudo apt -f -y install
    • เริ่มใช้งานเปิดโปรแกรม openFortiGUI โดยกดที่ปุ่ม Show Applications เลือก openFortiGUI
    • จะได้หน้าต่าง
    • คลิกปุ่ม Add เลือก VPN จะได้
    • กรอกข้อความตามรูป ช่อง username และ password ก็ใส่ PSU Passport ลงไปเสร็จแล้วกด Save
    • ได้ดังรูป
    • เลือก PSU แล้วคลิก Connect ได้ผลดังรูป
    • คลิก x เพื่อปิดหน้าต่างสังเกตว่าจะมีรูป  ที่มุมบนขวา หากจะยกเลิกการเชื่อมต่อ คลิกขวาที่  เลือก PSU เพื่อ dissconnect
    • จบขอให้สนุก…

    ***  จากที่ลองทดสอบพบว่า เมื่อเชื่อมต่อ AIS 4G จะไม่สามารถใช้วิธี OpenFortiGUI ได้ แต่ใช้วิธีคอมมานไลน์ได้ครับ

  • Configuration of TCP/IP with SSL and TLS for Database Connections

    สิ่งที่ต้องเตรียม

    1. Oracle Database Server ในตัวอย่างนี้ใช้ Oracle database บน Oracle Enterprise Linux 7
    2. Oracle Database Client  ในตัวอย่างใช้ Windows Server 2008 R2

    เริ่ม

    • ฝั่ง Server
    • เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ oracle หรือบัญชีที่เป็นเจ้าของ Oracle Database
    • เปิด terminal สร้าง Oracle Wallet ด้วยคำสั่ง
      • mkdir -p /u01/app/oracle/wallet

    • ต่อด้วย
      • orapki wallet create -wallet "/u01/app/oracle/wallet" -pwd WalletPasswd123 -auto_login_local

      • โดย -pwd WalletPasswd123 ตัว WalletPasswd123 คือรหัสผ่านที่ใช้ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ใน wallet กฎการตั้งมีอยู่คือ ยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร ไม่จำกัดความยาว จำเป็นต้องตั้งให้ตัวเลขผสมตัวอักษร
    • สร้าง Certificate และใส่เข้าไปใน wallet ด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet add -wallet "/u01/app/oracle/wallet" -pwd WalletPasswd123 \
        -dn "CN=`hostname`" -keysize 1024 -self_signed -validity 3650

    • ตรวจสอบด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet display -wallet "/u01/app/oracle/wallet" -pwd WalletPasswd123

    • ได้ผลลัพธ์ประมาณ
      • Oracle PKI Tool : Version 12.1.0.2
        Copyright (c) 2004, 2014, Oracle and/or its affiliates. All rights reserved.

        Requested Certificates:
        User Certificates:
        Subject: CN=reis.psu.ac.th
        Trusted Certificates:
        Subject: CN=reis.psu.ac.th

    • Export Certificate เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง Oracle Client ด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet export -wallet "/u01/app/oracle/wallet" -pwd WalletPasswd123 \
        -dn "CN=`hostname`" -cert /tmp/server-certificate.crt

    • ตรวจสอบแฟ้มที่ export ไปด้วยคำสั่ง
      • cat /tmp/server-certificate.crt

    • ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า
      • -----BEGIN CERTIFICATE-----
        MIIBoTCCAQoCAQAwDQYJKoZIhvcNAQEEBQAwGTEXMBUGA1UEAxMOcmVpcy5wc3UuYWMudGgwHhcN
        MTgwMTA5MDcyNTA2WhcNMjgwMTA3MDcyNTA2WjAZMRcwFQYDVQQDEw5yZWlzLnBzdS5hYy50aDCB
        nzANBgkqhkiG9w0BAQEFAAOBjQAwgYkCgYEAj4x2/NviDaTlXuEJt0kZARY5fHiT2SiVX+a18hai
        I0stoUhKKefjOCgB85iuqjIk0rvcGXI0KXkbenTy2t40A+qGxB04mBhCLKaKeIe67BZKR6Zyw1dd
        oaesoaWChC01b+IW1X5WWtC53UxpIZQ4Zktj41sLGUnarIr9+9HFwncCAwEAATANBgkqhkiG9w0B
        AQQFAAOBgQAqSCF2Y8uyM4rSQHUC8MKEl3Ia3NJKnigMOUzDc2fP7grSaoeuQ4NvIntTD+s+IT5Y
        EpLVND4kSHFTwGRq0Py/ig8ybXZCXfHtvNZh7ZGziL/sYt5/8xYi/tOBKwVanBTUaseKIMovtmd7
        UyoOKrX8YBoFsB3UPRLudmFsksXRXw==
        -----END CERTIFICATE-----

    • ฝั่ง Client
    • เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ administrator
    • เปิด cmd แล้วสร้าง wallet ด้วยคำสั่ง
      • mkdir c:\app\oracle\wallet

    สร้าง Certificate ด้วยคำสั่ง

      • orapki wallet add -wallet "c:\app\oracle\wallet" -pwd WalletPasswd123 -dn "CN=%computername%" -keysize 1024 -self_signed -validity 3650

      • โดย WalletPasswd123 คือพาสเวิร์ดที่ใช้ล็อค wallet ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับของ Server
    • ตรวจสอบด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet display -wallet "c:\app\oracle\wallet" -pwd WalletPasswd123

    • ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า
      • Oracle PKI Tool : Version 12.2.0.1.0
        Copyright (c) 2004, 2016, Oracle and/or its affiliates. All rights reserved.

        Requested Certificates:
        User Certificates:
        Subject: CN=ENERAZAN
        Trusted Certificates:
        Subject: CN=ENERAZAN

    • Export Certificate เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง Oracle Database Server ด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet export -wallet "c:\app\oracle\wallet" -pwd WalletPasswd123 -dn "CN=%computername%" -cert c:\client-certificate.crt

    • ตรวจสอบแฟ้มที่ export ไปด้วยคำสั่ง
      • more c:\client-certificate.crt
    • ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า
      • -----BEGIN CERTIFICATE-----MIIBmTCCAQICAQAwDQYJKoZIhvcNAQEEBQAwEzERMA8GA1UEAxMIRU5FUkFaQU4wIhgPMDE1NTAxMDkwNzMzNDlaGA8wMTQ1MDEwNzA3MzM0OVowEzERMA8GA1UEAxMIRU5FUkFaQU4wgZ8wDQYJKoZIhvcNAQEBBQADgY0AMIGJAoGBAJHEEnB4kiI82QVyt0/GlrILF9dwd/jVRlgCQkLmLrpF6RKrIUntzvygyVhtTybeaShH751gYvtl1NFxDUWkBnfS5u2DN6ATP2WpNQgGM/skPWZOxoewy6OeeFsDPNUJTsI8+F5DIwtNhZcdQtBexZ/D3ALkSboR87t2Vy8OJpD7AgMBAAEwDQYJKoZIhvcNAQEEBQADgYEAV7xLLslRn2srS4A4Ks1KiuUWI/ackyNK7UiWgWD/by5Vx4Zw+0x3hdLzQllDR2O5Nef9it5WyYWrDQ47RadqMEVVfTGuAqQn47n/t+v24ljwm2yZ36Tj2lDVaFbE/ZtRyzPKgIwUy6RIt9XVX39vXFJVaENCHzZ0R3hs2bx1K3o=-----END CERTIFICATE-----

    • ทำการส่งไฟล์ certificate แลกกันระหว่าง Server กับ Client โดยใช้วิธีการที่ชื่นชอบของแต่คน เมื่อแลกไฟล์กันเสร็จแล้ว
    • ฝั่ง Server import certificate ด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet add -wallet "/u01/app/oracle/wallet" -pwd WalletPasswd123 \ -trusted_cert -cert /tmp/client-certificate.crt

    • สามารถตรวจสอบด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet display -wallet "/u01/app/oracle/wallet" -pwd WalletPasswd123

    • ได้ผลลัพธ์ประมาณ
      • Oracle PKI Tool : Version 12.1.0.2
        Copyright (c) 2004, 2014, Oracle and/or its affiliates. All rights reserved.

        Requested Certificates:
        User Certificates:
        Subject: CN=reis.psu.ac.th
        Trusted Certificates:
        Subject: CN=ENERAZAN
        Subject: CN=reis.psu.ac.th

    • ฝั่ง Client import certificatae ด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet add -wallet "c:\app\oracle\wallet" -pwd WalletPasswd123 -trusted_cert -cert c:\server-certificate.crt

    • สามารถตรวจสอบด้วยคำสั่ง
      • orapki wallet display -wallet “c:\app\oracle\wallet” -pwd WalletPasswd123
    • ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า
      • Oracle PKI Tool : Version 12.2.0.1.0
        Copyright (c) 2004, 2016, Oracle and/or its affiliates. All rights reserved.

        Requested Certificates:
        User Certificates:
        Subject: CN=ENERAZAN
        Trusted Certificates:
        Subject: CN=reis.psu.ac.th
        Subject: CN=ENERAZAN

    • ฝั่ง Server แก้ไขแฟ้ม $ORACLE_HOME/network/admin/sqlnet.ora ด้วย editor ที่ชื่นชอบ
      • เพิ่มคำสั่งต่อไปนี้
      • WALLET_LOCATION =
        (SOURCE =
        (METHOD = FILE)
        (METHOD_DATA =
        (DIRECTORY = /u01/app/oracle/wallet)
        )
        )

        SQLNET.AUTHENTICATION_SERVICES = (TCPS,NTS,BEQ)
        SSL_CLIENT_AUTHENTICATION = FALSE
        SSL_CIPHER_SUITES = (SSL_RSA_WITH_AES_256_CBC_SHA, SSL_RSA_WITH_3DES_EDE_CBC_SHA)

    แก้ไขแฟ้ม $ORACLE_HOME/network/admin/listener.ora

      • เพิ่มข้อความส่วนที่เป็นตัวหนาตามตำแหน่งต่อไปนี้
      • LISTENER =
        (DESCRIPTION_LIST =
        (DESCRIPTION =
        (ADDRESS = (PROTOCOL = TCP)(HOST = reis.psu.ac.th)(PORT = 1521))
        (ADDRESS = (PROTOCOL = IPC)(KEY = EXTPROC1521))
        (ADDRESS = (PROTOCOL = TCPS)(HOST = reis.psu.ac.th)(PORT = 2484))
        )
        )

        SSL_CLIENT_AUTHENTICATION = FALSE

        WALLET_LOCATION =
        (SOURCE =
        (METHOD = FILE)
        (METHOD_DATA =
        (DIRECTORY = /u01/app/oracle/wallet)
        )
        )

    • restart listener ด้วยคำสั่ง
      • lsnrctl stop
      • lsnrctl start
    • ฝั่ง Client แก้ไขแฟ้ม C:\app\client\Administrator\product\12.2.0\client_1\network\admin\sqlnet.ora โดยเพิ่มข้อความต่อไปนี้
      • WALLET_LOCATION =
        (SOURCE =
        (METHOD = FILE)
        (METHOD_DATA =
        (DIRECTORY = c:\app\oracle\wallet)
        )
        )

        SQLNET.AUTHENTICATION_SERVICES = (TCPS,NTS)
        SSL_CLIENT_AUTHENTICATION = FALSE
        SSL_CIPHER_SUITES = (SSL_RSA_WITH_AES_256_CBC_SHA, SSL_RSA_WITH_3DES_EDE_CBC_SHA)

    • แก้ไขแฟ้ม C:\app\client\Administrator\product\12.2.0\client_1\network\admin\tnsnames.ora เพิ่มข้อความต่อไปนี้
      • REIS_SSL =
        (DESCRIPTION =
        (ADDRESS_LIST =
        (ADDRESS = (PROTOCOL = TCPS)(HOST = reis.psu.ac.th)(PORT = 2484))
        )
        (CONNECT_DATA =
        (SERVICE_NAME = reis.psu.ac.th)
        )
        )

    • ทดสอบใช้งาน
    • ที่ Client พิมพ์คำสั่ง
      • sqlplus scott/tiger@reis_ssl
    • ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า
      • SQL*Plus: Release 12.2.0.1.0 Production on Wed Feb 7 16:54:05 2018
        Copyright (c) 1982, 2016, Oracle. All rights reserved.

        Last Successful login time: Wed Feb 07 2018 16:52:50 +07:00

        Connected to:
        Oracle Database 12c Enterprise Edition Release 12.1.0.2.0 – 64bit Production
        With the Partitioning, OLAP, Advanced Analytics and Real Application Testing opt
        ions

        SQL>

    • หรือต่อด้วย SQL Developer ต้องตั้งค่าการเชื่อมต่อเป็นดังภาพ
    • จากภาพเลือก Connection Type เป็น Advanced และใช้ช่อง Custom JDBC URL ใส่เป็น jdbc:oracle:oci:/@reis_ssl
    • เนื่องจากไม่สามารถเชื่อมต่อผ่าน tns ได้ ดังภาพ
    • วิธีเซ็ตค่าแบบนี้ใช้ได้กับ Oracle Database 10G R2 เป็นต้นมา
    • จบขอให้สนุก

    ที่มา:
    https://oracle-base.com/articles/misc/configure-tcpip-with-ssl-and-tls-for-database-connections

  • เทคนิคการใช้ Word ในการทำบรรณานุกรม

    ในการทำเอกสารงานวิชาการ/งานวิจัย เมื่อเราอ่านเอกสารจากบทความหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วมาเขียนในงานของเราจะต้องมีการอ้างอิงที่มาของเนื้อหาดังกล่าว โดยไปที่ References คลิก Insert Citation  คลิก Add New Source จะแสดง Dialog ดังรูป

    • Type of Source ให้เลือกประเภทของแหล่งข้อมูลเนื้อหาตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, เอกสารวิชาการ, Conference Proceeding, รายงาน, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์, จาก Website ต่าง ๆ ก็สามารถทำอ้างอิงได้ ในที่นี้ขอเลือก Book
    • Author ระบุชื่อผู้แต่ง
    • Title ระบุชื่อหนังสือ
    • Year ระบุปีที่พิมพ์
    • City ระบุชื่อเมืองที่พิมพ์
    • Publisher ระบุสำนักพิมพ์
      จากนั้นคลิก OK ก็จะได้อ้างอิง ดังรูป

      พอเราทำเอกสารเสร็จทั้งหมดไปถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องทำบรรณานุกรมแล้ว ไปที่ References ที่ Style เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้มาตรฐานการอ้างอิงแบบไหน ส่วนใหญ่ก็จะเป็น APA จากนั้นคลิกที่ Bibliography คลิกเลือก Bibliography ก็จะได้บรรณานุกรม ดังรูปโดยที่เราสามารถปรับแต่งขนาดตัวอักษร จัดรูปแบบ และยังสามารถอัพเดตอ้างอิงและบรรณานุกรมได้ด้วยค่ะ อาจจะเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คิดว่าคงมีประโยชน์กับผู้ที่ทำเอกสารงานวิชาการ/งานวิจัยนะคะ 

     

  • Windows CRLF to Unix LF Issues in Cygwin Shell Script

    เมื่อเรารัน shell script ของโปรแกรม Cygwin for Windows ซึ่งมีการเขียนคำสั่งไปตัดเอาข้อความผ่านคำสั่ง (Command Line) ของ Windows มาใส่ในตัวแปรของ shell script

    เช่น ในตัวอย่างนี้คือคำสั่ง ipconfig เมื่อได้ข้อความที่ต้องการมาเราจะได้ \r แถมมาให้ด้วยต่อท้าย เพราะ Windows style line ending จะมี CRLF (\r\n)  ในขณะที่ Linux style line ending จะมี LF (\n) เท่านั้น

    น่าแปลกใจมากว่า เราเคยรัน shell script นี้ใน Windows 7 ใช้งานได้ แต่พอเป็น Windows 10 build 1709 มันรันไม่ได้

     

    ปัญหา

    เมื่อเปิด Cygwin Terminal ขึ้นมา จะได้เป็น bash shell

    ในไฟล์ test.sh ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ เมื่อสั่งรัน จะพบว่าพบข้อผิดพลาด ตัวแปร ZONEX จะไม่มีค่า ซึ่งจริง ๆ จะต้องได้คำว่า zone1
    $ cat test.sh

    #!/bin/bash
    
    DHCPSERVER=$(ipconfig /all | grep -i "DHCP Server" | cut -d: -f2 | xargs)
    
    MAC=$(ipconfig /all | grep -A4 -i "^Ethernet Adapter Ethernet" | tail -1 | cut -d\: -f2 | tr - : | xargs)
    
    ZONEX=$(curl -s http://${DHCPSERVER}/dhcpd.txt | grep -i ${MAC} | awk '{print $2}' | cut -d'_' -f1)
    
    echo "DHCP SERVER is ${DHCPSERVER}"
    echo "MAC is ${MAC}"
    echo "Zone is ${ZONEX}"

    สั่งรันดูผลลัพธ์ด้วยคำสั่ง bash test.sh

    $ bash test.sh
    DHCP SERVER is 192.168.6.150
    MAC is 50:7B:9D:30:2E:4B
    Zone is

    ผมก็ตรวจสอบด้วยวิธีการ debug คือ เพิ่ม -x ดังตัวอย่างนี้

    $ bash -x test.sh
     ++ ipconfig /all
     ++ grep -i 'DHCP Server'
     ++ cut -d: -f2
     ++ xargs
     + DHCPSERVER=$'192.168.6.150\r'
     ++ ipconfig /all
     ++ grep -A4 -i '^Ethernet Adapter Ethernet'
     ++ tail -1
     ++ cut -d: -f2
     ++ tr - :
     ++ xargs
     + MAC=$'50:7B:9D:30:2E:4B\r'
     ++ curl -s $'http://192.168.6.150\r/dhcpd.txt'
     ++ grep -i $'50:7B:9D:30:2E:4B\r'
     ++ awk '{print $2}'
     ++ cut -d_ -f1
     + ZONEX=
     ' echo 'DHCP SERVER is 192.168.6.150
     DHCP SERVER is 192.168.6.150
     ' echo 'MAC is 50:7B:9D:30:2E:4B
     MAC is 50:7B:9D:30:2E:4B
     + echo 'Zone is '
     Zone is

    จึงพบว่า ตัวแปร DHCPSERVER และ ตัวแปร MAC จะมี “/r” แถมมาให้ด้วย ซึ่งเป็นส่วนเกินที่ทำให้คำสั่งถัดไปทำงานผิดพลาดทำให้ได้ค่า ZONEX เป็น ว่างเปล่า

     

    วิธีแก้ไข เราต้องใส่ option ” -o igncr ” หลังคำสั่ง bash เพื่อให้ตัด “/r” ออกไป

    สั่งรันดูผลลัพธ์ด้วยคำสั่ง bash -o igncr test.sh

    ผลลัพธ์คราวนี้ถูกต้องแล้ว

    $ bash -o igncr test.sh
    DHCP SERVER is 192.168.6.150
    MAC is 50:7B:9D:30:2E:4B
    Zone is zone1

     

    วิธีแก้อีกวิธีคือ หากไม่ใส่ option ที่ว่านี้ เราก็ต้องไปแก้ไขบรรทัดคำสั่ง เพื่อเติม sed ‘s/\r$//’ ต่อท้าย เป็นการตัด /r ออกไปก่อนนำค่าที่ได้ไปใส่ในตัวแปร DHCPSERVER
    เช่น

    DHCPSERVER=$(ipconfig /all | grep -i "DHCP Server" | cut -d: -f2 | xargs | sed 's/\r$//')

    ซึ่งก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องแก้ไขไฟล์ shell script ซึ่งก็แล้วแต่ชอบวิธีไหน

     

    Reference
    https://stackoverflow.com/users/1010997/user1010997
    https://stackoverflow.com/questions/11616835/r-command-not-found-bashrc-bash-profile
    https://stackoverflow.com/questions/18608380/r-command-not-found

  • วิธี upgrade Node.js ใน Bash ของ Windows 10 ให้เป็นรุ่นปัจจุบัน

    ปัญหาคือ บน Windows 10 เราสามารถใช้ Windows Subsystem for Linux (WSL) หรือ Bash Shell ได้ ซึ่งจริงๆมันก็คือ Ubuntu 16.04.3

    แต่ว่า เวลาจะใช้งาน Node.js ติดตั้งพวก Firebase, Angular อะไรพวกนี้ จะทำไม่ได้ เพราะรุ่นที่ให้มามันเก่ามาก

    วิธีการคือ (Reference: https://nodejs.org/en/download/package-manager/#debian-and-ubuntu-based-linux-distributions)

    ใช้คำสั่งต่อไปนี้

    curl -sL https://deb.nodesource.com/setup_8.x | sudo -E bash -
    apt-get install -y nodejs

    ก็เรียบร้อย

  • วิธีป้องกันไม่ให้ Notebook Windows 10 เข้าสู่ Hibernate หลังจาก Sleep 180 วินาที

    ปัญหามีอยู่ว่า บางที เราก็อยากจะแค่ ปิดฝา Notebook แล้วให้มัน Sleep แล้วเมื่อเปิดอีกครั้ง ก็สามารถทำงานต่อได้เลย
    แต่ค่า Default คือ ระบบจะเข้าสู่ Sleep เป็นเวลา 180 วินาที (3 นาที) แล้วหลังจากนั้นก็จะ Hibernate ทำให้ เวลากลับมาทำงานใหม่ ต้องรอสักพัก (แบบว่าอยากได้เหมือน Macbook อ่ะ เปิดปั๊บ ทำงานต่อได้เลย)

    วิธีการมีดังนี้

    1. กดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์ sleep > เลือก Power & sleep settings
    2. คลิก  Additional power settings
    3. เลือก Change plan settings
    4. Change advanced power settings
    5. ใน Sleep > Hibernate after
      จากเดิม น่าจะเป็น 180 seconds ก็เปลี่ยนให้เป็น Never
      แล้วคลิก OK

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • date นั้นสำคัญไฉน

    ที่ Shell prompt พิมพ์คำสั่ง man date

    ได้อะไรมาไม่รู้เยอะแยะ…

    man date
    man date

    จากคู่มือจะเอารูปแบบวันที่ 12-09-2017 ตัวเลือกที่เกี่ยวข้องได้แก่ %d %D %e %F %g %G %m %y %Y เป็นต้น ลองส่งคำสั่ง

    date +"%d-%m-%Y"

    ได้ผลลัพธ์

    12-09-2017

    ตรงตามที่ต้องการ มาเขียนสคริปต์กันหน่อย อยากได้เมื่อวานทำไง วันนี้เล่น tcsh shell สร้างแฟ้ม date.tcsh ด้วย editor ที่ชื่นชอบมีข้อความว่า

    #!/bin/tcsh -f
    set tday=`date +"%d"`
    set tmonth=`date +"%m"`
    set tyear=`date +"%Y"`
    echo "Today is ${tday}-${tmonth}-${tyear}."
    set yday=`expr ${tday} - 1`
    echo "Yesterday was ${yday}-${tmonth}-${tyear}."

    ทดสอบสคริปต์ด้วยคำสั่ง

    tcsh date.tcsh

    ไม่อยากพิมพ์ tcsh ทุกครั้งเพิ่ม execution bit ด้วยคำสั่ง

    chmod +x date.tcsh

    เรียกใช้ได้โดยพิมพ์

    ./date.tcsh (อ่านว่า จุด-ทับ-เดต-จุด-ที-ซี-เอส-เอช)

    ผลลัพธ์ที่ได้

    Today is 12-09-2017.
    Yesterday was 11-09-2017.

    อยากได้เมื่อวานทำไมมันยากอย่างนี้ ฮา… ซึ่งเมื่อกลับไปอ่านคู่มือ (man date) ให้ดี..อีกครั้งจะพบว่ามีตัวเลือก

    -d, –date=STRING
    display time described by STRING, not ‘now’

    และเมื่่อเลื่อนลงมาล่างสุดจะพบว่า

    DATE STRING
    The –date=STRING is a mostly free format human readable date string such as “Sun, 29 Feb 2004 16:21:42 -0800” or
    “2004-02-29 16:21:42” or even “next Thursday”. A date string may contain items indicating calendar date, time of day,
    time zone, day of week, relative time, relative date, and numbers. An empty string indicates the beginning of the day.
    The date string format is more complex than is easily documented here but is fully described in the info documentation.

    โอ้ววว มันเขียนไว้หมดแล้ว…

    เขียนใหม่ได้ว่า
    date -d yesterday

    ได้ผลลัพธ์

    Mon Sep 11 21:43:51 +07 2017

    เปลี่ยนให้ผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบที่ต้องการได้ด้วยคำสั่ง

    date -d yesterday +"%d-%m-%Y"

    ก็จะได้ผลลัพธ์ว่า

    11-09-2017

    แก้สคริปต์ date.tcsh

    #!/bin/tcsh -f
    set tday=`date -d today +"%d-%m-%Y"`
    set yday=`date -d yesterday +"%d-%m-%Y"`
    echo "Today is ${tday}."
    echo "Yesterday was ${yday}."

    เจ็บมาเท่าไหร่แล้วกับคำว่าไม่อ่านเอกสาร….

    ยังใส่ข้อความอื่นๆ แทน string ได้เช่น
    date -d 'tomorrow'
    date -d '-1 days ago'
    date -d '200 days'
    date -d '1000 weeks'
    date -d '30 months'
    date -d '300 years'

    เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า บางทีเอกสารก็มีให้หมดแล้ว ไม่ต้องทำเองก็ด้ายยยยย….

    จบขอให้สนุก

    man date
    ค้นเพิ่มเติม https://www.cyberciti.biz/tips/linux-unix-get-yesterdays-tomorrows-date.html