Category: Lifestyle

  • ถ่ายไฟฉาย สีดำ สีเขียว อัลคาไลน์ มันต่างกันตรงไหน ???

    รู้หมือไร่ ? จะไปซื้อถ่านไฟฉาย เอาว่าขนาด AA แล้วกัน เอ้อ มันมีสีดำ สีเขียว แล้วก็มีแบบอัลคาไลน์ด้วย ให้ไฟ 1.5V เหมือนกัน ขนาดก็เท่าๆกัน ไหงราคาต่างกัน มันต่างกันตรงไหน ???

    IMG_20160428_090351 สีดำ 4 ก้อน ราคา 32 บาท
    2559-04-28 09_53_30-R6ST_4S Manganese Battery - Panasonic Philippines สีเขียว 4 ก้อน ราคา 24 บาท
    LR6T(4B)_SeeAll.png.thumb.172.229 อัลคาไลน์ 4 ก้อน 75 ราคา

     

    ถ้าลองอ่านดีๆ จะพบว่า

    • สีเขียว จะเขียนว่า “Leak Proof”
    • สีดำ จะเขียนว่า “Extra Long Life”
    • อัลคาไลน์ มันจะเขียนว่า “Looooong Lasting + Anti-Leak”

    ถ้าอ่านฉลากสินค้า ก็จะเห็นตัวเลขอีกนิด

    • สีเขียว = R6ST/4SL
    • สีดำ = R6NT/4SL
    • อัลคาไลน์ = LR6T/4B

    จากการไปตรวจสอบ จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Battery_nomenclature

    พบว่า จะเห็นว่า ขนาด AA จะเป็น R6 ทั้งสีดำและสีเขียว แต่ อัลคาไลน์จะเป็น LR6 ตรงนี้อธิบายได้ว่า ทั้งสีเขียวและสีดำ ใช้ Electrolyte เป็นแบบ Ammonium Chloride, Zinc Chloride ส่วนอัลคาไลน์ ใช้เป็นแบบ Alkali metal hydroxide แต่ทั้งหมดมีขนาดเดียวกันคือ R6 ครับ

    ที่จะต่างกันก็ตรง ST กับ NT และ T อันนี้ ยังไม่แน่ใจ TwT

    ส่วน /4 นั้น หมายถึง Pack ละ 4 ก้อน ไม่มีอะไร

    จากเว็บไซต์ของ Panasonic

    http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/manganese-battery/r6st.html

    บอกว่า สีดำและเขียวนั้นเป็นแบบ “Manganese Battery” ให้คำแนะนำว่า “Ideal for devices that require a small and continuous supply of power” น่าจะแปลว่า “เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟน้อยแต่ต้องการความต่อเนื่อง”

    ส่วน อัลคาไลน์ จากเว็บไซต์

    http://www.panasonic.com/ph/consumer/home-improvement/battery/alkaline-battery/lr6t_4b.html

    บอกว่า “Can be used from low-drain devices to high energy consumtion”

    สรุป

    • สีเขียว: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง คงจะป้องกันการ Leak คือลดการเสื่อมได้
    • สีดำ: เหมาะสำหรับอุปกรณ์กินกำลังไฟน้อยๆแต่ต่อเนื่อง แต่คงจะเก็บประจุได้มากกว่า
    • อัลคาไลน์: ถ้าให้คุ้ม ซื้อใช้กับอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟมากๆ เช่น กล้องดิจิตอล เป็นต้น

    ผู้รู้ท่านอื่นๆโปรดชี้แนะด้วยครับ 😉

     

  • อย่าตกเป็นเหยื่อของ Clickbait (เว็บไซต์หลอกให้คลิก)

    เดี๋ยวนี้จะเห็นบน Facebook มีการแชร์เนื้อหาจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วโปรยหัวข้อข่าวให้แบบว่า น่าคลิกมาก อยากอ่านเนื้อหาต่อ จนทำให้คนต้องคลิกไปอ่าน พวกนี้เรียกว่า “Clickbait” — bait แปลว่า เหยื่อ

    และบางเว็บ ก็ช่างหน้าไม่อาย เอาเนื้อหาเก่ามานำเสนอ เพื่อให้คนคลิกไม่พอ ยังแอบอ้างว่า ผลงานการหาข่าวเป็นของตัวเองอีกต่างหาก เช่น

    http://www.bigza.com/news-175102

    1

     

    เนื้อหาบอกว่าเป็นการเขียนว่า ข่าววันที่ 9 ก.ค 58 แถม “ผู้สื่อข่าว” BigZa อีกต่างหาก (แล้วมาเลี่ยงภายหลังว่ารับข่าวจาก Social Media)

    2

    โดยบอกว่า คนนี้เป็นต้นโพสต์ … ต้องการเลือด ?? ไม่ระบุว่า ที่ไหน ให้ใคร เมื่อไหร่ (บางแหล่งให้เบอร์โทรญาติ ซึ่งบางทีเขาได้รับเลือด ได้รับความช่วยเหลือไปแล้ว ยิ่งโทรไป ทำให้เขาเดือดร้อนรำคาญอีก)

    7

     

     

    พวกนี้ มันทำอย่างนี้ ทำไม ???? ตอบ เพราะทุกครั้งที่เรา “คลิก” อ่าน มันจะได้อันนี้ … โฆษณา …

     

    3

    เอาหล่ะ แล้วจะตรวจสอบอย่างไร ว่า เป็นข่าวจริงหรือไม่ บน Google Chrome สมัยนี้ สามารถคลิกขวาที่ภาพ แล้ว เลือก “Search Google for this image”

     

     

    4

    ผลที่ได้คือ ภาพข่าว และ รายละเอียดว่า เป็นข่าวที่เผยแพร่มาแล้ว เมื่อไหร่

    5

    เมื่อลองคลิกเข้าไปในสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ ก็พบว่า ข่าวดังกล่าว เกิดขึ้นตั้งแต่ 25 เมษายน 58

     

     

     

    6

     

    เรียนมาเพื่อพิจารณา …

  • ชีวิตสะดวกและปลอดภัยด้วยการ Sign In บน Google Chrome

    เคยเจอปัญหาเหล่านี้เมื่อต้องไปใช้งานเครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องตนเองหรือไม่ ?

    1. จะเข้าเว็บไซต์ที่เคย Bookmark เอาไว้ในเครื่องตนเอง ก็ทำไม่ได้
    2. ทำไงดีรหัสผ่านมากมาย เคยให้เว็บจำไว้ให้ แล้วตอนนี้จะใช้งานยังไงหล่ะ
    3. สภาพแวดล้อมไม่คุ้นชินเมื่อไปใช้เครื่องอื่น

    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อใช้ Google Chrome และ ทำการ Sign In เอาไว้

    คำเตือน:

    1. ผู้ที่จะใช้วิธีการนี้ ควรทำระบบ 2-Step Verification ไว้ก่อน เพื่อป้องกันรหัสผ่านรั่วไหล และป้องกัน กรณีมี Keyboard Logger ฝังตัวเพื่อดักการพิมพ์รหัสผ่านจาก Keyboard ซึ่งแม้จะมีผู้ร้ายดักรหัสผ่านไปได้ ก็จะติดขั้นตอนการยืนยันตัวตนอีกชั้นของ 2-Step Verification
    2. กรณีผู้ใช้ Google Apps ขององค์กร (ทั้ง For Education และ For Business) ระบบจะทำการสร้าง Profile แยกให้ แต่ถ้าเป็น Google Account ของ Gmail นั้น จะต้องทำการ Create Profile เอง แล้วจึง Sign In เข้าไป มิฉะนั้นข้อมูลของเราจะไปปะปนกับของผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง
    3. วิธีการนี้ ผู้ใช้ต้อง “Remove This Person” ทุกครั้งเมื่อจบการใช้งาน (จะอธิบายต่อไป)

    วิธีการใช้งาน

    1. เปิด Google Chrome ขึ้นมาScreenshot from 2015-05-11 09:22:24
    2. ด้านขวามือบน ใกล้ๆ Tools Box คลิกรูป “คน” ดังภาพ แล้วคลิก Sign in to ChromeScreenshot from 2015-05-11 09:23:38
    3. ใส่ Google Account (Gmail Account)  หรือ Google Apps Account (Google Apps For Education/Business) และรหัสผ่าน จากนั้นคลิก Sign In สำหรับท่านที่ทำ 2-Step Verification จะพบหน้าต่างให้ใส่ Code ก็ให้ดำเนินการตามปรกติไปScreenshot from 2015-05-11 09:25:20
    4. สำหรับบัญชี Google Apps ขององค์กร จะแสดงหน้าต่างให้เลือกว่า จะสร้าง Profile ใหม่หรือไม่ แนะนำให้คลิกปุ่ม Create a new profileScreenshot from 2015-05-11 09:27:20
    5. ต่อไป คลิกปุ่ม “Ok, got it”Screenshot from 2015-05-11 09:28:20
    6. ใช้เวลาไม่นาน ระบบจะ Sync ข้อมูล Apps, Autofill, Bookmark, Extensions, History, Password, Settings, Themes, Opentabs มาให้ (สามารถเลือกได้ว่าจะ Sync อะไรมาบ้างได้) และทำการเข้ารหัส รหัสผ่านไว้ด้วย (เลือกได้ว่าจะเข้ารหัสด้วย Google Credential หรือจะสร้าง Paraphrase แยกต่างหาก — ในที่นี้ เลือกเป็น Google Credential) คราวนี้ ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนนั่งอยู่ที่เครื่องตนเองอีกทั้งวิธีการนี้ จะสามารถใช้งานได้ทั้งบน Smartphone และ Tablet ได้ด้วย ทำให้เมื่อ Save Bookmark เอาไว้บนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถไปเปิดดูได้บน Tablet ได้ทันทีScreenshot from 2015-05-11 09:32:15
    7. เมื่อเลิกใช้งาน ให้ทำตามข้อ 2. แล้วคลิก Switch User แทน จากนั้น ที่รูป Profile ด้านมุมขวา คลิก Remove this personScreenshot from 2015-05-11 09:37:38
    8. คลิก Remove this person อีกครั้งเพื่อยืนยันScreenshot from 2015-05-11 09:37:46
    9. เท่านี้ ข้อมูลก็จะปลอดภัยแล้ว 😉Screenshot from 2015-05-11 09:38:31
    10. หากต้องการปรับแต่งเรื่อง สิ่งที่ต้องการจะ Sync ให้เปิด chrome://settings/syncSetup แล้วเลือกสิ่งต่างๆได้ตามต้องการScreenshot from 2015-05-11 09:41:35
    11. สลับหลาย user ได้แบบไม่ต้องกลัวว่าระบบ Single Sign-On จะตีกัน 😉 เพราะแยก Profile ออกไปชัดเจน ไม่ต้องคอย Login – Logout ข้ามไปมาตลอดเวลา
      chrome-multiuser

    ชีวิตดี๊ดี 😉

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • วิธีทำระบบกล้องวงจรปิดที่บ้านแบบประหยัด + ดูผ่าน Internet โดยไม่ต้องทำ Port Forward

    อยากมีกล้องวงจรปิดที่บ้านแบบประหยัดงบ เชิญอ่าน …

    แนวคิด: ใช้งานสิ่งที่มีอยู่ ซื้อเท่าที่จำเป็น บันทึกวิดีโอได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด (06:00-18:00) นอกช่วงเวลาบันทึกเฉพาะเมื่อมีความเคลื่อนไหว (Motion Detection) (00:00-06:00) ระบบสามารถลบวิดีโอที่อายุเกินกำหนดได้ และสามารถดูได้จาก Internet โดยไม่ต้องทำ Port Forward (บ้านที่มี ADSL ไม่สามารถ Fix IP ได้ แถมบางค่ายให้ NAT IP มาที่ Router อีก ยิ่งทำยาก)

    สิ่งที่มีอยู่แล้ว:

    กล้อง: สามารถใช้งาน Smart Phone เก่าๆ เช่น Samsung Galaxy Mini + ติดตั้งโปรแกรม IPCamera โดย Fix IP: 192.168.2.21

       

     

    PC: Notebook เครื่องเก่า เป็น Windows 7 ติดตั้งโปรแกรม Open Source ชื่อ iSpy หรือ จะใช้ VLC ก็ได้ (ค่อยเขียนบทความต่อไป สำหรับคนที่จะใช้ Linux Server)

    Wireless Network:

    TP-Link TD-W8961ND

    ซื้อเพิ่ม:

    กล้อง Network Camera: D-Link DCS-930L ราคา 1,290 บาท โดย Fix IP: 192.168.2.22

    เลือกรุ่นนี้เพราะ พื้นที่ที่ต้องการจับภาพไม่จำเป็นต้องมี Infrared ไว้ดูตอนกลางคืน สามารถตั้งเวลาที่จะเชื่อมต่อจาก Internet ได้ (เพื่อความปลอดภัย) ,มี Motion Detect ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแล้ว และ กล้องของ D-Link มีสิ่งที่เรียกว่า mydlink Cloud Access ทำให้สามารถเชื่อมต่อกล้องจาก Internet ได้โดยไม่ต้องทำ Port Forward (หากใครไม่ชอบ ก็ปิดได้)

    การติดตั้ง:

    กล้องของ Android ที่ติดตั้ง IPCamera Apps ไป จะสามารถเข้าถึงวิดีโอได้ที่ http://a.b.c.d:8080/video โดยสามารถตั้ง Username/Password ได้ตามต้องการ

    กล้องของ D-Link DCS-930L เมื่อแกะกล่อง ก็เสียบสายไฟ แล้วไปกดปุ่ม WPS ที่ Router ระบบก็จะเชื่อมต่อกล้องเข้ากับระบบแล้ว หรือถ้าไม่มี WPS ก็ต่อสาย LAN เข้ากับ Port ของกล้อง และ Fix IP ของ Network Card ของคอมพิวเตอร์ ให้เป็น 192.168.0.2 แล้วเปิดเว็บไปที่ http://192.168.0.20 เพื่อเข้าไปบริหารจัดการกล้อง จากนั้น เมื่อจะเข้าถึงวิดีโอได้ที่ http://a.b.c.d/video/mjpeg.cgi โดยสามารถตั้ง Username/Password ได้ตามต้องการ

    ที่ Router ให้เข้าไปใน Router Configuration เพื่อ Fix IP กับ MAC Address ของกล้อง เป็นอันเรียบร้อย

    โปรแกรม iSpy: กดปุม Add กล้องตาม URL ที่กล่าวข้างต้น จากนั้น ตั้งค่า Schedule เพื่อกำหนดว่า เวลา 06:00-18:00 ของทุกวัน ให้บันทึกวิดีโอต่อเนื่อง ค่าเริ่มต้นจะบันทึกวิดีโอเป็นไฟล์ ความยาว 15 นาที (900 วินาที) ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ ส่วนเวลา 00:00-06:00 ก็สั่งให้ทำ Motion Detect จับภาพเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหว (สามารถระบายตำแหน่งที่ต้องการให้จับความเคลื่อนไหวได้ด้วย) แล้วก็ Save … จบ โปรแกรมนี้สามารถเพิ่มกล้องได้ 32 ตัว ไม่จำกัดว่ายี่ห้อกล้อง ขอให้สามารถเข้าถึงวิดีโอได้ผ่าน Network ก็พอแล้ว

    การเข้าถึงกล้องจาก Internet:

    สำหรับ D-Link Network Camera ก็ให้ติดตั้ง Clients แล้วใส่ Username/Password ของ mydlink Account ก็สามารถดูได้แล้วผ่าน Cloud Access

    ส่วน iSpy นั้น ถ้าจะเข้าถึงจากภายนอก ก็ต้องจ่ายเงินนิดหน่อย และต้องทำการ Port Forward (พอดีไม่ได้ทำตรงนี้)

    เดี๋ยวค่อยเล่ารายละเอียดโปรแกรม iSpy และ การใช้ VLC เพื่อบันทึกวิดีโอจากล้องในตอนต่อไป

     

     

     

     

     

  • ไปงานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12

    งานมหกรรมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 จัดที่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี เป็นงานสัมมนาที่ดี วิทยากรที่มาบรรยายก็มีความรู้และทำงานอยู่ในภาคธุรกิจจริง สามารถถ่ายทอดได้เห็นภาพการนำโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ไปใช้งาน

    ossfest2014-hall

    เนื้อหาสาระโดยสรุป กิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่
    – โซนงาน
    1. โซนงานสัมมนา Conference/Seminar
    การสัมมนา/เสวนา ที่มีเรื่องราวโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ ตั้งแต่ระดับผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไป ระดับองค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการ ระดับภาคการศึกษา รวมถึงบริการออนไลน์ที่น่าสนใจ
    2. โซนห้องอบรมย่อย Workshop
    3. โซนห้องจัดแสดงนิทรรศการ/บูธประชาสัมพันธ์ Exhibition

    – มอบรางวัล Open Source Award ประจำปี 2014
    ซึ่งในปีนี้ พระวิภัทร ปัาวุฑฺโฒ (วิภัทร ศรุติพรหม) ได้รับรางวัลซึ่งเป็น 1 ใน 3 รางวัลที่แจกในปีนี้ (ร่วมแสดงความยินดี)

    – keynote topic 2 เรื่องคือ
    1. Digital Economy based on Open Data and Open Access Approach โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำเสนอแนวทางในการสนองตอบนโยบายประเทศในเรื่อง Digital Economy โดยวิทยากรนำเสนอว่า ในโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน เต็มไปด้วยข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเช่น facebook เป็นต้น และเป็นแหล่งข้อมูลที่เปิดให้ทุกคนนำสิ่งต่างๆที่โพสต์กันอยู่ใน social network นำไป process เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นสถิติเพื่อใช้ในการทำธุรกิจได้ หรือสามารถรับทราบความเป็นไปในสังคมแบบเรียลไทม์ได้
    2. Open in the cloud from Microsoft Openness (Microsoft) โดยตัวแทนจากไมโครซอฟต์
    เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำเสนอ Microsoft Azure ผลิตภัณฑ์ที่รองรับการทำงานแบบ cloud ทำให้ไม่ว่าผู้ใช้จะใช้ open source server หรือ software ก็สามารถรันบน cloud จากการใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้ แบบมีค่าใช้จ่ายที่คิดตามการเลือกใช้งานและเวลาที่ใช้งาน ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าต้องการทรัพยากรเท่าไร ติดตั้ง server ใหม่ได้ในเวลาอันสั้นโดยการเลือก template ที่ต้องการ

    – หัวข้อสัมมนาอื่นๆอีกมากมาย เช่น
    1. OpenStack : คุณดำรงศักดิ์ รีตานนท์ แนะนำให้ความรู้เบื้องต้น
    2. Social Media เพื่อการประชาสัมพันธ์ : คุณชีพธรรม ไตรคำวิเศษ เล่าให้ฟังขายไอเดียเรื่องคนไทยอ่อนประชาสัมพันธ์ และนำเสนอ Tweet deck (https://tweetdeck.twitter.com/) การใช้แอพ Tweetdeck สำหรับการใช้ Twitter แบบเหนือเมฆ
    3. Open Source และเทคโนโลยีเบื้องหลังระบบขนาดใหญ่ : คุณกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข เล่าเรื่อง facebook และ google ใช้ open source software ในเบื้องหลังการให้บริการ
    4. Wireless & Web Application Security with KALI Linux : อ.ขจร สินอภิรมย์สราญ เล่าเรื่องเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Linux ที่ปรับแต่งเพิ่มเติมซอฟต์แวร์ในการเจาะระบบเพื่อใช้ในการเรียนรู้การรักษาความปลอดภัย ด้วยเวลาที่จำกัดจึงเล่าให้ฟังในส่วน Wireless LAN ถึงวิธีการและซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเจาะ Symmetric and Asymmetric Encryption
    5. Open Source Experience in DTAC : คุณทวิร พาณิชย์สมบัติ เล่าถึงประสบการณ์ในการนำโปรแกรมที่พัฒนาด้วย tools ต่างๆที่เป็น open source เข้าไปใช้งานทดแทนโปรแกรมเดิมที่มีค่าใช้จ่ายของ tools ที่ใช้ในการพัฒนา และเล่าให้ฟังถึงการปรับตัวของโปรแกรมเมอร์ในองค์กรที่ได้นำโปรแกรมใหม่นี้เข้าไปให้ใช้ ซึ่งต้องปรับตัวเองในการค้นคว้าหาคำตอบจากอินเทอร์เน็ตแทนการรอคอย vender ให้ความช่วยเหลือ
    6. Open Source กับ Digital TV : คุณโดม เจริญยศ เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานให้กับบริษัท TV Pool ในการเข้าไปประมูลงาน Digital TV ในเมืองไทย เล่าถึงการที่ต้องทำความเข้าใจการสื่อสารคำศัพท์ของคนในวงการไอที กับ คนในวงการบรอดคาสติ้ง จะเข้าใจไม่เหมือนกัน เช่น ความละเอียดของภาพ ขนาดของภาพ จะใช้ชื่อที่อ้างถึงแล้วเข้าใจตรงกันในวงการ และเล่าถึงการจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ทำบริการ Digital TV เป็นการลดต้นทุนได้อย่างมหาศาลจากที่สำรวจตลาดว่ามีอะไรให้ใช้งานได้บ้าง แล้วมีโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์อะไรให้ใช้ได้บ้าง และเล่าถึงการให้บริการ 24X7 ของการออกอากาศว่าจำเป็นต้องมีการจัดทำระบบ backup ไว้ด้วยในลักษณะ active – active ส่งสัญญาณออกอากาศด้วยชุด 2 ชุด พร้อมกัน และยังมีอีก 1 ชุด stand by รอชุด active ชุดใดชุดหนึ่งเสีย ก็เปลี่ยนแทนได้เลย
    7. Open source tools for multimedia production : คุณพีรพัทธ์ นันนารารัตน์ เล่าให้ฟังถึงวงการทำสื่อสิ่งพิมพ์และภาพยนตร์ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เป็นที่นิยมหลายตัว เช่น Darktable, Lives, Tupi, Synfig Studio, Audacity, Flash Develop, Blender เป็นต้น โดยเฉพาะ Blender นั้นเป็น tool ในการทำ effect ภาพยนตร์ที่ใช้งานได้จริง ได้นำ demo ภาพยนตร์ที่ทำจาก Blender มาให้ชมด้วย
    8. Open Source Road Map 2015 : ตัวแทนจากชมรมผู้ประกอบการโอเพนซอร์ส ภายใต้สมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย เล่าให้ฟังถึงสิ่งที่จะทำในปีค.ศ.2015 คือ การพัฒนานักพัฒนาด้านโอเพนซอร์สเป็นสาระสำคัญ แต่ก็ไม่ละเลยส่วนอื่นๆไปซะทีเดียว

    – และยังมีหัวข้อสัมมนาอื่นๆที่ไม่ได้เข้าฟังอยู่ในอีกหลาย Track เช่น Bootstrap 3 มนต์มายาแห่ง Open Source เป็นต้น

    – เสวนา 2 เรื่อง
    1. เสวนาเรื่องเทคโนโลยีกับการศึกษาไทย (Google for Education, CAT, ABAC)
    ในการเสวนานี้ เน้นไปที่การให้บริการ cloud โดย CAT เล่าเกี่ยวกับการให้บริการ cloud ที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยงานที่ต้องการใช้ cloud หรือจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของคนไทยด้วยกัน ส่วน Google for Education ก็แสดงให้เห็นจุดยืนเกี่ยวกับการให้บริการ cloud ผ่านระบบที่เรียกว่า Google App for Education โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และเล่าเรื่องการใช้งานที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    2. เสวนาเกี่ยวกับโปรเจ็คโอเพนซอร์สในมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)
    ในการเสวนานี้พอจะจับจุดสำคัญของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ดังนี้
    มหาวิทยาลัยบูรพา จะเน้นไปที่กิจกรรมการเข้าค่ายเพื่อสร้างความตระหนักให้นักศึกษาคณะทางด้านไอทีเข้ามาเป็นพลเมืองนักพัฒนาโอเพนซอร์ส นอกเหนือไปจากการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และเชิญชวนทุกมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมค่ายด้วยกัน
    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเน้นไปที่กิจกรรมการให้ความรู้การนำโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ทางด้านเดสก์ทอปเพื่อการเรียนการสอน ทั้งการอบรมภายในมหาวิทยาลัยและออกไปจัดตั้งห้องคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเน้นไปที่การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับสิ่งที่จะทำในช่วงเวลานั้น และเป็นมหาวิทยาลัยที่ผู้ช่วยอธิการบดีเป็นผู้ทำงานอยู่กับไอที และใช้โอเพนซอร์สซอฟต์แวร์แทบทุกตัว รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายกับซอฟต์แวร์ประเภทที่ต้องจัดซื้อด้วยเช่นกัน และเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆที่ใช้ Google App for Education โดยทุกคนหันมาร่วมกันใช้โดยไม่ได้บังคับ
    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะเน้นไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์การจัดสอบออนไลน์ที่ทำด้วยโอเพนซอร์ส เนื่องจากว่าไม่ได้มีเวลามากพอจึงไม่ได้พูดถึงประเด็นอื่นๆ
    สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จะใช้ moodle เป็น e-learning ของสถาบันแบบเต็มรูปแบบ และ ยังมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับเตรียมสไลด์การสอนด้วย prezi (http://prezi.com/windows/) และใช้ server และ web server ต่างๆเป็นโอเพนซอร์สทั้งหมดสำหรับที่ต้องลงมือทำเอง

    สามารถดูหัวข้อการสัมมนาทั้งหมดได้ที่ http://www.ossfestival.in.th/

    การไปร่วมงานในครั้งนี้ ทำให้ได้รับข่าวสารอัปเดตทิศทางของโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ยังคงไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในระดับประเทศ และทราบว่าโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่นำมาเสนอในงานสัมมนาครั้งนี้เป็นความสามารถของวิทยากรแต่ละท่านที่ต้องการลดต้นทุนการซื้อซอฟต์แวร์ที่จะต้องใช้ในงานที่จะนำไปเสนอขายให้ลูกค้า โดยใช้ความรู้ของวิทยากรค้นหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต จึงได้นำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังในงานสัมมนา

    ผมก็เล่าให้ฟังแบบที่พอจะจับประเด็นได้นะครับ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย หากมีข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกได้นะครับ

    วิบูลย์

  • วิธีดูหนังแบบส่วนตัวบนเครื่องบิน

    คุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้ไม๊ ?

    การ นั่งเครื่องบินชั้นประหยัดนั้น แสนน่าเบื่อ มีหนังหรือคลิปที่อยากดูบนมือถือ ครั้นจะต้องถือไว้มือนึง ก็ลำบาก กินขนมไปดูไปก็ไม่ได้ วางบนโต๊ะหน้าที่นั่งก็ไม่ได้เพราะมันราบ ครั้นจะหาอะไรมารองให้มันตั้งขึ้น ก็ไม่ได้รับสายตา

    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อใช้ เคสแบบฝาพับข้าง (ดังภาพ) เพียงแค่เปิดคลิปที่ต้องการดูไว้ เสียงหูฟังให้พร้อม

    IMG_20140906_181300.jpg

     แล้วก็ แง้มโต๊ะหน้าที่นั่งเล็กน้อย สอดฝาพับของเคส เข้าไประหว่างเบาะข้างหน้ากับโต๊ะ แล้วล็อคโต๊ะให้สนิท

     IMG_20140906_181421.jpg

    จากนั้น ก็เอนกาย พิงเบาะ แล้วก็สนุกกับคลิปหนังที่ชื่นชอบได้ ในระดับสายตาม มือนึงถือขนม มือนึงถือน้ำ ก็สบายแล้ว

    IMG_20140906_181438.jpg

     ลองดู 😉

  • GAFE#002 วิธีแสดงอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน ไว้บนสุดทุกครั้ง

    การใช้งาน GAFE Email หรือ Gmail ก็ตาม วิธีที่จะแสดงเฉพาะ จดหมายที่ยังไม่ได้อ่าน (Unread) มี 3 วิธี

    1. ในช่อง Search ใส่คำว่า label:unread แล้วกดปุ่ม Enter

    2. ไป Gear > Setting > Inbox
    แล้วเปลี่ยนจาก Inbox type: Default
    เป็น Inbox type: Unread first
    แล้วกดปุ่ม Save Changes

    ผลที่ได้

    3. คลิก Dropdown ด้านข้าง Inbox

    และ สุดท้าย วิธีเลือกเฉพาะอีเมลที่ยังไม่ได้อ่าน ทำดังภาพ

    ผลที่ได้

    จบ

  • วิธีใช้ฟอนต์ TH SarabanPSK บน Google Drive

    ในที่สุด Google ประเทศไทยก็เอาฟอนต์ราชการขึ้นไปให้ใช้ได้สำเร็จ ต่อจากนี้ เราก็สามารถลดการพึ่งพิง Microsoft Office ซึ่งผูกขาดมายาวนานได้ “บ้าง” แล้ว เพราะที่ผ่านมา เอกสาร .doc และ .docx ไม่สามารถใช้งานกับ Office Suite ค่ายอื่นได้อย่างราบรื่นเพราะคนไทยเราไม่ใช้ฟอนต์เดียวกัน ยังไปใช้ Angsana, Cordia ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Microsoft ทำให้รูปแบบเอกสารที่จัดด้วย Microsoft Office จะเพี้ยนๆเมื่อไปเปิดกับค่ายอื่นๆ

    ตอนนี้ก็เหลือแต่ คนไทยเรานี่แหล่ะ ที่ต้องรณรงค์ใช้ฟอนต์แห่งชาติ เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเสรี

    สำหรับ Google Drive เองก็มี Office Suite ซึ่งทำงานได้บนเว็บโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรในเครื่อง จากการทดลองใช้มายาวนาน พบว่า ถ้าเราเอาคำว่า “พอเพียง” ไว้ในใจได้แล้ว เครื่องมือชิ้นนี้ ดีเกินพอสำหรับงานสำนักงานทั่วไป และหากใครต้องการซื้อความสามารถเพิ่มก็สามารถซื้อแยกได้ ไม่ต้องถูกยัดเยียดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้ มาในราคาซอฟต์แวร์ที่แพงลิ่ว หรือ สามารถพัฒนาเพิ่มเติมเองได้ผ่าน Add-Ons ครับ

    สำหรับการใช้งานภาษาไทย และฟอนต์ไทย TH SarabanPSK ก็ทำได้ง่ายโดย

    1. สร้าง หรือ เปิดเอกสาร Google Docs
    2. ไปที่เมนู File > Language แล้วเลื่อนมาด้านล่างๆ จะพบคำว่า ไทย
    Google Docs File Menu
    3. จากนั้น ฟอนต์ TH SarabanPSK ก็จะมีให้ใช้งานทันทีครับ
    TH SarabanPSK
    4. การเก็บไฟล์ในรูปแบบ Google Docs ทาง Google จะไม่คิดพื้นที่จัดเก็บครับ แสดงว่าเราสร้างได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ถ้าเอา .docx ไปใส่ ก็จะกินเนื้อที่ที่มีให้ครับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • Notebook ปล่อย WiFi hotspot ให้ มือถือ

    จาก มือใหม่คุยกันเรื่องใช้ 3G แล้วปล่อย WiFi hotspot ให้ Notebook
    เดี๋ยวจะมีคนถาม เขียนมือถือปล่อย WIFI ให้ NB แล้ว
    ถ้าจะให้ NB ปล่อย WIFI ให้มือถือทำไง

    เปิด WiFi hotspot
    1. เข้า DOS Promt พิมพ์
    netsh wlan set hostednetwork mode=allow ssid=ssid_name key=password
    netsh wlan start hostednetwork

    ขั้นตอนนี้จะได้ Wriless Network Connection ใหม่มา จำชื่อไว้ให้ดีครับ เพราะจะต้องใช้ในขั้นตอนที่ 2

    เช่น
    netsh wlan set hostednetwork mode=allow ssid=PATT_AP key=patt123
    netsh wlan start hostednetwork

    2. เลือก Network Connection ที่สามารถออก Internet ได้
    เข้าไปดู Wireless Network Connection Status
    wifi001
    คลิก Properties

    wifi002
    เลือก Tab Sharing

    wifi003
    ติก Allowother network users to conn……….

    wifi004
    เลือก การ์ดที่ต้องการ Share

    ปิด WiFi hotspot
    เข้า DOS Promt พิมพ์
    netsh wlan stop hostednetwork

    การเปิดและปิด WIFI นั้น ผมจะ save เป็นแฟ้มไว้บน Desktop ครับ ชื่อ WLAN_START.bat กับ WLAN_STOP.bat เวลาจะเปิดหรือปิดก็ดับเบิ้ลคลิกที่ file โดยที่ไม่ต้องทำขั้นตอนที่ 2 อีก