Category: GIS

All about GIS

  • การเก็บพิกัด GPS ด้วย Android device

    เป็นแอพสาหรับการออกพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บพิกัด สามารถใช้ GPS ได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต แต่หากจะ share to Maps ต้องอาศัยอินเตอร์เน็ตครับ ชื่อแอพ GPS Status & Toolbox ที่ใช้ฟรี บน Android device เลยคิดว่านำมาแชร์ สำหรับใครที่ต้องการเก็บพิกัด GPS แบบง่ายๆ เพื่อนำมาใช้งานต่อในด้านอื่นๆต่อไป

    เกริ่นก่อนนิดนึงว่า ปกติแล้วนักภูมิสารสนเทศ หรือผู้ที่ทำงานด้านภูมิสารสนเทศ จะใช้เครื่อง GPS ที่เฉพาะเหมาะกับงาน ซึ่งมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ ทั้งแบบธรรมดาและแบบถ่ายรูปพร้อมฝังพิกัดได้ด้วย ก็มีราคาที่แตกต่างกันไปตามรุ่นและฟังก์ชั่น ดูเพิ่มเติม
    10927839_760991123990934_745730649596261186_o

    มาเริ่มต้นใช้งานคร่าวๆ กันเลยดีกว่าคับ

    1. เข้า Play Store บน Android ของท่าน > ค้นหา GPS Status & Toolbox > คลิก install
    01

    2. เมื่อติดตั้งและเปิดแอพแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้
    02

    3. ก่อนใช้แอพ ต้องเปิด GPS ทุกครั้ง
    03

    4. เปิดแอพขึ้นมาแล้ว สังเกตว่าระบบจะ loading location เพราะต้องรอให้จับสัญญาณดาวเทียมได้ก่อน *** ส่วนกลมๆที่เห็นเป็นจุดๆ จะแสดงการจับสัญญาณดาวเทียมได้กี่ดวง ความเข้มของสัญญาณแค่ไหน (ยิ่งเยอะดวงก็ยิ่งแม่นยำในการระบุพิกัดมากยิ่งขึ้น)
    04

    5. การตั้งค่าต่างๆ ที่จำเป็นของแอพ ไปที่ menu > setting
    05

    6. Distance ตั้งค่าหน่วยระยะทาง ใช้เป็น เมตร, กิโลเมตร
    06

    7. Speed จะปรับค่าตามการเดินหรือเวลาที่เรานั่งอยู่ในรถ หน่วยเป็น กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    07

    8. Select format จะให้แสดงค่าเป็น Latitude, Longitude หรือตั้งค่าเป็น UTM เพื่อเอาไปใช้ในโปรแกรม ArcGIS ก็ได้
    08

    9. กลับมาที่หน้าจอหลัก จะแสดงค่าต่างๆ ตามที่ตั้งค่าไว้
    09

    10. ทำการเก็บค่าพิกัด lat, long โดยการแชร์ ให้เปิด menu > share
    10

    11. เลือก share ตามที่มือถือเราลงแอพไว้ หรือเลือกส่งออกไปยัง Maps ได้เลย (ในหน้าจอไม่เห็นเพราะอยู่ด้านล่างสุด)
    11

    12. สามารถ share พิกัด to email ได้ ซึ่งลิงค์ที่ได้ สามารถเปิดที่เว็บบราวเซอร์ได้เลย โดยจะเป็น Google Map
    12

    13. โหมด Radar มีคาสั่ง Mark Location ด้วย และยังสามารถ save target (ค่าแลต-ลอง)ได้อีกด้วย
    13

    14. มีคาสั่ง Show on Map ไปยัง Google maps บนมือถือเราได้ด้วย
    14

    15. ปรับการแสดงแผนที่เป็นแบบ Satellite *** ได้ภาพที่คมชัดมาก
    15

    16. นอกจากนี้ยังสามารถวัดระยะทางได้ *** ตามตัวอย่าง วัดระยะจากถนนปากซอยไปยังจุดพิกัด จะได้ระยะทาง 45 เมตร
    16

     

    นอกจากนี้ แอพยังมีการแสดงต่างๆ อีกมากมาย อาทิเช่น ความสูง-ต่ำของพื้นที่(จากระดับน้ำทะเล) เข็มทิศ เป็นต้น ก็ลองเล่นเพิ่มเติมดูนะคับ ไม่ยาก ^^

    หมายเหตุ ความแม่นยำของการระบุค่าพิกัด ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ และพื้นที่ๆ เปิดใช้งาน (ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อสะดวกในการจับสัญญาณดาวเทียม

     

  • การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows

    ห่างหายไปนาน เพราะตอนนี้ยุ่งๆ หลายเรื่องเลยคับ ซึ่งมีหลายสิ่งในหัวสมองอันน้อยนิด อยากที่จะมาแชร์เกี่ยวสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า GIS

    คราวที่แล้วพูดถึง Map Server ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 2 เจ้าใหญ่ๆ คือ ArcGIS Server และ Geoserver (จริงๆแล้วมีตัวอื่นอีกนะคับ) ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ (SouthGIST) ติดตั้งและใช้งาน ArcGIS Server 10.0 อยู่คับ โดยใช้งานภายใต้โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(SLB-GIS) และคาดว่าภายในปีนี้จะติดตั้ง Geoserver เพิ่มอีกตัว โดยจะให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

    01

    การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows

    (ติดตั้งได้ทั้งบน Windows และ Linux) จะมีส่วนหลักๆ ที่จะต้องติดตั้ง คือ

    – Windows Server ตั้งแต่ 2003 ขึ้นไป *ที่ศูนย์ฯ ติดตั้ง Windows Server 2008 R2
    – Microsort SQL Server
    – IIS version 7.0 ขึ้นไป
    – ArcGIS Server 10 Enterprise
    – Microsoft .Net Framework 3.5
    – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – GIS Service
    – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – Web Applications
    – ArcSDE for SqlServer
    – ArcGIS for Desktop

    ดูเพิ่มเติมได้ที่ ArcGIS Resource

    ขั้นตอนการติดตั้ง ศึกษาได้จาก https://youtu.be/k5nL7msvPgs

    เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าตาสำหรับ Administrator จะเป็นแบบนี้คับ

    03

    ข้อดี ของ ArcGIS Server คือ บริหารจัดการง่าย ทำงานเพียง 2 ขั้นตอน ก็ build ออกมาเป็น Web Map Application ได้เลย

    1. Create Service โดย service นี้สามารถ share service ให้อยู่ในรูปของ WMS (Web Map Service) ได้ด้วยนะคับ เพื่อนำไปใช้ input เข้าโปรแกรมด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS for Desktop , QGIS เป็นต้น (ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอเรื่อง WMS นะคับ)
    2. Create Web Application โดยการ add Service ที่เราได้สร้างไว้แล้ว จากนั้น ตั้งค่าสำหรับเว็บ

    ก็จะได้ออกมาในเป็นหน้าเว็บแมพ (Web Map Application)

    02

    ข้อด้อย ของ ArcGIS Server คือ ค่า license ที่มีราคาเป็นหลักแสนบาท ซึ่งจะต้องซื้อ ArcGIS for Desktop (8,000฿) ด้วย

    แต่ถือว่าคุ้มนะคับสำหรับบางหน่วยงานที่ไม่อยากพึ่งพา Programmer มากนัก เพราะไม่ต้อง config อะไร แค่ add service แล้วนำไปสร้างเป็นเว็บแมพได้เลย พูดได้ว่า คุณสามารถ build web map ได้ภายใน 5 นาที โดยที่ไม่ต้อง coding เลย (แต่หากต้องการจะปรับแก้เพิ่มเติมก็สามารถ coding เพิ่มได้นะคับ เพียงแต่ว่าอาจจะต้องไล่หาโค้ดกันหน่อย)

    คราวหน้าจะมาพูดถึงการประยุกต์ใช้ GIS กับ Google Earth นะคับ หลายคนถามมาเยอะเลยว่า เราจะสามารถนำ GIS มาซ้อนทับและนำเสนอผ่าน Google Earth ได้อย่างไร?

    ปล. ศูนย์ GIS ยินดีให้บริการและให้คำปรึกษาด้าน GIS ดังนี้

    • บริการผลิตแผนที่
    • บริการคำปรึกษาการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
    • บริการคำปรึกษา แนะนำการสั่งซื้อภาพ และการประมวลผลข้อมูลถ่ายดาวเทียม
    • บริการยืมแผนที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ด้านภูมิสารสนเทศ
    • รับนักศึกษาฝึกงานด้านภูมิสารสนเทศ
    • บริการฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริเวณ 14 จังหวัดภาคใต้ (ปี พ.ศ. 2555 ชุด L7018)

    และรวมไปถึงการขอใช้พื้นที่ web map application เพื่อการศึกษาและวิจัย ด้วยนะคับ

     

  • ทำความรู้จักกับ Web Map Application

    หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ

    ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน

    ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    01

    จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ

    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์

    คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน?
    ตอบ : จัดทำขึ้นเองด้วยโปรแกรมด้าน GIS หรือหลายหน่วยงานจะมีให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหากเป็นข้อมูลของภาคใต้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    คำถาม : เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง?
    ตอบ : ในทุกๆด้าน
    05

    ลักษณะการติดต่อกันระหว่างส่วนเครื่องแม่ข่ายและส่วนของผู้ใช้งาน02

    GIS Web App. จะเชื่อต่อผ่านระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า WMS (Web Mapping Service) อ่านเพิ่มที่นี่ ฉะนั้น Web Map Server จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับการให้บริการ web map service ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ Geoserver (Freeware) และ ArcGIS Server (License) ** จริงๆแล้วมีหลากหลายค่ายให้เลือกมากมายแต่สองตัวนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

    04 03

    *** ในส่วนของการติดตั้งและความยากง่ายในการใช้งานของ Web Map Server ทั้งสองตัวนี้ จะมาเล่าให้ฟังคราวหน้านะครับ ^^

    สรุป
    Web Application ต่างจาก Web Map Application ตรงที่… ข้อมูลที่จะแสดงลงบนแผนที่นั้นมีความซับซ้อนของชั้นข้อมูล และรวมไปถึงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางด้าน GIS แล้วนำเสนอในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ นั่นหมายถึงระบบแม่ข่าย(Server) ก็จะต้องใช้โปรแกรมที่รองรับด้าน web map service ด้วยเช่นกัน

    ตัวอย่าง Web Map App.