How to: PSU OpenVPN Ubuntu 14.04/15.04/15.10/Linux Mint 17/17.1/17.2

ติดตั้ง net-workmanager-openvpn คลิก Ubuntu Button แล้วพิมพ์ netw เลือก Network Connections ได้ดังภาพ คลิก Add ได้ดังภาพ เลือก OpenVPN แล้วคลิก Create… กรอกการตั้งค่าต่างๆ ดังภาพ โดยสามารถโหลด PSUCAcert.cer ได้จาก http://netserv.cc.psu.ac.th/documents/doc_download/269-vpnpackageforallwin7 http://ftp.psu.ac.th/pub/openvpn/openvpncer.zip โหลดมาแล้วให้คลายซิบแล้วแยกเอาไฟล์ PSUCAcert.cer ออกมา กรอก User name และ Password ของตัวเอง คลิก Advanced เลือกดัังภาพ กด OK ออกมาแล้วคลิกที่ IPv4 Settings ตั้งค่าตามภาพ คลิก IPv6 Settings ตั้งค่าตามภาพ กลับมาแท็บ VPN คลิก Save… ได้ดังภาพ คลิก Close เหลือบมองมุมขวาบนจะมีรูปภาพ หรือ ให้คลิกที่รูปนี้แล้วเลือก VPN Connection -> PSU รอจนมีข้อความดังภาพปรากฎที่มุมบนขวา เป็นอันเสร็จ สำหรับ Linux Mint 17 ติดตั้ง network-manager-openvpn-gnome แทน นอกนั้นเหมือนกัน เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถคลายแฟ้ม vpn_package_for_all_xp-vista-7.exe ได้ต้องติดตั้งโปแกรมเหล่านี้เพิ่มเติม p7zip-rar, p7zip-full, unace, unrar, zip, unzip, sharutils, rar, uudeview mpack, arj, cabextract, file-roller โดยพิมพ์คำสั่ง sudo apt-get install p7zip-rar p7zip-full unace unrar zip unzip sharutils rar uudeview mpack arj cabextract file-roller จบจริงๆ … ขอให้สนุกครับ

Read More »

วิธีการตั้งค่า CNAME และ TXT เพื่อ Verification กับ Google Site

Google Site เป็บบริการหนึ่งของ Google ซึ่งให้เราสร้างเว็บไซต์ได้อย่างง่ายๆ เหมาะสำหรับการงานที่ต้องการความรวดเร็วในการสร้าง และสามารถประสานกับเครื่องมือต่างๆของ Google ได้มากมาย เช่น จะสร้างแบบฟอร์มรับสมัครเข้าร่วมโครงการ, ทำรายงานผู้ที่ชำระเงินแล้ว, ผนวกกับ Google Map เพื่อแสดงตำแหน่งที่จัดงาน และสถานที่ท่องเที่ยว หรือ อื่นๆอีกมากมาย (วิธีการสร้าง จะกล่าวในบทความต่อๆไป)  ในบทความนี้ เป็นการสร้าง เว็บไซต์ของงาน ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างแห่งประเทศ (ปขมท) ๒๕๕๗ และเน้นที่ การเชื่อม Domain Name ของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ Bind DNS เข้ากับ Google Site โดย Google Site ที่แสดงในตัวอย่าง สร้างที่ https://sites.google.com/site/cuast57/ ซึ่ง ชื่อจะจำได้ยาก จึงขอใช้ Domain Name สั้นๆชื่อ cuast57.psu.ac.th วิธีการมีดังนี้ 1. ไปที่ Setting > Manage Site 2. คลิกที่ Web Address แล้วใส่ cuast57.psu.ac.th จากนั้นคลิกปุ่ม Add 3. จะขึ้น error ด้านบน “You have not verfified domain ownership with Google. please follow these instructions” ให้คลิกที่ “these instructions”  4. เลื่อนลงไปล่าสุดของหน้าจอ คลิกที่ “Webmaster Tools home page” (สมมุติว่าท่านเคยใช้งาน Google Webmaster Tools อยู่แล้ว) 5. คลิกที่ Add A Site ให้ใส่ Domain Name ที่ต้องการ ในที่นี้คือ cuast57.psu.ac.th แล้วคลิก Continue 6. คลิกที่ Alternate Methods > Domain name provider แล้วเลือก อันล่างสุด คือ other เพราะ Google Site ไม่เปิดให้เรา Upload File ขึ้นไป, ไม่สามารถแก้ไข Header หรืออะไรทำนองนั้นได้ จึงต้องใช้วิธีการนี้ ซึ่งจะต้องอธิบายตรงนี้เพื่อความเข้าใจ  ในการที่เราคุม Domain Name แต่ใช้ Google Site นั้น สิ่งที่ต้องทำคือ สร้าง CNAME ไปยัง Google Site และ ทำการ Verification 6.1 สร้าง CNAME ไปยัง ghs.googlehosted.com. เพื่อบอกว่า cuast57.psu.ac.th จะใช้บริการของ Google Site 6.2 ต้องทำการ Verification โดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1) ถ้าเราได้ Delegate Zone มา ก็จะสามารถใส่ TXT Record ลงไปได้ โดยใช้ค่าดังภาพ  2) แต่ถ้าเราไม่ได้ Delegate Zone ก็จะต้องสร้าง CNAME ให้คลิกที่ “Add a CNAME record” ดังภาพ ให้เลือกวิธีการเอา แต่ในตัวอย่างนี้ เลือกวิธีการ 2) เพราะไม่ Delegate Zone มา และไปทำข้อ 7. ก่อน แล้วจึงกลับมาคลิกปุ่ม Verify

Read More »

Shorewall Blacklist

ใช้ได้กับ Shorewall 4.4.12 ขึ้นมา แก้แฟ้ม /etc/shorewall/interfaces โดยเพิ่มความว่า blacklist ต่อท้ายของเดิม เป็น net eth0 detect tcpflags,logmartians,nosmurfs,blacklist เพิ่มลิสต์ที่ต้องการบล็อคลงไปในแฟ้ม /etc/shorewall/blacklist ตัวอย่างค้นหาเครื่องที่ต้องการบล็อคการเข้าถึงพอร์ต 80 และ 443 grep -R phpmyadmin/scripts/setup.php /var/log/apache2|cut -d: -f2|awk ‘{ print $1 }’|sort -t’.’ -n -k1,1 -k2,2 -k3,3 -k4,4|uniq จากตัวอย่างในเครื่องเราไม่มี phpmyadmin แต่มีคนพยายามเข้าถึงตัวติดตั้ง phpmyadmin ฉะนั้นบล็อค IP พวกนี้ไว้ก่อน (บล็อคถาวรกรั่กๆ…) เอา IP จากข้อที่แล้วมาใส่ในแฟ้ม /etc/shorewall/blacklist รูปแบบ #ADDRESS/SUBNET PROTOCOL PORT เช่น 93.115.210.90 tcp 80,443 93.174.93.153 tcp 80,443 94.23.58.185 tcp 80,443 94.102.51.155 tcp 80,443 103.247.21.60 tcp 80,443 107.6.88.155 tcp 80,443 109.163.232.218 tcp 80,443 110.170.34.220 tcp 80,443 111.90.168.5 tcp 80,443 115.84.101.78 tcp 80,443 115.238.101.45 tcp 80,443 115.239.253.11 tcp 80,443 116.93.105.112 tcp 80,443 117.35.96.146 tcp 80,443 118.140.120.26 tcp 80,443 119.52.254.20 tcp 80,443 119.57.51.154 tcp 80,443 122.49.0.220 tcp 80,443 123.125.148.79 tcp 80,443 125.210.204.242 tcp 80,443 restart shorewall sudo shorewall restart IP ที่ถูกแบล็คลิสต์ อาจหายไปจากสารบบ ทำให้ shorewall start ไม่ขึ้น ต้องลบไอพีดังกล่าวออกไปก่อนจึงจะ start ได้ Compiling /etc/shorewall/blacklist… ERROR: Unknown Host (93.x4.93.153) : /etc/shorewall/blacklist (line 23) จบ… ขอให้สนุกครับ ที่มา http://shorewall.net/manpages/shorewall-blacklist.html คีย์เวิร์ดสำหรับแบน /CFIDE/administrator/enter.cfm /MyAdmin/scripts/setup.php /myadmin/scripts/setup.php /phpMyAdmin/scripts/setup.php /pma/scripts/setup.php /w00tw00t.at.blackhats.romanian.anti-sec:) เป็นต้น

Read More »

การเพิ่ม Wireless Profile PSU WiFi (802.1x) บน Windows 8/8.1

“บทความนี้ไม่ใช่บนความใหม่ แค่เป็นวิธีลงบน Windows 8/8.1 เท่านั้นนะครับ ใครชำนาญแล้วให้ข้ามไปได้เลยครับ” ทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 1. เปิดหน้า Network and Sharing Center เลือก Set up a new connection or network 2. เลือก Manually connection to a wireless network 3. ให้ตั้งค่าดังรูป *ขอแนะนำให้ใส่ชื่อ Network name ตัวเล็กตัวใหญ่แป๊ะ ๆ นะครับ มีวรรค 1 วรรคหน้า ( ด้วยนะครับ 4. หลังจากนั้นให้เลือก Change connection settings *ถ้ามันบอกว่ามีอยู่แล้วให้ลบ profile ทิ้ง วิธีลบด้วย command line อ่านบทความได้ที่นี่ครับ (http://sysadmin.psu.ac.th/2013/12/10/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-wireless-profile-%E0%B8%9A%E0%B8%99-windows-88-1-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-command-line/) 5. เลือก Tab Security จากนั้นเลือกหัวข้อ Settings 6. ให้ ติก Verify the server…. ออก จากนั้นกด OK 7. จากนั้นเลือก Advance Settings ต่อ 8. ให้ติกในส่วนของ Specify authentication mode : และเลือกให้ authen แบบ User authentication ในกรณีที่เป็นเครื่องส่วนตัวสามารถเลือก Save credentials (Save Username Password) จะได้ไม่ต้องกรอกทุกครั้งที่ต่อครับ  * ในการ Save credentials ในกรณีเปลี่ยนรหัสผ่านต้องมาเปลี่ยนที่นี่ด้วยครับไม่งั้น Windows จะ authen ผิดถี่จนระบบ PSU Passport ทำการ lock account ของท่านครับ (ระบบจะปลด lock อัตโนมัติหลังจากหยุด login จากทุกระบบ 20-30 นาทีโดยประมาณ) 9. หน้าจอสำหรับ Save credentials 10. เป็นอันเสร็จ ปิดหน้าต่างที่เปิดไว้ให้หมดครับ แล้วลองกลับไปเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งก็จะขึ้นหน้าให้ Login ดังรูปครับ ถ้าหน้าตาต่างจากนี้แสดงว่า Set ผิดครับ

Read More »

การจัดการ Wireless Profile บน Windows 8/8.1 ผ่าน Command line

“บางท่านอาจประสบปัญหาลบ Wireless Profile บน Windows 8/8.1 ไม่ได้ไม่รู้จะทำอย่างไร” ผมจึงเสนออีก 1 วิธี คือการลบผ่าน Command Line ดังนี้ 1. เปิดโปรแกรม CMD ขึ้นมาตามปกติ 2. ในกรณีที่ต้องการดูว่าตอนนี้มี Profile อะไรบ้างให้สั่งคำสั่ง netsh wlan show profile * หมายเหตุ : สำหรับคนที่ผูก account ไว้กับ Microsoft ทาง Microsoft จะมีการจำ Profile ไว้บน Cloud ให้เวลาท่านลงเครื่องใหม่ หรือนำ account ไปใช้กับเครื่องอื่น ถ้าเข้า SSID ไหนที่ต้องใส่รหัสผ่าน สามารถเข้าได้เลยโดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน (งงอยู่หลายครั้งว่าทำไมไม่ขึ้นให้ใส่รหัสผ่าน) ก็ไม่ต้องแปลกใจ แต่ในส่วนของ 802.1x ยังไงก็ต้องตั้งใหม่อยู่ดีครับ (มันไม่ได้จำทุก ๆ SSID นะครับ ไม่รู้มันเลือกยังไง) 3. ทำการสั่งคำสั่งลบ Profile นั้น ๆ ดังนี้ netsh wlan delete profile “xxxx” เท่านี้ก็สามารถเพิ่มข้อมูล Profile ใหม่ได้แล้วครับ *แถม : สำหรับคนที่ต่อติดแล้แต่อยากกลับไปแก้ Wireless Profile ที่ตั้งค่าไว้ให้เข้าไปแก้ได้ตามรูปครับ 1. เปิด Wifi Status ผ่านหน้า Network and Sharing Center 2. คลิกเลือก Wireless Properties จากนั้นจะปรากฎหน้าการตั้งค่า Profile จะแก้อะไรก็แก้ได้เลยครับ

Read More »