Raspberry Pi 3 [Automated Relay Controller]

ตอนที่แล้วเราได้ทดลองทำการสั่งงานรีเลย์แบบ Manual ผ่านหน้าเว็บไปแล้ว ครั้งนี้เราลองสั่งให้รีเลย์ทำงานโดยผ่านการประมวลผลค่าที่ได้จากเซนเซอร์ เพื่อให้ก้าวไปอีกขั้นของ IoT   โดยเราจะใช้เซนเซอร์ที่เคยได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว นั่นคือ DHT22 Temperature & Humidity Sensor (ต่อที่ PIN: 32 [GPIO 12]) และรีเลย์ 4 Channel ซึ่งสามารถนำไปต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ต่อ PIN เดิมจากตอนที่แล้ว   ความต้องการเบื้องต้นคือ 1. เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าหรือเท่ากับ 28 องศา ให้เปิดพัดลมระบายอากาศ 1 (ที่ต่ออยู่กับ Relay 1) 2. เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 28 องศา ให้ปิดพัดลมระบายอากาศ 1 และเปิดพัดลมระบายอากาศ 2 (ต่ออยู่กับ Relay 2) 3. เมื่อความชื้นต่ำกว่า 50% ให้เปิดเครื่องสร้างความชื้น (Humidifier) (ต่ออยู่กับ Relay 3)  โดยไม่ต้องสนใจอุณหภูมิ เริ่มเขียนโค้ดเพื่อทำการประมวลผลกันเลย (โค้ดบางส่วน ได้อธิบายไว้ในตัวอย่างบทความก่อนหน้านี้แล้ว) … Read more

Raspberry Pi 3 [Relay Control via Web Interface]

ตอนนี้เราจะมาสร้างหน้าเว็บสำหรับดูสถานะและควบคุมรีเลย์อย่างง่ายๆ   ก่อนอื่น ผมได้ทำการเปลี่ยน PIN ของ GPIO บน Raspberry Pi 3 เพื่อให้เป็นระเบียบมากขึ้นจากครั้งที่แล้ว โดยผมได้เลือกใช้ PIN: 12 (GPIO 18), PIN: 16 (GPIO 23), PIN: 18 (GPIO 24) และ PIN: 22 (GPIO 25) สำหรับสั่งงานรีเลย์ตัวที่ 1-4 ตามลำดับ ดังรูปด้านล่างนี้   หลังจากการทดสอบการทำงานของรีเลย์ทุกตัว (ในบทความที่แล้ว) จากนั้นเราจึงเริ่มขึ้นตอนการติดตั้ง Apache Web Server, PHP และเขียนหน้าเว็บ ดังขั้นตอนต่อไปนี้ครับ   ติดตั้ง Apache Web Server และ PHP ดังนี้ ใช้คำสั่ง sudo apt-get … Read more

Raspberry Pi 3 [Relay Control]

จากตอนที่แล้ว เราได้ลองต่อเซนเซอร์ภายนอก ซึ่งเซนเซอร์จะเป็นประเภท Input เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลต่อตามที่เราต้องการ ยังมีอุปกรณ์บางตัวที่เราสามารถต่อเป็น Output จาก Raspberry Pi ได้ด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นอุปกรณ์หลักที่นำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย นั่นคือ รีเลย์ (Relay) – (ไม่ใช่ Delay นะครับ กรุณาอย่าสับสน)   Relay คืออะไร Relay ถ้าให้พูดจากความเข้าใจคือ สวิตซ์ ประเภทหนึ่งครับ ที่จะทำงานตามกระแสไฟ นั่นคือ เมื่อมีกระแสไฟไปเหนี่ยวนำภายใน สวิตซ์ก็จะทำงาน (Energize) (พูดให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่งคือ เหมือนสวิตซ์ตามผนังนี่แหละครับ แต่แทนที่จะเอามือไปกด เราก็ใช้กระแสไฟเข้าไปให้มันทำงานแทนนั่นเอง) และในบางครั้ง ในระบบไฟฟ้ากำลัง อาจจะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า Magnetic Contactor ซึ่งเป็นหลักการทำงานแบบเดียวกันครับ (ขออภัย หากรูปจะไม่ถูกต้องตามหลักการเป๊ะๆ เพราะวาดจากความเข้าใจ) จากในรูปด้านบนนี้ DC+, DC- คือ ไฟที่เราจะจ่ายให้ขดลวดแม่เหล็ก (ตาม spec ของ relay) เพื่อจะไปทำให้สวิตซ์ Relay ทำงาน … Read more

Raspberry Pi 3 [Temperature & Humidity Data Chart]

จากตอนที่แล้ว เราได้เขียนคำสั่งเพื่อที่จะดึงค่าจากเซนเซอร์แล้ว ครั้งนี้จะเป็นการใช้วิธีดังค่าดังกล่าว มาเก็บไว้เป็นไฟล์ csv จากนั้นนำไปแสดงเป็นกราฟ โดยแสดงผลผ่าน Web Interface ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ครับ   สร้างที่เก็บไฟล์ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ mkdir –p /home/pi/projects/temp–and–humidity mkdir –p /home/pi/projects/temp–and–humidity/sensor–values cd /home/pi/projects/temp–and–humidity (หากใครไม่ต้องการสร้าง directory เพื่อเก็บข้อมูลตามตัวอย่างนี้ ให้แก้ไฟล์ temp_hud_csv_log.py ด้วยครับ) จากนั้นดาวน์โหลดสคริปด้วยคำสั่งนี้ wget https://sysadmin.psu.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/temp_hud_csv_log.txt mv temp_hud_csv_log.txt temp_hud_csv_log.py (เนื่องจาก sysadmin นี้ไม่รองรับการอัพโหลดไฟล์ .py จึงต้องอัพโหลดเป็น .txt ไปก่อน แล้วค่อยเอามา rename เอาเอง)   ตรวจสอบและติดตั้ง dependencies ด้วยคำสั่งนี้ sudo easy_install apscheduler และรอจนเสร็จ          โดยค่า default สคริปนี้จะถูกเซ็ตให้เป็นเซนเซอร์ AM2302 … Read more

Raspberry Pi 3 [Temperature & Humidity Sensor]

สวัสดีและขออภัยที่ห่างหายไป เนื่องจากติดภารกิจทั้งงานราษฏร์และงานหลวงครับ   ครั้งนี้จะเป็นการเริ่มต่อเซนเซอร์ภายนอก เซนเซอร์พื้นฐานที่มีในปัจจุบันก็จะเป็นเซนเซอร์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น เซนเซอร์อุณหภูมิ, เซนเซอร์ความชื้นในอากาศ, เซนเซอร์ความชื้นในดิน, เซนเซอร์น้ำ (ทำงานเมื่อมีน้ำมาสัมผัสเซนเซอร์ – ใช้ตรวจเช็คฝนตก), เซนเซอร์แสง (สวิตซ์), เซนเซอร์ความเข้มแสง, เซนเซอร์วัด pH, เซนเซอร์ UV, เซนเซอร์วัดฝุ่นละอองในอากาศ, เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน, เซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน และเซนเซอร์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหลักการทำงานนั้นส่วนใหญ่จะเหมือนกันหมด คือการอ่านค่ามาจากเซนเซอร์ และนำค่านั้นมาแปรผลที่เราสามารถอ่านได้ง่าย   บทความนี้จะเริ่มด้วยเซนเซอร์ที่ Basic ที่สุด เพื่อให้ทุกท่านพอจะได้เห็นหลักการทำงานและเป็นแนวทางในการเชื่อมต่อเซนเซอร์อ่นๆ ต่อไปครับ นั่นคือ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น AM2302 (DHT22) นั่นเอง โดยจะมี Pinout ดังนี้ (จากซ้ายบน คือขาที่ 1) ขาที่ 1 คือ VCC รองรับ 3.6-6V ขาที่ 2 คือ Data ขาที่ 3 คือ … Read more