Category: Manual

คู่มือการติดตั้ง, คู่มือการใช้งาน

  • วิธียกเลิก “Keep a local copy as well” บน PSU Webmail

    จากที่เริ่มมีการใช้งาน PSU GSuite (Google Apps for Education – GAFE เดิม) ซึ่งมีเอกสารแนะนำวิธีการใช้งานคือ

    http://gafe.psu.ac.th/support/1/1

    ในช่วงแรก เกรงผู้ใช้จะไม่คุ้นชินกับ Gmail (หึมมมม) ก็เลยแนะนำให้ทำ “Keep a local copy as well” ไว้ด้วย เผื่อว่า ยังสับสน ก็จะได้ดูบน PSU Webmail เดิมได้

    แต่ต่อมา ก็อาจจะลืมไปว่า Redirect ไปแล้ว ก็ยังมีเก็บไว้ในพื้นที่ PSU Webmail อยู่ ไม่ได้เข้ามาลบอีกเลย นานเข้าก็ทำให้พื้นที่เต็ม

    ต่อไปนี้ เป็น วิธียกเลิก “Keep a local copy as well” บน PSU Webmail

    1. Login เข้า PSU Webmail ที่ https://webmail.psu.ac.th
    2. ลบ Email จนได้พื้นที่เป็นสีเขียว
      จาก

      เป็น
    3. คลิก Filters
    4. คลิก Edit ในบรรทัดที่เป็นของ @g.psu.ac.th
    5. คลิก Keep a local copy as well ออก
      จาก

      เป็น
    6. เลื่อนไปล่างสุดของหน้าจอ คลิกปุ่ม Apply Change
    7. เสร็จ จบ
  • รู้หรือไม่ : บริการโทรศัพท์ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เกี่ยวกับ บริการโทรศัพท์ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผื่อท่านใดไม่ทราบ
    (เป็นการสรุปจาก “คู่มือการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐาน”  http://telecom.cc.psu.ac.th/telephone/fn.pdf )
    — ที่สรุปไว้นี่เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และเป็นเฉพาะที่ใช้บ่อยทำนั้น —

    1. ติดต่อ Operator : กด 9
    2. โทรซ้ำเบอร์ที่เพิ่มโทรไป : กด *70
    3. รับสายแทนอีกเครื่องนึงที่ดัง : กด *72 ตามด้วยหมายเลขที่ดัง
    4. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ ทันที : กด *60 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    5. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ กรณีสายไม่ว่าง : กด *61 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    6. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ กรณีไม่มีคนรับสาย : กด *62 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    7. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ กรณีทั้ง สายไม่ว่าง และ ไม่มีคนรับสาย : กด *63 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    8. ยกเลิกการฝากสาย: กด *64
    9. โทรกลับเบอร์ที่โทรเข้ามาล่าสุด: กด *68
  • คู่มือเทคนิคการใช้งาน Function พื้นฐานใน Itextsharp สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1

    หลังจากที่ผู้เขียนได้ทดลองใช้งาน Itextsharp มาเป็นระยะเวลานึง ในระหว่างที่ได้ทำการใช้งานนั้น ก็เกิดปัญหาต่างๆจากการใช้งานมากมาย ซึงมาจากความไม่รู้ของผู้เขียนเอง เลยได้ทำการรวบรวมข้อมูลวิธีใช้งานเบื้องต้น ให้กับผู้ที่สนใจใช้งาน Itextshap ได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วมีพี่ท่านนึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วบ้างส่วน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้จาก Link นี้ครับ สร้างเอกสาร PDF ด้วย iTextSharp ส่วนในบทความนี้จะทำการขยายรายละเอียดลงไปในแต่ละ Function ครับ โดย Function ที่จะพูดถึงในบทความนี้มีดังต่อไปนี้

    1. BaseFont และ Font คืออะไร

    ถ้าจะให้พูดถึง Function Basefont ให้เข้าใจง่ายๆแล้วละก็ หน้าที่ของมันคือเป็นการประกาศให้ตัว Itextsharp ทราบว่าเราต้องการใช้ Font อะไรในการทำงานบ้าง สามารถเทียบได้กับช่องเลือก Font ในโปรแกรม Office นั้นแหละครับ และ Function Font จะสร้างรูปแบบของ Font ได้ตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนา เอียง ขีดเส้นใต้ ขีดเส้นทับ เป็นค่าเริ่มต้นไว้ แล้วหลังจากนั้นเราก็สามารถนำไปใช้งานได้ตลอดการสร้างเอกสาร โดยอ้างอิง Font ที่ใช้งานมาจาก BaseFont อีกทีนึง

    ตอนนี้ก็มาดูรูปแบบการสร้าง BaseFont และทำ Font ต้นแบบเป็นตัวหนานะครับโดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

    • กรณีที่เรามีชุดของ Font มาแล้วนะครับ(คือแยกตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้น)
    BaseFont bf_bold = BaseFont.CreateFont(@"C:\WINDOWS\Fonts\THSarabunNewBold.TTF", BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true);
    
    Font fnt = new Font(bf, 12);
    
    
    • กรณีที่เรามี Font แค่รูปแบบเดียว
    BaseFont bf = BaseFont.CreateFont(@"C:\WINDOWS\Fonts\THSarabun.TTF", BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true);
    
    Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD);

    จากตัวอย่างทั้ง 2 แบบ เราจะมี Font ที่มีรูปแบบของตัวหนาในชื่อของตัวแปร fnt ไว้ใช้งานได้เหมือนกันครับ โดยจะมีความแตกต่างกันคือ แบบที่ 1 นั้น จะเป็นการนำเอารูปแบบของ Font ที่ได้อ้างอิงเอาไว้มาแสดงผลบนเอกสารโดยตรง ต่างจากแบบที่ 2 จะเป็นการนำเอา Font ที่ได้ประกาศเอาไว้แบบตัวอักษรปกติมาแปลงผ่านตัว Itextsharp ให้กลายเป็นตัวหนา อีกทีโดยผ่านทาง property Font.BOLD ครับ แล้วหลายๆท่านคงสงสัยว่าทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ในแบบที่ 1 การแสดงผลของ font จะถูกต้อง สวยงามตามต้นฉบับ font ที่เราได้ทำการอ้างอิงไว้ครับ แต่ข้อเสียคือ ถ้าเราต้องการสร้าง Font ต้นแบบไว้ในหลายลักษณะ เราก็ต้องอ้างอิงตัวรูปแบบ Font ที่เราต้องการทั้งหมดไปด้วย ส่วนแบบที่ 2 นั้น เราสามารถใช้ Font อ้างอิงเพียงอันเดียว แล้วสร้างรูปแบบ Font ตามที่เราต้องการได้ไม่จำกัด แต่การแสดงผลอาจไม่สวยงามเท่ากับแบบที่ 1

    แล้วถ้าเราต้องการที่จะใส่สีให้กับ font ของเราละ จะสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ครับ โดยใน Function Font นั้น ถูกออกแบบมาให้เราสามารถทำรูปแบบของ font ได้หลากหลายรูปแบบครับ มาดูตัวอย่างกัน

    BaseFont bf = BaseFont.CreateFont(@"C:\WINDOWS\Fonts\THSarabun.TTF", BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true);
    Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD,BaseColor.red);
    Font fnt = new Font(bf, 16,Font.Italic,BaseColor.green);
    Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD | Font.Italic);
    Font fnt = new Font(bf, 12 Font.BOLD | Font.Underline, BaseColor.blue)

    จากตัวอย่างที่ยกให้ดูในข้างต้นนั้น เมื่อนำไปใช้จะได้ผลลัพท์ดังต่อไปนี้

    ตัวอย่างที่ 1  AAA

    ตัวอย่างที่ 2  AAA

    ตัวอย่างที่ 3  AAA

    ตัวอย่างที่ 4  AAA

    จากตัวอย่างทั้ง 4 แบบนั้น ผมได้นำวิธีการทำแบบที่ 2 มาใช้คือการอ้างอิง font จากรูปแบบเดียว แล้วมาแปลงรูปแบบจาก Function Font อีกรอบ ตามที่เราต้องการครับ ดูแล้วไม่ยากเลยใช่ไหมครับ

    ตอนนี้ก็มาถึงข้อสรุปการใช้งาน Function BaseFont และ Font คือ

    • สร้าง Basefont ขึ้นมาโดยอ้างอิงไปยัง Font หรือ ชุดรูปแบบ Font ที่เราต้องการใช้งาน
    • สร้าง Font ตามรูปแบบที่เราต้องการ โดยอ้างอิงจาก Basefont
    • รูปแบบที่สามารถกำหนดได้มี ขนาดของFont รูปแบบของ Font(สามารถผสมได้) และสีของ Font

    2. Function สำหรับสร้างเอกสารและ export ออกไปเป็น PDF

    ส่วนต่อมาที่ผู้เขียนจะพูดถึงนั้น เป็นส่วนค่อนข้างสำคัญมากเลยทีเดียว ถ้าเราไม่ทำการเรียกใช้งาน เราก็ไม่สามารถที่จะสร้างเอกสารได้เลยครับ ซึ่ง Function ที่จะพูดถึงหลักๆคือ Document และ Function สำหรับสร้างไฟล์(ขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้งาน) โดยเจา Function Document ทำหน้าที่เหมือนดังตัวเอกสารหรือกระดาษนั้นเอง เหมือนเราใช้งานคำสั่งนี้ เราก็จะได้หน้ากระดาษปล่าวๆพร้อมใช้งานแล้ว โดยเราสามารถกำหนดค่าต่างๆของกระดาษได้ตามที่เราต้องการ มาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่าครับ

    Document pdfDoc = new Document(PageSize.A4, 30, 30, 20, 20);

    จากตัวอย่าง จะเห็นว่าเราทำการสร้างเอกสารขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า pdfDoc เป็นเอกสารขนาด A4 โดยมีการกั้นขอบกระดาษไว้ ด้านซ้าย 30 ด้านบน 30 ด้านขวา 20 และด้านล่าง 20  แล้วค่าตัวเลขนี้มาจากไหน เราจะรู้ได้ยังไงว่าโปรแกรมจะเว้นที่ว่างบนกระดาษเท่าไร ผมมีคำตอบครับ จากการค้นหามามีการกำหนดเป็นมาตรฐานของกระดาษ โดยสามารถอ้างอิงได้ตามนี้ครับ 1 in = 2.54 cm = 72 points. ซึงตัวเลข 30,30,20,20 ก็คือค่า point นั้นเอง จากตัวอย่าง 30 point เท่ากับ 0.4 นิ้ว หรือประมาณ 1 เซนติเมตรนั้นเอง แล้วถ้าเราต้องการเปลี่ยนขนาดกระดาษละ จะต้องทำอย่างไร เราสามารถเปลี่ยนขนาดของกระดาษได้จาก Property PageSize นั้นเอง ซึ่งมีรูปแบบกระดาษให้เลือกมากมายไม่ว่าจะ ซองจดหมาย A4 A3 A2 เป็นต้น ซึ่งการเลือกขนาดของกระดาษก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่เราต้องการจะแสดงว่าต้องการขนาดเท่าไร แล้วเราสามารถตั้งค่ากระดาษเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนได้ไหม สามารถทำได้เช่นกันครับ ตามตัวอย่างนี้เลย

    Document pdfDoc = new Document(PageSize.A4.Rotate(), 20, 15, 10, 10);

    จากตัวอย่างเราสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ property PageSize และกำหนดให้ทำการพลิกกระดาษ โดยคำสั่ง Rotate() ต่อท้ายขนาดกระดาษที่เราได้เลือกเอาไว้ ต่อมาเมื่อเราทำการตั้งค่ากระดาษเรียบร้อยแล้ว เราต้องทำการเปิดตัวเอกสารของเรา ให้สามารถบันทึกข้อมูลตามที่เราต้องการลงไปได้ ด้วยคำสั่ง Open() และทำการปิดเอกสารเมื่อทำการบันทึกข้อมูลเสร้จเรียบร้อย ด้วยคำสั่ง Close() มาดูตัวอย่างกัน

    Document pdfDoc = new Document(PageSize.A4, 30, 30, 20, 20);
    pdfDoc.Open();
    ...
    pdfDoc.Close();

    นี้ก็ถือว่าจบส่วนของการสร้างเอกสารและตั้งค่ากระดาษแล้วครับ ส่วนต่อมาเป็นส่วนการเขียนเอกสารจริงผ่าน Function ของภาษาที่เราใช้งานกัน โดยตัวอย่างของผู้เขียนนั้นใช้งานภาษา C# บน .Netframework ไปดูตัวอย่างการเขียนได้เลยครับ

    Document pdfDoc = new Document(PageSize.A4.Rotate(), 20, 15, 10, 10);
    PdfWriter.GetInstance(pdfDoc, System.Web.HttpContext.Current.Response.OutputStream);
    pdfDoc.Open();
    ...
    pdfDoc.Close();
    HttpContext.Current.Response.ContentType = "application/pdf";
    HttpContext.Current.Response.AddHeader("content-disposition", "attachment; filename=StatSummary_" + DateTime.Now.ToString("yyyyMMdd") + ".pdf");
    System.Web.HttpContext.Current.Response.Write(pdfDoc);
    

    จากตัวอย่าง ผู้เขียนได้ทำการระบุว่าเอกสารที่เราสร้างนั้นกำหนด ContentType เป็น application/pdf เพื่อ Response เป็น Pdf ในบรรทัดที่ 6 และทำการตั้งชื่อเอกสาร ในบรรทัดที่ 7 สุดท้ายก็ทำการสร้างเอกสารและบันทึกไว้บนเครื่อง ในบรรทัดที่ 8 ก็ถือว่าจบในส่วนของการสร้างเอกสารแล้วครับผม


    ในส่วนของบทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงไว้แค่ 2 หัวข้อก่อนแล้วกันครับ ส่วนหัวข้อต่อๆไปจะมาเขียนต่อในบทความถัดไป โดยเนื้อหาส่วนไหนผิด ใช้คำไม่สุภาพไม่ถูกต้อง ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

  • ทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวง่ายนิดเดียว

    ทดสอบเว็บผ่าน Browser
    หลังจากที่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างเว็บขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือทดสอบเว็บของเราว่าสามารถที่จะแสดงผลผ่าน Browser ได้ดีหรือไม่ และแสดงผลได้ดีกับทุก Browser หรือไม่ เช่น Google Chrome , Firefox หรือจะเป็น Internet Explorer ซึ่ง Browser แต่ละตัวนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชันมาก และที่เราต้องพยายามทดสอบให้ได้มากที่สุดก็เพราะว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าลูกค้าหรือผู้ใช้เว็บของเรานั้นจะใช้เครื่องมือ หรือ Browser ตัวไหนเป็นหลัง ดังนั้นการทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ

    ทำอย่างไรให้การทดสอบผ่าน Browser ทุกตัวเป็นเรื่องง่าย

    สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเครื่องมือช่วยทดสอบการแสดงผลเว็บผ่าน Browser ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เพื่อให้เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องลงๆ ถอนๆ Browser ในเครื่องจนอาจจะปวดหัวเอาได้

    หลักๆ จากที่ศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมี Cloud Browser เปิดให้บริการมากมาย เช่น Saucelab, BrowserStack, Browserling, Ghostlab หรือ CrossBrowserTesting เป็นต้น

    สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอหน้าตาของ BrowserStack กันก่อนละกัน

    • เราจะต้องสมัครสมาชิกกันก่อน โดยจะมีแบบ Free trial ให้เราทดลองใช้งาน สมัครเสร็จแล้วก็ Login เข้าไปทดลองใช้งานกันได้เลย

     

    • หลังจากสมัครสมาชิกทดลองใช้ฟรีกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาของเจ้า BrowserStack แบบนี้

     

    • เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะทดสอบเว็บกับระบบปฏิบัติการไน และ Browser อะไร

     

    • ตัวอย่างเช่นเลือก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Mavericks และ Browser Safari 7.1 ก็จะได้ตัวอย่างหน้าจอ
      แบบด้านล่าง

     

     

     

    • ในหน้าจอที่เรากำลังทดสอบก็จะมี Tool เล็กๆ ให้เราสามารถจัดการหน้าจอได้ เช่นสามารถ Switch เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Browser อื่นๆ สามารถปรับ Resolutions
      ของหน้าจอได้ สามารถ Create a bug สามารถสร้าง Issue Tracker สามารถตั้งค่าอื่นๆ
      หรือตรวจสอบ Features ของตัว BrowserStack ได้ เป็นต้น

     

     

     

     

    สุดท้ายแล้วสำหรับเพื่อนๆ หรือใครที่มีปัญหายุ่งยากในการทดสอบเว็บให้ครบทุก Browser ก็สามารถลองเอาเจ้าตัว BrowserStack ไปใช้งานกันดู เผื่อบางทีอาจจะช่วยระยะเวลา หรือปัญหาต่างๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ^ ^

    แหล่งความรู้อ้างอิง
    – http://soraya.in.th/2013/04/08/browserstack-ie/
    – https://medium.com/tag/browserstack
    – https://chittakorn.com/do-you-know/browser-testing/
    – http://www.designil.com/free-internet-explorer-mac.html

  • Infographic เล่าเรื่องด้วยภาพ

    ปัจจุบันเราทุกคนจะต้องมีการรับ/ส่งข้อมูลอะไรระหว่างกันอยู่เสมอ และสิ่งนึงที่เรามักจะคิดตรงกันคือเราจะสื่อสารกันอย่างไรให้อีกฝ่ายเข้าใจได้รวดเร็ว และง่ายที่สุด

    “อินโฟกราฟิก” เป็นอีก 1 คำตอบ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

     

    อินโฟกราฟิกคืออะไร ?

    คือการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อสารกับผู้คนด้วยสิ่งที่จับต้องได้ การที่จะอ่านบทความที่มีความยาวหลายๆหน้า กราฟ

    หรือข้อมูลมหาศาลคงต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญบางคนอาจจะไม่สนใจข้อมูลเหล่านั้นเลยก็เป็นได้ เพราะการตีความของคนที่อ่านแต่ละคนไม่เหมือนกัน

     

    ทักษะที่จำเป็นในการทำ อินโฟกราฟิก

    ทักษะพื้นฐาน 3 อย่างคือ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการเรียบเรียบ และทักษะดีไซน์

     

    หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก แบ่งเป็น 2 ส่วน

    1. ด้านข้อมูล

    ข้อมูลที่จะนำเสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราว เปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง

    1. ด้านการออกแบบ

    การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำงานและความสวยงาม โดยออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง

     

    การทำอินโฟกราฟิกโดยใช้ Web Tool

    Web Tool คือ เว็บที่ให้บริการทำอินโฟกราฟิกออนไลน์ เช่น piktochart หรือ easel.ly เราสามารถเลือก Template แล้วปรับแต่งได้ตามใจชอบ

    โดยจะขอยกตัวอย่างการทำอินโฟกราฟิกโดยการใช้ piktochart

     

    วิธีการสมัครใช้งาน

     

    • กรอกข้อมูล หรือเลือก Sign In ผ่าน Gmail/Facebook เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังรูป

     

     

     

     

     

     

     

    • เริ่มต้นสร้าง โดยคลิกเลือก “Start Creating” จากนั้นเข้าสู่หน้าสร้างงานผ่าน piktochart

    • เลือก Template รูปแบบที่ต้องการ เช่น infographic presentation หรือ printable โดยในแต่ละรูปแบบจะมี Free template ให้เลือกใช้งาน
      ตัวอย่าง Free Template Infographic

    • Tool ต่างๆ ของหน้าเว็บที่มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน
    Menu Graphics

    • Shapes & Line ใช้วาดรูปหรือเส้น
    • Icon มีไอคอนให้เลือกใช้
    • Photo มีรูปภาพให้เลือกใช้
    • Photo Frame มีกรอบรูปให้เลือกใช้
    Uploads

    • โปรแกรมมีรูปให้เลือกใช้
    • หรือสามารถอัพโหลดรูปจากภายนอกเข้ามาใช้งานได้
    Background

    • มีรูปพื้นหลังให้เลือกใช้งานในการตกแต่ง
    • สามารถปรับความเข้มได้ที่ Opacity
    Text

    • สามารถเลือกรูปแบบตัวอักษร
    • สามารถเลือกปรับแต่ง Style กรอบรูปหรืออื่นๆ ได้ตามด้านล่าง
    Tools

    • สามารถเลือกรูปแบบ Charts ทำกราฟได้
    • เลือก Maps ทำแผนที่ได้
    • หรือสามารถแทรก link videos ได้
    • Saved          บันทึก
    • Preview       ดูผลลัพธ์
    • Download    แปลงไฟล์เป็น JPEG หรือ PNG
    • Share          เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ

     

    แหล่งความรู้อ้างอิง

  • Information graphics การใช้ภาพหรือแผ่นภูมิแทนข้อมูลที่จะนำเสนอ

    Information graphics หรือ Infographics เป็นการนำเสนอข้อมูล หรือความรู้ต่างๆโดยการสื่อสารด้วยภาพกราฟิก ซึ่งจะทำให้ผู้รับสื่อเข้าใจและมีความชัดเจนมากขึ้น    ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์ ภาพกราฟิกต่างๆจะดึงดูดความสนใจและความจำได้ดีกว่าข้อความยาวๆหรือต้องอ่านข้อมูล ที่เห็นได้จัดเจนคือ การอ่านข้อความบอกเส้นทางกันการอ่านแผนที่จะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และแน่นอนยุคสมัยของโลก Social อย่าง Facebook Twitter และInstagram ถ้าใครโพสข้อความยาวๆเราก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไรแต่เมื่อโพสภาพสวยๆเมื่อไรจะดึงความสนใจเราได้เยอะมาก

    มาดูการใช้งาน Infographics เพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

    • ข้อมูลสำคัญทีต้องการให้เป็นจุดสนใจเพียงข้อมูลเดียว
      ควรจะใช้ฟอนต์ที่ใหญ่หรือแปลกตากว่าฟอนต์ทั่วไปหรือมีการเน้นด้วยพื้นหลังที่แตกต่าง ร่วมถึงสามารถใช้ Pictographs หรือ Icon Charts แสดงร้อยละของสิ่งที่สนใจ
      ตัวอย่าง
    1 2
    • ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบ
                        เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่สนใจ โดยมากจะใช้ Bar Chart หรือ Column Chart
      ตัวอย่าง

      top10Social
      ที่มาของภาพ
    • ข้อมูลแบบต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กัน   โดยมากจะแสดงข้อมูลนี้ด้วย Line Chart
      lineCart
    • ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ดูความเป็นไปของข้อมูลที่สนใจ เช่น ความถี่ของผลการประเมิน TOR โดยแยกตามช่วงอายุการทำงานของบุคลากร หรือความสูงของนักเรียนแยกตามช่วงอายุและแยกระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็นต้น
      hChart
    • ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรหรือช่วงเวลา (Trends over Time) สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น Column Chart และเน้นส่วนสนใจ เช่นแสดงร้อยละ หรือใช้รูปแทนข้อมูลช่วงเวลาต่างๆ
      macTimeLine
      ที่มาของภาพ
    • ข้อมูลการกระจายของสิ่งที่สนใจ จะแสดงด้วย bubble chart เช่นความสัมพันธ์ระหว่างความจุปอดกับความสามารถในการกลั่นหายใจของคนแล้วเอาข้อมูลความสัมพันธ์ของแต่ละคนไป วาดกราฟเพื่อดูความสัมพันธ์
      bubbleChart
      ที่มาของภาพ
  • สร้าง Shortcut ในการ Remote Desktop Connection

    ในการพัฒนาระบบงานหลาย ๆ ระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็ต้องมี Server ถ้าระบบมีปัญหาสิ่งแรก ๆ ที่ต้องเข้าไปดูปัญหานั่นคือการ Remote ไปยัง Server นั้น ๆ เช่นดู Process Task ต่าง ๆ มีอะไรรันอยู่ มีอะไรทำงานอยู่จึงทำให้ระบบช้า หรือทำให้ระบบมีปัญหาเป็นต้น เมื่อมีหลาย Server ครั้นจะมาจดจำ IP เครื่องที่จะ Remote ไป หรือบางเครื่องที่นาน ๆ จะเกิดปัญหาที ทางออกของปัญหามีค่ะ แค่เพียงสร้างเป็น Shortcut ในการ Remote Desktop Connection นั่นเอง มีขั้นตอนดังนี้

    1. ที่หน้าจอ Desktop คลิกขวา New
    2. เลือกหัวข้อ Shortcut
    3. พิมพ์ข้อความดังนี้ C:\Windows\System32\mstsc.exe /v:192.168.100.170 /w:800 /h:600
      –> 3.1 /v:ต่อด้วย IP Address:Port
      –> 3.2 /w:ต่อด้วยขนาดหน้าจอ ความกว้าง
      –> 3.3 /h:ต้อด้วยขนาดหน้าจอ ความสูง
      –> 3.4 อื่น ๆ เช่น /f หมายถึงเต็มหน้าจอ
      /admin หมายถึง Remote เข้าด้วย Session Admin13-7-2559 13-44-06
    4. คลิกปุ่ม Next
    5. ตั้งชื่อ Shortcut
      13-7-2559 13-46-33
    6. คลิก Finish จะเห็น Icon ของ Shortcut ที่ใช้ในการ Remote เพื่อเข้า Server ตามที่ได้สร้างไว้ที่หน้า Desktop