ติดตั้ง Ubuntu Server 20.04 ใน VM ของ miniONE KVM

เป็นขั้นตอนสร้าง VM ที่เป็น Ubuntu Server 20.04 ใน VM ของ miniONE KVM ขั้นตอน เลือกใช้ภาษาอังกฤษในการติดตั้ง เลือก keyboard layout  ตั้งค่า IP Address แบบ static เลือก Interface name และ คลิก Edit IPv4 เลือก Method แบบ Manual ใส่ค่า IP Address ไปต่อ คลิก Done ไปต่อ คลิก Done ตั้ง Mirror address มาที่ http://th.archive.ubuntu.com/ubuntu Storage configuration เลือก Use an entire disk  ไปต่อ คลิก Done Confirm destructive action เลือก Continue กำหนดค่า name, username และ password เลือก Install OpenSSH server และคลิก Done Featured Server Snaps ไม่เลือก ไปต่อ คลิก Done รอ เมื่อเสร็จ คลิก Reboot ในขั้นตอน downloading and installing security updates หากนานมาก จะไม่รอ ก็คลิก Cancel update and reboot เมื่อกลับเข้าใช้งาน ต้อง update เองสักรอบ เพื่อลงโปรแกรมอื่น ๆ ได้ และอาจเป็นผลให้ติดตั้ง ssh host key ไม่สำเร็จ ตรวจสอบด้วยคำสั่ง ls -l /etc/ssh แก้ไขโดยสร้าง ssh host key ด้วยคำสั่ง ssh-keygen -A จบขั้นตอนสร้าง Ubuntu Server

Read More »

ติดตั้ง OpenNebula miniONE on KVM

เป็นวิธีการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์สำหรับสร้าง VM โดยเลือกใช้โปรแกรมชื่อ OpenNebula miniONE ซึ่งจะมีตัวเลือกว่า จะติดตั้งเพื่อใช้งานกับ Hypervisor ชนิดใด เช่น KVM, vCenter, LXD หรือ Firecracker เป็นต้น ในที่นี้เลือก KVM ขั้นตอน หลังจากเปิดเข้าใช้งาน Ubuntu Desktop เราจะต้องใช้ Terminal เพื่อทำคำสั่งต่าง ๆ โดยคลิกที่ไอคอน 9 จุด แล้วเลือก All ให้แสดงทุกโปรแกรม และเลือก Terminal ติดต้้ง openssh-server หากยังไม่ได้ติดตั้ง ด้วยคำสั่ง sudo apt install openssh-server พักหน้าต่าง Terminal ไว้ก่อน ตอนนีัเราจะไปดาวน์โหลด Opennebula miniONE โดยคลิกเปิดเบราว์เซอร์ Firefox และค้นหาคำว่า opennebula คลิกเลือก miniONE on KVM จากหน้าต่างของเว็บไซต์ opennebula.io จะมีบรรรทัดคำสั่งให้เราคัดลอกไปใช้ในการติดตั้ง ดาวน์โหลดตัวโปรแกรมติดตั้ง รันคำสั่งติดตั้ง คือ sudo bash minione จะมีการตรวจสอบสักครู่แล้วแจ้งให้พิมพ์ yes เพื่อยืนยันการติดตั้ง เมื่อเสร็จจะได้ user และ password ให้จดไว้ (จะเก็บอยู่ใน /var/lib/one/.one/one_auth) เตรียมไว้ว่าต่อไปจะใช้ TCP Port 80 สำหรับ web server ที่เป็น VM จึงต้องแก้ไข default port จาก 80 เป็นอย่างอื่น ตั้งค่า :port: 8080 แก้ไขที่ไฟล์ /etc/one/sunstone-server.conf รันคำสั่ง sudo systemctl restart opennebula-sunstone.service หลังจากติดตั้ง miniONE จะมีการจัดการค่าทาง network ใหม่ ทำให้ไม่ได้ IP ตรวจสอบด้วยการรันคำสั่ง ip addr  เราต้องแก้ไขให้ Ubuntu Desktop ได้รับ DHCP IP ดังนี้ ตั้งค่า renderer: networkd ตั้งชื่อ ethernets ที่ใช้ และ dhcp4: yes แก้ไขที่ไฟล์ /etc/netplan/01-network-manager-all.yaml  เสร็จแล้วต้องรันคำสั่ง sudo netplan apply และตรวจสอบดูค่า IP จัดการแก้ไขปรับแต่งให้ Ubuntu Desktop ทำ enable packet forwarding for IPv4 เข้าออก VM ได้ ตั้งค่า net.ipv4.ip_forward=1 โดยแก้ไขที่ไฟล์ /etc/sysctl.conf รันคำสั่ง sudo sysctl -p เข้า Browser ไปที่ URL http://NOTEBOOK_IP:8080 และ Login เข้าใช้ด้วย username คือ oneadmin และ password ที่ได้รับ  จะเห็นหน้า Dashboard มี VM 1 ตัว  ในขั้นตอนติดตั้ง miniONE จะใส่ CentOS7 มาให้เป็นตัวอย่าง ทั้ง image และ VM template   พร้อมใช้งาน (ถ้าเราใช้ CentOS)  เนื่องจากผมจะไม่ใช้ จึงขอลบทิ้ง จบในส่วนการติดตั้ง

Read More »

ติดตั้ง Ubuntu Desktop 20.04

ขอแนะนำวิธีการติดตั้ง Ubuntu Desktop เพื่อเตรียมใช้เล่าเรื่องราวในตอนต่อ ๆ ไป เพื่อให้เห็นภาพว่า เราสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Ubuntu ที่เป็น Graphic User Interface ได้อย่างง่าย ๆ เลือก minimal installation ให้มีแค่ Firefox Web Browser ขั้นตอน นำ USB Drive ที่มี Ubuntu Desktop ไป Boot ที่โน้ตบุ๊ค หน้าต่างแรก จะมีคำถามให้เลือก เลือก Install Ubuntu ค่า Keyboard layout ใช้ค่า default คือ English  จะเลือกติดตั้งแบบ Minimal installation เครื่องนี้พร้อมให้ล้างฮาร์ดดิสก์ได้ ก็จะเลือก Erase disk and install Ubuntu กด Continue เพื่อยืนยันติดต้้งลงฮาร์ดดิสก์ได้ เลือกชื่อเมือง Bangkok ตั้งชื่อผู้ใช้ ชื่อเครื่อง ชื่อ username และ password เริ่มติดตั้ง  รอ เมื่อเสร็จ คลิก Restart Now ดึง USB Drive ออก แล้วกด Enter เมื่อ Boot เข้าได้สำเร็จ จะมีหน้าต่างให้เลือก username ที่ใช้ ในครั้งแรกที่เข้าใช้ จะมีตัวเลือกว่า จะใช้ user แบบ Single Sign-On ของ Ubuntu หรือ จะใช้อย่างอื่นก็เลือกเอา หรือจะไม่ทำอะไรก่อน ก็คลิก Skip คลิก Next อีก 2 หน้าต่าง หน้านี้ หากเรายอมให้ข้อมูล Location ก็คลิกปุ่มเพื่อสไลด์เปิด คลิก Done  จะมีหน้าต่าง Software Updater ให้คลิก Install Now ทุกครั้งที่จะมีการเพิ่ม/ลบโปรแกรม จะต้องให้ข้อมูลว่า เรามีสิทธิจัดการ โดยใส่รหัสผ่าน ทุกครั้ง รอให้ update เสร็จ เมื่อเสร็จ คลิก Restart Now เมื่อ Boot กลับเข้ามาในครั้งหลังนี้ ก็ใช้งานได้แล้ว โดยคลิกที่ปุ่ม 9 จุด เพื่อดูว่ามีอะไรให้ใช้งานบ้าง

Read More »

สร้าง Bootable USB Drive ด้วยโปรแกรม Rufus for Windows

บทความนี้แนะนำวิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการด้วย USB Drive ที่ลงโปรแกรมให้สามารถ Boot ตอนนี้เป็นเวอร์ชั่น 3.13 แล้ว ก็มาอัปเดตอีกสักครั้ง ตัวอย่างนี้คือทำ Bootable USB Drive Ubuntu 20.04 Desktop 64 bit ครับ ขั้นตอน ดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์นี้ https://rufus.ie/ ได้ไฟล์ rufus-3.13.exe มา ให้คลิกเปิด (Open) จะมีถามย้ำจาก Windows ให้ยืนยัน Yes จะมีถามจากโปรแกรมว่าจะยอมให้มีการตรวจเช็คเวอร์ชั่นใหม่ ๆ หรือไม่ ให้ยืนยัน No ไม่จำเป็น จะได้หน้าต่างโปรแกรม หากเสียบ USB Drive ไว้ ก็จะแสดงรายการขึ้นมาว่า เดิมเป็นอะไร ให้คลิก SELECT เพื่อเลือก .iso file เช่น ubuntu-20.04.1-desktop-amd64.iso ให้คลิก START เพื่อทำการสร้าง Bootable USB Drive ในตัวอย่างคือ Ubuntu 20.04 Desktop 64 bit ไฟล์ rufus-3.13.exe จะอยู่ใน Downloads จะใช้ครั้งต่อไปก็แค่คลิกเปิด (Open) หรือจะย้ายไปไว้ใน Desktop ก็ได้

Read More »

ซอฟต์แวร์สำหรับการโคลนนิ่งวินโดวส์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์

นำเรื่องนี้มาแนะนำกันอีกสักครั้ง เผื่อว่าใครกำลังมองหาซอฟต์แวร์ฟรีไว้ใช้ในการโคลนนิ่งฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ ผมเพิ่งมีเวลาอัปเดตเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด มีอยุ่ 2 ตัว เอาไปทดลองใช้ดูได้ครับ PSU12-Sritrang Server ผมได้พัฒนาชุดจัดการโคลนนิ่งวินโดวส์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ มีคณะ/หน่วยงานในม.อ. ใช้งานชุดนี้กันอยู่ ชุดนี้มีชื่อเรียกว่า PSU12-Sritrang Server เหมาะสำหรับโคลนนิ่งเครื่องวินโดวส์แบบธรรมดาทั่วไป ใช้ BIOS MBR ควบคุมการทำงานด้วย dialog menu เป็น Text-based แบบที่ 1 ดาวน์โหลด .ISO มาเขียนลง USB Drive เพื่อใช้เป็นตัวติดตั้งที่ทำขั้นตอนติดตั้ง Ubuntu Server พร้อมโปรแกรม ขั้นตอน ดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ Rufus ดาวน์โหลด .ISO ชื่อ psu12-sritrang-server-latest.iso รันโปรแกรม Rufus เพื่อเขียน .ISO ลง USB Drive นำ USB Drive ไปบูตที่เครื่อง Server ทำตามคำแนะนำโปรแกรมในขณะติดตั้งอ่านเพิ่มเติม แบบที่ 2 มีอยู่แล้วหรือต้องการติดตั้ง Ubuntu Server เอง ดาวน์โหลด shell scripts เพื่อติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ขั้นตอน login และ เข้าทำงานด้วยสิทธิ rootsudo su – ดาวน์โหลด shell scriptwget ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/psu12-sritrang_setup.sh เริ่มขั้นตอนติดตั้งด้วยคำสั่งbash psu12-sritrang_setup.shอ่านเพิ่มเติม PSU12-Fog Server ชุดที่สองนี้ ผมได้นำ FogProject มาใส่ใน Ubuntu Server และ ตั้งชื่อว่า PSU12-Fog Server เหมาะสำหรับโคลนนิ่งเครื่องวินโดวส์ได้ทุกแบบ ทั้งแบบ BIOS MBR, BIOS GPT และ UEFI GPT ควบคุมการทำงานทางหน้าเว็บเพจของ FogProject แบบที่ 1 ดาวน์โหลด .ISO มาเขียนลง USB Drive เพื่อใช้เป็นตัวติดตั้งที่ทำขั้นตอนติดตั้ง Ubuntu Server พร้อมโปรแกรม ขั้นตอน ดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ Rufus ดาวน์โหลด .ISO ชื่อ psu12-fog-server-latest.iso รันโปรแกรม Rufus เพื่อเขียน .ISO ลง USB Drive นำ USB Drive ไปบูตที่เครื่อง Server ทำตามคำแนะนำโปรแกรมในขณะติดตั้งอ่านเพิ่มเติม แบบที่ 2 มีอยู่แล้วหรือต้องการติดตั้ง Ubuntu Server เอง ดาวน์โหลด shell scripts เพื่อติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ขั้นตอน login และ เข้าทำงานด้วยสิทธิ rootsudo su – ดาวน์โหลด shell scriptwget ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/psu12-fog_setup.sh เริ่มขั้นตอนติดตั้งด้วยคำสั่งbash psu12-fog_setup.shอ่านเพิ่มเติม References: FOG Project A free open-source network computer cloning and management solution (https://fogproject.org/) Rufus Create bootable USB drives the easy way (https://rufus.ie/)

Read More »