Category: Desktop Computer (PC, linux, windows, mac)

  • Windows Subsystem for Linux in Windows 10 – (Installation Scripts)

    บทความนี้แนะนำวิธีการติดตั้ง Windows Subsystem for Linux ด้วย Installation Scripts เพื่อติดตั้ง Ubuntu 18.04 LTS ลงใน Windows 10 version 1903

    การรัน Installation Scripts ที่เป็น PowerShell จำเป็นต้องเปิดอนุญาตรัน script (ตั้งค่า execution policy มีขั้นตอนตรงจุดนี้ ดังนี้
    1.คลิก Start หรือ ไอคอน Search
    2.พิมพ์คำว่า PowerShell คลิกขวาเพื่อเลือก Run as administrator
    3.พิมพ์คำสั่งนี้

    Set-ExecutionPolicy RemoteSigned

    4.พิมพ์ A แล้วกด Enter

    ถัดไป เราก็จะดาวน์โหลดไฟล์ 2 ไฟล์เลือกว่าจะวางไฟล์ไว้ที่ Downloads ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

    cd $ENV:HOMEDRIVE\$ENV:HOMEPATH\Downloads

    ดาวน์โหลดไฟล์ที่ 1

    Invoke-WebRequest ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/step1_enable_wsl.ps1 -OutFile step1_enable_wsl.ps1

    ดาวน์โหลดไฟล์ที่ 2

    Invoke-WebRequest ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/step2_install_wsl.ps1 -OutFile step2_install_wsl.ps1

    เมื่อได้ไฟล์แล้ว ก็มาทำคำสั่งนี้กัน คำสั่งเพื่อเปิดใช้ (enable) Windows Subsystem for Linux

    & ".\step1_enable_wsl.ps1"

    หลังจากทำคำสั่งนี้ Windows จะสั่งให้เรา restart 1 ครั้ง
    Do you want to restart the computer to complete this operation now?
    พิมพ์ Y และกด Enter

    เมื่อ Windows restart เสร็จแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงขั้นตอนติดตั้ง ubuntu 18.04 LTS ลงใน WSL

    เปิด PowerShell ตั้งค่า execution policy

    Set-ExecutionPolicy RemoteSigned

    พิมพ์ A แล้วกด Enter

    พิมพ์คำสั่งเหล่านี้

    cd $ENV:HOMEDRIVE\$ENV:HOMEPATH\Downloads
    & ".\step2_install_wsl.ps1"

    หลังจากทำคำสั่งนี้ หน้าต่าง WSL ก็จะเปิดขึ้นมา รอสักครู่ใหญ่ ๆ ก็จะมีคำถามให้ตั้ง username อันแรก พร้อมตั้ง password แล้วจะได้ Ubuntu 18.04 พร้อมใช้งาน

    สุดท้าย ให้เราออกจาก WSL console ด้วยคำสั่ง exit และ ปิดหน้าต่าง PowerShell

    เมื่อมาถึงตรงนี้ เราก็ได้ Windows Subsystem for Linux ซึ่งเรียกใช้งานด้วยคำสั่ง wsl

    วิธีเรียกใช้งาน WSL
    1.คลิก Start หรือ ไอคอน Search
    2.พิมพ์คำว่า wsl แล้วเลือก Open หรือ Run as administrator (ต้องการสิทธิ)

    จบเรื่องแรก การติดตั้ง WSL ด้วย Installation Scripts

    เรื่องที่สองในบทความนี้ หากเราต้องการให้ทุกครั้งที่ Windows เปิดขึ้นมาแล้วสั่งให้ service sshd ทำงานทันที เพื่อให้เราใช้คำสั่ง ssh เข้ามายัง Ubuntu ใน Windows ได้

    ผมก็ได้เขียน shell script installsshd.sh นี้ไว้ ซึ่งรันที่ WSL นะครับ

    วิธีใช้ shell script นี้ ทำดังนี้

    1.เปิด WSL ด้วยสิทธิ Run as administrator

    2.เมื่ออยู่ในหน้าต่าง WSL ให้ขอสิทธิเป็น root ด้วยคำสั่งนี้

    sudo su -

    ใส่ password ให้ถูกต้อง

    ดาวน์โหลดไฟล์ installsshd.sh ด้วยคำสั่งนี้

    wget http://ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/installsshd.sh

    สั่งรัน shell script ดังนี้

    bash installsshd.sh

    เมื่อ shell script ทำงาน จะมีการถอน openssh และติดตั้งใหม่เพื่อให้ใช้ server ssh key ที่ถูกต้อง และสร้าง task name ชื่อ sshd ไว้ใน Task Schedule ของ Windows 10

    ทดสอบ ssh จากเครื่องในเน็ตเวิร์คเข้าไปยัง Ubuntu ใน Windows 10

    References

  • 6 Tips (ดี ๆ) เกี่ยวกับ MS Word 2016

    บทความนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของ Microsoft Word (2016) โปรแกรมพื้นฐานเกี่ยวกับการพิมพ์เอกสาร รายงาน จดหมาย บลา ๆ ที่ใคร ๆ ก็ (ต้อง) ใช้เป็น … กันนะคะ วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอ 6 Tips ดี ๆ เกี่ยวกับ MS Word ซึ่ง (น่าจะ) ช่วยให้การใช้งาน word ของเรานั้น สะดวก และดูโปร (ไม่ใช่ ยี่ห้อนมผง นะคะ 555 +) ยิ่งขึ้น ซึ่งเราอาจยังไม่ทราบหรือได้ลองใช้มาก่อน

    เอ้ หรือว่าจริง ๆ แล้ว สาระในบทความนี้ เค้าก็รู้กันทั่วทั้งบางแล้วคะเนี่ย?! มีแต่ผู้เขียนหรือป่าว แฮร่ ๆ ^^’ เอาเป็นว่า ถือซะว่าได้ทบทวนก็แล้วกันนะคะ

    Come on, come on, turn the radio on . It’s Friday night … La, la, la, la, la, la (Sia – Cheap Thrills) อ่ะ ไม่ใช่ละคะ !!
    หยุดโยกกันก่อน เพราะวันนี้วัน (ศุกร์) ก็จริง แต่ยังไม่ถึงเวลาท่องราตรี ที่เรา จะไปกับแสงสี กับปีกทีสวยๆ ให้เหมือนผีเสื้อราตรี นะคะ (ไปเรื่อยยย) ฮาาา

    Come on, มาค่ะ Tip รออยู่ เริ่มที่หัวข้อแรกกันเลยนะคะ ^^

    Open the last document เปิดเอกสาร word ก่อนหน้าที่เพิ่งใช้งาน แบบเท่ ๆ (รึป่าว?)

    เพียงเราใช้คำสั่ง winword.exe /mfile1 ค้นหาใน search box ของ windows หรือใช้คำสั่งเดียวกันภายใต้ Run Command box ก็สามารถเปิดเอกสาร word ที่ใช้งานล่าสุดขึ้นมาได้ทันที

    Use Word’s built-in calculatorใช้เครื่องคิดเลขที่มากับ word

    ไปที่ File เลือก Options กล่อง Word Options จะแสดงขึ้นมา ให้ไปที่ Quick Access Toolbar ในตัวเลือก Choose commands ให้เลือก Commands Not in the Ribbon แล้วเลื่อนหา Calculate และคลิกเลือก แล้วคลิกปุ่ม add ต่อด้วยปุ่ม OK เท่านี้ก็จะมี calculator icon แสดงขึ้นมาให้ใช้งาน ที่ Top Toolbar ของ word

    เมื่อพิมพ์สมการทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการใน word ลากคลุมสมการดังกล่าว แล้วคลิก calculator icon  word จะคำนวณสมการดังกล่าว และแสดงผลลัพธ์ที่ได้การการคำนวณขึ้นมาให้ทันทีที่ Status Bar (ด้นล่างสุด) ของ word ค่ะ

    Search the web with Smart Lookupsค้นหาข้อมูลแบบรวดเร็วด้วย Smart Lookups

    เลือกคลุมคำ/วลีใดก็ได้ที่ต้องการและคลิกขวาบนนั้น แล้วเลือก Smart Lookup นะคะ word ก็จะทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคำ/วลีนั้นๆ แบบรวดเร็วจากเว็บด้วย Bing (Search Engine จาก Microsoft) โดยไม่ต้องออกจากหน้าเอกสารที่กำลังทำงาน

    แต่เท่าที่ผู้เขียนลองใช้ดู ก็ยังไม่ได้ Perfectly ในทุกครั้งน่ะ

    Select Non-Adjacent Textเลือกข้อความที่ไม่ได้อยู่ติดกันในเอกสาร

    หากเราต้องการ Copy ข้อความ หรือต้องการจัดรูปแบบพิเศษของข้อความ เช่น หัวข้อ (Header) ต่าง ๆ พร้อมกันทีเดียวในเอกสาร ซึ่งข้อความไม่ได้อยู่ติดกันนั้น

    ก็ใช้วิธีการ กดปุ่ม Ctrl บน Keyboard ค้างไว้ แล้วลากคลุมข้อความที่เราต้องการในเอกสารได้เลยค่า

    Change the default fontเปลี่ยนแบบอักษรเริ่มต้นให้เอกสาร

    ไปที่ Home (หน้าแรก) คลิกลูกศรขนาดเล็กมุมล่างซ้ายของส่วน Font (แบบอังกษร) บน Ribbon กล่อง Font จะแสดงขึ้นมา ให้เลือก Font ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม “Set As Default” (ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น)

    word จอแสดงกล่องขึ้นมาสอบถามว่าจะให้ Font ดังกล่าวนั้นให้เป็น Default Font ของเอกสารนี้ (ที่กำลังทำงาน) เท่านั้น หรือกับทุกเอกสารทั้งหมดที่มีพื้นฐานบนแม่แบบ Normal (Blank Document) ตัดสินใจได้แล้ว เราก็คลิกเลือก แล้วกดปุ่ม OK

    อย่างเราต้องใช้ TH SarabunPSK  ในการพิมพ์เอกสาร (ราชการ) เป็นหลักอยู่แล้วนั้น ก็ตั้งค่าแบบอักษรดังกล่าวให้เป็น Default Font กับทุกเอกสารไปเลย (เลือก All document based on the Normal template) ก็สะดวกนะคะ

    ปิดท้ายกันไปด้วย Tip สุดท้าย ( แต่ไม่ท้ายสุด) เพราะผู้เขียนเป็นห่วงสายตาของทุกท่าน และดวงตาก็เป็นหน้าต่างของดวงใจเสียด้วย อิอิ

    (ปิ๊ง ปิ๊ง)

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ emoticon png

    Save yourself some eye strainทะนุถนอมสายตาของคุณบ้างน่ะ

    หากอ่านเอกสารพื้นสีขาวบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ อาจมีอาการเมื่อยล้าทางสายตาได้ มาตั้งค่าโหมดการอ่านเอกสาร (ไปที่ View บน Ribbon คลิกเลือก Reader Mode หรือคลิกไอคอนที่มุมล่างซ้ายของ word) ให้เป็นสีซีเปียเพื่อความสบายตา ช่วยลดอาการเมื่อยล้าทางสายตา (eye strain) ในขณะที่เราเปิดอ่านเอกสารดีกว่า

    โดยในหน้า  Reader Mode ให้เลือกเมนู View และ Page Color แล้วเลือก Sepia เมื่อเปิดเอกสารในโหมดอ่านเอกสาร เอกสารจะเปลี่ยนสีพื้นหลังเป็นสีซีเปียค่ะ

    ท้ายสุด สาระก็ได้จบกันไปเรียบร้อย ผู้เขียนหวังว่า ไม่หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านนะคะ
    อ่ะ โยกได้ !! และในส่วนคืนนี้นั้นนน ใครจะไป Dance on the Floor ต่อกันที่ไหน ก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ 555+ #TGIF ไม่ดื่ม-ไม่สูบ ดูแลตัวเอง เต้นได้แต่อย่านาน เอวจะเคล็ด… นะคะ
    ส่วนใครที่สงสัยว่าทำไมต้อง 6 นั่น ก็เพราะว่าเป็นเดือนเกิดของผู้เขียนนั่นเองงงงค่ะ ฮรี่ (#ยังงี้ก็ได้ดั้วะะะะะะหราาานี่ #555)

  • เทคนิคการใช้ LINE แปลงข้อความรูปภาพ เป็นตัวอักษร Text (ใช้ภาษาไทยได้สมบูรณ์มาก)

    พึ่งเปิดตัวทั้งใน LINE สมาร์ทโฟน และ LINE ในเครื่อง PC สำหรับวิธีการแปลงข้อความรูปภาพ ให้กลายเป็นข้อความ Text ตัวอักษร โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งพิมพ์ใหม่ และวิธีการนี้ยังสามารถแปลเป็นภาษาอื่นๆ จากข้อความ Text ที่ได้จากการแปลงข้อความรูปภาพแล้วอีกด้วย

  • Windows Subsystem for Linux in Windows 10

    แนะนำวิธีติดตั้ง Windows Subsystem for Linux ใน Windows 10 รุ่น 1903 และวิธีเปิด sshd service อัตโนมัติ

    ขั้นตอน
    1.เปิด Featured Windows Subsystem for Linux ให้ไปที่ Control Panel เลือก Program เลือก Turn Windows features on or off ทำเครื่องหมายเพื่อเลือก Windows Subsystem for Linux รอสักครู่ จากนั้นจะมีคำสั่งให้ reboot เพื่อเริ่มใช้งานได้

    Open Control Panel
    Select Program
    Select Turn Windows features on or off
    Check Windows Subsystem for Linux
    Next, reboot Windows

    2.เปิด Microsoft Store App ใส่คำว่า ubuntu ในช่อง search เลือก Ubuntu 18.04 LTS App คลิก Get ถาม Sign in with Microsoft ให้ตอบ No, thanks จากนั้นรอ

    Open Microsoft Store
    Select Ubuntu 18.04 LTS App
    Get
    Answer with “No, thanks”
    On downloading

    3.เปิด Ubuntu 18.04 LTS ที่ปุ่ม Windows Start ให้คีย์คำว่า ubuntu แล้วเลือก Run ad administrator จะใช้เวลาสักครู่ แล้วจะให้เราตั้ง username และ password ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ username ที่ sign in เข้า Windows

    Open Ubuntu with Run as administrator
    First time Installing

    4.เปิดอนุญาตให้มีการเชื่อมต่อผ่าน sshd ในครั้งแรกที่คีย์คำสั่งว่า
    sudo service ssh start

    Allow ssh in Windows Firewall

    5.ให้ถอนโปรแกรม openssh-server เพราะว่า Ubuntu ที่ได้มาไม่มี host key

    sudo apt remove openssh-server
    Remove sshd

    6.แล้วจะติดตั้งใหม่จะได้ ssh host key

    sudo apt install openssh-server
    Install sshd with new host key

    เปิด sshd service ด้วยคำสั่ง

    sudo service ssh start

    และทดสอบว่า บริการ sshd ทำงานได้แล้วด้วยคำสั่ง

    ssh john@127.0.0.1

    ให้เปลี่ยนคำว่า john เป็นชื่อ username ที่ใช้งาน
    จะพบว่าครั้งแรกนี้ จะเข้าไม่ได้ Permission denied (publickey)

    Permission denied

    7.เราจะตั้งค่าให้ใช้ password ได้ด้วยนอกจากใช้ public key

    sudo sed -i "s/^PasswordAuthentication no/PasswordAuthentication yes/" /etc/ssh/sshd_config
    Allow using password

    เปิด sshd service อีกครั้ง ด้วยคำสั่ง
    sudo service ssh restart
    และทดสอบอีกครั้งว่า บริการ sshd ทำงานได้แล้วด้วยคำสั่ง
    ssh john@127.0.0.1
    ให้เปลี่ยนคำว่า john เป็นชื่อ username ที่ใช้งาน
    ในรอบนี้ เราจะใส่ password ได้แล้ว หลังจากสำเร็จ ก็ใช้คำสั่ง exit ออกมา

    sshd is OK

    เมื่อมาถึงตรงนี้ เราได้ทำให้บริการ sshd พร้อมใช้งานใน Windows ของเราแล้ว

    ต่อไปเป็นการตั้งค่าให้บริการ sshd ทำงานทันทีที่เปิด Windows
    คีย์คำสั่งเหล่านี้

    echo "sudo /usr/sbin/service ssh start" > /mnt/c/startssh.sh

    และ

    echo "%sudo ALL = NOPASSWD: /usr/sbin/service ssh start" | sudo tee /etc/sudoers.d/custom

    (ตรงนี้อาจมีถาม password ของ username ที่กำลังใช้งานที่มีสิทธิใช้คำสั่ง sudo)
    และคำสั่งนี้

    sudo chmod 0440 /etc/sudoers.d/custom

    เสร็จแล้วคีย์คำสั่ง exit เพื่อปิดหน้าต่าง

    To prepare a task for Task Schdule

    คำเตือน: หากคีย์ข้อความในคำสั่งตกหล่น จะต้องกลับไปติดตั้ง Ubuntu ใหม่โดยการ Uninstall แล้ว Install ใหม่

    เราจะไปตั้งค่าให้ startssh.sh ทำงานด้วย Task Schedule
    เปิด Task Scheduler เลือก Run as administrator เลือก Task Scheduler Library ดูด้านขวา เลือกคำสั่ง Create Task

    Open Task Schedule
    Select Create Task

    แท็บแรกคือ General ตั้ง Name ว่า startssh เลือก Run whether user is logged on or not เลือก Run with highest privileges ที่ช่อง Configure for เลือก Windows 10

    General Tab

    แท็บสองคือ triggers เลือก New ที่ช่อง Begin the task เลือก At startup ที่ช่อง Advanced Settings ด้านล่าง เลือก Enabled

    Triggers Tab

    แท็บสามคือ Actions เลือก New ที่ช่อง Action เลือก Start a program ที่ช่อง Program/script ใส่คำว่า bash และที่ช่อง Add arguments ใส่ข้อความ /mnt/c/startssh.sh

    Action Tab

    จะมี pop up window ถาม username กับ password ที่จะรัน Task นี้ ก็ใส่ให้ถูก แล้วปิดหน้าต่าง Task Schedule

    Enter password

    เมื่อมาถึงตรงนี้ เราก็ได้ตั้งค่าให้ Start sshd เมื่อ Windows Start เสร็จแล้ว

    ทดสอบโดยการ reboot Windows เพื่อดูว่า Task Schedule ทำ task ขื่อ startssh ให้อัตโนมัติสำเร็จหรือไม่ โดยการทดสอบ ssh เข้าจาก PC อีกเครื่อง สมมติว่า เครื่อง Windows มี IP 192.168.6.221

    ssh john@192.168.6.221

    หลังจากตอบ Yes แล้วใส่ password ผ่าน ก็ให้พิมพ์คำสั่ง exit เป็นอันเสร็จสิ้นการทดสอบ
    หากได้ข้อความประมาณว่า ssh: connect to host 192.168.6.221 port 22: Resource temporarily unavailable ก็ต้องกลับไปตรวจสอบว่า ทำไมจึงเปิดบริการ sshd ไม่สำเร็จ ลองเช็ค Windows Firewall

    ต่อไปเป็นการนำ ssh key (id_rsa.pub) จากเครื่อง server ไปฝากไว้ที่ Windows Subsystem for Linux เพื่อเป็น publickey ใช้แทนการใส่ password เมื่อเราจะส่งคำสั่งเข้าไปจัดการ Windows ผ่านทาง Windows Subsystem for Linux เช่น reboot Windows เป็นต้น

    ตรวจสอบที่ server จะต้องมีไฟล์ id_rsa.pub ใน ~/.ssh/ ถ้ายังไม่ได้สร้าง key ก็ให้ใช้คำสั่งนี้

    ssh-keygen -t rsa
    directory ~/.ssh

    ส่ง ssh key ด้วยคำสั่งนี้

    ssh-copy-id -i ~/.ssh/id_rsa.pub john@192.168.6.221

    ให้แทนที่ john ด้วย username ที่ใช้ และเปลี่ยน IP เป็นที่ใช้

    Send ssh key

    ถ้าทำสำเร็จ ทดสอบด้วยคำสั่ง ssh john@192.168.6.221 จะเข้าได้โดยไม่มีถาม password
    ให้ออกจาก ssh นั้นด้วยคำสั่ง exit

    Testing

    ขั้นสุดท้ายทดสอบสั่ง reboot Windows ด้วยคำสั่ง เขียนติดกันเป็นบรรทัดเดียว

    ssh -o UserKnownHostsFile=/dev/null -o StrictHostKeyChecking=no john@192.168.6.221 "/mnt/c/Windows/system32/shutdown.exe -r -f -t 0"
    Now we can manage Windows from remote

    วิธีที่ได้นำเสนอนี้ จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุม Windows PC ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะประยุกต์ให้เป็นการติดตั้งผ่าน shell script ไม่ต้องคีย์ทีละคำสั่ง

  • บริหารจัดการ App Passwords บน Office 365

    App passwords คือ password ที่จำเป็นต้องใช้บนแอพพลิเคชั่นใดๆ ก็ตามที่ไม่สามารถผ่าน Multi-factor authentication ได้ เช่น Outlook, Lync เป็นต้น

    เริ่ม…ได้

    Profile
    • เลือก My account จะได้ดังรูป
    My account
    • คลิก Security & privacy
    Security & privacy
    • คลิก Additional security verification
    Additional security verification 
    app passwords
    • คลิก create
    Create app password
    • ตั้งชื่อที่เราเข้าใจว่าคือ app ไหน คลิก Next
    Name
    • จะได้ password สำหรับใช้งานได้ทันที ก็เอาไปใช้ได้เลยแล้วคลิก close
    Your app password
    • จะเห็นว่า password ยาวมาก และเป็นพาสเวิร์ดที่สร้างขึ้นมาครั้งเดียว
    • จำไม่ได้ต้องสร้างใหม่ แล้วของเก่าทิ้งโดยการกด Delete หลัง password ที่ไม่ใช้งาน
    • ชื่อ app เป็นเพียงชื่อที่ใช้สื่อความหมายว่าเอาพาสเวิร์ดไปใช้กับ app อะไรเท่านั้น
    • password สามารถใช้ได้ตราบใดที่ยังไม่ลบออก ถึงแม้จะจำไม่ได้ถ้ากรอกไว้และให้โปรแกรมที่ใช้งาน password นี้จำไว้ก็จะใช้ได้ตลอด
    Delete app password
    Successfully deleted
    • จบขอให้สนุก
  • Download and install Office365

    ปัจจุบันนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถใช้งาน Office365 ได้แล้ว โดยมีเงื่อนไขดังนี้

    • PC (Windows) หรือ Macs สามารถติดตั้งรวมกันได้ 5 เครื่อง
    • Tablets ติดตั้งได้ 5 เครื่อง (Android, iPadOS)
    • โทรศัพท์ ติดตั้งได้ 5 เครื่อง (Android, iOS)
    • email account ภายใต้โดเมน @email.psu.ac.th ขนาด 50GB
    • พื้นที่จัดเก็บข้อมูล One drive ขนาด 5TB

    สำหรับนักศึกษา

    • สามารถเข้าระบบได้ที่ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th
    • โดย username จะเป็น
      [รหัสนักศึกษา]@email.psu.ac.th
      ยกตัวอย่าง เช่น 62111111111@email.psu.ac.th
    • รหัสผ่านคือรหัสเดียวกับ PSU Passport

    สำหรับบุคลากร

    • ต้องขอเปิดใช้บริการก่อนที่ https://passport.psu.ac.th
    • หลังจากขอเปิดใช้บริการ ต้องรอ 1 ชั่วโมง จึงจะสามารถใช้งานได้
    • สามารถเข้าระบบได้ที่ http://email.psu.ac.th หรือ https://outlook.com/email.psu.ac.th
    • โดย Username จะเป็น
      [log in ของ PSU passport]@email.psu.ac.th
      ยกตัวอย่าง เช่น username.s@email.psu.ac.th
    • รหัสผ่านคือรหัสเดียวกับ PSU Passport
    ขอใช้บริการ Office365

    เริ่ม…ได้

    Sign in

    หากเป็นการเข้าระบบครั้งแรก ระบบจะให้ทำการตั้งค่า Multi-factor authentication

    More information required
    • จะเป็นหน้า Additional security verification
    Additional security verification 
    • หากต้องการความง่ายให้เลือกตามรูป แล้วใส่หมายเลขโทรศัพท์ของเราลงไป
    • คลิก Next แล้วรอรับ SMS (**อาจใช้เวลานานกว่า SMS จะมา)
    Telephone 📞
    • กรอกตัวเลขจาก SMS แล้วกด Next
    SMS

    Pages: 1 2 3

  • Windows 10, Version 1903, May 2019 Update installation

    Windows 10, Version 1903, May 2019 Update เป็นรุ่นปรับปรุงที่ออกเมื่อ พฤษภาคม 2562 การติดตั้งเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อยดังนี้

    จะพูดถึงการติดตั้งใหม่เท่านั้น ใครจะอัพเดตผ่าน Windows update ก็สามารถอัพเดตได้เลย

    สำหรับนักศึกษา

    • Windows 10 ที่สามารถติดตั้งได้คือ Windows 10 Education เท่านั้น เนื่องจากหมายเลขผลิตภัณฑ์ (Product key) ที่ได้จาก Microsoft Azure เป็น Windows 10 Education โหลดได้จาก Microsoft Azure และ https://licensing.psu.ac.th/windows-10/
    • การ activate สามารถทำได้เพียงวิธีเดียวคือใช้ Product key จาก Microsoft Azure เท่านั้น
    • เมื่อติดตั้งจะมีหน้าจอให้เลือกว่าจะติดตั้งรุ่นไหน ก็ให้เลือก Windows 10 Education เท่านั้น
    Windows Setup
    Windows 10 Education 

    สำหรับบุคลากร

    • เลือกติดตั้งได้ 3 รุ่นได้แก่ Windows 10 Education, Windows 10 Pro และ Windows 10 Pro for workstation เท่านั้น รุ่น Enterprise และรุ่นที่มี N ต่อท้ายติดตั้งไม่ได้
    • การ activate สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
      • กดรับ Product key ได้ที่ CD-Key ซึ่งเป็นคีย์กลางของมหาวิทยาลัย ใช้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย activate 1 ครั้งนับ 1 ครั้ง ฉะนั้นก่อน activate ควรติดตั้ง Software ตัวอื่น ๆ ให้เสร็จเรียบร้อยจนแน่ใจว่าจะไม่ติดตั้ง Windows ใหม่ในระยะเวลา 6 เดือน
      • activate ผ่าน KMS ของมหาวิทยาลัย วิธีนี้เหมาะสำหรับห้องปฏิการคอมพิวเตอร์ และเครื่องในสำนักงาน ที่เปิดใช้งานทุกวัน (หรืออย่างน้อย 1 ครั้งใน 6 เดือน) และเชื่อมต่อกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัยตลอดเวลา

    เริ่ม…ได้

    • ดาวน์โหลดแผ่นได้ที่ https://licensing.psu.ac.th/windows-10/
    • สร้าง flash drive สำหรับบูต (flash drive ต้องมีขนาดอย่างน้อย 8GB) ด้วย Rufus https://rufus.ie/ หรือเขียนแผ่น DVD ให้เรียบร้อย
    • เปิดเครื่องบูตด้วย flash drive หรือ DVD ที่สร้างเตรียมไว้แล้ว
    Boot
    (more…)

    Pages: 1 2 3

  • เช็คฟอนต์สวย ด้วย WhatFont ~ Extension

    อะ แฮ่ม และแล้วก็เดินมาถึง Blog สุดท้ายในรอบ TOR ของปีนี้จนได้ แต่กว่าจะได้ฤกษ์เขียนได้ก็ปาเข้าไปกลางปีกันเลยทีเดียว (55+)

    มาๆๆ เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ต้องบอกว่าหลายครั้งที่เราได้เข้าเว็บไซต์นู้นนั่นนี่ แล้วเห็น font สวยๆ แต่ไม่รู้ว่านั่นน่ะมันคือ font อะไร ชนิดไหน … วันนี้ทางผู้เขียนขอนำเสนอ Chrome Extension (อีกแล้วเหรอ !) ที่เรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง นั่นคือ * WhatFont *

    WhatFont คืออะไร ???

    WhatFont เป็นหนึ่งในส่วนขยายของ Google Chrome ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูได้ว่า Font ที่ใช้หรือแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ นั้น คือ Font ชนิดอะไร ขนาดเท่าไหร่ และมีค่าสี เป็นอะไร อ๊ะๆ ยังไม่หมดนะ มันสามารถระบุได้แม้กระทั่งความหนา ความบาง ของ Font นั้นๆ กันเลยทีเดียว เพียงแค่เรานำเมาส์ไปวางบนตัวอักษรที่เราต้องการจะดูรายละเอียดเท่านั้นเอง

    วิธีการติดตั้ง

    • ดาวน์โหลดได้จาก Chrome เว็บสโตร์ คลิก จากนั้นให้คลิกปุ่ม “เพิ่มใน CHROME” หรือ Add to Chrome
    • ระบบจะแสดง pop up ขึ้นมาให้คลิกเลือก “เพิ่มส่วนขยาย”
    • เมื่อเราติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าจอก็จะแสดง pop up ขึ้นมาแจ้งให้เราทราบว่าได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    • สำหรับวิธีการใช้งาน ให้เข้าเว็บที่เราต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ Icon ที่มุมบนด้านขวาของ Browser
    • ให้นำเมาส์ไปวางไว้บนข้อความ / ตัวอักษร ที่เราต้องการจะรู้ว่าเป็น font อะไร
    • และหากต้องการจะดูรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ขนาด สี ความหนา ความบาง ก็ให้คลิกเลือกบนข้อความดังกล่าว จากนั้นจะมีส่วนแสดงข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นมาให้เราได้ดูกัน

    เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย ข้อมูลอันนี้นี่พอจะช่วยผู้อ่านได้บ้างมั้ย ??

    ยังไงก็แล้วแต่ทางผู้เขียนอยากแนะนำให้ทุกคนไปลองใช้กันดูนะ ง่ายดี ฟรีด้วย แทนที่เรา จะมานั่งคาดเดา หรือมโน กันเองว่า เอ๊ ! ตัวนี้นี่มันเป็น font อะไรแล้วน๊าา แบบนั้นมันล้าสมัยไปแล้ว เสียเวลาเปล่าๆ ติดตั้งตัวนี้กันเลย ง่าย ครบ จบในตัวเดียว 55+

    อย่าลืมลองเล่นกันดูนะ ไว้ปีหน้าฟ้าใหม่ เราจะมาเจอกันอีกใน Blog ถัดๆ ไปเน้ออออ

    ขอบคุณแหล่งอ้างอิง http://photoloose.com/what-font-chrome-extension/

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)

    ผมได้จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ในแนวทาง Virtual Desktop Infrastructure” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ อาคารวิทยบริการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

    คิดว่านำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้น่าจะเกิดประโยชน์

    คุณลักษณะของระบบ

    • VMware vSphere ESXi 6.7 เป็น software จัดการ server
    • Dell EMC PowerEdge Systems เป็น hardware ชนิด Rack Server จำนวน 5 เครื่อง แต่ละเครื่องมี RAM 512 GB มี GPU ชนิด NVIDIA Tesla M10 32 GB และมี SAN Storage ขนาด 50 TB
    • L2/3 network switch ที่มี 10 G Base-T จำนวน 2 ตัว
    • VMware Horizon 7 เป็น software สำหรับทำ VDI
    • เครื่องที่ให้ใช้งานเป็น PCoIP zero client จำนวน 480 ชุด
    • user account เป็น Local Microsoft AD สำหรับห้องคอม

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

    • ได้ทดลองใช้งานเป็นผู้ใช้งาน
    • ได้รับข้อคิดเห็นจากประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่จัดซื้อเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
    • ได้เห็นวิธีการ cloning VM ทำภายใน server สะดวกมาก เพราะ zero client ไม่มี hard disk เป็นแค่จอภาพ+อุปกรณ์เชื่อมต่อกับ server

    สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการนำระบบ VDI ไปใช้งาน

    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Virtualization Technology
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ DHCP Sever, DNS Server
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Microsoft AD
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้พื้นฐานการจัดการ PC , Windows
    • ผู้ดูแลควรมีการติดตั้งและทดสอบโปรแกรมที่จะนำมาใช้กับระบบ VDI
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Server และ Network
    • ระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศภายในห้อง Data Center ที่มีประสิทธิภาพ

    ปัญหาที่เจอในการใช้งานระบบ VDI

    • vcenter ล่ม (ระบบไฟฟ้าภายในห้อง Data Center มีปัญหา,ไฟล์สำคัญโดนลบ)
    • การ Clone เครื่อง (ใช้งานได้ไม่ครบทุกเครื่อง)
    • ค่า Error ไม่สื่อความหมาย (Clone แล้วเครื่องไม่พร้อมใช้งาน)
    • ข้อมูลทั้งระบบมีขนาดที่โตขึ้น (การเก็บข้อมูลในเครื่องผู้ใช้งาน Drive C,D)
    • ทรัพยากรไม่เพียงพอเมื่อมีการสร้างเครื่องใช้งานเยอะเกินไป ต้องประเมิน Disk Storage ให้เพียงพอ
    • ปัญหาเกี่ยวกับ user account ที่จะใช้ VM ในตอนแรกจะให้ใช้ Microsoft AD ของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจาก AD ของมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกแบบมาให้คอนฟิกได้ง่าย จึงเปลี่ยนเป็นสร้าง Local AD ผูกกับ zero client เป็นเครื่อง ๆ ไป เปิดเครื่อง กด Enter ก็เข้าถึงหน้าต่าง Windows ราว ๆ 30-40 วินาที

    ข้อดีของการนำระบบ VDI มาใช้งาน

    • การบริหารจัดการเครื่องมีประสิทธิภาพขึ้น เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • ประหยัดพลังงาน เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • ลดอุณหภูมิภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • มีความยืดหยุ่นในการใช้งานทรัพยากร เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • การ Backup ข้อมูลทั้งระบบทำได้ง่าย เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC

    ถาม-ตอบ ที่พอจะประมวลได้จากการพูดคุย

    ถาม: วิทยาเขตตรัง มีนโยบายการให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน กี่แบบ
    ตอบ: มีแบบเดียว คือ มีเครื่องให้ใช้ร่วมกัน เก็บบันทึกไฟล์ไว้เอง เนื่องจากระบบ VDI ที่จัดซื้อทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะสร้าง VM แยกให้นักศึกษาหรือให้แต่ละวิชา

    ถาม: ระบบนี้มีค่าใช้จ่ายเท่าไร แยกเป็นค่าอะไรบ้าง ขอทราบ specification ที่ใช้งานอยู่
    ตอบ: ไม่สามารถระบุเฉพาะระบบ VDI ได้ เพราะเป็นการเช่ารวมกับ PC และ Notebook อีกจำนวนหนึ่ง (ประมาณหยาบ ๆ ได้เครื่องละ 20,000 บาท/3ปี หรือ คิดเป็นค่าใช้เครื่อง 18 บาท/วัน) ส่วนการกำหนด VDI specification ได้คำนวณจากปริมาณ (PC, RAM และ Disk) ที่ต้องการใช้งาน บวกส่วนเผื่อไว้อีก 25%

    ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับคณะที่ให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนการติดตั้งโปรแกรมหรือไม่
    ตอบ: ทำได้เพราะเปิดสิทธิ Administrator เหมือนกับ PC

    ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมหรือไม่
    ตอบ: ขึ้นอยู่กับความพร้อมของ data center ให้บริการได้ต่อเนื่องหรือไม่ และโปรแกรมที่อบรมได้ทดสอบติดตั้งใช้งานแบบ VDI ได้

    ถาม: ระบบนี้ดีกว่าระบบเก่าอย่างไร
    ตอบ: มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มทรัพยากรให้ zero client ที่ต้องการใช้มาก ๆ ปรับเปลี่ยนได้สะดวก การ cloning สามารถ remote เข้าทำได้ที่ server ไม่ต้องทำที่ห้องคอม

    ถาม: ตั้งแต่เริ่มใช้ระบบนี้มีการประเมินการใช้งานแล้ว คุ้มหรือไม่คุ้ม ดีหรือไม่ดี อย่างไร
    ตอบ: ยังไม่ได้ประเมิน

    ขอขอบคุณข้อมูลที่ได้รับจาก presentation ของคุณพงษ์พันธ์ ประพันธ์ หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง