การ upgrade PHP to new version on IIS ด้วยวิธีง่ายๆ

เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการ upgrade PHP 5.2 to 5.3 ไปเมื่อปีที่แล้ว (Apache 2.2 + PHP 5.2 + phpMyAdmin on Windows 8.1) วันนี้ขอนำเสนอการ upgrade เวอร์ชั่นของ PHP บน IIS (Windows Server 2012 R2) ด้วยวิธีที่แสนจะง่ายดาย ***ใครทราบวิธีการแล้วก็ผ่านไปเลยนะคับ ^^ เขียนไว้เผื่อบางท่านที่ยังไม่รู้เนอะ ขั้นตอนการ upgrade check PHP เวอร์ชั่นที่เราใช้ปัจจุบันก่อนว่าเป็นเวอร์ชั่นอะไร ด้วยการสร้างไฟล์ phpinfo.php เก็บไว้ที่ web root แล้วเขียนโค้ดตามนี้ <?php phpinfo(); ?> 2. เปิดเว็บ http://localhost/phpinfo.php ในภาพจะเป็น php 5.6.2.2 3. เปิด IIS manager ขึ้นมา แล้วคลิกที่ Web Platform Installer 4. พิมพ์คำค้น PHP ในช่องค้นหา ในรูปเราจะติดตั้ง PHP 7.0.7 ให้คลิกที่ปุ่ม Add จากนั้นระบบจะทำการติดตั้ง PHP 7.0.7 5. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้คลิก Restart IIS 6. ตรวจสอบเวอร์ชั่นของ PHP ด้วยการเปิดหน้าเว็บ http://localhost/phpinfo.php ในภาพจะเป็น php 7.0.7 เรียบร้อยแล้ว 7. เสร็จสิ้นกระบวนการ upgrade PHP to new version

Read More »

วิธีการตรวจสอบข้อมูลในรูปแบบ JSON

ข้อมูลรูปแบบของ JSON เป็นที่นิยมใช้เป็นวิธีการส่งข้อมูลอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งในบ้างครั้งข้อมูลส่งจะมีความซับซ้อนหรือมีการซ้อนกันของข้อมูลหลายชั้น ทำให้การอาจเกิดข้อผิดพลาดในการสร้างข้อมูลหรือยากในการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งในบทความนี้จึงขอเสนอเว็บไซต์ที่ช่วยในการตรวจสอบข้อมูลและแบ่งชั้นของข้อมูลที่ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น ในรูปแบบ JSON ได้ คือ https://jsonformatter.curiousconcept.com จากรูป  มีสิ่งที่ต้องระบุหลัก ๆ คือ JSON Data/URL สามารถวางข้อมูลหรือ URL ของข้อมูลได้ทั้งสองอย่าง JSON Standard เลือกว่า JSON ของเราสร้างโดยมาตรฐานใด หรือเราอยากตรวจสอบว่า JSON ที่เราสร้างอยู่ในมาตรฐานที่เราต้องการไหม เมื่อกำหนดเรียบร้อยก็กดปุ่ม Process จากรูป ระบบจะแสดงผลการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ และนอกจากนี้ระบบยังแบ่งชั้นข้อมูลในแต่ละระดับที่ซ้อนกันให้ ทำให้เราดูชุดข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น หากข้อมูลผิดล่ะ จะเป็นไง ลองทำกันดู  ในกรณีที่ไม่ถูกต้อง ระบบจะแสดงบรรทัด ที่ไม่ถูกต้อง แล่ะเมื่อคลิก มันจะแสดงสีแดงที่บรรทัดหรืออักษรที่ไม่ถูกต้องให้เราเห็นอีกด้วย

Read More »

ทำอย่างไรให้เว็บไซต์ที่เราพัฒนาสามารถอัพโหลดไฟล์แบบคราวละหลายไฟล์ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ด้วย ASP.NET(C#)

          ในการพัฒนาเว็บไซต์ บางครั้งอาจมีความจำเป็น หรือความต้องการจากผู้ใช้ที่ต้องการให้เว็บไซต์ดังกล่าวมีฟังก์ชั่นการทำงานในส่วนของการอัพโหลดไฟล์เพื่อแนบไฟล์เข้าไปในระบบและบันทึกลงฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูลการแนบไฟล์ดังกล่าวได้ในภายหลัง การอัพโหลดไฟล์จึงถือเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นการทำงานที่นักพัฒนาเว็บไซต์ควรทราบไว้ ซึ่งลักษณะการทำงานโดยทั่วไปส่วนใหญ่เราจะใช้ Control ที่มีเรียกว่า “FileUpload” แบบอัพโหลดครั้งละ 1 ไฟล์ และหากมีมากกว่านั้นก็จะมีการสร้างตัว FileUpload มาวางไว้ในหน้าจอเพิ่มตามจำนวนที่ต้องการแบบตายตัว เช่น หากในหน้าจอดังกล่าวต้องการสามารถให้ทำการอัพโหลดไฟล์ได้ไม่เกิน 5 ไฟล์ต่อการอัพโหลดแต่ละครั้งก็จะมีการลากคอนโทรล FileUpload มาวางไว้ในหน้าจอจำนวน 5 ตัว เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการอัพโหลดไฟล์ของผู้ใช้ได้ แต่ผู้เขียนพบว่าการทำงานดังกล่าวอาจไม่รองรับความต้องการในการทำงานของผู้ใช้ที่จะเพิ่มไฟล์ได้ครั้งละหลายๆไฟล์โดยไม่จำกัดและผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องระบุหรือสร้างคอนโทรล FileUpload มาวางในหน้าจอในจำนวนที่ตายตัวโดยไม่จำเป็น โดยผู้ใช้สามารถคลิกปุ่มเพื่อเพิ่มจำนวนในการอัพโหลดไฟล์แต่ละครั้งได้เองเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ ASP.NET(C#) ในแบบที่มีการอัพโหลดไฟล์ได้คราวละหลายๆไฟล์ในแบบไม่ต้องจำกัดจำนวนคอนโทรล FileUpload ในหน้าจอโดยมีการระบุจำนวนไฟล์ที่สามารถอัพโหลดได้ในแต่ละครั้งโดยผู้พัฒนาแบบตายตัวอย่างเช่นที่กล่าวไว้ข้างต้น           หลังจากที่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม ผู้เขียนพบว่าใน .NET Framework เวอร์ชั่น 4.5 นั้นจะมีการเพิ่ม Feature การทำงานในส่วนนี้ให้กับคอนโทรล FileUpload ไว้แล้วผ่าน Properties ที่เรียกว่า AllowMultiple ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการพัฒนาและสามารถลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่ายังคงต้องมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมเอง ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนาทั้ง 2 แบบในเบื้องต้นโดยจะเน้นไปในแบบเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า 4.5 เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ดังนี้ 1. การอัพโหลดไฟล์คราวละหลายๆไฟล์โดยใช้ .Net Framework เวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า 4.5           ในบทความนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวทางแบบที่เป็นการพัฒนาโดยใช้จาวาสคริปต์เข้ามาเป็นตัวช่วยให้สามารถอัพโหลดไฟล์ได้ครั้งละหลายไฟล์ต่อการอัพโหลดแต่ละครั้ง เพื่อลดจำนวนการโหลดของหน้าจอและทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าการทำงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความรวดเร็วไม่ต้องใช้เวลานาน โดยจะอธิบายทีละขั้นตอน ดังนี้ 1) ออกแบบหน้าจอการทำงานในฝั่ง Client  ทำการออกแบบหน้าจอการทำงานไว้ในเบื้องต้น โดยมีการสร้างคอนโทรล FileUpload มาตั้งต้นไว้ 1 ตัว และมีปุ่มเพื่อให้ทำการเพิ่มคอนโทรล FileUpload ได้เองอัตโนมัติโดยตัวผู้ใช้เอง และปุ่มที่ใช้ในการอัพโหลดไฟล์จากคอนโทรล FileUpload ทั้งหมด ดังนี้ <body> <form id=”form1″ runat=”server”> <div> <div id=”fileUploadarea” class=”Divborder”> <div id=’divfirstUpload’><br /><asp:FileUpload ID=”fuMultiple” runat=”server” CssClass=”fileUpload” onchange=”javascipt:FileValidate(this,5);” />&nbsp; <input style=”display:inline;” id=”BtnRemove” type=”button” value=”Remove” onclick=”DelFileUpload(‘divfirstUpload’);” /> </div> </div> <br /> <div>&nbsp; <input style=”display:inline; background-color: #A4EDFF; color: #333333; width: 150px; font-weight: bold;” id=”btnAddMoreFiles” type=”button” value=”Add more files” onclick=”AddMoreFilesWithMax(6);” /> &nbsp; <asp:Button ID=”BtnUpload” runat=”server” onclick=”BtnUpload_Click” Text=”Upload” OnClientClick=”return ValidateFileUpload();” BackColor=”#3399FF” Font-Bold=”True” ForeColor=”White” Width=”150px” /> <br> <asp:GridView ID=”gvResult” runat=”server” AutoGenerateColumns=”False” CellPadding=”4″ ForeColor=”#333333″ GridLines=”None” Width=”410px”> <RowStyle BackColor=”#EFF3FB” /> <Columns> <asp:BoundField DataField=”Name” HeaderText=”ชื่อไฟล์”> <ItemStyle Width=”200px” /> </asp:BoundField> <asp:BoundField DataField=”FileSize” HeaderText=”ขนาดไฟล์(KB)”> <ItemStyle HorizontalAlign=”Right” Width=”120px” /> </asp:BoundField> </Columns> <FooterStyle BackColor=”#507CD1″ Font-Bold=”True” ForeColor=”White” /> <PagerStyle BackColor=”#2461BF” ForeColor=”White” HorizontalAlign=”Center” /> <SelectedRowStyle BackColor=”#D1DDF1″ Font-Bold=”True” ForeColor=”#333333″ /> <HeaderStyle BackColor=”#507CD1″ Font-Bold=”True” ForeColor=”White” /> <EditRowStyle BackColor=”#2461BF” /> <AlternatingRowStyle BackColor=”White” /> </asp:GridView> </div> </div> </form> </body> 2)

Read More »

Auto remove schema in EDMX on build

Entity Framework (EF)  คือ data access technology ที่เริ่มเปิดตัวครั้งแรกเป็นส่วนหนึ่งของ .NET Framework 3.5 SP1 โดยตัว EF จะทำหน้าที่เป็น object-relational mapper ที่ทำให้ผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียน code ในส่วน data access ก็สามารถใช้ข้อมูลจาก relational database โดยผ่าน object model การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ EF นั้นจำเป็นต้องมี Entity Data Model เป็น model ที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ entity และ relationship ระหว่าง entity นั้นๆ การสร้าง Entity Data Model สามารถแยกออกเป็น 2 แนวทางคือ “Code First” เป็นการกำหนดรูปร่างของ model โดยการสร้าง class (เขียน code) จะมี database หรือไม่มีอยู่ก่อนก็ได้  และ “Database First” ที่จะทำการสร้าง model ( reverse engineer) จาก database ที่มีอยู่โดย EF Designer ซึ่ง model ที่ได้จะเก็บอยู่ใน EDMX file (.edmx) สามารถเปิดหรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ด้วย EF Designer สำหรับ class ที่ใช้ในโปรแกรมจะถูกสร้างโดยอัตโนมัติจาก EDMX file ข้อมูล Entity Data Model ใน EDMX file อยู่ในรูปแบบ xml สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Storage model, Conceptual model และ Mapping ซึ่งในส่วนของ Storage model จะเป็นข้อมูลรายละเอียดของ entity จาก database เช่น ข้อมูล EntityType ที่ให้รายละเอียดของชื่อของ entity (table ใน database), ชื่อและประเภทของ property (column ของ table ใน database)  <EntityType Name=”VF_CONFIG_REPORT”> <Key> <PropertyRef Name=”ID” /> </Key> <Property Name=”ID” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ Nullable=”false” /> <Property Name=”REPORT_NAME” Type=”varchar2″ MaxLength=”512″ /> <Property Name=”REPORT_PATH” Type=”varchar2″ MaxLength=”512″ /> <Property Name=”GROUP_TYPE” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ /> <Property Name=”SIGN_NUM” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ /> <Property Name=”SIGNS” Type=”varchar2″ MaxLength=”128″ /> </EntityType> ข้อมูล EntitySet ที่ประกอบด้วย ชื่อ,ประเภทของ entity, schema และ query ที่ใช้ดึงข้อมูล <EntitySet Name=”VF_CONFIG_REPORT” EntityType=”Self.VF_CONFIG_REPORT” store:Type=”Views” store:Schema=”FINANCE”> <DefiningQuery> SELECT “VF_CONFIG_REPORT”.”ID” AS “ID”, “VF_CONFIG_REPORT”.”REPORT_NAME” AS “REPORT_NAME”, “VF_CONFIG_REPORT”.”REPORT_PATH” AS “REPORT_PATH”, “VF_CONFIG_REPORT”.”GROUP_TYPE” AS “GROUP_TYPE”, “VF_CONFIG_REPORT”.”SIGN_NUM” AS “SIGN_NUM”, “VF_CONFIG_REPORT”.”SIGNS”

Read More »

ASP.NET Core Part I

asp.net core คือ cross-platform framework สำหรับการพัฒนา web application ที่ทำงานบน .net core หรือ  full .net framework เดิม ( .net core สามารถใช้งานได้ทั้ง Windows , Linux และ MacOS โดยที่ส่วนประกอบต่างๆของ .net core ไม่ว่าจะเป็น runtime, libraries, compiler, language และเครื่องมือต่างๆ เป็น open source ทั้งหมด )  ซึ่ง asp.net core ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพดีกว่า asp.net เดิมโดยแบ่งส่วนต่างๆออกเป็น module ย่อยเพื่อลด overhead ในการเริ่มต้นทำงาน ซึ่ง asp.net core ประกอบไปด้วยกลุ่มของ NuGet package แทนที่การใช้งาน System.Web.dll ใน asp.net เดิม ซึ่งผู้พัฒนาสามารถเลือกเฉพาะ package ที่ต้องใช้งานเท่านั้น ทำให้ application มีขนาดเล็กลง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น,การพัฒนา Web UI และ Web API จะใช้ libraries เดียวกัน, สนับสนุนการใช้งาน dependency injection, web application สามารถใช้งานบน IIS หรือ self-host ภายใต้ process ของตัวเอง ในการพัฒนา asp.net core เราสามารถใช้เครื่องมือที่เป็น text editor ธรรมดาหรือจะใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาอย่างเช่น Visual Studio ก็ได้ ในส่วนของโครงสร้างของ project asp.net core จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยการกำหนดค่า config ของ project สามารถกำหนดได้ที่ project.json { “title”: “asp.net.core”, “version”: “1.0.0”, “dependencies”: { “NETStandard.Library”: “1.6.0”, “Newtonsoft.Json”: “9.0.1” }, “frameworks”: { “netstandard1.6”: { “imports”: “dnxcore50″ } } } การ reference ไปยัง NuGet package ที่ต้องการใช้งานใน project สามารถกำหนดได้ใน project.json โดยพิมพ์ชื่อ NuGet package ที่ต้องการพร้อมทั้งระบุ vesrion ในส่วน “dependencies” ซึ่งเมื่อทำการบันทึก project.json เครื่องมืออย่างเช่น visual studio จะทำการ restroe NuGet package ให้กับ project โดยอัตโนมัติ asp.net core ได้รับการออกแบบให้รองรับ client-side framework ต่างๆเช่น AngularJS หรือ bootstrap โดยใช้เครื่องมือที่เป็น package manager ในติดตั้ง client-side package ที่ต้องการใช้งาน อย่างเช่น Bower ที่จะกำหนด package ที่ต้องการใช้งานใน bower.json { “name”: “asp.net”, “private”: true, “dependencies”: { “bootstrap”: “3.3.6”, “jquery”: “2.2.0”, “jquery-validation”: “1.14.0”, “jquery-validation-unobtrusive”: “3.2.6” } } หรือ npm ที่จะกำหนด package ที่ต้องการใช้งานใน package.json { “name”:

Read More »