Category: Webmail

  • ใช้ Gmail เป็น pop3/pop3s client

    เริ่มกันเลย

    1. สำหรับผู้ใช้ใหม่ไม่เคยสมัครเมล์ของมหาวิทยาลัยมาก่อน ต้องเริ่มที่ https://webmail.psu.ac.th เลื่อนลงมาล่างสุด ปุ่มสีแดงที่เขียนว่า Register or Reset Password PSU-Email และ เว็บ https://passport.psu.ac.th มองไปทางซ้ายจะมีข้อความ ขอ/เปลี่ยนรหัส Google ทั้งสองเว็บจะมี 4 ช่องให้กรอก ช่องแรกคือ username ของ PSU Passport ช่องสองรหัสผ่านของ PSU Passport ช่องสามและสี่รหัสผ่านใหม่ที่จะใช้กับระบบเมล์ (ไม่เกี่ยวกับ PSU Passport นะย้ำ) ทำสองเว็บนี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนแล้วเริ่มที่ข้อ 2 ได้เลย!!
    1. ต้องยกเลิก filter ที่ตั้งไว้ที่เว็บเมล์ก่อน คือลบส่วนที่เคยตั้งค่าไว้ตามเอกสาร https://kyl.psu.th/RLYBWKpt6 ซึ่งหากมีกฎข้ออื่น ๆ ที่สร้างเพิ่มเติมจะเก็บไว้ก็ได้เช่นกัน แค่ต้องลบอันที่ redirect ไป @g.psu.ac.th ทิ้งไปก่อนเท่านั้น (สำหรับผู้ใช้ใหม่ สามารถทำตามเอกสาร https://kyl.psu.th/RLYBWKpt6 ได้เลย แต่!!! ไม่ต้องทำในส่วน redirect ตั้งแต่ Step 2 ไม่ต้องทำ ให้ทำตามเอกสารนี้แทน)
    Filter
    1. เปิดเว็บ https://gmail.com ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อย
    gmail.com
    1. มองไปมุมบนขวาจะเห็นรูปเฟือง ให้คลิกรูปเฟืองแล้วเลือก See all settings
    See all settings
    1. จะได้หน้า Settings
    Settings
    1. ให้คลิกที่ Accounts and Import จะได้หน้าตาประมาณนี้
    Accounts and Import
    1. ทีนี้เลื่อนลงมาจนกว่าจะเจอ Check mail from other accounts:
    Check mail from other accounts:
    1. คลิก Add a mail account จะมีหน้าต่างใหม่ปรากฎขึ้น!!!
    Add a mail account
    1. ให้กรอกอีเมลในรูปแบบ username.s@mail.psu.ac.th เช่น gr☷☷☷☷.n@mail.psu.ac.th แล้วกด Next
    Add a mail account
    1. หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลดังรูป โดยส่วนที่ต้องกรอกเพิ่มจะเป็น password และ POP Server ต้องแก้เป็น mail.psu.ac.th เท่านั้น Port ที่ใช้ได้คือ 110 ซึ่งคือ POP3 ธรรมดา ไม่สามารถเลือก Always use a secure connection (SSL) when retrieving mail. และ 995 คือ POP3S ที่ต้องเลือก Always use a secure connection (SSL) when retrieving mail ซึ่ง 2 Port นี้ต่างกันที่การเข้ารหัสและความเร็วในการโหลดเมล์ คือ Port 110 โหลดเร็วแต่ไม่เข้ารหัส Port 995 โหลดช้าเพราะเข้ารหัส ก็ต้องเลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง หากต้องการเก็บเมล์ไว้ที่ https://webmail.psu.ac.th ก็ให้เลือก Leave a copy of retrieved message on the server. และในส่วนตัวเลือกสุดท้าย Label incoming messages จะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ แต่แนะนำให้เลือก โดยสามารถเปลี่ยนชื่อเรียกได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหา กด Add Account เพื่อไปหน้าถัดไป
    1. จะได้หน้า Your mail account has been added. เลือก No เพราะเราไม่ต้องการส่งเมล์ออกในนาม @mail.psu.ac.th กด Finish
    Your mail account has been added.
    1. กดปุ่ม F5 ที่แป้นพิมพ์ก็จะเห็นว่าเราได้เพิ่มเมล์ @mail.psu.ac.th ไว้แล้วและกำลัง Check mail
    Accounts and Import
    1. เมื่อรอไปสักครู่ให้เลื่อนดูในแถบด้านซ้ายมือจะมีชื่อที่เราตั้งไว้ตอนกด Add a mail account
    Label
    1. เท่านี้เราก็สามารถเช็คเมล์ @psu.ac.th ได้โดยไม่ต้อง redirect mail แบบเดิม
    2. จบ. ขอให้สนุก

    *** รายละเอียดการดึงเมล์ใหม่ https://workspaceupdates.googleblog.com/2012/08/three-gmail-labs-graduation-into.html โดยสรุปคือ ความถี่ขึ้นอยู่กับบัญชีอีเมล ที่เพิ่มเข้ามา มีเมล์เข้ามากแค่ไหน ถ้ามากก็จะรีเฟรชบ่อย และถ้ารีบให้กด refresh เอง

    • ทั้งนี้หากมีเมล์เก่าเหลืออยู่ในเว็บเมล์ จะถูกส่งไป gmail ด้วยทั้งหมด
  • Webmail transformation!! #4

    export contact มาแล้วเอาเข้า webmail2 ไม่ได้ ยังไงซิ ?

    ไหนขอดูหน่อย
    1. เมื่อเปิดไฟล์ที่ export ออกจาก Squirrelmail (webmail) ตัวเก่าพบว่าข้อมูลที่ export มาเป็นดังนี้
    webmail export

    จะเห็นว่ามีบรรทัดสุดท้ายที่รายชื่อแปลก ๆ เมื่อถามๆ ดูคือทำลิสต์เอาไว้ว่าถ้าส่งหาลิสต์นี้ก็ไปตามรายชื่อเมล์ได้เลย ทีนี้ การเก็บลักษณะนี้บน Roundcube (Webmail2) นั้นทำไม่ได้ครับต้องแก้ใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดังนี้

    "nickname","name","First Name","Last Name","E-mail Address","label"

    *รูปแบบตามบรรทัดแรกในไฟล์นั่นเอง

    แต่ในความเป็นจริงสดมภ์ (คอลัมน์ Column) ที่จำเป็นจะต้องมีมีเพียง 3 คอลัมน์ ได้แก่ First Name, Last Name และ E-mail address เท่านั้นดังนี้เมื่อแปลงไฟล์ด้านบนให้เป็นตามรูปแบบก็จะได้เป็น

    Changed data

    หรือจะสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาเองก็ได้แต่ต้องอยู่ในรูปแบบ

    First Name, Last Name, E-mail Address

    ไฟล์ตัวอย่างก็จะได้เป็น

    Custom
    1. เมื่อมาที่ Roundcube ไปที่ contact แล้วมองด้านขวาบนกด Import
    Import contacts
    1. Browse เลือกไฟล์ที่แก้ไขแล้ว
    File selected
    1. กด Import จะได้หน้าสำคัญที่เป็นตัวกำหนดว่าจะเอาคอลัมน์ไหนเข้าบ้าง
    Column Selected

    หากเป็นไฟล์ Custom ก็จะมีเพียง 3 คอลัมน์ดังภาพ

    Custom Column
    1. กด Import จะได้หน้าสรุปว่านำเข้าได้กี่รายชื่อ กด Close
    Successfully imported
    1. แต่มาเป็นการรวมแต่ละรายชื่อเข้ากลุ่มให้เหมือนสมัยเป็น Squirrelmail มองมาทางซ้ายสุดด้านบนจะเห็นคำว่า Group อยู่ ใกล้ ๆ กันนั้นมี ให้กดที่ แล้วเลือก Add group
    Add group
    1. จะมีหน้าต่างสำหรับตั้งชื่อ Group ให้
    Create new group
    1. ก็สามารถตั้งชื่อได้ตามอัธยาศัยแล้วกด Save จะได้ Group ที่สร้างเพิ่มขึ้นมาดังภาพ
    Group
    1. คราวนี้มาเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่ม ทำได้โดยการคลิกที่รายชื่อที่ต้องการแล้วมองไปทางขวา จะเห็นคำว่า Groups
    Address Book
    1. กดที่คำว่า Groups ก็จะเห็นรายชื่อกลุ่มที่เราสร้างไว้สามารถกด (ปุ่มอยู่ชิดซ้าย) ให้กลายเป็น (ปุ่มอยู่ชิดขวา) เพื่อให้รายชื่อนั้นอยู่ในกลุ่มที่เราต้องการนั่นเอง
    Group Disabled
    Group Enabled
    1. ก็สามารถเลือกได้จนพอใจเมื่อคลิกกลุ่มที่สร้างไว้จะพบรายชื่อที่เราต้องการให้อยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่แล้ว
    Group Server
    1. สามารถส่งเมล์ถึงกลุ่มได้ทันทีโดยง่ายเพียงกดเลือกที่ชื่อกลุ่มที่เราต้องการจะส่งเมล์หา แล้วไปกดที่ Compose รายชื่อทั้งหมดในกลุ่มจะถูกใส่ในชื่อ To โดยอัตโนมัติ
    Compose to Groups
    1. หรือหากมีหลายกลุ่มหรือต้องการส่งเมล์ถึง คนอื่นๆ ในคราวเดียวกัน (สำคัญ) ระบบเมล์ของมหาวิทยาลัยอนุญาตให้ส่งเมล์ถึงที่อยู่เมล์ได้ 100 เมล์เท่านั้นในคราวเดียวกัน สามารถกดที่รูป เพื่อเพิ่มรายชื่อได้ทันทีหรือจะพิมพ์ต่อท้ายไปก็ได้เช่นเดียวกัน
    1. จบขอให้สนุก…
  • Webmail transformation!! #3

    เมื่อจะเลิกใช้ Squirrelmail มาใช้งาน Roundcube ก็ต้องมีเรื่องของการทำ Redirect และ Filter ด้วยซึ่งใน Roundcube (webmail2) มีวิธีการที่แตกต่างออกไปดังที่จะเล่าต่อไปนี้

    Redirect & Filter

    สำหรับผู้ใช้ใหม่ไม่เคยใช้ Squirrel mail (webmail เดิม) มาก่อน

    ที่ต้องระบุแบบนี้เพราะสำหรับคนที่เคยใช้ Squirrel mail มาก่อนส่วนมากจะ Redirect mail ไป gmail หมดแล้วดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนนี้

    1. Log In เข้าระบบให้เรียบร้อย
    Webmail
    1. คลิก Settings ด้านซ้ายมือ
    Settings
    1. จะได้ดังภาพ
    Settings
    1. เลือก Filters
    Filters
    1. ได้ดังภาพ
    Filters
    1. มองไปด้านขวามีคำว่า Create คลิก Create ได้ดังภาพ
    Create Filter
    1. กรอกข้อมูลและเลือกดังนี้
    Filter

    โดย username.s คือ username ของท่าน หากต้องการเก็บเมล์ไว้ที่ PSU E-mail ด้วยให้คลิกเครื่องหมาย ท้ายช่อง แล้วเลือก Keep message in Inbox เพิ่มดังนี้แล้วคลิก Save

    Keep message in Inbox

    ในกรณีที่ Keep message in Inbox อาจจะต้องเข้ามาดูที่เว็บเมล์บ้างเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันเมล์เต็มนะครับ

    1. หลังคลิก Save จะได้ดังภาพ
    Gmail
    1. หรือหากต้องการ Redirect mail ไปที่อื่น ๆ อีกก็สามารถสร้างเพิ่มอีกโดยคลิก Create และตั้งค่าแบบเดิมแต่เปลี่ยนที่อยู่อีเมล เช่น
    more filters

    โดย Filter จะทำจากบนลงล่าง

    1. สามารถตั้งกฎเพื่อกรองอีเมลสแปมได้เช่นกัน โดยปกติอีเมลของมหาวิทยาลัยจะทำเครื่องหมายไว้หน้าอีเมลที่เข้าข่ายอีเมลสแปมอยู่แล้วคือมีค่ำว่า [SPAM?]: อยู่ใน Subject สามารถตั้งกฎให้ลบได้ดังภาพ
    Spam Filter

    Filter นี้จะทำการลบอีเมลทุกฉบับที่มีคำว่า [SPAM?:] ถูกลบทิ้งไปอยู่ใน Trash

    Trash

    ควรตรวจสอบอีเมลในโฟลเดอร์ Trash ก่อน Empty Trash ทุกครั้ง การล้างโฟรเดอร์ Trash ทำได้โดยคลิกโฟลเดอร์ Trash แล้วคลิกที่ ที่อยู่หลัง username ของท่านแล้วเลือก Empty ดังภาพ ซึ่งอีเมลทั้งหมดที่ถูกลบและ Spam จะโดนล้างไปหมดในคราวเดียวกันดังนั้นควรตรวจสอบว่ามีอีเมลที่ไม่ใช่ Spam ปะปนไปหรือไม่ก่อนกดล้างโฟลเดอร์นะครับ

    Empty Trash

    และควรลบอีเมลที่ไม่ใช้แล้วเสมอ ๆ เพื่อป้องกันโควต้าเต็มนะครับ

    Delete
    1. จบขอให้สนุก…
  • Webmail transformation!! #1

    คุยก่อน

    webmail.psu.ac.th อยู่กับเรามา… นานมากแล้วจนปัจจุบันนี้แทบจะคุยไม่รู้เรื่องแล้วค้นหาด้วยภาษาไทย แท้ ๆ ก็ไม่ได้ ก็คงถึงเวลาต้องไป ที่ชอบๆ สักที

    พุทโธธรรมโมสังโข!!!

    เร็ว ๆ นี้สำนักนวตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉะริยะจะประกาศใช้งาน webmail ตัวใหม่ ที่ได้เปิดให้ทดสอบใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วอย่างเป็นทางการ โดยสามารถเข้าใช้งานผ่าน https://webmail2.psu.ac.th ซึ่งต่อไปจะกลายเป็น https://webmail.psu.ac.th ผลกระทบถึงท่าน ๆ ทั้งหลาย… ดังนี้

    1. ถ้าก่อนหน้านี้ใช้ https://webmail.psu.ac.th มาตลอดไม่เคยใช้ gmail เลย ก็ไม่กระทบอะไรนอกจากรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไป มาก… ถึงมากที่สุด
    2. ถ้าอ่านเมล์ที่ gmail.com เป็นหลักก็ไม่กระทบอะไรมากนัก
    3. ถ้ามีความต้องการตั้งค่า filter เพิ่มเติมก็จะกระทบมากเนื่องจากวิธีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก

    เริ่มต้นการใช้งาน

    1. เปิดเว็บ https://webmail2.psu.ac.th จะได้หน้าตาประมาณนี้ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประกาศใช้จริง)
    webmail2 start page
    1. ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อยจะได้หน้าตานี้
    Webmail2 Inbox
    1. ทดสอบค้นหาภาษาไทย คลิกในช่อง Search… ที่อยู่บล็อกกลาง
    Search…

    ลองค้นหาคำว่า “สถานะ” แล้วกด enter สิ่งที่ได้ก็ตามภาพนะครับ

    Keywords
    1. การค้นหาสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ว่าจะให้ไปค้นหา คำ ๆ นั้น ในส่วนไหนของอีเมล์ ไม่ว่าจะเป็น Subject อย่างเดียว From อย่างเดียว หรือ เนื้อความในอีเมล์ ทำได้โดยคลิกที่ ที่อยู่หลังรูปซองจดหมายที่ช่อง Search… เมื่อคลิกจะได้ดังภาพ
    Search criteria

    จะเห็นว่ามีตัวเลือกมากมายว่าอยู่ที่เราเลือกไม่ว่าจะเป็น subject from to cc bcc body entire message ทั้งยังสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการค้นหาหรือ กำหนด โฟลเดอร์ของเมล์ที่ต้องการค้นหาได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเยอะ และมีจดหมายจำนวนมากการค้นหาก็อาจกินเวลานานได้

    1. การย้ายบ้านจาก webmail.psu.ac.th มายัง webmail2.psu.ac.th สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำเองคือการย้ายข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ หรือที่เรียกว่า Address book นั่นเอง
    2. Log in เข้าระบบที่ https://webmail.psu.ac.th
    webmail.psu.ac.th
    1. เมื่อ log in เข้ามาแล้วคลิกที่ Addresses
    Addresses
    1. จะได้ดังภาพ ซึ่งเป็นการแสดงรายชื่อผู้ติดต่อที่มีทั้งหมด ทั้งยังสามารถ export ออกมาได้ด้วย
    Address
    1. เมื่อต้องการจะ export เลื่อนจอลงมาด้านล่างในส่วนของ Address book export
    Address book export
    1. คลิก Export to CSV File จะเป็นการ download รายชื่อทั้งหมดออกมาเก็บไว้ในไฟล์ .csv ก็ให้เซฟไว้ในที่ที่หาเจอนะครับ
    2. กลับมาที่ https://webmail2.psu.ac.th หาก session expire ไปแล้วให้ล็อคอินใหม่
    Your session is invalid or expired.
    1. เมื่อล็อคอินเข้ามาได้ให้คลิก Contacts ที่อยู่ด้านซ้ายมือ
    Contacts
    1. จะได้ดังภาพ
    Contacts
    1. คลิกปุ่ม Import ด้านขวามือ
    Import
    1. จะได้หน้าต่าง Import contacts
    Import contacts
    1. ก็ให้กด Browse ไปยังไฟล์ที่เซฟก็ไว้จากข้อ 10.
    Import contacts
    1. คลิก Import จะได้หน้าสรุปว่า นำเข้าสำเร็จกี่รายชื่อใครบ้าง หลังจากนั้นคลิก x ได้เลย
    Successfully imported
    1. จะได้รายชื่อผู้ติดต่อไว้ใน webmail2 เรียบร้อย *หมายเหตุเพิ่มเติม อีเมลแอดเดรสของรายชื่อผู้ติดต่อนั้นต้องมีอยู่จริงเท่านั้นจึงสามารถนำเข้าได้นะครับ
    Contacts
    1. สำหรับพาร์ท 1 ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้รอพาร์ทต่อไปครับ ขอให้สนุก
  • วิธีส่ง email ออกไปในนามหน่วยงาน ด้วย PSU Webmail

    เนื่องจาก ตอนนี้มีหลายหน่วยงาน มีความต้องการใช้ “email ส่วนกลาง” ที่เป็น Mailbox แยกจากบุคคล กันมามาก
    จึงขอเรียนให้ทราบถึงปัญหาที่หน่วยงานของท่านจะเจอ ก่อนจะตัดสินใช้วิธีการดังกล่าว

    1. ไม่รู้ใครอ่าน
    2. ไม่รู้ว่าใครส่งออกไป
    3. ไม่รู้ว่าใครลบ email สำคัญนั้น
    4. ไม่รู้ว่าใครเปลี่ยนพาสเวิร์ด

    วิธีที่ทำกันมาตลอด คือ การสร้าง Groupmail นั้น

    • แต่ละกลุ่ม มีสมาชิกผู้รับได้หลายคน ทำให้ช่วยกันดูแลได้
    • การส่งออก สามารถตั้งได้ว่า ส่งออกไปในนามหน่วยงาน และสามารถตรวจสอบได้ว่า ใครเป็นคนส่ง
    • สามารถสร้าง Archive ได้ หมายความว่า ย้อนกลับมาดูได้ว่า เรื่องเหล่านี้ พูดคุยกันไปว่าอย่างไรบ้าง
    • สมาชิกบางคน ลบ email ไป แต่ การสนทนา ยังอยู่
    • หมดปัญหา 1 account แต่รู้รหัสผ่านกันหลายคน

    สำหรับวิธีการตั้งค่า ให้ แต่ละคนในกลุ่ม ส่งออกไปในนามหน่วยงานได้ บน PSU Webmail

    1. คลิกที่ เมนู Options

    2. คลิก Personal Information

    3. คลิก Edit Advanced Identities

    4. จากนั้น กรอกข้อมูล Full Name, E-Mail Address และ Signature

    มีข้อที่ *** ต้องห้าม *** อยู่อย่างนึงคือ Fullname ต้องไม่มีเครื่องหมายพิเศษใด ๆ โดยเฉพาะ เครื่องหมาย “.” จากนั้น กดปุ่ม Save/Update

    5. เมื่อต้องการส่ง Email แบบ Compose สามารถเลือกได้ว่า ต้องการให้ออกไปนามหน่วยงาน

    เมื่อผู้รับได้รับ ก็จะเห็นแบบนี้

    ครับ

  • PSU Webmail ทำไมลบ email ออกไปตั้งเยอะแล้ว แต่ Quota ยังเต็ม ?

    เหตุ: แบ่งเป็น 4 กรณี

    (1) ลบแล้ว แต่ยังไม่ Expunge

    ก่อนหน้านี้ เคยตั้งค่าให้ Delete แล้วก็ให้ลบหายไปเลย แต่ก็มีบางคน (หลายคน) แจ้งว่า อยากให้แค่ Mark Delete กล่าวคือ … ลบแล้ว แต่ให้เปลี่ยนใจได้ จึง … ทำให้คนอื่น ๆ เมื่อลบแล้ว ก็ต้องกดปุ่ม Expunge ด้วย เพื่อให้ลบถาวร

    *** ระบบ PSU Email เมื่อลบและกด Expunge แล้วจะเป็นการลบ ถาวร ไม่สามารถกู้คืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ***

    (2) ลบแต่จดหมายเล็ก ๆ

    บางที เราก็มีจดหมายไม่กี่ฉบับ แต่ว่า แต่ละฉบับ อาจจะแนบไฟล์ขนาดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น วิธีการคือ สั่งให้ PSU Webmail แสดง ขนาดของ email แต่ละฉบับ โดยไปที่

    Options > Index Order

    จากนั้นคลิกปุ่ม Add ข้าง ๆ Size แล้ว คลิก Inbox อีกครั้ง

    จะปรากฏ Column “Size” ด้านขวามือ ให้คลิกเรียงลำดับ ตามขนาดของ email ให้เลือกลบฉบับที่มีขนาดใหญ่ ๆ ก่อน แล้ว *** และเมื่อลบแล้ว ก็อย่าลืม Expunge และ อย่าลืม เรียงลำดับใหม่ด้วย มิฉะนั้น จะไม่เห็นอีเมลใหม่สุด อยู่บนสุด *** เพราะระบบกำลังแสดงผลแบบเรียงลำดับตาม ขนาดของอีเมลอยู่

    (3) ลบใน Inbox หมดแล้ว แต่พื้นที่ยังเต็ม เป็นเพราะ มันเต็มใน Folder อื่น

    ให้คลิกที่ Folder Size ด้านล่างซ้ายของ PSU Webmail

    จะแสดงผลให้เห็นว่า จริง ๆ แล้ว Folder ใดที่กินพื้นที่ เมื่อทราบแล้ว ก็ไปจัดการให้ถูกที่

    (4) ทำตามข้อ 1-3 แล้ว ยังเต็ม ก็เป็นเพราะมี Folder “Trash” ซึ่งซ่อนอยู่

    มันมาได้ไง ?? มาจากการใช้ Mail Client บน โทรศัพท์มือถือ แล้วต่อ IMAP มายัง PSU Email Server มักจะสร้าง “Trash” Folder ไว้ เมื่อผู้ใช้ ลบอีเมล ก็จะย้ายไปไว้ใน Trash นี้ (ไม่ใช่ INBOX.Trash ของระบบ) ซึ่งจะมองเห็นได้บนโทรศัพท์มือถือ แต่ มักจะมองไม่เห็นบน PSU Webmail

    วิธีการแก้ไขคือ เลือกให้แสดง Folder นี้ โดยคลิกที่

    Folders > Trash > Subscribe

    แล้วกด Refresh folder list

    ก็จะปรากฏ Trash อยู่ในรายการด้าน ซ้ายมือ ให้ทำการลบได้ตามปรกติ