Webmail transformation!! #3

เมื่อจะเลิกใช้ Squirrelmail มาใช้งาน Roundcube ก็ต้องมีเรื่องของการทำ Redirect และ Filter ด้วยซึ่งใน Roundcube (webmail2) มีวิธีการที่แตกต่างออกไปดังที่จะเล่าต่อไปนี้ Redirect & Filter สำหรับผู้ใช้ใหม่ไม่เคยใช้ Squirrel mail (webmail เดิม) มาก่อน ที่ต้องระบุแบบนี้เพราะสำหรับคนที่เคยใช้ Squirrel mail มาก่อนส่วนมากจะ Redirect mail ไป gmail หมดแล้วดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนนี้ Log In เข้าระบบให้เรียบร้อย คลิก Settings ด้านซ้ายมือ จะได้ดังภาพ เลือก Filters ได้ดังภาพ มองไปด้านขวามีคำว่า Create คลิก Create ได้ดังภาพ กรอกข้อมูลและเลือกดังนี้ โดย username.s คือ username ของท่าน หากต้องการเก็บเมล์ไว้ที่ PSU E-mail ด้วยให้คลิกเครื่องหมาย ท้ายช่อง แล้วเลือก Keep message in Inbox เพิ่มดังนี้แล้วคลิก Save ในกรณีที่ Keep message in Inbox อาจจะต้องเข้ามาดูที่เว็บเมล์บ้างเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันเมล์เต็มนะครับ หลังคลิก Save จะได้ดังภาพ หรือหากต้องการ Redirect mail ไปที่อื่น ๆ อีกก็สามารถสร้างเพิ่มอีกโดยคลิก Create และตั้งค่าแบบเดิมแต่เปลี่ยนที่อยู่อีเมล เช่น โดย Filter จะทำจากบนลงล่าง สามารถตั้งกฎเพื่อกรองอีเมลสแปมได้เช่นกัน โดยปกติอีเมลของมหาวิทยาลัยจะทำเครื่องหมายไว้หน้าอีเมลที่เข้าข่ายอีเมลสแปมอยู่แล้วคือมีค่ำว่า [SPAM?]: อยู่ใน Subject สามารถตั้งกฎให้ลบได้ดังภาพ Filter นี้จะทำการลบอีเมลทุกฉบับที่มีคำว่า [SPAM?:] ถูกลบทิ้งไปอยู่ใน Trash ควรตรวจสอบอีเมลในโฟลเดอร์ Trash ก่อน Empty Trash ทุกครั้ง การล้างโฟรเดอร์ Trash ทำได้โดยคลิกโฟลเดอร์ Trash แล้วคลิกที่ ที่อยู่หลัง username ของท่านแล้วเลือก Empty ดังภาพ ซึ่งอีเมลทั้งหมดที่ถูกลบและ Spam จะโดนล้างไปหมดในคราวเดียวกันดังนั้นควรตรวจสอบว่ามีอีเมลที่ไม่ใช่ Spam ปะปนไปหรือไม่ก่อนกดล้างโฟลเดอร์นะครับ และควรลบอีเมลที่ไม่ใช้แล้วเสมอ ๆ เพื่อป้องกันโควต้าเต็มนะครับ จบขอให้สนุก…

Read More »

Webmail transformation!! #1

คุยก่อน webmail.psu.ac.th อยู่กับเรามา… นานมากแล้วจนปัจจุบันนี้แทบจะคุยไม่รู้เรื่องแล้วค้นหาด้วยภาษาไทย แท้ ๆ ก็ไม่ได้ ก็คงถึงเวลาต้องไป ที่ชอบๆ สักที พุทโธธรรมโมสังโข!!! เร็ว ๆ นี้สำนักนวตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉะริยะจะประกาศใช้งาน webmail ตัวใหม่ ที่ได้เปิดให้ทดสอบใช้งานมาระยะหนึ่งแล้วอย่างเป็นทางการ โดยสามารถเข้าใช้งานผ่าน https://webmail2.psu.ac.th ซึ่งต่อไปจะกลายเป็น https://webmail.psu.ac.th ผลกระทบถึงท่าน ๆ ทั้งหลาย… ดังนี้ ถ้าก่อนหน้านี้ใช้ https://webmail.psu.ac.th มาตลอดไม่เคยใช้ gmail เลย ก็ไม่กระทบอะไรนอกจากรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไป มาก… ถึงมากที่สุด ถ้าอ่านเมล์ที่ gmail.com เป็นหลักก็ไม่กระทบอะไรมากนัก ถ้ามีความต้องการตั้งค่า filter เพิ่มเติมก็จะกระทบมากเนื่องจากวิธีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก เริ่มต้นการใช้งาน เปิดเว็บ https://webmail2.psu.ac.th จะได้หน้าตาประมาณนี้ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประกาศใช้จริง) ล็อคอินเข้าระบบให้เรียบร้อยจะได้หน้าตานี้ ทดสอบค้นหาภาษาไทย คลิกในช่อง Search… ที่อยู่บล็อกกลาง ลองค้นหาคำว่า “สถานะ” แล้วกด enter สิ่งที่ได้ก็ตามภาพนะครับ การค้นหาสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ว่าจะให้ไปค้นหา คำ ๆ นั้น ในส่วนไหนของอีเมล์ ไม่ว่าจะเป็น Subject อย่างเดียว From อย่างเดียว หรือ เนื้อความในอีเมล์ ทำได้โดยคลิกที่ ที่อยู่หลังรูปซองจดหมายที่ช่อง Search… เมื่อคลิกจะได้ดังภาพ จะเห็นว่ามีตัวเลือกมากมายว่าอยู่ที่เราเลือกไม่ว่าจะเป็น subject from to cc bcc body entire message ทั้งยังสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการค้นหาหรือ กำหนด โฟลเดอร์ของเมล์ที่ต้องการค้นหาได้ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเยอะ และมีจดหมายจำนวนมากการค้นหาก็อาจกินเวลานานได้ การย้ายบ้านจาก webmail.psu.ac.th มายัง webmail2.psu.ac.th สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำเองคือการย้ายข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ หรือที่เรียกว่า Address book นั่นเอง Log in เข้าระบบที่ https://webmail.psu.ac.th เมื่อ log in เข้ามาแล้วคลิกที่ Addresses จะได้ดังภาพ ซึ่งเป็นการแสดงรายชื่อผู้ติดต่อที่มีทั้งหมด ทั้งยังสามารถ export ออกมาได้ด้วย เมื่อต้องการจะ export เลื่อนจอลงมาด้านล่างในส่วนของ Address book export คลิก Export to CSV File จะเป็นการ download รายชื่อทั้งหมดออกมาเก็บไว้ในไฟล์ .csv ก็ให้เซฟไว้ในที่ที่หาเจอนะครับ กลับมาที่ https://webmail2.psu.ac.th หาก session expire ไปแล้วให้ล็อคอินใหม่ เมื่อล็อคอินเข้ามาได้ให้คลิก Contacts ที่อยู่ด้านซ้ายมือ จะได้ดังภาพ คลิกปุ่ม Import ด้านขวามือ จะได้หน้าต่าง Import contacts ก็ให้กด Browse ไปยังไฟล์ที่เซฟก็ไว้จากข้อ 10. คลิก Import จะได้หน้าสรุปว่า นำเข้าสำเร็จกี่รายชื่อใครบ้าง หลังจากนั้นคลิก x ได้เลย จะได้รายชื่อผู้ติดต่อไว้ใน webmail2 เรียบร้อย *หมายเหตุเพิ่มเติม อีเมลแอดเดรสของรายชื่อผู้ติดต่อนั้นต้องมีอยู่จริงเท่านั้นจึงสามารถนำเข้าได้นะครับ สำหรับพาร์ท 1 ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้รอพาร์ทต่อไปครับ ขอให้สนุก

Read More »

เรียนรู้ RPA โดยใช้ ui-path

Robotic Process Automation หรือ RPA  คือการนำเอาหุ่นยนต์ (ในที่นี้คือซอฟแวร์หุ่นยนต์) เข้ามาช่วยในการทำงานอย่างไหนอย่างหนึ่ง  ซึ่งคำที่คนส่วนใหญ่ได้ยินกัน คือ Bot นั่นเอง 😊 ซึ่งงานที่เหมาะสมที่จะนำเอาRPA มาช่วยในการทำงานนั้น เป็นงาน Routine ที่ต้องมานั่งทำแบบเดิมๆ ทุกวัน งานที่ต้องทำซ้ำๆ ง่ายๆ ที่มีปริมาณงานเยอะ ซึ่งเป็นงานที่มีขั้นตอนลำดับชัดเจน  เช่น งานคัดลอกข้อมูลจากเว็บ  งานส่งอีเมล์ งานกรอกข้อมูล ในปัจจุบัน RPA ก็มี Tool ด้วยกันหลายๆ ตัว  แต่ที่ผู้เขียนจะใช้ คือ UiPath  ตัวอื่นๆ ก็มี Automation Anywhere , Blue Prism, Work Fusion ซึ่งเป็น Tool ที่ใช้งานได้ง่ายๆ มากๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรม ลากๆ คลิกๆ เลือก อย่างเดียว … ก่อนเพื่อให้เห็นภาพ  จะตั้งโจทย์ในการทำงานเข้ามา  โดยมีโจทย์ว่า  อาจารย์ที่ปรึกษาต้องการส่งเมลไปยังนักศึกษาในที่ปรึกษาทั้งหมด ในคราวเดียวกัน เนื้อหาในเมล แต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งอาจารย์ได้เตรียมข้อมูลไว้ในรูปแบบ Excel ซึ่งจะต้องทำการส่งข้อมูลบ่อยครั้ง ในการติดต่อสื่อสาร ในช่วงโรคระบาดโควิด ซึ่งงานนี้เราจะนำเอา Bot มาช่วยในการดึงข้อมูลจาก Excel แล้วส่งเมลเอง โดยการกดปุ่ม เพียงแค่ คลิกเดียว! ขั้นตอนที่   1   การติดตั้ง UiPath 1.เข้าไปยังเว็บไซต์ของ UiPath  คือ  Automation Platform – Leading RPA Company | UiPath   จากนั้นกดปุ่ม 2. ทำการ Sign-in และทำตามขั้นตอน  จากนั้นมายังหน้าจอดังภาพ กด download ไฟล์โปรแกรม มาติดตั้งลงเครื่องได้เลย 3. ทำการติดตั้งได้เลย    ทำการคลิกปุ่มต่อไปเรื่อยๆ จนมาหยุดหน้าเลือก Version ของโปรแกรม ตามภาพข้าล่างนี้  ให้ทำการเลือก UiPath StudioX ซึ่งจะเป็น Version สำหรับการสร้าง Bot เบื้องต้น ซึ่งไม่ต้องเขียนโปรแกรม  โดย Version นี้จะเน้นการลากวาง คำสั่ง และเลือกคำสั่ง ทำให้ง่าย สำหรับคนที่ไม่ได้เป็น Programmer ส่วน UiPath Studio จะมีการเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อ รองรับงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น 4. จากนั้นเปิดโปรแกรมได้เลย   เริ่มต้นระบบจะแนะนำ  การใช้งานตามภาพ 5. จากนั้นเริ่มต้น  โปรแกรมจะเลือกให้เราสร้าง Project ก่อน  โดยให้เลือกเป็น Blank Task ให้กำหนดชื่อและที่เก็บไฟล์ และคำอธิบายของงานนี้  จากนั้น กด “Create” ได้เลย 6. โปรแกรม ก็จะแสดงหน้าจอการทำงาน ตามภาพ  โดยในที่นี้ผู้เขียน ขออธิบาย เมนูและการใช้งานเฉพาะในส่วนที่ ผู้เขียนใช้เท่านั้น   (เมนูอื่นอธิบายไม่ถูกเพราะไม่เคยใช้ 555)               6.1 ส่วนที่  1 :   MAIN    เป็นส่วนที่เรานำ คำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการให้ bot ทำ มาลากวาง โดยจะเรียง คำสั่ง จากบน ลง ล่าง  (ให้นึกถึงการเขียน flow chart)                6.2 ส่วนที่ 2 : Activities  เป็นส่วนของคำสั่ง ที่โปรแกรมจัดเตรียมมาให้ เช่น การกรอกข้อมูล  การคลิก การเปิด mail การเปิด App เปิด web  เห็นไหมว่า ง่ายมาก ไม่ต้องเขียนโค้ดเลย  โดยอยากได้คำสั่งใดก็เลือก และลากมาวางที่ Main ได้เลย

Read More »

Big Data Framework

ออกตัวไว้ก่อนนะครับบทความนี้เป็นการย่อความหรือถอดสาระสำคัญมาจาก หนังสือกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งจะนำเสนอในส่วนของการตั้งทีมเพื่อพัฒนา Big Data แนวทางการพัฒนาทั้งข้อมูลและกลุ่มคนที่จะดำเนินการพัฒนาระบบให้บริการข้อมูล เพื่อประยุกร์ใช้กับการนำข้อมูลไปประกอบการพัฒนามหาวิทยาลัยของเราในรูปแบบ (Data Driven Organization) 1) กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล (Business Domain) ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ มีหน้าที่กำหนดโจทย์หรือประเด็น ที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล และนำสารสนเทศที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล มาใช้ประกอบการดำเนินงาน 2) กลุ่มผู้วิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และนักนิทัศน์ข้อมูล (Data Visualizer) มีหน้าที่ในการนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม วิเคราะห์และประมวลผล พร้อมทั้งพัฒนาภาพแบบ แสดงผลข้อมูลหรือ Dashboard สำหรับการนำเสนอข้อมูล 3) กลุ่มผู้สร้างและพัฒนาระบบ ได้แก่ วิศวกรข้อมูล (Data Engineer) สถาปนิก ข้อมูล(Data Architect) นักวิเคราะห์ธุรกิจ(Business Analyst)ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) และเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Corporate Security IT Operator) มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล รวมทั้งดูแลและบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย นอกจากกรอบเรื่องของคนแล้วก็ยังมีกรอบเรื่องระยะเวลาด้วย ระยะสั้น :  การพัฒนาแพลตฟอร์ม (Platform) เสริมสร้างทักษะที่เรียกว่า Sandbox สำหรับการพัฒนาบุคลากรในระยะสั้น เริ่มตั้งแต่การกำหนดโจทย์การพัฒนาโครงสร้าง และระบบข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเชิงประจักษ์ ตลอดไปจนถึงการนำสารสนเทศและองค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลมาใช้ ประกอบการตัดสินใจและการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆแพลตฟอร์มดังกล่าวเน้นการพัฒนา บุคลากรผ่านหลักสูตรที่นำรูปแบบการพัฒนาแบบการเรียนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) มาปรับใช้เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ “ทำได้ ทำเป็น” มากกว่า เรียนรู้จากทฤษฎีโดยการดำเนินงานร่วมกับหลักสูตรนักบริหารภาครัฐเพื่อการบูรณาการ การพัฒนาประเทศไทย ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้าง ความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สกพ.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.)และสถาบันสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ ภาครัฐ (GBDi)  ระยะกลาง : การวางแผนการบริหารจัดการกำลังคนเพื่อการใช้ประโยชน์ข้อมูล ขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัว สามารถสนับสนุนการพัฒนานโยบาย การตัดสินใจ การบริหาร จัดการ การให้บริการ และการพัฒนานวัตกรรมภาครัฐ มีกรอบการดำเนินงานดังนี้  วางระบบการบริหารจัดการกำลังคนแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้1) กลุ่มหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่สามารถดูแลบริหารจัดการระบบข้อมูลและมีบุคลากรที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ประมวลและแสดงผลข้อมูล แต่ยังคงมีความต้องการการสนับสนุนเชิงเทคนิคหรือการดำเนินการในบางประการ 2) กลุ่มหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนามีบุคลากรที่มีความเข้าใจและสามารถให้ข้อมูลความต้องการได้ชัดเจน       ระดับหนึ่ง ต้องการการสนับสนุนเชิงเทคนิคในการสร้างและพัฒนาระบบและการวิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล 3) กลุ่มหน่วยงานที่ขาดแคลนบุคลากรด้านข้อมูล แต่มีความจำเป็นต้องนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย หรือการบริหารจัดการต่าง ๆ นำบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหน่วยงานต่าง ๆ       มารวมไว้ภายในหน่วยงานเดียว เช่นพัฒนารูปแบบการทำงานในลักษณะเป็น “ทีมที่ปรึกษา” (Agile Team) เพื่อให้บริการหน่วยงานภาครัฐโดยอาจนำที่ปรึกษาภายนอกหรือหน่วยงานเอกชนมาร่วมดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ หรือให้มีการพัฒนารูปแบบการจ้างงานใหม่นอกเหนือจาก “ข้าราชการ/พนักงานราชการ” เพื่อดึงดูด/จูงใจ และอาจมีการเพิ่ม “สายงานเฉพาะทาง” สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล มีการดูแลความก้าวหน้าในอาชีพ มีการสร้างโอกาสการพัฒนาที่ต่อเนื่อง มีการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีการปรับกรอบอัตรากำลังให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่มีความซับซ้อนและความต้องการบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงและมีความเป็นมืออาชีพ ทั้งนี้อาจมีการนำ       วุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานหรือสมรรถนะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการกำลังคนด้วย พัฒนาขีดความสามารถของผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มต่างๆได้แก่ผู้บริหารระดับสูงผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ และผู้ทำงานด้านบริการให้สามารถกำหนดโจทย์หรือประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลและนำสารสนเทศที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลมาใช้ประกอบการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยกระดับศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน โดยอย่างน้อยให้มีความสามารถในการกำกับควบคุมงานจ้างที่ปรึกษา (Project Management) และในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล (Data Governance)  นำกลไกการให้ทุนรัฐบาลมาใช้สนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคนด้านการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว วางระบบการบริหารองค์ความรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ระยะยาว : การต่อยอดขยายผลโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและสร้าง ประโยชน์ในทรัพยากรข้อมูลของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับระบบเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงให้กับสังคม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาพันธมิตรธุรกิจระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและ ระหว่างประเทศภายใต้เจตจำนงค์ร่วมกัน โดยร่วมสร้าง Open Government DataPlatform for Business and Citizen ให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และการนำข้อมูลเปิดภาครัฐ มาใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยรวมแล้ว

Read More »