Category: Google Apps

  • Open Google Calendar

    หลังจากครั้งก่อนได้แนะนำ extension สำหรับสร้างตารางนัดหมายบน Google Calendar ผ่านโปรแกรมเมล์ยอดนิยมตลอดกาล นั่นคือ Thunderbird นั่นเอง!!! อ่านได้ที่ Thunderbird Return วันนี้ก็จะมาเล่าถึง Extension อีกตัวทำงานอย่างเดียวกันแต่รอบนี้ไม่ต้องทำอะไรให้วุ่นวาย extension ชื่อเหมือนบทความคือ Open Google Calendar ขอข้ามวิธีติดตั้งเลยละกัน ติดตั้งเหมือน extension ตัวเก่ากลับไปอ่านบทความก่อนหน้าได้นะครับ

    เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะมีปุ่มเพิ่มขึ้นมาที่มุมบนขวาดังรูป

    คลิกที่ Open Google Calendar แล้ว Sign In เข้าระบบให้เรียบร้อย จะได้ดังภาพ.

    Google Calendar

    สามารถเพิ่มอีเว้นท์อีไม่เว้นท์ได้เหมือนเปิดเว็บ กรั่กๆ ง่ายกว่าวิธีเก่า พอสมควรแก่การใช้งานบนเครื่องที่เราใช้คนเดียว!! ย้ำคนเดียว เพราะยังหาวิธี sign out ไม่เจอ 555

    วันนี้สั้นๆ แค่นี้ครับ จบขอให้สนุก…

  • เค้าเอาไฟล์ MP4 บน Google Drive ไปแสดงใน Video Player บนเว็บได้อย่างไร

    สมมุติว่า เรามีไฟล์วิดีโอเป็น .mp4 อยู่ไฟล์หนึ่ง อยู่ใน Google Drive ต้องการเผยแพร่ เฉพาะบน Website ของเราเท่านั้น จะต้องทำอย่างไร?

    Javascript video player

    สิ่งแรกที่ต้องมีคือ ตัว Video Player บนเว็บ ลอง Google ด้วยคำว่า “javascript video player” ดู มีหลายตัวให้เลือกใช้ แต่ในที่นี้ ขอทดลองกับ video.js (เว็บไซต์ https://videojs.com )

    คลิกที่ USE NOW ( https://videojs.com/getting-started/ )

    จากนั้น ลองสร้างไฟล์ test.html โดยเอา Code จาก Video.js CDN ไปแปะเลย

    <head>
      <link href="https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video-js.css" rel="stylesheet">
    
      <!-- If you'd like to support IE8 (for Video.js versions prior to v7) -->
      <script src="https://vjs.zencdn.net/ie8/1.1.2/videojs-ie8.min.js"></script>
    </head>
    
    <body>
      <video id='my-video' class='video-js' controls preload='auto' width='640' height='264'
      poster='MY_VIDEO_POSTER.jpg' data-setup='{}'>
        <source src='MY_VIDEO.mp4' type='video/mp4'> <!-- แก้ตรงนี้ -->
        <source src='MY_VIDEO.webm' type='video/webm'>
        <p class='vjs-no-js'>
          To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that
          <a href='https://videojs.com/html5-video-support/' target='_blank'>supports HTML5 video</a>
        </p>
      </video>
    
      <script src='https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video.js'></script>
    </body>

    จาก Code นี้ JavaScript จาะเรียกไฟล์ .MP4 จากไฟล์ชื่อ MY_VIDEO.mp4 ซึ่ง ถ้าเอา test.html นี้ไปวางบน Web Server ก็หมายความว่า เราต้องมีไฟล์ MY_VIDEO.mp4 ด้วย

    ไฟล์ MP4 บน Google Drive

    ตัวอย่างเช่น เราอาจอัดคลิปวิดีโอการสอน อยากจะเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน ผ่าน JavaScript Video Player อย่าง video.js ข้างต้น ก็สามารถทำได้ดังนี้

    1. แชร์ไฟล์ดังกล่าว ให้เป็น Anyone with the link can View
    2. แล้ว copy link นั้นมา หน้าตาประมาณนี้

      https://drive.google.com/open?id=FILE_ID
    3. จะเห็นคำว่า id= FILE_ID ตรงนี้ให้ Copy เก็บไว้

    แต่การที่เราจะเอา Link นี้ไปใช้ใน Video Player ตรง ๆ ไม่ได้ เพราะมันเป็นการเรียกใช้ Google Drive ไม่ใช่การเรียก File Content

    GoogleAPI

    วิธีการที่จะ Get Content ของไฟล์ที่ต้องการออกมากจาก Google Drive สามารถเรียกผ่าน Google API ซึ่ง หากจะทำเองก็สามารถทำได้ มีพวก node.js ให้ใช้งานอยู่ แต่พบว่า สามารถเรียกใช้ www.googleapis.com ได้ โดยอ้างอิงจาก https://googleapis.github.io/

    ในที่นี้ จะเรียกผ่าน Google Drive API ใน Version 3 รูปแบบ URL จะเป็นดังนี้

    https://www.googleapis.com/drive/v3/files/FILE_ID?alt=media&key=API_KEY

    ในการใช้งาน ต้องการ 2 ส่วน

    • FILE_ID ได้จากการแชร์ไฟล์ข้างต้น
    • API_KEY ได้มาจากการสร้าง Credential บน Google Cloud Platform วิธีการทำตามนี้ https://cloud.google.com/docs/authentication/api-keys

    การใช้งาน Google API นั้น มีส่วนทั้งที่ต้องจ่ายเงิน และส่วนที่ใช้ฟรี แต่ถูกจำกัด Quota ในกรณี Google Drive API สามารถใช้ได้ฟรี แต่จะมี Quota อยู่ โดยดูได้จาก https://developers.google.com/drive/api/v3/about-sdk

    ประกอบร่าง

    เมื่อได้ FILE_ID และ API_KEY มาแล้ว ก็เอาไปใส่ใน Code ข้างต้น

    <head>
      <link href="https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video-js.css" rel="stylesheet">
    
      <!-- If you'd like to support IE8 (for Video.js versions prior to v7) -->
      <script src="https://vjs.zencdn.net/ie8/1.1.2/videojs-ie8.min.js"></script>
    </head>
    
    <body>
      <video id='my-video' class='video-js' controls preload='auto' width='640' height='264'
      poster='MY_VIDEO_POSTER.jpg' data-setup='{}'>
        <source src='https://www.googleapis.com/drive/v3/files/FILE_ID?alt=media&key=API_KEY' type='video/mp4'> <!-- เปลี่ยนตรงนี้ -->
        <source src='MY_VIDEO.webm' type='video/webm'>
        <p class='vjs-no-js'>
          To view this video please enable JavaScript, and consider upgrading to a web browser that
          <a href='https://videojs.com/html5-video-support/' target='_blank'>supports HTML5 video</a>
        </p>
      </video>
    
      <script src='https://vjs.zencdn.net/7.6.5/video.js'></script>
    </body>

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

    Disclaimer: จุดประสงค์ของบทความนี้ เพื่อแนะนำวิธีการทำเท่านั้น โปรดนำความรู้นี้ไปใช้งานอย่างสร้างสรรค์นะครับ ผู้เขียนบทความไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับผู้นำไปใช้ทั้งสิ้น

  • Google Drive กับ Google Share Drive — กินพื้นที่ใคร ?

    ปัญหา: การแชร์พื้นที่จาก Google Drive กับ Google Share Drive นั้น เมื่อผู้ใช้ที่เราแชร์ไปให้ ทำการ Upload ไฟล์ขึ้นมา จะกินพืันที่ของใคร ?

    มาทดลองกัน

    Google Drive

    User A สร้าง Folder ชื่อ “Test Upload” บน “Google Drive” แล้วแชร์ให้ User B สามารถแก้ไขได้ (edit)

    User B เปิด Google Drive ของตนเอง แล้วเข้าไปใน Shared With Me ก็จะเห็น “Test Upload”

    User B ทำการ Upload File จากนั้น ไปดูใน Detail จะพบว่า ไฟล์มีขนาด 945 KB และ ใช้พื้นที่ของตัวเองไป 945 KB ด้วย

    กลับมาดูใน Google Drive ของ User A ซึ่งเป็นเจ้าของ (Owner) โฟลเดอร์ “Test Upload” พบว่า ไม่ได้ใช้ Quota พื้นที่จัดเก็บของ User A เลย เพราะ เจ้าของไฟล์ (File) คือ User B

    และ แม้ User A จะเป็นเจ้าของ Folder ก็ทำได้เพียงแต่ เตะ User B ไม่ให้เห็น Folder แต่ ไม่สามารถ ถอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ของ User B ได้ (เศร้า)

    Google Share Drive

    ก่อนหน้านี้เรียกว่า Team Drive แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Share Drive ซึ่ง เป็น Feature ของ G Suite for Education (และ G Suite ตามที่ Google กำหนด) มีสิทธิ์ สร้าง Share Drive

    ผู้ใช้ขององค์กร (ในที่นี้คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) สามารถสร้าง Google Share Drive แล้ว Add Member เป็นผู้ใช้ที่ใช้ Google Account อื่น (รวมถึง Gmail ด้วย) เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ โดย ความเป็นเจ้าของ Share Drive คือ องค์กร กล่าวคือ แม้ User A จะเป็นคนสร้าง

    ต่อไป User A ทำการสร้าง Share Drive ตั้งชื่อว่า “Test Share Drive”

    แล้วเพิ่ม User B มาเป็น Member ให้สิทธิ์เป็น Contributor (สิทธิ์ใน Share Drive จะมีหลายระดับกว่า Google Drive)

    User B จะเห็น Share Drive จาก เมนู “Shared drives” (แต่ถ้า share จาก Google Drive จะเห็นใน “Shared with me”)

    เมื่อ User B ทำการ Upload ไฟล์เข้าไป จะพบว่า ไม่ใช้ Quota พื้นที่ User B เลย!!

    ต่อมา User A เตะ User B ออกไป

    ไฟล์ยังอยู่ในองค์กร ของ User A

    ส่วน User B ก็เข้าถึงไม่ได้อีกต่อไป

    สรุป

    • Google Drive สิทธิ์เป็นของ Owner และใช้พื้นที่ของผู้เป็น Owner ดังนั้น แม้ Google Drive ขององค์กร จะ Unlimited แต่ เวลาที่ผู้ใช้จาก Free Gmail Upload ไฟล์ขึ้นมา ก็จะใช้ Quota พื้นที่ของ Free Gmail คือ 15 GB นั้น !! ดังนั้น วิธีนี้ จะไม่สามารถให้ ผู้ใช้ Free Gmail Upload ไฟล์ที่มีขนาดเกิน Available Quota ของตนเองได้
    • Shared Drive สิทธิ์เป็นขององค์กร เวลา Free Gmail Upload ขึ้นมา จะไม่กิน Quota พื้นที่เค้า และ องค์กรสามารถเตะ Free Gmail ออกไปได้

    เข้าใจตรงกันนะ

  • Thunderbird returns

    หลังจากปันใจไปให้ Microsoft Outlook และใช้ Microsoft Outlook มาตลอดเกือบ 5 ปี มีเหตุให้การใช้ Google Calendar มีความสะดวกมากกว่า Office365 Calendar (จริงๆ ปฎิทินของ Office365 อาจจะทำได้ก็ได้แต่ไม่มีคนสอนกรั่กๆ) และเมื่อจะใช้ Google Calendar (โดยไม่ใช้เว็บ) ก็ต้องใช้คู่กับ Thunderbird สินะ!!!

    Download

    https://www.thunderbird.net/en-US/ คลิกตรงปุ่ม Free Download รุ่นปัจจุบัน 68.1.0 จะได้ English (US) รุ่น 32-bit หากต้องการรุ่น 64-bit คลิกที่ system & language แล้วเลือกภาษาที่ต้องการ แน่นอนไม่มีภาษาไทย English (US) หรือถ้าอ่านภาษาอื่นๆ ออกเชิญเลือกตามอัธยาศัย

    โหลดมาแล้วก็ติดตั้งให้เรียบร้อยด้วย Next Technology (Yes, Next, Next, Next, Next, Install, Finish)

    เมื่อเปิดโปรแกรม Thunderbird ครั้งแรกจะได้ประมาณดังรูป

    Set Up an Existing Email Account

    Mail Setup

    เริ่มการใช้งานได้เลยขั้นแรกตั้งค่าเมล์ สำหรับผู้ที่เปิดใช้งาน Gmail แล้วเท่านั้น หากยังไม่ได้เปิดใช้งาน อ่าน ที่นี่ ก่อน

    หากมีการเปิด 2-step Verification ต้องไปสร้าง App password ที่ gmail.com ให้เรียบร้อยก่อนแล้วเอา password ที่ได้มาใช้กับ thunderbird

    Calendar Setup

    Thunderbird (สำหรับ Windows) รุ่นใหม่ๆ จะให้ Lightning มาโดยปริยายไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม แต่สิ่งที่ต้องติดตั้งเพิ่มคือ Provider for Google Calendar

    ส่วน Thunderbird (สำหรับ linux) ต้องติดตั้งเพิ่มเอง

    ที่หน้าต่าง Thunderbird กดปุ่ม alt-T (ปุ่ม alt และปุ่มอักษร t พร้อมกัน) เพื่อเรียกเมนู Tools

    เลือก Add-ons

    Add-ons

    จะได้หน้า Add-ons Manager

    Manage Your Extensions 

    ค้นหา Provider for Google Calendar ในช่อง Find more extensions จะได้หน้าต่างเพิ่มเป็นดังรูป

    Search Results

    คลิกปุ่ม + Add to Thunderbird แล้วคลิก Add

    Add

    คลิก Restart Now

    Restart

    เมื่อคลิกที่หน้าต่าง Add-ons Manager จะเห็นว่ามี Provider for Google Calendar เพิ่มมาแล้ว

    Add-ons Manager

    กลับมาที่หน้าหลักสังเกตมุมบนขวาจะมีรูป ให้คลิกที่ เพื่อเปิดหน้าปฎิทิน

    Calendar

    คลิกขวาที่พื้นที่ว่าง ๆ ใต้คำว่า Calendar เลือก New Calendar

    New Calendar

    จะได้หน้า Create New Calendar ให้เลือก On the Network แล้วคลิก Next

    Create a new calendar

    เลือก Google Calendar แล้วคลิก Next

    Google Calendar

    ใส่ E-mail address แล้วคลิก Next

    Locate your calendar

    ตรวจสอบว่า Username ที่ใส่ให้ถูกต้องหรือไม่คลิกถ้าถูกคลิก Next

    Sign in

    กรอกรหัสผ่านของ E-mail คลิก Next

    Enter your password

    หากเปิด 2-step Verification ไว้ก็เปิดแอ็ปกรอกตัวเลขให้เรียบร้อย

    2-step

    เลื่อนลงมาล่างสุดคลิก Allow

    Allow

    เลือกปฎิทินที่ต้องการคลิก Next

    Locate your calendar

    คลิก Finish

    Finish

    จะเห็นว่ามีปฎิทินเพิ่มขึ้นมาแล้วสามารถใช้งานได้ทันที

    Calendar

    จบขอให้สนุก

    หมายเหตุ!!!

    ต้องตั้งค่า general.useragent.compatMode.firefox ใน advance configuration ของ Thunderbird เป็น true สำหรับตอนนี้ เนื่องจาก Google เปลี่ยนอะไรสักอย่างทำให้ authen ไม่ได้

  • วิธีใช้ Google Calendar เพื่อบันทึกปฏิบัติงาน และใช้ Google Sheets เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงาน

    บทความนี้ นำเสนอแนวทางที่ผมใช้ในการ “บันทึกการปฏิบัติงาน” และ “รายงานผลการปฏิบัติงาน” เพื่อนำไปกรอกในระบบ TOR ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เครื่องมือที่ใช้

    1. Google Calendar
    2. Google Sheets
    3. Google Sheets Add-ons ชื่อ “Timesheet”
    4. Google Keep

    เป้าหมาย

    การบันทึกผลปฏิบัติงาน เพื่อ รายงานผลการปฏิบัติงานในระบบ TOR

    ระบบ TOR ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    TOR Online – ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องตกลงกับหัวหน้าฝ่าย ว่า รอบ TOR นี้ เราจะทำอะไร และมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่า … จะกำหนดเป็น “ภาระงาน” แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
    1. งานประจำ
    2. งานเชิงพัฒนา/งานพิเศษ
    3. ผลงานอื่นๆ(ตามที่คณะกำหนด)

    ในแต่ละ หัวข้อใหญ่ ก็จะแจกแจงว่า ทำอะไร เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่น

    1.1 5ส
    1.2 ประชุมติดตามงานของทีมงาน

    อะไรทำนองนั้น

    หัวข้อย่อย ของ ผลงานประจำ — มันสำคัญตรงการกรอก ผลการปฏิบัติงาน และ เอกสาร/ข้อมูลอ้างอิงนี่แหล่ะ

    ซึ่ง นอกจากต้องทำงานในหน้าที่ ประชุม ๆ ตอบคำถาม แก้ไขปัญหา กิจกรรรม … ฯลฯ ก็ต้อง บันทึกว่า ทำอะไรลงไปบ้าง มีเอกสารอ้างอิง และ ต้องสามารถ ให้หัวหน้า (และคณะกรรมการประเมิน) สามารถเข้าไปดูได้ด้วย

    ขอยกตัวอย่าง หัวข้อ “ภาระงาน” ของผมใน TOR ปี 2562
    ( TwT )

    
    1.1 5 ส
    1.2 ประชุมติดตามงานของทีมงาน
    1.3 ติดตั้ง Server/Software บริการ PSU Email
    1.4 เฝ้าระวังบริการ PSU Email
    1.5 ตอบคำถาม/ให้คำแนะนำบริการ PSU Email
    1.6 ประยุกต์ใช้ DialogFlow พัฒนา Chatbot กับ Facebook Page ของศูนย์คอมพิวเตอร์
    1.7 ประยุกต์ใช้ Deep Learning ในการคัดกรองอีเมลขยะ
    1.8 พัฒนาระบบหน่วยตรวจสอบภายใน
    1.9 โครงการปรับปรุงความปลอดภัย PSU Email
    1.10 โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง
    
    2.1 งานปรับปรุงและพัฒนา
    2.2 Helpdesk
    2.3 Internal Auditor
    
    3.1.1 อบรมประชุมที่ศูนย์จัด
    3.1.2 กิจกรรมมหาวิทยาลัย
    3.1.3 กิจกรรมศูนย์คอมพิวเตอร์
    3.1.4 กรรมการ/คณะทำงาน
    3.2   กิจกรรมกลุ่มงาน
    3.2.1 ประชุมติดตามโครงการ

    แล้วเราจะบันทึกผลการปฏิบัติงานอย่างไร ให้ ง่าย และสามารถ นำมากรอกใน TOR ได้ด้วย

    เริ่มจาก Google Keep

    เอาข้อหัวย่อย ของภาระงานข้างต้น มาสร้างเป็น Note ใหม่ใน Google Keep ตั้งหัวข้อว่า TOR 2562 (หรือใครอยากจะทำไว้ใช้ของ TOR 2563 ก็ค่อยลองทำดู)

    ต่อไป เราจะสร้าง Label ของแต่ละหัวข้อย่อย โดยการใส่ # ไว้ด้านหน้า หัวข้อย่อย เช่น
    1.10 โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง
    เป็น
    [Update – สำหรับให้รายงานสวยงามยิ่งขึ้น แนะนำให้ Replace ” ” ด้วย “_”]
    #1.10_โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง

    พอใส่ # หน้า 1.10 แล้ว Google Keep จะขึ้น Popup ให้สร้าง Label “1.10” เราก็สร้างไว้ (มันมีเหตุผล ทำตามไปก่อน เดี๋ยวเล่าให้ฟัง)

    Popup ให้สร้าง Label “1.10”

    ทำจนครบทุกข้อ เราจะได้ Note ใน Google Keep อย่างนี้
    จากนั้น ให้คลิก รูป Pin เพื่อปักหมุดเอาไว้
    แล้วกดปุ่ม Close ด้านล่างได้เลย

    [Update: ใน Google Keep สามารถเอาภาพ เช่น เกณฑ์การประเมิน การพิจารณาว่าเรื่องนี้ เข้าในส่วน งานประจำ หรือ งานเชิงพัฒนา เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ จะได้ไม่ต้องไปค้นหาหลาย ๆ ที่]

    บันทึกการปฏิบัติงานใน Google Calendar

    ใน Google Calendar จะมี Panel ด้านขวามือ จะเห็น Icon ของ Google Keep สีเหลือง ๆ คลิกสิครับ รออะไร

    Icon ของ Google Keep ใน Google Calendar

    เราก็จะเห็น Note ของ Google Keep ที่เรา Pin ไว้ตะกี้ อยู่บนสุด

    Note ที่ Pin ไว้ จะอยู่บนสุด

    ใน Google Calendar นั้น ปรกติเราจะลงนัดหมายต่าง ๆ ลงไปใน Default Calendar ของเรา แต่ในที่นี้ แนะนำให้สร้างอีก Calendar นึงขึ้นมา ตั้งชื่อว่า worklog

    แนะนำให้สร้าง Calendar ใหม่ ชื่อ worklog เพื่อแยกบันทึกปฏิบัติงาน กับ การนัดหมายทั่วไป

    วิธีลงบันทึก

    เช่น วันนี้ เวลา 10:00-13:30 ทำงานของหน่วยตรวจสอบภายใน เป็นการ “ปรับปรุงโปรแกรมหน่วยตรวจสอบ” และบันทึกสิ่งที่จะต้องทำ กับ สิ่งที่ทำเสร็จไปแล้ว

    วิธีการบันทึก

    1. [Update] Copy ข้อความจาก Google Keep เช่น ข้อ #1.8_พัฒนาระบบหน่วยตรวจสอบภายใน มาใส่ใน Title
    2. [Update] อาจจะเพิ่ม ” ปรับปรุงโปรแกรมหน่วยตรวจสอบ” เป็นคำบรรยาย ในหัวข้อการทำงาน
    3. ใส่ เวลา 10:00 – 13:30 ว่าเราทำงานนี้ในช่วงเวลานี้
    4. บันทึกสิ่งที่จะต้องทำ กับ สิ่งที่ทำเสร็จไปแล้ว
    5. เลือกบันทึกลงใน worklog
    6. กดปุ่ม Save
    ขั้นตอนการบันทึกผลการปฏิบัติงาน

    วางแผนการทำงาน

    อย่างเช่น ผมมีงานที่ต้องทำทุกเช้า คือ “1.4 เฝ้าระวังบริการ PSU Email”

    1. [Update] ใส่ #1.4_เฝ้าระวังบริการ_PSU_Email
    2. เลือกบันทึกใน worklog
    3. คลิก More Option
    บันทึกปฏิบัติงาน ที่จะต้องทำทุกวัน

    เลือกเป็น Repeat > Every Weekday

    เลือกให้เกิดการบันทึกนี้ ทุกวัน

    แล้วมา Uncheck “All day” ออก เพื่อกำหนดช่วงเวลา เช่น ผมจะทำงานนี้ประจำทุกวันทำงาน เวลา 09:00-10:00 จากนั้น คลิกปุ่ม Save

    กำหนดเวลา

    สร้างนัดหมาย แล้วเอามาเป็นบันทึกปฏิบัติงานก็ได้

    เบื่อไม๊ เวลาจะนัดประชุม นอกจากจะต้องหาเวลาว่าง ห้องว่าง แล้วต้องมาหาว่า ใครว่างวันไหน แถม ลงนัดไปแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่า ใครจะตอบรับการเข้าประชุมบ้าง

    ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อใช้ Google Calendar

    1. ใส่หัวข้อ เช่น “#1.10 นัดประชุม” –> เพื่อลงในบันทึกปฏิบัติงานของภาระงาน “1.10 โครงการพัฒนาอะไรสักอย่าง”
    2. ลงเวลานัด
    3. เพิ่ม Email ผู้เข้าร่วมประชุม
    4. ดูได้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมว่างไม๊ในเวลานัด (ถ้ามันใช้ Calendar เป็นอ่ะนะ)
    5. ถ้าคนนี้ไม่สำคัญ ไม่มาก็ได้ ก็ Mark Optional
    6. ใน G Suite for Education สามารถจอง Resource ได้ เช่น จองหัองได้ ใน Free Gmail ไม่มีจร้า
    7. ใน G Suite for Education สามารถสร้างห้อง เพื่อ Video Conference ใน Google Meet ได้ ส่วน ใน Free Gmail ไม่มีจร้า
    8. คลิก Save

    ตอบ Email ก็เอามาลงบันทึกปฏิบัติงานได้

    เช่น มี Order มาให้ทำอะไร มาทาง Email ก็สามารถ เอามาลงบันทึกปฏิบัติงานได้เลย

    ก็สามารถเอามาใส่ในหัวข้อ ภาระงาน ที่ถูกต้องได้ แถม ถ้า email นี้ ถึงใครบ้าง ก็จะสร้างนัดหมายให้ได้ด้วย

    ผลการบันทึกปฏิบัติงาน

    เมื่อเวลาผ่านไป …

    วัน ๆ ไม่ได้ว่างงานนะ

    เมื่อถึงเวลารายงานผลการปฏิบัติงาน

    ใน Google Drive สร้าง Google Sheets ขึ้น จากนั้น ติดตั้ง Add-Ons ชื่อ “TimeSheet”

    เมื่อติดตั้งเสร็จจะได้อย่างนี้

    และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องใส่ # ไว้หน้าชื่อของ Event

    เริ่มเลยแล้วกัน

    Add-Ons > TimeSheet>Create Report

    เลือก Calendar และ กำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการ

    ผลที่ได้

    ผลที่ได้ เรียงตามหัวข้อภาระงาน และ นับจำนวนชั่วโมงได้

    เช่น หัวข้อ #1.8 พัฒนาระบบหน่วยตรวจสอบภายใน ก็จะสามารถดูรายละเอียดและจำนวนชั่วโมงได้

    และเอาไปใส่ใน TOR ได้แระ

    ส่วน Google Sheets บันทึกผลข้างต้น ก็เอาไป Share ได้ตามปรกติ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

  • เล่าเบื้องหลังการสร้าง www.psudev.info

    “กรุงโรมไม่สร้างแค่วันเดียว” ฉันใดฉันนั้นเพื่อให้เครือข่ายนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น (เหล่าโปรแกรมเมอร์) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกิดการร่วมกลุ่มกันอย่างเป็นรูปธรรมกันมากขึ้น จึงมีแนวคิดจะสร้างเว็บไซต์ลักษณะที่เป็นฐานข้อมูลรวบรวมรายชื่อสเหมือนสมุดหน้าเหลือง (เด็กสมัยใหม่อาจจะงง!) www.psudev.info เพื่อเป็นข้อมูลไว้ติดต่อกันสามารถค้นหาได้สะดวก คอนเซปคือต้องพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็ว เป็น https ไม่ต้องเสียค่า cert สามารถออนไลน์ได้ทั่วโลก ไม่มีวันล่ม ไม่ต้องดูแลอินฟา และไม่รอช้าานั่นเริ่มกันเลยครับ…

    (more…)
  • วิธีสร้างสมุดโทรศัพท์ของหน่วยงานด้วย Google Contact

    เคยเป็นไม๊ จะโทรศัพท์หาเพื่อนร่วมงาน แต่ไม่รู้ว่า เบอร์มือถือ เบอร์ที่โต๊ะ หรือ Email อะไร วิธีการที่บางหน่วยงานทำ คือ ทำแผ่นพับเป็นสมุดโทรศัพท์เก็บใส่กระเป๋าตังค์บ้าง เป็นกระดาษแปะบ้าง บางทีก็หาย บางทีก็ไม่ได้พกบ้าง หรือ บางทีทำเป็นเว็บให้ค้นหาบ้าง … บางแห่งถึงกับต้องลงแรงเรียน Mobile App ก็มี (อิอิ)

    จะดีกว่าไม๊ ถ้าแค่ฝ่ายบุคคล แค่รวบรวม ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น เบอร์มือถือ เบอร์โต๊ะ และ Email ใส่ Excel แล้วจากนั้น ใครใคร่จะ Import ใส่ Google Contact ของตนเองได้เลย แล้วหลังจากนั้น จะโทร จะค้นหา ก็สามารถทำในมือถือของตนเองได้เลย !!! ไม่ต้องพก ไม่ต้องติดตั้ง App เพิ่ม ใช้ได้ทั้ง iOS, Android และบน Computer ก็ยังได้

    มาดูกัน

    สร้าง Excel เก็บข้อมูล

    การนำเข้า (Import) ข้อมูลเข้า Google Contact มีทริคนิดเดียว คือ บรรทัดแรกของไฟล์ จะต้องเป็น Header ที่กำหนดชื่อตามรูปแบบมาตราฐาน กล่าวคือ ตั้งหัวข้อว่า “ชื่อ”, “นามสกุล”, “ชื่อเล่น”, “มือถือ”, “เบอร์โต๊ะ” อะไรอย่างนี้ +++ไม่ได้+++

    ต้องตั้งเป็น

    "Given Name","Family Name", "Name Suffix","Phone 1 - Type","Phone 1 - Value","Phone 2 - Type","Phone 2 - Value","Group Membership"

    Given Name = ชื่อ
    Familay Name = นามสกุล
    Name Suffix = ใช้เป็นชื่อเล่นก็ได้
    Phone 1 – Type = ประเภทโทรศัพท์อันที่ 1 (เช่น Mobile)
    Phone 1 – Value = หมายเลขโทรศัพท์อันที่ 1 (เช่น เบอร์มือถือ)
    Phone 2 – Type = ประเภทโทรศัพท์อันที่ 2 (เช่น Work)
    Phone 2 – Value = หมายเลขโทรศัพท์อันที่ 2 (เช่น เบอร์โต๊ะ)
    Group Membership = จะให้ Label ว่าอย่างไร

    ดังตัวอย่างนี้

    จากนั้น Save เป็นแบบ CSV File สมมุติชื่อว่า contact.csv

    นำเข้า Google Contact

    เปิด Gmail/Google Mail แล้วคลิกที่ App > Contacts
    ใน Google Contact คลิกที่ More > Import
    เลือกไฟล์

    เสร็จแล้ว ก็จะได้ใน Google Contact มี Label ตามภาพ (1 contact มีหลาย ๆ label ได้)
    ในภาพ จะเห็นว่า Contact ที่เพิ่งนำเข้าไป จะปรากฏใน Label cc2019, myContact และ Imported on 5/7 ซึ่งเป็น Default

    วิธีการนี้ มีข้อดีคือ แม้จะมี contact ที่ซ้ำกัน ก็ไม่เป็นไร เราสามารถ Merge ทีหลังได้ หรือ เลือกลบที่เป็น Label ของปีก่อน ๆ ได้ ถ้าต้องการ


    พร้อมใช้งานทันที

    เมื่อ Import เสร็จแล้ว ในมือถือที่ Sync กับ Google Account ที่เราเอา Contact ใส่เข้าไปก็จะสามารถค้นหาได้ทันที

    หาตามเบอร์โทรศัพท์ก็ได้

    เย ๆ

  • วิธีการจองทรัพยากร (ห้องประชุม/รถ/Projector/etc…) ใน Calendar ของ G Suite for Education

    ข้อแตกต่างระหว่าง Calendar ของ G Suite for Education กับ Free Gmail

    สร้าง Event เพิ่มผู้เข้าร่วมประชุม และ จองทรัพยากร

    คลิกในช่อง วันบนปฏิทิน ที่เราต้องการนัดประชุม

    กรอกหัวข้อการประชุม แล้ว
    ใส่รายชื่อ ผู้เข้าร่วมประชุม
    และเลือกห้องประชุม


    คลิกที่ See guest availability เพื่อดูว่า ว่างพร้อมกันหรือไม่ ทั้งผู้เข้าร่วมประชุม และ ห้อง

    หากบางคนไม่ว่างในเวลาที่กำหนด สามารถคลิก Suggested times เพื่อให้ Google Calendar หาเวลาที่ว่างพร้อมกันหมดได้

    ใส่คำอธิบาย หัวข้อการประชุมก็ได้

    เมื่อกดปุ่ม Save ระบบจะแจ้งว่า ให้ส่ง Email ไปแจ้งผู้เข้าร่วมประชุมหรือไม่ แนะนำว่าควรคลิก Send

    เพิ่มเติม เมื่อคลิกเข้ามาดูรายละเอียดการนัดประชุม

    • ใน G Suite for Education มีบริการ Hangouts Meet ให้ในตัว (นัดหมายด้วย Free Gmail จะสร้างห้องเองไม่ได้ ทำได้แต่ Join เข้ามา) ซึ่งทำได้ทั้ง Video Call หรือ จะ Phone In ก็ได้ (อันนี้ไม่เคยลอง)
    • ดูได้ว่า ใครตอบรับ/ปฏิเสธ/ยังไม่ตอบ (เค้าเรียกว่า RSVP – Répondez s’il vous plaît – Please respond)
    • มีแจ้งเตือนก่อนการประชุมจะเริ่ม ตั้งค่าได้ว่าต้องการก่อนเวลานานขนาดไหน (ในตัวอย่างตั้งไว้ 10 นาที)

    Free Gmail ทำได้แค่นี้

    ต่อไป เป็นตัวอย่างนัดกับผู้ที่มีตารางนัดหมายแน่น ๆ
    และแสดงการจอง ห้องประชุม และ Projector

    เลือก จำนวนชั่วโมง (ในที่นี้ 1 ชั่วโมง) แล้วเลื่อนหาช่องที่ว่างตรงกันได้

    การทำรายงานการใช้ทรัพยาการ (ยกตัวอย่างห้องประชุม)

    คลิกที่ รูปแว่นขยาย เลือก ปฏิทินของทรัพยากร (ในที่ คือห้องประชุม) ที่ต้องการดู




    แล้วเลือก ช่วงเวลาที่จะทำรายงาน (ในที่นี้ เป็นตัวอย่างการทำรายงานการใช้ ห้องประชุม ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม) แล้ว คลิก ปุ่ม Search

    ก็จะได้รายงานอย่างนี้

    หวังว่าจะเป็นประโยขน์ครับ

  • แปลงรูปภาพ ให้เป็นตัวอักษร

    สำหรับ Blog ที่ 3 ในปีงบประมาณนี้ จะขอว่าด้วยเรื่องง่ายๆ ที่หลายๆ คนอาจไม่เคยรู้กันมาก่อน (มันง่ายจริงๆนะ ไม่ได้โม้ ) นั่นก็คือวิธีการแปลงรูปภาพ ให้กลายมาเป็นตัวอักษร หรือข้อความ

    มาเริ่มกันเลยดีกว่า ต้องขอเกริ่นก่อนว่า ทางผู้เขียนค่อนข้างจะใช้ชีวิตในทุกๆ วันกับการทำงานเอกสาร จัดทำคู่มือนู้นนั่นนี่ ต่างๆมากมาย และบ่อยครั้ง ก็จำเป็นจะต้องมานั่งคัดลอก หรือพิมพ์ข้อความจากไฟล์ภาพต่างๆ ให้มาอยู่ในรูปแบบเอกสารที่สามารถนำมาแก้ไขหรือประมวลผลต่อได้ ซึ่งมันก็จะค่อนข้างเสียเวลาอยู่มิใช่น้อยในแต่ละครั้ง

    อ๊าาาา … พอพูดมาจนถึงตอนนี้ หลายๆคนก็อาจจะคิดว่าก็มีตั้งหลายวิธีที่จะแปลงไฟล์รูปภาพให้ไปเป็นข้อความไง ทำไมไม่ใช้ละ ใช่!! มันก็มีหลายๆ โปรแกรมจริงนั่นแหละที่จะสามารถ convert รูปภาพให้เป็นตัวอักษรได้ แต่ไม่อยากลงโปรแกรมให้ยุ่งยากไง ก็อยากแค่คลิกขวาแล้วแปลงได้เลยง่ะ มันจะมีมั้ย ?? ตอบเลยว่า *** มี *** นั่นก็คือการแปลงรูปภาพ ให้กลายเป็นตัวอักษร ผ่านทาง Google Docs บน Google Drive นั่นเอง และไม่ใช่แค่รองรับการแปลงเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้นนะ แต่ยังรองรับการแปลงเป็นภาษาไทยได้ด้วย และไม่ใช่ได้ธรรมดานะ ยังถูกต้อง 100% ไปอี๊กกกก โอย!! เยี่ยมจริงๆ เยี่ยมจริงๆ ไม่บ่นมากละไปดูวิธีกันเลย let’s โกวววว

    Step 1. แนะนำให้เตรียมสแกนหรือถ่ายภาพข้อความที่ต้องการให้ชัด และ save เป็น .jpg หรือ .png ก็แล้วแต่ จากนั้นอัพโหลดขึ้น Google Drive ของเรา

    Step 2. เมื่ออัพโหลดเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ คลิกขวาที่รูป —> เลือกเปิดด้วย —> เลือก Google เอกสาร ดังรูป

    Step 3. รอแป๊บนึง Google Docs ก็จะเปิดขึ้นมา โดยด้านบนสุดจะเป็นภาพปกติต้นแบบของเรา ส่วนด้านล่างของหน้าเอกสารก็จะเป็นตัวอักษรที่แปลงมาจากรูปภาพให้เราโดยอัตโนมัติ ซึ่งเราก็จะสามารถ copy หรือนำข้อความที่แปลงมาได้นั้นไปใช้งานต่อได้เลย

    ง่ายเนอะ เทคโนโลยีสมัยนี้เนี่ย ทำให้ชีวิตเราง่ายและสะดวกสบายขึ้นมากจริงๆ อย่างไรก็แล้วแต่ ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog สั้นๆ ในรอบนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยแหละนะ อยากให้ลองใช้งานกันดู เช่น ถ้าจะพิมพ์ข้อความสักหน้านึงในหนังสือเล่มนึง ก็หยิบมือถือขึ้นมา ถ่ายรูปหน้าที่ต้องการเลย จากนั้นอัพขึ้น Google Drive อัพเสร็จ คลิกขวาตามขั้นตอน บิงโกกกกกก ได้ข้อความมาละโดยไม่ต้องนั่งพิมพ์ หื้มมมม ประหยัดเวลาสุดๆ ไปลองกันดูเน้อทุกคน ….. สวัสดี

    ขอขอบคุณข้อมูลข่าวสารดีดี
    – https://www.it24hrs.com