แก้ปัญหาการเรียกใช้ font ผ่าน css แล้วเกิด error Access to font at has been blocked by CORS policy: No ‘Access-Control-Allow-Origin’ header is present on the requested resource.

เนื่องด้วยทางทีมงานต้องการใช้ font ผ่าน css ที่อยู่คนละที่ โดยต้องการให้ไปเรียกที่เดียวเพื่อการจัดการง่าย แต่ปัญหาก็เกิดขึ้น เพราะทางต้นทางมีการ block ไม่ให้เข้าถึง วันนี้จึงมีแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ไปตั้งค่าไฟล์ font ที่ต้องการ โดยในที่นี้ เป็น folder fonts โดยไปที่ IIS เลือก folder ที่ต้องการ จากนั้นเลือกเมนู “HTTP Response Headers” จากนั้น กด “Add” ดังรูป ขั้นตอนที่ 2 เพิ่ม Name: Access-Control-Allow-Origin และ Value: * ดังรูป ขั้นตอนที่ 3 ผลลัพธ์จากการเพิ่ม Name: Access-Control-Allow-Origin และ Value: * ดังรูป ขั้นตอนที่ 4 เพิ่ม Name: Access-Control-Allow-Origin และ Value: * ที่ไฟล์ font.css ด้วยเหมือนกัน ขั้นตอนที่ 5 ปรับแก้การเรียกใช้ css โดยใช้ SRI Hash Generator ผ่าน SRI Hash Generator ขั้นตอนที่ 6 เวบไซต์ปลายทางก็จะสามารถเรียกใช้ font จาก เวบไซต์ต้นทาง ดังรูป หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคนที่มีปัญหาแบบเดียวกันนี้นะคะ ที่มา HTML script integrity Attribute (w3schools.com) Access-Control-Allow-Origin – HTTP | MDN (mozilla.org)

Read More »

สร้าง UI หน้าเว็บแบบ Timeline ด้วย HTML+CSS

เนื่องจากระบบที่กำลังพัฒนาอยู่ มีความต้องการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ Timeline ดังรูป เมื่อลองหาแนวทางดูพบว่ามี how to ที่เว็บไซต์ https://www.w3schools.com/howto/howto_css_timeline.asp ลองนำมาประยุกต์ใช้ โดยปรับสี เพิ่มเงา และส่วนแสดงผลรูป และไอคอนเข้าไป โดยใช้ https://getbootstrap.com/ เวอร์ชัน 5 เพื่อช่วยในการจัดตำแหน่งเนื้อหาด้านใน ก็จะได้ CSS และ HTML สำหรับนำไปใช้ในเว็บไซต์ดังนี้ HTML โดยในตัวอย่างได้นำโครงสร้าง html page และ ส่วนแสดงอีโมไอคอนออกเพื่อให้อ่านง่าย เห็นโครงสร้าง html ของ timeline ชัดเจน และต้องมีรูปอยู่ที่โฟลเดอร์ images (ภาพประกอบเนื้อหาของท่านเอง) ก็จะได้หน้าเว็บใกล้เคียงความต้องการ ดังรูปตัวอย่างนะครับ สามารถนำไปปรับใช้ โดยการปรับแก้ css และเพิ่มเติมส่วนแสดงผลอื่นๆได้ตามต้องการ

Read More »

UX Design Processes

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของ การออกแบบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และดีต่อผู้ใช้ การสร้างสินค้าและบริการจะต้องประกอบไปด้วยการออกแบบทางด้านประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือ UX เพราะทุกสิ่งที่ถูกคิดค้นหรือสร้างขึ้นล้วนต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ สร้างเพื่ออะไร ทำไปทำไม ตอบโจทย์อะไรกับผู้ใช้ ซึ่งการออกแบบมีด้วยกัน 6 ขั้นตอนหลักๆดังนี้ Step 1 : Understanding Environment (Discovery phase) เป็น phase แห่งการทำความเข้าใจ การทำความเข้าใจในที่นี้หมายถึง การที่เราเข้าใจผู้ใช้, เข้าใจ brand, เข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะเอามาเป็นแนวทางในการทำ research ให้ phase ถัดไป User การทำความเข้าใจผู้ใช้งานระบบ -> Pain Point discovery การค้นหา Pain point ของผู้ใช้ เราต้องเข้าใจว่าปัญหาของผู้ใช้คืออะไรบ้าง เราคิดว่าจะแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง Brand เป้าหมาย/จุดประสงค์ขององค์กร เราต้องรู้โปรเจคนี้มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจหรือเป้าหมายขององค์กรเราอย่างไร ต้องพยายามยึดติดอยู่กับเป้าหมายขององค์กรเพราะมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ Clear Needs & Conditions ความต้องการและเงื่อนไขที่ชัดเจน เราจะทำอะไร เราต้องทำภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง Step 2 : Research (Infomation Gathering, Hypothesis phase) เมื่อเราทราบถึงเป้าหมายของการสร้างหรือพัฒนาสินค้าและทราบถึงปัญหาของผู้ใช้แล้ว ขั้นต่อไปคือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม phase นี้จึงเป็น phase แห่งการค้นคว้า เก็บข้อมูลตั้งต้นเพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป การ research มีด้วยกันหลายวิธี Interview การสัมภาษณ์ 1:1 Interview การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับผู้ใช้ จะเป็นเหมือนการพูดคุยทั่วไปถึงเรื่องการใช้งานระบบ เคยเจอปัญหาอะไรมาบ้าง ยังคงติดปัญหาในจุดไหนอยู่ไหม ในการใช้งานระบบเขามองหาอะไรอยู่ การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทำให้ทราบถึงความจริงใจและอารมณ์ของผู้ใช้ สามารถนำมาเป็นตัววัดความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ของข้อมูลชุดนั้น การสัมภาษณ์แบบนี้สามารถทำแบบพูดคุยตัวต่อตัวหรือทาง meeting/conference/telephone ก็ได้ Group Interview การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม เป็นวิธีการที่ให้ข้อมูลได้แบบไม่ค่อยละเอียด แต่ได้จุดที่สำคัญ มีการกรองกันจากการพูดคุยภายในกลุ่ม ลักษณะการถามก็จะเป็นเหมือนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้อาจจะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมา กลุ่มของผู้ใช้ 3-5 คนก็เพียงพอไม่จำเป็นต้องไปเก็บจากผู้ใช้ 100-1000 คน (Rule of thumb) Surveys การทำแบบสอบถาม ในการสร้างแบบสอบถามขึ้นมา เราต้องรู้ถึงปัญหาของผู้ใช้ ปัญหานี้เกิดในผู้ใช้กลุ่มไหน แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นสมมติฐาน หลักการสร้างแบบสอบถาม แยกปัญหาออกมา โดยดูความสำคัญว่า ปัญหาอันไหนสามารถวัดและทำ Testing ได้แล้วนำมาทำให้เป็นคำถามแบบที่ Interactive ได้ พยายามตั้งคำถามปลายเปิดแต่ยังสามารถทำให้เรามองเห็นคำตอบได้ *ไม่ควรตั้งคำถาม Yes/No, Rating เนื่องจากไม่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้ ตัวอย่างของการทำ survey ที่ดี Hypothesis: สงสัยว่าหน้าแรกของระบบมันไม่จูงใจผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ออก (nothing grabs user’s attention) วิธีถาม: 5seconds test นำหน้าเว็ปจริงๆมาและใช้ Heat map ในการวิเคราะห์โดยกำหนดโจทย์ว่า ให้ผู้ประเมินคลิกจุดแรกที่ผู้ใช้สนใจภายใน 5วินาที คำตอบ: Heat map result ผู้ใช้สนใจตรงไหนมากที่สุด สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อได้ Hypothesis: ข้อสงสัยที่คิดว่าลูกค้าไม่เข้าใจว่าเค้าทำอะไรได้บ้างบนเว็ปไซต์ของเขา วิธีถาม: 5seconds test ดูหน้าเว็ปแล้วถามว่า คิดว่าหน้านี้เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง คำตอบ: ลำดับของความชัดเจนว่า ผู้ใช้สนใจอะไรเป็นอันดับแรก และอันดับตามๆมา Hypothesis: สงสัยว่า content มันน่าจะไม่ดึงดูดผู้ใช้แน่ๆ วิธีถาม: นำเว็ปไซต์คู่แข่งมาเปิดคู่กันกับเว็ปไซต์เราและทำในลักษณะของ A/B testing โดยทำ hot spot test ให้ผู้ประเมินเลือก section ของเว็ปตัวอย่าง 3 ชิ้นที่คิดว่าจำเป็นสำหรับเขา คำตอบ: section ที่เขามองหาแต่เราไม่มี หรือจุดไหนที่มีเหมือนกัน หรือจุดไหนที่เรามีแต่คนอื่นไม่มี ข้อดี:: Scale ได้, รวดเร็ว, วิเคราะห์ง่าย ข้อเสีย:: คำตอบอาจจะมีการเอนเอียงได้ (Bias) ไม่สามารถอธิบายแทนสิ่งที่ผู้ใช้เจอมาได้ทั้งหมด คำตอบที่ได้ไม่หลากหลาย และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลจากผู้ใช้ ถ้ามีการออกแบบแบบสอบถามไม่ดี ทำให้เกิดการพลาดโอกาส Usability Testing การสำรวจการใช้งานในกลุ่มเป้าหมาย การทำ

Read More »

UX, everything related!

เรามักได้ยินคำว่า UI เป็นประจำเมื่อเราพัฒนาระบบแต่ รู้หรือไม่ว่านอกจาก UI แล้วมันมีอีกหนึ่งอย่างที่ควรรู้และสำคัญยิ่งกว่าแต่ถูกมองข้ามไปคือ UX (ย่อมาจาก User experience) หลายๆคนมักจะสับสนว่า UI และ UX มันคือสิ่งเดียวกัน จริงๆแล้วมันคือคนละอย่างกันเลย วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง UI :: User Interface User Interface คือหน้าตาของระบบที่ผู้ใช้ได้เห็น ได้ตอบสนอง ไม่ใช่ระบบในทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียวที่มี UI ถ้าเทียบกับขวดซอสมะเขือเทศ ขวดก็คือหนึ่งใน UI เช่นกันหรืออาหาร 1 จาน หน้าตาของอาหารก็ถือว่าเป็น UI ด้วย “UI เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้หรือจับต้องได้“ UX :: User Experience User Experience คือ Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ที่เราได้ส่งมอบให้ มากกว่า Interface ที่ผู้ใช้งานได้ตอบสนอง เราจะไป focus ที่ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วได้บรรลุวัตถุประสงค์ของเราหรือไม่ “UX คือสิ่งที่อยู่กับความรู้สึก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่วัดประเมินผลได้” ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพ การออกแบบ UX ของการรับประทานอาหารจานหนึ่ง เราอยากให้ผู้ใช้รู้สึก fresh ก่อนตามด้วยความแน่นของรสชาติที่ตั้งใจปรุงตามมา ก็ต้องออกแบบจานอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบ หรือการให้กินคู่กับเครื่องดื่มบางอย่าง จะช่วยส่งเสริม/เติมเต็มให้ผู้กินได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ได้ จริงๆแล้ว นอกจาก website หรือ application ที่ต้องมี UX ที่ดีเป็น 1 ในองค์ประกอบแล้ว ทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวันก็ต้องมี UX ที่ดีเช่นกัน Why should we have to care on UX? UX เรียกได้ว่าเป็นสารต้นต้นของสินค้าก็ว่าได้ การทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีมักจะเป็น 1 ในวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบสินค้าและบริการ เพราะถ้าทำออกมาแล้ว ผู้ใช้ไม่ enjoy ใช้แล้วลำบากกว่าเดิม แล้วใครจะมาใช้งาน? สินค้าบางอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นซอสมะเขือเทศออกแบบขวดซอสแบบทั่วไป เวลาใช้ผู้ใช้จะต้องเคาะ/เขย่าขวด ซอสจึงจะออกมา การออกแบบขวดให้เป็นแบบคว่ำ บีบแล้วซอสออกเลย เป็นการแก้ปัญหาของผู้ใช้ เมื่อผลิตออกมาจึงขาย ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้ ผู้ใช้ก็ happy, win win ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ แล้วเราจะไปหาข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์หละ แน่นอน UX = Research Research เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม การสัมภาส การสังเกตการใช้งาน การลงพื้นที่จริง หรือการอิงข้อมูลทางสถิติหรือข้อมูล log ยิ่งทำเยอะยิ่งทำให้เกิด UX ที่ดี การมี user experience ที่ดีมาจากการทำ Research หรือการค้นความหาข้อมูล ถามว่าการตามหาข้อมูลจะทำได้อย่างไรหละ User Research การ research ข้อมูลของผู้ใช้งาน/กลุ่มผู้ใช้งาน จะได้ออกแบบได้ตรงจุด ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เช่น อายุ เพศ ที่อยู่ เป็นต้น ผู้ใช้ที่เราขายคือใคร กลุ่มไหนบ้าง ทำงานอะไร ผู้ใช้สินค้าเรามีบุคลิกอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร รวมไปถึง รูปภาพของผู้ใช้ ควรเป็นรูปที่สามารถสื่อถึง Lifestyle ของคนๆนั้นได้ จะดีมากๆ ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวแปรตั้งต้นที่เราจะต้องมาออกแบบระบบอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่เราเก็บข้อมูลมา จะเห็นได้ว่า ยิ่งเราทำ research มาเท่าไหร โอกาสของการสร้างสินค้ามาให้ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้ จะทำให้สินค้าเราขายออกได้ง่ายกว่าเช่น การออกแบบระบบสารสนเทศที่กลุ่มผู้ใช้ระบบ 90%เป็นผู้มีอายุ การทำระบบให้เขาใช้งานก็ควรมีตัวอักษรที่ใหญ่กว่าทั่วไป มีการทำ Shortcut เมนูที่ง่าย ไม่สับซ้อน Brand Research คนที่ว่าจ้างหรือว่าง่ายๆคือเจ้าของระบบคือใคร Brand หรืออัตลักษณ์ของเขาเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ขององค์กร สีขององค์กร design token ขององค์กร ก็เป็นอีก 1 อย่างที่ต้องมีการศึกษาข้อมูลด้วยเช่นกัน Problem Research นอกจากการ research ผู้ใช้แล้ว เราก็ควรศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะอะไรผู้ใช้ถึงเลิกใช้ ทำไมผู้ใช้ถึงไม่ใช้ feature นี้ ทำไมผู้ใช้สับสนในการใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งสารตั้งต้นที่จะทำไปออกแบบและพัฒนาสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถสำรวจปัญหาเหล่านี้ได้จากการให้ผู้ใช้ทำแบบสอบถาม การลงพื้นที่จริงไปสังเกตการใช้งานระบบ

Read More »

สร้าง Modal dialog อย่างง่ายด้วย jquerymodal

เนื่องจากตอนนี้มีพรบ.คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องมี pop up Modal dialog ถามผู้ใช้ วันนี้จะมาแนะนำการใช้งาน jQuery ที่เรียกใช้ไม่กี่บรรทัดเราก็ได้ Modal dialog โดยจะยกตัวอย่าง Modal dialog แบบไม่ให้ปิดได้ โดยต้องอ่านข้อความก่อน ถึงจะปิดได้ ขั้นตอนที่ 1 เพิ่ม jquery.min.js, jquery.modal.min.js, jquery.modal.min.css เพื่อเรียกใช้งาน ขั้นตอนที่ 2 เพิ่มการตั้งค่า Modal dialog ตามตัวอย่างไม่ให้แสดงปุ่ม “ปิด” ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม User interface Modal dialog โดยใช้ tag div ขั้นตอนที่ 4 ได้ผลลัพธ์ Modal dialog ออกมาอย่างสวยงาม ที่มา : https://jquerymodal.com

Read More »