Category: Lifestyle

  • การยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์/ SMS กวนใจ

    เชื่อว่าหลายท่านคงเคยประสบกับปัญหากวนใจเรื่อง SMS ไม่พึงประสงค์ ที่ส่งมาโดยที่เราไม่ต้องการ และบางครั้ง SMS เหล่านี้ก็ยังคิดค่าบริการ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้สมัคร หรือบางครั้งอาจจะสมัครโดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ดังนั้นในบทความนี้จะเสนอวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราสามารถยกเลิก SMS กวนใจเหล่านี้ออกไปบางส่วนได้ ถึงแม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็ช่วยบรรเทาความรำคาญลงไปได้บ้าง  โดยช่องทางที่จะแนะนำนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้บริการยกเลิก SMS ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

    1. กด *137 แล้วโทรออก
    2. ทำตามคำแนะนำจากเสียงตอบรับอัตโนมัติของแต่ละผู้ให้บริการเครือข่ายฯ
    3. รอรับ SMS แจ้งยกเลิก

     

    ตัวอย่าง SMS ไม่พึงประสงค์ และ SMS ตอบกลับ

     

    จะเห็นว่าหลังจากที่ใช้บริการยกเลิก SMS ผ่าน *137 แล้ว บรรดา SMS ไม่พึงประสงค์ก็ลดน้อยลง เหลือเพียง SMS ข่าวสารจากผู้ให้บริการเครือข่ายฯ เท่านั้น   และก็เป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็ว เพียงไม่กี่ขั้นตอน แค่นี้ก็สามารถยกเลิก SMS กวนใจออกไปได้บางส่วนแล้ว

     

    สิ่งที่ควรรู้

    ถึงแม้ว่าเราจะได้ทำการยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวไปแล้ว แต่ก็อาจจะมี SMS ไม่พึงประสงค์ใหม่ ๆ เข้ามาได้อีก ทั้งนี้เพราะการใช้วิธีนี้ คือการยกเลิก SMS ปัจจุบันหรือ SMS ที่ถูกสมัครไปแล้ว ไม่ได้เป็นการป้องกัน SMS ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (เช่น อาจจะเผลอไปสมัครรับ SMS โดยไม่รู้ตัวอีก)  อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดปัญหานี้ซ้ำอีก ก็สามารถใช้การโทรไปยัง *137 เพื่อยกเลิก SMS ได้เป็นระยะ ๆ

     

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมว่า SMS เหล่านี้มาได้อย่างไร หรือมี SMS ประเภทไหนที่สามารถยกเลิกได้ด้วย *137 บ้าง และเราจะระมัดระวังอย่างไร ไม่ให้เผลอไปสมัครบริการ SMS เหล่านี้โดยไม่ตั้งใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก   http://tcp.nbtc.go.th/website/home/detail/631/th

     

    ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหาจากสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

     

    แนะนำการยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์เพิ่มเติม สำหรับผู้ใช้งาน AIS

    นอกจากการยกเลิกบริการ SMS ไม่พึงประสงค์ผ่านทาง *137 แล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายฯ AIS ยังมีบริการให้ลูกค้าสามารถยกเลิก SMS เหล่านี้ได้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บด้วย โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่  URL https://myais.ais.co.th
    2. เมื่อเข้ามาแล้วจะมีหน้าจอให้ login เข้าใช้งานระบบโดยการกรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ และรอรับ OTP เพื่อใช้ในการเข้าใช้งานระบบแต่ละครั้ง หรือจะใช้วิธีการสร้างบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านใหม่สำหรับการเข้าใช้งานครั้งต่อ ๆ ไปก็ได้
    3. เมื่อ login เข้าสู่ระบบแล้ว จะปรากฏเมนูด้านขวามือสำหรับการจัดการต่าง ๆ
    4. เลือกเมนู บริการ จะเห็นว่าว่ามีเมนู เลือกรับ / ยกเลิก SMS  ให้เลือกเมนูนี้เพื่อเข้าไปยกเลิกบริการ SMS ที่เราไม่ต้องการ
    5. เราสามารถเลือกว่าจะรับหรือไม่รับ SMS ทั้งที่มาจาก AIS และไม่ได้มาจาก SMS ได้ตามต้องการ
  • วิธีการใส่เลขหน้า ให้กับเอกสาร PDF แบบบ้าน ๆ

    สืบเนื่องจาก ทะเลาะกับ Printer เป็นวันๆ เพื่อที่จะใส่เลขหน้าให้กับเอกสาร PDF เสียกระดาษ เวลา และอารมณ์ไปเยอะ สุดท้าย ก็ได้วิธีการ เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง

    1. Printer ที่ใช้เป็น Ricoh Africo MP301 SPF
    2. รุ่นนี้ มีที่ใส่กระดาษ 2 Tray อันบนคือ Tray 1 เอาไว้ใส่กระดาษเปล่า ส่วน อันล่าง Tray 2 ไว้ใส่กระดาษใช้แล้ว ซึ่ง ในที่นี้ เราจะเอาไว้ใส่กระดาษที่มีเลขหน้าในขั้นตอนต่อไป
    3. ปัญหาคือ ต้องจัดรูปเล่มเอกสารใหม่ เอาไฟล์ Word บ้าง PowerPoint บ้าง ภาพจากการ Capture บ้าง มารวม ๆ กัน เป็นเอกสารใหม่ ที่ต้องมีเลขหน้ากำกับ
    4. วิธีการคือ สร้าง PowerPoint หรือ Word ก็ได้ ที่มีเลขหน้า อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ และ จำนวนแผ่นที่เท่ากับจำนวนทั้งหมดที่ต้องการ  แล้วสั่งพิมพ์ออก Tray 1 ปรกติ
    5. จากนั้น นำกระดาษที่พิมพ์เลขหน้าเสร็จแล้ว กลับมาใส่ใน Tray 2 *** จุดสำคัญคือ การวางหัวกระดาษ*** ให้หันไปทางซ้ายมือ ดังภาพ
    6. จากนั้น ก็ Print สิ่งที่ต้องการใส่ เลขหน้า ตามลำดับ ลงไปที่ Tray 2
    7. สุดท้าย เราก็จะได้ กระดาษที่มีเนื้อหาตามต้องการ พร้อมเลขหน้าตามลำดับ
      ในภาพนี้ ได้ผลออกมาแล้ว นำกลับไป Scan เป็น PDF อีกครั้งหนึ่งที่ความละเอียด 600 dpi แบบ Photo

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • รู้หรือไม่ : บริการโทรศัพท์ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เกี่ยวกับ บริการโทรศัพท์ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผื่อท่านใดไม่ทราบ
    (เป็นการสรุปจาก “คู่มือการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐาน”  http://telecom.cc.psu.ac.th/telephone/fn.pdf )
    — ที่สรุปไว้นี่เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และเป็นเฉพาะที่ใช้บ่อยทำนั้น —

    1. ติดต่อ Operator : กด 9
    2. โทรซ้ำเบอร์ที่เพิ่มโทรไป : กด *70
    3. รับสายแทนอีกเครื่องนึงที่ดัง : กด *72 ตามด้วยหมายเลขที่ดัง
    4. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ ทันที : กด *60 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    5. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ กรณีสายไม่ว่าง : กด *61 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    6. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ กรณีไม่มีคนรับสาย : กด *62 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    7. ฝากสายให้อีกเบอร์รับ กรณีทั้ง สายไม่ว่าง และ ไม่มีคนรับสาย : กด *63 ตามด้วยหมายเลขที่จะช่วยรับสายแทน
    8. ยกเลิกการฝากสาย: กด *64
    9. โทรกลับเบอร์ที่โทรเข้ามาล่าสุด: กด *68
  • ทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวง่ายนิดเดียว

    ทดสอบเว็บผ่าน Browser
    หลังจากที่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างเว็บขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือทดสอบเว็บของเราว่าสามารถที่จะแสดงผลผ่าน Browser ได้ดีหรือไม่ และแสดงผลได้ดีกับทุก Browser หรือไม่ เช่น Google Chrome , Firefox หรือจะเป็น Internet Explorer ซึ่ง Browser แต่ละตัวนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชันมาก และที่เราต้องพยายามทดสอบให้ได้มากที่สุดก็เพราะว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าลูกค้าหรือผู้ใช้เว็บของเรานั้นจะใช้เครื่องมือ หรือ Browser ตัวไหนเป็นหลัง ดังนั้นการทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ

    ทำอย่างไรให้การทดสอบผ่าน Browser ทุกตัวเป็นเรื่องง่าย

    สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเครื่องมือช่วยทดสอบการแสดงผลเว็บผ่าน Browser ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เพื่อให้เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องลงๆ ถอนๆ Browser ในเครื่องจนอาจจะปวดหัวเอาได้

    หลักๆ จากที่ศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมี Cloud Browser เปิดให้บริการมากมาย เช่น Saucelab, BrowserStack, Browserling, Ghostlab หรือ CrossBrowserTesting เป็นต้น

    สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอหน้าตาของ BrowserStack กันก่อนละกัน

    • เราจะต้องสมัครสมาชิกกันก่อน โดยจะมีแบบ Free trial ให้เราทดลองใช้งาน สมัครเสร็จแล้วก็ Login เข้าไปทดลองใช้งานกันได้เลย

     

    • หลังจากสมัครสมาชิกทดลองใช้ฟรีกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาของเจ้า BrowserStack แบบนี้

     

    • เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะทดสอบเว็บกับระบบปฏิบัติการไน และ Browser อะไร

     

    • ตัวอย่างเช่นเลือก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Mavericks และ Browser Safari 7.1 ก็จะได้ตัวอย่างหน้าจอ
      แบบด้านล่าง

     

     

     

    • ในหน้าจอที่เรากำลังทดสอบก็จะมี Tool เล็กๆ ให้เราสามารถจัดการหน้าจอได้ เช่นสามารถ Switch เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Browser อื่นๆ สามารถปรับ Resolutions
      ของหน้าจอได้ สามารถ Create a bug สามารถสร้าง Issue Tracker สามารถตั้งค่าอื่นๆ
      หรือตรวจสอบ Features ของตัว BrowserStack ได้ เป็นต้น

     

     

     

     

    สุดท้ายแล้วสำหรับเพื่อนๆ หรือใครที่มีปัญหายุ่งยากในการทดสอบเว็บให้ครบทุก Browser ก็สามารถลองเอาเจ้าตัว BrowserStack ไปใช้งานกันดู เผื่อบางทีอาจจะช่วยระยะเวลา หรือปัญหาต่างๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ^ ^

    แหล่งความรู้อ้างอิง
    – http://soraya.in.th/2013/04/08/browserstack-ie/
    – https://medium.com/tag/browserstack
    – https://chittakorn.com/do-you-know/browser-testing/
    – http://www.designil.com/free-internet-explorer-mac.html

  • Infographic เล่าเรื่องด้วยภาพ

    ปัจจุบันเราทุกคนจะต้องมีการรับ/ส่งข้อมูลอะไรระหว่างกันอยู่เสมอ และสิ่งนึงที่เรามักจะคิดตรงกันคือเราจะสื่อสารกันอย่างไรให้อีกฝ่ายเข้าใจได้รวดเร็ว และง่ายที่สุด

    “อินโฟกราฟิก” เป็นอีก 1 คำตอบ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

     

    อินโฟกราฟิกคืออะไร ?

    คือการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อสารกับผู้คนด้วยสิ่งที่จับต้องได้ การที่จะอ่านบทความที่มีความยาวหลายๆหน้า กราฟ

    หรือข้อมูลมหาศาลคงต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญบางคนอาจจะไม่สนใจข้อมูลเหล่านั้นเลยก็เป็นได้ เพราะการตีความของคนที่อ่านแต่ละคนไม่เหมือนกัน

     

    ทักษะที่จำเป็นในการทำ อินโฟกราฟิก

    ทักษะพื้นฐาน 3 อย่างคือ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการเรียบเรียบ และทักษะดีไซน์

     

    หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก แบ่งเป็น 2 ส่วน

    1. ด้านข้อมูล

    ข้อมูลที่จะนำเสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราว เปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง

    1. ด้านการออกแบบ

    การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำงานและความสวยงาม โดยออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง

     

    การทำอินโฟกราฟิกโดยใช้ Web Tool

    Web Tool คือ เว็บที่ให้บริการทำอินโฟกราฟิกออนไลน์ เช่น piktochart หรือ easel.ly เราสามารถเลือก Template แล้วปรับแต่งได้ตามใจชอบ

    โดยจะขอยกตัวอย่างการทำอินโฟกราฟิกโดยการใช้ piktochart

     

    วิธีการสมัครใช้งาน

     

    • กรอกข้อมูล หรือเลือก Sign In ผ่าน Gmail/Facebook เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังรูป

     

     

     

     

     

     

     

    • เริ่มต้นสร้าง โดยคลิกเลือก “Start Creating” จากนั้นเข้าสู่หน้าสร้างงานผ่าน piktochart

    • เลือก Template รูปแบบที่ต้องการ เช่น infographic presentation หรือ printable โดยในแต่ละรูปแบบจะมี Free template ให้เลือกใช้งาน
      ตัวอย่าง Free Template Infographic

    • Tool ต่างๆ ของหน้าเว็บที่มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน
    Menu Graphics

    • Shapes & Line ใช้วาดรูปหรือเส้น
    • Icon มีไอคอนให้เลือกใช้
    • Photo มีรูปภาพให้เลือกใช้
    • Photo Frame มีกรอบรูปให้เลือกใช้
    Uploads

    • โปรแกรมมีรูปให้เลือกใช้
    • หรือสามารถอัพโหลดรูปจากภายนอกเข้ามาใช้งานได้
    Background

    • มีรูปพื้นหลังให้เลือกใช้งานในการตกแต่ง
    • สามารถปรับความเข้มได้ที่ Opacity
    Text

    • สามารถเลือกรูปแบบตัวอักษร
    • สามารถเลือกปรับแต่ง Style กรอบรูปหรืออื่นๆ ได้ตามด้านล่าง
    Tools

    • สามารถเลือกรูปแบบ Charts ทำกราฟได้
    • เลือก Maps ทำแผนที่ได้
    • หรือสามารถแทรก link videos ได้
    • Saved          บันทึก
    • Preview       ดูผลลัพธ์
    • Download    แปลงไฟล์เป็น JPEG หรือ PNG
    • Share          เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ

     

    แหล่งความรู้อ้างอิง

  • Acrobat Reader DC รุ่นที่แจกฟรีนี่แหล่ะ ก็พอเพียงแล้ว — หยุดใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์เถอะ

    จากที่ปฏิบัติหน้าที่ Helpdesk และได้เห็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ใช้โปรแกรมเถื่อนโดยเฉพาะ Adobe Acrobat ซึ่งจริงๆแล้ว เค้ามีตัวฟรี คือ Adobe Acrobat Reader ให้ใช้อยู่แล้ว อย่าไปละเมิดลิขสิทธิ์เค้าเลย ในบทความนี้ จะขอแนะนำความสามารถที่ “ของฟรี” มีให้ใช้ แต่บางคนอาจจะไม่รู้ ก็เลยไปละเมิดลิขสิทธิ์

     

    ยุค Paperless หรือ ไร้กระดาษ ก็สามารถทำได้แล้ว ตัวอย่างเช่น มีเอกสาร PDF ที่ต้อง Print ใส่กระดาษ แล้วกรอกเอกสาร ลงลายเซ็นต์ แล้วก็ต้อง Scan กลับเข้าไปในระบบอีก … สุดท้ายก็ต้องเก็บกระดาษกองโต เพื่อรอเอาไปทิ้ง ทำไปเพื่ออะไร ?

     

    ขอยกตัวอย่างการใช้งานกับเอกสารต่อไปนี้

    http://group.psu.ac.th/docs/F_SD13.pdf

    http://www.personnel.psu.ac.th/fromper/form1.pdf

     

    เริ่มจาก Download เอกสารมาเก็บไว้ในเครื่อง

    แล้วเปิดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader DC นี่แหล่ะ แล้วคลิกที่ Fill & Sign ด้านขวามือ 

    ถ้าต้องการกรอกข้อมูลข้อความ ก็คลิกที่ Ab แล้วเลื่อนไปคลิกที่ตำแหน่งที่จะกรอกข้อมูล แล้วพิมพ์ไป 

    ตรงไหนที่เป็น Checkbox ก็เลือกได้ว่า จะเอาแบบ กากบาท หรือ เครื่องหมายถูก แล้วก็ไปคลิกที่ที่ต้องการ

    ต้องการใส่ลายเซ็นต์ ??? คลิกที่ Sign แล้วเลือก Add Signature

    จะใช้วิธี เซ็นต์บนกระดาษ แล้ว Scan เก็บภาพไว้ก็เลือก Image
    ส่วนใครจะเซ็นต์สด คลิก Draw แล้วใช้ S-Pen ให้คุ้มๆหน่อยครับ

    แล้วก็กดปุ่ม Apply (ทำครั้งเดียวนี่แหล่ะ หลังจากนั้นก็จะใช้งานได้ตลอด)

    จากนั้นก็เอามาวางในตำแหน่งที่ต้องการ

    แล้วก็ Save สิครับ รออะไร ???

    กรณีเป็นเลขที่บัตรประชาชน เค้าก็สามารถเว้นระยะตัวอักษรได้อีก ให้เหมาะกับช่อง

     

    หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วทำงานแบบ Paperless กันเถอะครับ

  • Technical Talk หัวข้อ Open Source: Smart Computer Lab

    smartcomputerlab-wunca33 ได้ไปร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 33 ที่จัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ 13-15 กรกฎาคม 2559 และได้บรรยายในส่วน Technical Talk หัวข้อ Open Source: Smart Computer Lab จึงอยากนำมาเล่าสู่เพื่อน ๆ ฟัง เผื่อว่าเพื่อน ๆ จะช่วยแนะนำบอกต่อว่า มีระบบจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ที่ดีน่าใช้ชื่อ PSU12-Sritrang Server

    IMG_0131

    เอกสารประกอบการบรรยาย

    [pdf-embedder url=”https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2016/07/open-source-smart-computer-lab.pdf”]

     

    Link to Youtube video

    • วิดีโอชุดแนะนำ Open Source: Smart Computer Lab
      Short URL: https://goo.gl/1ly7c1
    • วิดีโอชุดแนะนำการติดตั้งและใช้งาน Server สำหรับทำ Cloning PC และ Control PC
      Short URL: https://goo.gl/SLheTL

     

    แผ่นพับแนะนำ PSU12-Sritrang Server สำหรับห้องบริการคอมพิวเตอร์ เพื่อบอกว่าระบบนี้ทำอะไรได้บ้าง คลิกเปิดอ่านแผ่นพับ

     

    หวังว่าคงจะได้รับข่าวดีนะครับ ขอบคุณครับ

     

  • Information graphics การใช้ภาพหรือแผ่นภูมิแทนข้อมูลที่จะนำเสนอ

    Information graphics หรือ Infographics เป็นการนำเสนอข้อมูล หรือความรู้ต่างๆโดยการสื่อสารด้วยภาพกราฟิก ซึ่งจะทำให้ผู้รับสื่อเข้าใจและมีความชัดเจนมากขึ้น    ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์ ภาพกราฟิกต่างๆจะดึงดูดความสนใจและความจำได้ดีกว่าข้อความยาวๆหรือต้องอ่านข้อมูล ที่เห็นได้จัดเจนคือ การอ่านข้อความบอกเส้นทางกันการอ่านแผนที่จะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และแน่นอนยุคสมัยของโลก Social อย่าง Facebook Twitter และInstagram ถ้าใครโพสข้อความยาวๆเราก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไรแต่เมื่อโพสภาพสวยๆเมื่อไรจะดึงความสนใจเราได้เยอะมาก

    มาดูการใช้งาน Infographics เพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

    • ข้อมูลสำคัญทีต้องการให้เป็นจุดสนใจเพียงข้อมูลเดียว
      ควรจะใช้ฟอนต์ที่ใหญ่หรือแปลกตากว่าฟอนต์ทั่วไปหรือมีการเน้นด้วยพื้นหลังที่แตกต่าง ร่วมถึงสามารถใช้ Pictographs หรือ Icon Charts แสดงร้อยละของสิ่งที่สนใจ
      ตัวอย่าง
    1 2
    • ข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบ
                        เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับข้อมูลที่สนใจ โดยมากจะใช้ Bar Chart หรือ Column Chart
      ตัวอย่าง

      top10Social
      ที่มาของภาพ
    • ข้อมูลแบบต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กัน   โดยมากจะแสดงข้อมูลนี้ด้วย Line Chart
      lineCart
    • ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ดูความเป็นไปของข้อมูลที่สนใจ เช่น ความถี่ของผลการประเมิน TOR โดยแยกตามช่วงอายุการทำงานของบุคลากร หรือความสูงของนักเรียนแยกตามช่วงอายุและแยกระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเป็นต้น
      hChart
    • ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรหรือช่วงเวลา (Trends over Time) สามารถใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น Column Chart และเน้นส่วนสนใจ เช่นแสดงร้อยละ หรือใช้รูปแทนข้อมูลช่วงเวลาต่างๆ
      macTimeLine
      ที่มาของภาพ
    • ข้อมูลการกระจายของสิ่งที่สนใจ จะแสดงด้วย bubble chart เช่นความสัมพันธ์ระหว่างความจุปอดกับความสามารถในการกลั่นหายใจของคนแล้วเอาข้อมูลความสัมพันธ์ของแต่ละคนไป วาดกราฟเพื่อดูความสัมพันธ์
      bubbleChart
      ที่มาของภาพ
  • Case Study: ภัยจากสำเนาบัตรประชาชน Social Network ไปจนถึงการตั้งรหัสผ่านของโลก IT

    ก่อนอื่นขอออกตัวว่า บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาความลับของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนาบัตรประชาชนของทุกท่าน อาจจะนำไปสู่การฟ้องร้องได้ อย่างที่เกิดขึ้นกับเพื่อนผมครับ

    เรื่องมีอยู่ว่า … นางสาว A อยู่มาวันหนึ่ง ก็ได้รับหมายเรียกจากตำรวจ ว่ามีคนแจ้งความว่า

    1. ทำการส่ง SMS ไปด่าว่า นางสาว B จึงแจ้งความหมิ่นประมาท (A กับ B ไม่รู้จักกันเลย)
    2. ใช้ Facebook ที่มีชื่อจริง นามสกุลจริงของนางสาว A เข้าไปป่วน Facebook นางสาว B สร้างความเสื่อมเสียต่อการงานของนางสาว B

    นางสาว A จึงไปตามหมายเรียก พร้อมแสดงความบริสุทธิ์ใจ จากนั้น ได้เริ่มทำการสืบสวน พบว่า

    1. ที่นางสาว B แจ้งความนางสาว A เพราะว่า เอาเลขหมายโทรศัพท์ที่ส่ง SMS มานั้นไปตรวจสอบ พบว่าเป็นของ Operator รายหนึ่ง จึงให้ทราบเลขที่บัตรประชาชน และตำรวจเอาตรวจสอบในทะเบียนราษฏร์ พบเป็นชื่อ นามสกุล ของนางสาว A
    2. ทาง Operator ที่ให้บริการ SMS ที่อ้างว่ามาจากนางสาว A แจ้งให้ทราบว่า ได้มีการนำ “หมายเลขบัตรประชาชน” ของนางสาว A ไปเปิดบริการ “SIM เติมเงิน”  ผ่านบริการที่เรียกว่า “2 แชะ” โดยทางผู้รับลงทะเบียน ไม่ได้ระบุชื่อ นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เพียงแต่ระบุว่า เป็น “เพศชาย” และเป็นการลงทะเบียนจากคนละจังหวัดกับนางสาว A ด้วย (แล้วทำไมยังลงทะเบียนได้ งงจัง)
    3. Facebook ของ นางสาว A จริงๆนั้น แทบไม่ได้ใช้งาน มีไว้แค่ให้คนรู้จักติดต่อทักเข้ามาเล็กๆน้อยๆ จากการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบประวัติการเข้าไป Comment ใน Facebook ของนางสาว B แต่ประการใด

    ปัญหาอยู่ที่ว่า

    1. จากการสอบถาม พบว่า นางสาว A ตั้งรหัสผ่านของ Facebook แบบง่ายมาก โดยใช้ “ชื่อภาษาอังกฤษ และวันเดือนปีเกิด” เป็นรหัสผ่าน เช่น somying01122520 อะไรทำนองนั้น ตรงนี้ไม่แน่ใจว่า ถ้าไปรู้ email address ของนางสาว A ที่ใช้เปิด Facebook ก็อาจจะนำไปใช้ทดสอบ Login ได้ก็เป็นไปได้
    2. หรือเป็นไปได้ว่า ผู้ร้ายที่นำสำเนาบัตรประชาชนของนางสาว A ไปเปิดเบอร์ คงจะค้นหาใน Facebook ด้วยชื่อนามสกุลจริง ตามในบัตร แล้วพบ Profile แล้วเห็นข้อมูลที่เปิด Public จึง “อาจจะ” สร้าง Facebook อีกอันเลียนแบบขึ้นมา โดยใช้ชื่อและนามสกุลของนางสาว A แล้วเข้าไปใน Facebook ของ B เพื่อป่วนก็เป็นไปได้
    3. และเป็นไปได้ว่า เคยเซ็นต์สำเนาบัตรประชาชน ไม่ได้ระบุ “จุดประสงค์” การใช้งาน กล่าวคือ เซ็นแค่ สำเนาถูกต้อง และเซ็นต์ชื่อ แล้วเกิดหลุดไป ทำให้เกิดการสวมสิทธิ์จดทะเบียน SIM ดังกล่าวได้

    เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

    1. เซ็นสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง อย่าลืมเขียนทับกำกับไปเลยว่า ใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร จะได้ไม่สามารถนำไปใช้ทำอย่างอื่นได้
    2. เลขที่บัตรประชาชนมีความสำคัญ เป็นการระบุตัวตนได้จริง ควรเก็บเป็นความลับ หากใครรู้ และระบบจดทะเบียนที่อาจจะไม่รัดกุมพอ อาจจะนำไปสู่เหตุการณ์ดังที่กล่าวมาได้
    3. อย่าตั้งรหัสผ่านที่มีข้อมูลที่อยู่ในบัตรประชาชนเด็ดขาด อย่างกรณีดังกล่าว ใช้ชื่อ และ วันเดือนปีเกิด เสี่ยงมาก
    4. ข้อมูลส่วนตัวใน Social Media ควรปิดเป็นความลับ เปิดเผยเฉพาะ Friends หรือไม่ก็ไม่ควรเปิดเผยเลยยิ่งดี

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ