มาทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งาน Progress bar ในเบื้องต้นกันเถอะ

          โดยปกติแล้วในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา คงมีบางเวลาที่เราอาจจะอยากแสดงผลข้อมูลของเราในรูปแบบของ Progress bar ซึ่งเป็นแถบของข้อมูล เพื่อเพิ่มมุมมองให้กับการแสดงผลให้ไม่น่าเบื่อจำเจแทนที่จะเป็นเพียงการแสดงผลตัวเลขเฉยๆ โดยเจ้า Progress bar นี้จะทำให้เราเห็นภาพได้ว่า ข้อมูลของเราได้ดำเนินการใกล้ถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการใช้งาน Progress bar แบบเบื้องต้น โดยจะมีขั้นตอนง่ายๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนสไตล์ชีท โดยเราจะใช้สไตล์ชีทเหล่านี้ เพื่อช่วยให้การแสดงผลของ Progress bar ของเราสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งการกำหนดสไตล์ชีทสามารถทำได้ 2 วิธี คือแบบที่กำหนดในไฟล์เลย หรือแยกเป็นไฟล์สไตล์ชีทต่างหากได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้ทำเป็นแบบแยกไฟล์สไตล์ชีทออกมาต่างหากแล้วอ้างถึงจากไฟล์ที่เรียกใช้แทน เพื่อง่ายต่อการปรับปรุง และใช้งานในครั้งต่อไปค่ะ ไฟล์ Progress.css เพิ่มเติม : การอ้างอิงไฟล์สไตล์ชีทจากภายนอก โดยที่อยู่ของไฟล์ก็ขึ้นกับการระบุของแต่ละท่าน 2. การกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล Progress bar ในส่วนของแท็ก body ในไฟล์ html คำอธิบาย : จากตัวอย่าง จะเห็นว่าเราสามารถปรับแต่งและใส่ข้อมูลให้กับ Progress bar 3 ส่วนคือ ข้อความบนแถบ Progress bar ได้ในส่วนของ Progress-title คือ <h3 class=”progress-title”>Basic Progress</h3> กำหนดความกว้างของ Progress bar ได้ผ่านทาง style-inline คือ style=”width:85%;” แสดงข้อความจำนวนของข้อมูลบนแถบ Progress bar คือ <div class=”progress-value“><span>85</span>%</div> นั่นเอง 3. การเรียกใช้งาน jQuery เพื่อการแสดงผล Progress bar ของเราให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเลขที่แสดงตั้งแต่ 0 จนถึงจำนวนเลขนั้น เช่น หากเลขที่ต้องการแสดงคือ 60% ตัวเลขแสดงจำนวนดังกล่าวจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นโดยเริ่มจาก 0 จนถึง 60 นั่นเอง ผลลัพธ์ เพิ่มเติม           จากตัวอย่างข้างต้น จะเป็นการแสดงผล Progress bar แบบพื้นฐานอย่างง่าย เพียงเท่านี้ท่านก็จะสร้าง Progress bar ได้ด้วยตนเองแล้ว แต่หากท่านใดที่อยากเพิ่มสีสันและความสวยงามให้กับ Progress bar ของท่าน ก็สามารถทำได้ดังตัวอย่างนี้ค่ะ1. ปรับแก้เพิ่มเติมในส่วนของการกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล 2. เพิ่มสไตล์ชีทที่ใช้สำหรับเพิ่มสีสันให้กับ Progress bar ของเรา ผลลัพธ์           จากตัวอย่างข้างต้น จะเป็นวิธีการสร้าง Progress bar ที่มีการใส่สีสันให้กับแต่ละแถบเส้น แต่ลูกเล่นของการแสดงผล Progress bar ยังสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งผู้เขียนจะขอแนะนำอีกวิธี ซึ่งเป็นการสร้าง Progress bar แบบหลายสีในแถบเดียวกันโดยมีวิธีการเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ การกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล Progress bar ในส่วนของแท็ก body ในไฟล์ html           จากโค้ดตัวอย่างข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าการกำหนดค่าต่างๆจะมีลักษณะกับหลักการที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่จะแตกต่างกันตรงที่การแสดงผลหลายแถบสีในแถบเดียวกันจะมีการกำหนด progress bar ภายใต้แท็ก <div class=”progress”> เดียวกัน และหากต้องการกำหนดให้มีกี่แถบสีก็สามารถเพิ่มสี และกำหนดขนาดของแต่ละแถบสีได้ตามต้องการ ผลลัพธ์           โดยบทความนี้ก็ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแนะนำการใช้งาน รวมถึงลูกเล่นของ Progress bar ในเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากรูปแบบและการใช้งานของ Progress bar ยังมีให้เลือกใช้ เลือกลองกันอีกมากมายหลายแบบเลยนะคะ ผู้เขียนหวังว่าความรู้จากบทความนี้จะเป็นพื้นฐานและตัวช่วยให้กับนักพัฒนาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตนได้ไม่มากก็น้อยค่ะ ^^ แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://bestjquery.com/tutorial/progress-bar/demo78/ https://www.jquery-az.com/boots/demo.php?ex=51.0_5

Read More »

การทำ Partial Rendering สำหรับ User Controls

สำหรับท่านใดที่ยังใช้งาน ASP.NET Web From ในการพัฒนาเว็บไซต์อยู่ คงคุ้นเคยกับการใช้งาน User Controls เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นการสร้าง UI เพื่อใช้งานซ้ำในหลายๆ Page ซึ่งเป็นที่นิยม สำหรับบทความนี้จะแนะนำวิธีการ แยกเรนเดอร์ User Controls ที่มีปัญหาโหลดช้าอันเนื่องมาจากสาเหตุใดก็ตาม และเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเห็นเป็นอย่างแรก โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.เพิ่ม HTML Container element เช่น Div, Panel ในหน้าจอ ที่ต้องการใช้งาน เช่น 2.เพิ่ม Ajax Controls toolkit : Dynamic Populate ใช้เพื่อ Render HTML หลังจากที่ Page Load เสร็จเรียบร้อย TargetControlsID คือ ID ของ HTML Container element ที่เราต้องการแสดงผล HTML ของ User Controls ที่เราสร้างมาจาก Web Service ServicePath คือ Path ของ Web Service ที่เรียกใช้งาน ServiceMethod คือ Web Method ที่ใช้ Render User Controls UpdatingCssClass คือ CSS Class ที่ต้องการให้แสดงระหว่างรอ Load HTML 3.Java Script เรียกใช้งาน  Ajax Controls toolkit : Dynamic Populate และเพิ่มเติมฟังก์ชันที่ต้องการขณะแสดงผล User Controls 4.สร้าง Web Method สำหรับสร้าง HTML ของ User Controls รูปแบบของ Web Service Method ซึ่งจะต้องมี Return Type เป็น string และรับ Parameter ชื่อ contextKey ซึ่งมี Type เป็น string เช่นกัน เรียก Method ชื่อ RenderUserControl โดยระบุ Path ของ User Control ที่ต้องการ และ List ของ Property ทั้งหมดของ User Control 5.Method ที่ใช้ในการสร้างเนื้อหา HTML จาก User Controls เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเรียกใช้งาน User Control นี้ในหน้าจอต่างๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเพิ่มเวลาโหลดให้กับหน้าจอแสดงผลนั้นๆแล้วครับ อย่างไรก็ดีบทความนี้ผมได้เขียนไว้นานมากแล้ว แต่ยังไม่ได้นำมาเผยแพร่ ในปัจจุบันอาจมีวิธีการอื่นๆ และ ASP.NET ที่เป็น Web Form อาจจะได้รับความนิยมน้อยลงไปแล้ว แต่สำหรับท่านที่ต้องดูแล และปรับปรุงระบบเก่าๆ ไม่สามารถเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดได้ ก็ยังสามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับระบบของตนเองได้ครับ

Read More »

ทำให้แอปพลิเคชันอ่านหรือสร้าง Barcode ได้ด้วย ZXing (“zebra crossing”)

เนื่องด้วยได้รับโจทย์ให้พัฒนาแอปพลิเคชัน ที่สามารถแสกนบาร์โค้ดได้เมื่อได้ค้นหาดูก็พบชื่อของ Library ที่แรกเริ่มเขียนด้วยภาษา Java และถูก Port ให้รองรับภาษาอื่นๆอีกมากมาย เป็นที่นิยม และเป็น Open Source นั้นคือ ZXing โดยในบทความนี้จะแสดงตัวอย่างวิธีการนำ ZXing.Net.Mobile มาใช้งานร่วมกับ Xamarin.iOS ขั้นตอนการนำมาใช้งาน ตัวอย่างในบทความใช้ Visual Studio 2019 16.8.0 ติดตั้ง Work Load Xamarin.iOS 1.สร้างโปรเจคใหม่โดยเลือก Template ชื่อ iOS App (Xamarin) และกำหนดค่าดังรูป 2. โดยโครงสร้างไฟล์ของโปรเจคมีดังรูป 3. เปิดไฟล์ Main.storybord สร้าง View และเพิ่มปุ่ม btnScanBarcode (สำหรับ Xamarin.iOS บน Windows จะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ .storybord ได้แล้วในเวอร์ชันนี้ ต้องทำบน macOS เท่านั้น) 4.ติดตั้ง ZXing.Net.Mobile ผ่าน Nuget Package โดยคลิกขวาที่ชื่อโปรเจค เลือก Manage Nuget Packages ค้นหาคำว่า ZXing เลือก Install 5.สร้าง Controller สำหรับ View ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ และเพิ่มโค้ดดังนี้ 6. จากนั้นให้เปิดไฟล์ info.plist เพื่อเพิ่มข้อมูลคำอธิบายการขอสิทธิการใช้กล้อง และส่วนอื่นๆที่ ZXing ต้องการดังรูป (ในส่วนคำอธิบายสามารถปรับเปลี่ยนให้ดีกว่านี้ได้) 7.เพียงเท่านี้ก็สามารถกด Run เพื่อทดสอบกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้แล้ว (ไม่สามารถทดสอบบน Simulator ได้เนื่องจากต้องใช้กล้อง) สำหรับบทความนี้ค่อนข้างจำเพาะเจาะจงกับเครื่องมือที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน ที่จะต้องเป็น Xamarin.iOS บน Visual Studio เท่านั้น แต่ด้วยชื่อของ ZXing ท่านที่ใช้เครื่องมืออื่นๆสามารถนำไปค้นหาเวอร์ชัน และวิธีการใช้งานสำหรับเครื่องมือนั้นๆเพิ่มเติมได้ อย่างน้อยก็เป็นการแนะนำให้นักพัฒนาที่ได้อ่านบทความนี้ ได้รู้จัก Library ในงานด้านนี้เพิ่มอีก 1 ตัวครับ

Read More »

แก้ปัญหาอัปโหลด Android App ไม่ผ่านเพราะเปลี่ยนคนอัปโหลด

เคยไหมที่ฝากทีมอื่นที่เขามี account google play console อยู่แล้ว เพื่อฝากอัพเดทแอปที่เราเพิ่ม feature ใหม่ๆของแอปที่เราพัฒนา ตอนนั้นก็ได้ลองผิดลองถูกกันไปเรื่อยๆ เพราะว่าตอนที่เรา build app มันจะสร้าง signing key ในการอัปโหลดที่ผูกติดกับ user ดังนั้นเมื่อเปลี่ยน user ในการอัปโหลดก็ต้องอัปโหลด signing key ใหม่ วันนี้จะมา KM การเปลี่ยน signing key เผื่อใครเคยเจอปัญหาเดียวกัน หน้าจอแสดงการอัปโหลด Android app ไม่ผ่าน เพราะ signing key ไม่ตรงกับ user เก่า โดยเข้าที่เมนู App signing เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม หน้าจอแสดงรายละเอียด signing key ที่สามารถอัปโหลดจะเห็นได้ว่า SHA ผูกติดกับ user เก่า ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ เราต้อง Upload certificate ใหม่ โดยที่เราต้องไปที่ project ของเราเพื่อดึงค่า key store ใหม่ โดยใช้คำสั่ง expo fetch android:keystore (คำสั่งขึ้นอยู่กับ project ว่าใช้ Tool อะไร ถ้าใช้ Expo ใช้คำสั่งนี้) ก็จะเห็นค่า Key password ที่เราตั้งไว้ (ขั้นตอนนี้จะได้ไฟล์ .jks) การสร้าง signing key ใหม่ โดยใช้คำสั่ง expo fetch android:upload-cer (ขั้นตอนนี้เราจะได้ไฟล์ .pem) จากนั้นเราเราก็ส่งข้อมูลไฟล์ .pem โดยคลิก https://support.google.com/googleplay/android-developer/contact/key อัปโหลดไฟล์ .pem ใหม่ จากนั้นก็รอ mail แจ้งกลับจาก Google play console เมื่อ approved เรียบร้อยแล้ว เราก็จะอัปโหลดแอปได้ตามปกติ ที่มา : https://support.google.com/googleplay/android-developer/answer/9842756

Read More »

แสดงข้อมูล Memory CPU Disk ด้วย C# EP.3

แล้วก็มาถึง EP สุดท้ายของซีรีส์นี้ นั่นก็คือการดึงข้อมูลการใช้งานพื้นที่บน Disk ก่อนจะไปหาพื้นที่ disk เราต้องไปหา drive กันก่อนว่ามี drive อะไรบ้าง จากนั้นจึงไปหาข้อมูล disk ของ drive นั้นๆ โดยเราจะใช้ class DriveInfo สำหรับดึงข้อมูล drive ต่างๆ ออกมา ดังโค้ดตัวอย่าง โดยเราสามารถดึงข้อมูล drive ต่างๆ ได้ผ่านเมทธอด GetDrives() และเข้าถึงชื่อ drive ได้ผ่าน property Name เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ เราก็สามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นที่ disk และการใช้งานของแต่ละ drive ได้ไม่ยากแล้ว ผ่าน property ต่างๆ ของ object DriveInfo เราไปดูตัวอย่างโค้ดกันเลย จากตัวอย่าง เราต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า Drive ที่เราต้องการอยู่ในสถานะพร้อมใช้งานอยู่หรือไม่ผ่าน IsReady ก่อนที่จะเรียกใช้งานเมทธอดอื่น เพื่อให้การแสดงผลข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และแปลงรูปแบบข้อมูลให้เป็น GB ก็จะได้ตัวอย่างโค้ดทั้งหมดดังต่อไปนี้ ผลลัพธ์จากการรันโค้ดข้างต้น นอกจากนี้ DriveInfo ยังมีอีกหลาย property ที่เราสามารถเรียกใช้งานได้ ดังตัวอย่าง DriveInfo Properties AvailableFreeSpace Indicates the amount of available free space on a drive, in bytes. DriveFormat Gets the name of the file system, such as NTFS or FAT32. DriveType Gets the drive type, such as CD-ROM, removable, network, or fixed. IsReady Gets a value that indicates whether a drive is ready. Name Gets the name of a drive, such as C:. RootDirectory Gets the root directory of a drive. TotalFreeSpace Gets the total amount of free space available on a drive, in bytes. TotalSize Gets the total size of storage space on a drive, in bytes. VolumeLabel Gets or sets the volume label of a drive. สำหรับบทความในซีรี่ส์นี้ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย พบกันใหม่เมื่อมีเรื่องอยากจะเขียน สวัสดีครับ อ้างอิง https://docs.microsoft.com/en-us/dotnet/api/system.io.driveinfo?view=net-5.0 https://www.c-sharpcorner.com/UploadFile/puranindia/driveinfo-class-in-C-Sharp/

Read More »