Category: Desktop Computer (PC, linux, windows, mac)

  • COMODO Certificates บรรทัดที่หายไปใน Google Chrome บน Ubuntu

    ผมทำ Zeroshell Firewall สำหรับเป็น network authentication หลังจากผม setup ส่วนที่เกี่ยวกับ Certificate ที่จะใช้กับ https ผมได้ import COMODO Certificates (ที่มหาวิทยาลัยใช้บริการ)

    เมื่อทดสอบการใช้งาน เข้าโปรแกรม Firefox บน Ubuntu เมื่อผู้ใช้ใส่ URL เพื่อไปเว็บไซต์ใด ๆ จะพบกับหน้า network authentication และ https ถูกต้อง (เป็นสีเขียว) แต่เมื่อเปิดด้วย Google Chrome จะพบว่า https จะไม่ถูกต้อง (เป็นขีด / สีแดง) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

    เปิดเข้าไปดูรายการ Certificates ที่อยู่ใน Browser Firefox เทียบกับ Google Chrome ก็พบว่ามีความแตกต่างต่างกันที่บรรทัด คือ COMODO RSA Domain Validation Secure Server CA ดังนี้

    รูปข้างล่างนี้เป็นรายการ Certificates ของ COMODO ใน Firefox บน Ubuntu 16.04 ซึ่ง มี บรรทัดที่ว่านี้

    รูปข้างล่างนี้เป็นรายการ Certificates ของ Comodo ใน Google Chrome บน Ubuntu 16.04 ซึ่ง ไม่มี

    รูปข้างล่างนี้เป็นรายการ Certificates ของ COMODO ใน Google Chrome for Windows 10 ซึ่ง มี บรรทัดดังกล่าวอยู่ในแท็บ Intermediate Certification Authorities ซึ่งผมพบว่ารายการมันจะเกิดขึ้นหลังจากเคยไปเว็บไซต์ใด ๆ ที่ติดตั้ง COMODO Certs ไว้

    ผมก็ไป export “COMODO RSA Domain Validation Secure Server CA” จาก Firefox แล้วนำไป import ใน Google Chrome บน Ubuntu 16.04 เพื่อทดสอบว่ามันเกี่ยวกันมั้ย มันเกี่ยวกันจริง ๆ ด้วย แต่ผมไม่รู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น จึงต้องการจะบันทึกไว้ เผื่อใครที่รู้จะมาช่วยอธิบาย

    ในหน้า Login นั้น สัญลักษณ์ https แสดงเป็นสีเขียว ถูกต้องได้ ตามรูป

    ใครรู้มาเฉลยที

    เพิ่มเติมท่อนข้างล่างนี้เมื่อ 11 พ.ค. 60 ครับ

    ตอนนี้ผมได้คำตอบมาอัปเดตแล้วครับ จากที่ได้ความช่วยเหลือจากคุณพรพิทักษ์ สันติภาพถาวร ผู้ดูแล PSU CERTS เราพบว่าในหน้าคอนฟิกของ Zeroshell นั้น ในเมนู Captive Portal X.509 Authentication นั้นหลังจากเรา import #1 Trusted CA จากไฟล์ STAR_psu_ac_th.ca-bundle ดังรูป

    แล้วเราจะได้บรรทัด COMODO RSA Domain Validation Secure Server CA เพิ่มขึ้นมา ดังรูป

    และ #2 Imported Certificates and Keys ด้วยไฟล์ STAR_psu_ac_th.crt และ STAR_psu_ac_th_nopass.key ดังรูป

    แล้วเราจะได้บรรทัด OU=Domain Control Validated, OU=PositiveSSL Wildcard, CN=*.psu.ac.th มาดังรูป

    จากนั้น เราจะต้องไปคลิกตัวเลือก Authentication เพื่อ เลือก Allow the X.509 login with the certificates signed by the following Trusted CAs: ด้วย COMODO RSA Domain Validation Secure Server CA ดังรูป

    สรุปว่าผมยังตั้งค่าไม่ครบถ้วนนั่นเอง คือ ขาดการตั้งค่าเรื่อง Authentication นี่เองว่าให้อนุญาตการ login ด้วย certificate ที่ signed โดย Trusted CAs ที่เรา import เข้าไปนั่นเอง

    ขอให้บทความนี้มีประโยชน์ สร้างความเข้าใจ และ เป็นการบันทึกไว้ว่า หากเรานำ PSU CERTs ไปติดตั้งทำเป็น Captive Portal ในระดับคณะ ก็สามารถทำได้โดยอาจจะนำบทความนี้ไปเป็นตัวอย่างประกอบครับ

  • การแต่งภาพให้มีมิติด้วย PowerPoint

    วันนี้มานำเสนอการแต่งภาพง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมตกแต่งภาพ แค่มีโปรแกรมนำเสนอผลงานอย่าง Power Point ก็สามารถทำได้ไม่ยากเลย โดยวันนี้ขอเสนอการแต่งภาพให้มีมิติ ไปดูกันเลยจร้า

    1.เปิดโปรแกรม Power point จากนั้นไปที่เมนู Insert คลิก Pictures เลือกภาพที่ต้องการ

    2.คลิกที่ภาพที่ Insert เข้ามา จากนั้นกด ctrl ค้างไว้ แล้วลากภาพออกมา จะได้เพิ่มขึ้นมาอีกภาพนึง

    3.เอาภาพพื้นหลังออก คลิกที่ภาพที่ต้องการเอาพื้นหลังออก ไปที่เมนู Format คลิก Remove Background แล้วปรับขนาดให้ได้ตามต้องการ

    4.จากนั้นที่เมนู Format คลิก Keep Changes ภาพพื้นหลังก็จะหายไป

    5.ภาพตั้งต้นเราทำการใส่กรอบเข้าไป ไปที่เมนู Format คลิก Metal Frame

    1. แล้ว Crop ตัดเป็นรูปร่าง ที่เมนู Format คลิก Crop to Shape .ในส่วนของการทำรูป Pop out ขึ้นมาด้านบน เลือก Trapizoid จากนั้นคลิก Crop
    2. ลดขนาดของภาพลงมาเหลือสักครึ่งหนึ่ง ให้คาบเกี่ยวกับส่วนของดอกบัวที่จะแสดงออกมาสักครึ่งนึง จากนั้นกดปุ่ม Crop
    3. จากนั้นนำดอกบัวภาพที่นำพื้นหลังออกมาประกบลงในภาพที่1 ก็จะได้รูปดอกไม้ที่ลอยเด่นขึ้นมา

    9.กรณีที่ 2 ให้รูปดอกบัวปรากฏเด่นมาด้านข้าง ที่เมนู Format คลิก Crop to Shape เลือก Flowchart Manual Input จากนั้นคลิก Crop

    10.เลื่อนขนาด และเลื่อนด้านข้างเข้ามา เพื่อให้ดอกบัวปรากฏขึ้นมาทั้งด้านบนและด้านข้าง จากนั้นคลิก Crop

    11.จากนั้นนำดอกบัวภาพที่นำพื้นหลังออกมาประกบลงในภาพที่1

     

  • การตั้งค่า Font เริ่มต้นใน Word ไม่ต้องคอยเปลี่ยนทุกครั้ง

    สำหรับท่านที่อาจจะต้องพิมพ์เอกสารราชการบ่อยๆ ซึ่งต้องใช้ TH Sarabun นั้น คงเป็นเรื่องน่าเบื่อที่จะต้องมาคอยเปลี่ยน Font ทุกครั้ง

     

    อันที่จริงแล้ว ใน Microsoft Word 2016 (ล่าสุด ณ ตอนเขียนบทความนี้) ท่านสามามารถบันทึกรูปแบบเริ่มต้นทั้งฟอนต์, ขนาดฟอนต์ รวมทั้งรูปแบบตัวอักษรไว้เป็นค่าเริ่มต้นได้เลย (Overwrite the Normal.dotm template) ด้วยวิธีการต่อไปนี้ครัช

     

    1. เลือก Font ที่จะเป็น Font เริ่มต้น ในตัวอย่างเลือกเป็น TH SarabunPSK ขนาด 16 แล้วก็คลิกตามลูกศรชี้

    2. กดที่ Set As Default ตามลูกศรอีกเช่นเคย

    3.เลือก All document based on the Normal.dotm template แล้วกด OK

    เพียงเท่านี้ ค่าที่ตั้งไว้ก็จะเป็นค่าเริ่มต้นทุกครั้งที่เปิด Microsoft Word 2016

    (เนื่องจากผมใช้ UI เป็นภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยนั้น ลองเทียบตำแหน่งปุ่มดูนะครับ)

     

    หากมีข้อผิดพลาด ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ครัช

  • ทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวง่ายนิดเดียว

    ทดสอบเว็บผ่าน Browser
    หลังจากที่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างเว็บขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือทดสอบเว็บของเราว่าสามารถที่จะแสดงผลผ่าน Browser ได้ดีหรือไม่ และแสดงผลได้ดีกับทุก Browser หรือไม่ เช่น Google Chrome , Firefox หรือจะเป็น Internet Explorer ซึ่ง Browser แต่ละตัวนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชันมาก และที่เราต้องพยายามทดสอบให้ได้มากที่สุดก็เพราะว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าลูกค้าหรือผู้ใช้เว็บของเรานั้นจะใช้เครื่องมือ หรือ Browser ตัวไหนเป็นหลัง ดังนั้นการทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ

    ทำอย่างไรให้การทดสอบผ่าน Browser ทุกตัวเป็นเรื่องง่าย

    สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเครื่องมือช่วยทดสอบการแสดงผลเว็บผ่าน Browser ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เพื่อให้เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องลงๆ ถอนๆ Browser ในเครื่องจนอาจจะปวดหัวเอาได้

    หลักๆ จากที่ศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมี Cloud Browser เปิดให้บริการมากมาย เช่น Saucelab, BrowserStack, Browserling, Ghostlab หรือ CrossBrowserTesting เป็นต้น

    สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอหน้าตาของ BrowserStack กันก่อนละกัน

    • เราจะต้องสมัครสมาชิกกันก่อน โดยจะมีแบบ Free trial ให้เราทดลองใช้งาน สมัครเสร็จแล้วก็ Login เข้าไปทดลองใช้งานกันได้เลย

     

    • หลังจากสมัครสมาชิกทดลองใช้ฟรีกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาของเจ้า BrowserStack แบบนี้

     

    • เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะทดสอบเว็บกับระบบปฏิบัติการไน และ Browser อะไร

     

    • ตัวอย่างเช่นเลือก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Mavericks และ Browser Safari 7.1 ก็จะได้ตัวอย่างหน้าจอ
      แบบด้านล่าง

     

     

     

    • ในหน้าจอที่เรากำลังทดสอบก็จะมี Tool เล็กๆ ให้เราสามารถจัดการหน้าจอได้ เช่นสามารถ Switch เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Browser อื่นๆ สามารถปรับ Resolutions
      ของหน้าจอได้ สามารถ Create a bug สามารถสร้าง Issue Tracker สามารถตั้งค่าอื่นๆ
      หรือตรวจสอบ Features ของตัว BrowserStack ได้ เป็นต้น

     

     

     

     

    สุดท้ายแล้วสำหรับเพื่อนๆ หรือใครที่มีปัญหายุ่งยากในการทดสอบเว็บให้ครบทุก Browser ก็สามารถลองเอาเจ้าตัว BrowserStack ไปใช้งานกันดู เผื่อบางทีอาจจะช่วยระยะเวลา หรือปัญหาต่างๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ^ ^

    แหล่งความรู้อ้างอิง
    – http://soraya.in.th/2013/04/08/browserstack-ie/
    – https://medium.com/tag/browserstack
    – https://chittakorn.com/do-you-know/browser-testing/
    – http://www.designil.com/free-internet-explorer-mac.html

  • Bash Bash Bash เต็มไปหมด…

    ไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดต Windows 10 Anniversary Update แล้ว ถึงเวลาลอง bash shell บนวินโดวส์แล้วสิ…

    • ติดตั้ง Windows 10 Anniversary ทำได้สองทาง
      • หากใช้ Windows 10 อยู่แล้วก็ Windows update ได้เลย (รุ่น Professional อาจยังไม่มีให้ update)
      • ต้องการติดตั้ง Windows 10 ใหม่ โหลดที่ https://licensing.psu.ac.th/tag/anniversary/ เลือกเอาเลยจะเอารุ่น Professional หรือ Education (สำหรับนักศึกษาต้องเป็นรุ่น Education)
      • ติดตั้งไปจนเสร็จเรียบร้อย
    • ต้องเชื่อมต่อ Internet ตลอดเวลาที่ติดตั้ง!!
    • คลิกขวาที่ปุ่ม start เลือก Programs and Features
      Programs and Features
    • คลิก Turn Windows Features on or off
      Turn Windows Features on or off
    • เลือก Windows Subsystem for Linux (Beta)
    • เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปิด developer mode คลิกที่ start menu แล้วพิมพ์ deve จะได้ดังรูป แล้วเลือก for developers settings
      Start menu
    • ได้ดังภาพเลือก Developer mode
      developer mode
      คลิก Yes
      Developer Mode
    • อาจมีข้อความเตือนให้ restart ก็ restart ให้เรียบร้อย
    • คลิกขวาที่ปุ่ม Start เลือก Command Prompt (Admin)
      CMD
    • พิมพ์ bash
      bash
    • กด y แล้วกด enter
      Download
    • จะเป็นการเริ่ม download รอจนครบ 100%
      Download
    • ตั้ง username และ password
      create user
    • เมื่อตั้งเสร็จเรียบร้อยก็พร้อมใช้งาน
      ready
    • ทุกครั้งที่ต้องการใช้งานให้เรียก bash ได้ที่ปุ่ม start แล้วเลือก Bash on Ubuntu on Windows
      bash on start
    • ทดสอบ ssh
      ssh
    • จบ… ขอให้สนุกครับ
  • Information graphics การใช้ภาพหรือแผ่นภูมิแทนข้อมูลที่จะนำเสนอ

    Information graphics หรือ Infographics เป็นการนำเสนอข้อมูล หรือความรู้ต่างๆโดยการสื่อสารด้วยภาพกราฟิก ซึ่งจะทำให้ผู้รับสื่อเข้าใจและมีความชัดเจนมากขึ้น    ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์ ภาพกราฟิกต่างๆจะดึงดูดความสนใจและความจำได้ดีกว่าข้อความยาวๆหรือต้องอ่านข้อมูล ที่เห็นได้จัดเจนคือ การอ่านข้อความบอกเส้นทางกันการอ่านแผนที่จะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และแน่นอนยุคสมัยของโลก Social อย่าง Facebook Twitter และInstagram ถ้าใครโพสข้อความยาวๆเราก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไรแต่เมื่อโพสภาพสวยๆเมื่อไรจะดึงความสนใจเราได้เยอะมาก

    มาดูการใช้งาน Infographics เพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

    • ข้อมูลสำคัญทีต้องการให้เป็นจุดสนใจเพียงข้อมูลเดียว
      ควรจะใช้ฟอนต์ที่ใหญ่หรือแปลกตากว่าฟอนต์ทั่วไปหรือมีการเน้นด้วยพื้นหลังที่แตกต่าง ร่วมถึงสามารถใช้ Pictographs หรือ Icon Charts แสดงร้อยละของสิ่งที่สนใจ
      ตัวอย่าง
    1 2
    • ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบ
                        เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่สนใจ โดยมากจะใช้ Bar Chart หรือ Column Chart
      ตัวอย่าง

      top10Social
      ที่มาของภาพ
    • ข้อมูลแบบต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กัน   โดยมากจะแสดงข้อมูลนี้ด้วย Line Chart
      lineCart
    • ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ดูความเป็นไปของข้อมูลที่สนใจ เช่น ความถี่ของผลการประเมิน TOR โดยแยกตามช่วงอายุการทำงานของบุคลากร หรือความสูงของนักเรียนแยกตามช่วงอายุและแยกระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็นต้น
      hChart
    • ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรหรือช่วงเวลา (Trends over Time) สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น Column Chart และเน้นส่วนสนใจ เช่นแสดงร้อยละ หรือใช้รูปแทนข้อมูลช่วงเวลาต่างๆ
      macTimeLine
      ที่มาของภาพ
    • ข้อมูลการกระจายของสิ่งที่สนใจ จะแสดงด้วย bubble chart เช่นความสัมพันธ์ระหว่างความจุปอดกับความสามารถในการกลั่นหายใจของคนแล้วเอาข้อมูลความสัมพันธ์ของแต่ละคนไป วาดกราฟเพื่อดูความสัมพันธ์
      bubbleChart
      ที่มาของภาพ
  • สร้าง Shortcut ในการ Remote Desktop Connection

    ในการพัฒนาระบบงานหลาย ๆ ระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็ต้องมี Server ถ้าระบบมีปัญหาสิ่งแรก ๆ ที่ต้องเข้าไปดูปัญหานั่นคือการ Remote ไปยัง Server นั้น ๆ เช่นดู Process Task ต่าง ๆ มีอะไรรันอยู่ มีอะไรทำงานอยู่จึงทำให้ระบบช้า หรือทำให้ระบบมีปัญหาเป็นต้น เมื่อมีหลาย Server ครั้นจะมาจดจำ IP เครื่องที่จะ Remote ไป หรือบางเครื่องที่นาน ๆ จะเกิดปัญหาที ทางออกของปัญหามีค่ะ แค่เพียงสร้างเป็น Shortcut ในการ Remote Desktop Connection นั่นเอง มีขั้นตอนดังนี้

    1. ที่หน้าจอ Desktop คลิกขวา New
    2. เลือกหัวข้อ Shortcut
    3. พิมพ์ข้อความดังนี้ C:\Windows\System32\mstsc.exe /v:192.168.100.170 /w:800 /h:600
      –> 3.1 /v:ต่อด้วย IP Address:Port
      –> 3.2 /w:ต่อด้วยขนาดหน้าจอ ความกว้าง
      –> 3.3 /h:ต้อด้วยขนาดหน้าจอ ความสูง
      –> 3.4 อื่น ๆ เช่น /f หมายถึงเต็มหน้าจอ
      /admin หมายถึง Remote เข้าด้วย Session Admin13-7-2559 13-44-06
    4. คลิกปุ่ม Next
    5. ตั้งชื่อ Shortcut
      13-7-2559 13-46-33
    6. คลิก Finish จะเห็น Icon ของ Shortcut ที่ใช้ในการ Remote เพื่อเข้า Server ตามที่ได้สร้างไว้ที่หน้า Desktop
  • วิธีลดขนาดไฟล์ photo ให้เล็กลงก่อนอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์

    ภาพถ่ายที่ได้จากสมาร์ทโฟนที่มีขนาดไฟล์ใหญ่เป็น 1-2 MB แล้วทำให้มันมีขนาดไฟล์เล็กลงได้ด้วย tool อะไรบ้าง เพื่อนำภาพไปแขวนบนเว็บไซต์ของเราที่ไม่มีความสามารถในการช่วยบีบอัดขนาดไฟล์ให้อัตโนมัติในขณะที่อัปโหลดภาพ

    เราคงจะข้ามการพูดถึงโปรแกรม Photoshop ไปไม่ได้ นั้นเป็นสิ่งที่ใครก็ตามที่มีเงินซื้อโปรแกรมมาใช้ แต่หากต้องการหา tool ที่ใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จะมีมั้ยนะ

    ผมค้นใน google search เจอเว็บนี้ https://tinypng.com/ เป็นการนำภาพถ่ายของเราไปบีบอัดด้วย online tool ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ (เพียงแต่หากกังวลเรื่องไม่อยากให้รูปไปถูกเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของเขา ก็อย่าใช้ครับ) ในเนื้อหาเว็บนี้บอกไว้ว่า ภาพถ่ายที่ได้จากการบีบอัดเมื่อนำไปวางบนเว็บไซต์ มันใช้ได้หมดทุกเบราว์เซอร์ ยกเว้น IE6 ซึ่งเก่ามากแล้ว

    และทางเลือกที่จะติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน Windows ครับ ขอแนะนำติดตั้งโปรแกรม GIMP for Windows (https://www.gimp.org/windows/) ทำดังนี้

    reduce-2016-06-28 14_59_42
    ขั้นตอน
    1.เปิดไฟล์เดิม
    2.แล้วเลือก export as… ตั้งชื่อไฟล์ตามต้องการ
    3.แล้วคลิก export จากนั้นมันจะมี dialog ถามให้กำหนด quality

    reduce-2016-06-28 15_01_14
    4.จากเดิม 91% ผมลองลดลงไปถึง 41% ภาพถ่ายขนาดเท่าเดิม (กว้างxยาว) แต่ขนาดไฟล์ลดลงจาก 2.1 MB เป็น 601.7KB

    reduce-2016-06-28 15_14_31

     

    นอกจากนี้ ก็อาจเลือกใช้

    ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ช่วยกันแนะนำมา และขอบคุณล่วงหน้าถ้าจะกรุณา comment มาครับ

  • file checksum integrity verifier

    Microsoft มี file checksum integrity verifier เป็น command line สามารถดาวน์โหลดมาใช้เพื่อตรวจสอบ file.iso ที่ดาวน์โหลดมาว่ามี md5sum ตรงกับที่หน้าเว็บไซต์แจ้งไว้หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่หยิบเอา file.iso ที่อาจโดนใส่โปรแกรมไว้เนื่องจากเว็บไซต์ที่วางไฟล์ไว้อาจโดยแฮก ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://www.microsoft.com/en-us/download

    และค้นด้วยคำว่า file checksum integrity verifier

    fciv-website

    แตกไฟล์ออกมาไว้ใน Folder ที่ต้องการ เช่น Downloads

    นำมาใช้โดยเปิด Command Prompt และพิมพ์คำสั่ง fciv.exe file.iso ดังตัวอย่าง

    fciv-example