การเรียกใช้งานเมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิสแบบ Ajax ด้วย jQuery (C#)
ก่อนจะพูดถึงวิธีการเรียกใช้งานเมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิสแบบ Ajax ด้วย jQuery ผู้เขียนขอเกริ่นนำเกี่ยวกับที่มาที่ไปเกี่ยวกับแนวคิดแบบ Ajax เพื่อให้ผู้อ่านบางท่านที่ยังอาจงงๆได้ทำความเข้าใจเสียก่อน ว่าโดยปกติแล้วนั้น ในการพัฒนาเว็บไซต์(Web application)ของ ASP.NET จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Client side และ Server side ซึ่งการทำงานในส่วนของ Client side จะหมายถึงส่วนของ browser หรือหน้าจอการทำงานของผู้ใช้ เช่น Google Chrome Firefox และ Internet explorer ส่วนในฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะมีการรับคำร้องขอ(request) จากฝั่ง Client ทำการประมวลผลและส่งค่าผลลัพธ์คืนกลับมายังฝั่ง Client อีกครั้งเพื่อให้ผู้ใช้เห็นผลลัพธ์การตอบกลับนั้นได้ ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นการพัฒนาจะประกอบด้วยโค้ด 2 ส่วน คือ Server-side code ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการทำงานในการติดต่อไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และถูกนำมาใช้ในการพัฒนา Web application ซึ่งใน ASP.NET นั้นนับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะมีการใช้งานผ่านทาง .NET Framework ในรูปแบบของภาษา C# VB หรือภาษาอื่นๆที่มีใน .NET ในการประมวลผลเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆจากคำร้องขอในฝั่ง Client และทำการส่งผลลัพธ์ที่ได้กลับมายังฝั่ง Client อีกครั้ง หลังจากมีการส่งผลลัพธ์ตอบกลับมาเรียบร้อยแล้วนั้น จะมีการ render หน้าจอดังกล่าวขึ้นอีกครั้งเพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เพจหรือหน้าจอที่ใช้งานมีการโหลดหรือ refresh เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเสียทำให้ผู้ใช้รู้สึกล่าช้าในการรอการตอบกลับการประมวลผลพร้อมทั้งการแสดงผลจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ โดยโค้ดในลักษณะนี้ผู้พัฒนาบางท่านอาจรู้จักกันในนามของ code behind นั่นเอง Client-side code อาจเรียกได้ว่าเป็น client-side script ที่ถูกฝังไว้ในฝั่ง client และมีการประมวลผลในส่วนของ Browser ของผู้ใช้ ซึ่งสคริปต์ที่นิยมใช้ในการพัฒนาโดยส่วนใหญ่จะเป็น JavaScript และโต้ตอบกลับมาโดยตรงด้วย element ที่มีใน HTML เช่น textbox ปุ่ม หรือตาราง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้งานของโค้ดภาษา HTML และ CSS(Cascading Style Sheets) ร่วมด้วย แต่การพัฒนาในส่วนนี้ต้องมีการคำนึงถึงภาษาและโค้ดที่รองรับในแต่ละ browser ของผู้ใช้ด้วย ซึ่งการพัฒนาด้วยโค้ดในส่วนนี้ จะทำให้การตอบโต้กับผู้ใช้งานเกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้น เกิด overhead น้อย แต่ก็มีข้อเสียเกี่ยวกับการเลือกใช้ภาษาในการพัฒนาให้ครอบคลุมในความหลากหลายของ browser ที่ผู้ใช้ใช้งานในการเปิดเว็บไซต์ได้ Ajax (Asynchronous JavaScript and XML) เทคโนโลยีและแนวคิดแบบ Ajax ได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและหลักการทำงานโดยทั่วไปที่มีอยู่เดิมของ web application เล็กน้อย คือจะมีการส่งคำร้องขอจากฝั่ง Client ไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์โดยตรงเพื่อตอบโต้กับ object ที่มีในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เช่น ฐานข้อมูล หรือไฟล์ เป็นต้น โดยปราศจากการ postback โดยแนวคิดของ Ajax จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม เช่น ข้อมูลในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เว็บเซอร์วิส และการเขียนสคริปต์ในฝั่ง client โดย client-side script จะใช้ในการเรียกใช้เว็บเซอร์วิสเพื่อประมวลผลกับฐานข้อมูลตามคำร้องขอ ซึ่งคำร้องขอดังกล่าวอาจเป็นการบันทึกหรืออ่านค่าข้อมูลจากฐานข้อมูล และการเรียกใช้แบบ Ajax นี้จะเป็นลักษณะ Asynchronous คือ เมื่อผู้ใช้มีการส่งคำร้องขอไปยังเว็บเซอร์วิส ในหน้าจอการทำงานจะไม่ถูกล็อคไว้ และสามารถทำงานในส่วนอื่นต่อได้โดยไม่จำเป็นต้องรอกระบวนการทำงานให้เสร็จทีละส่วน สามารถทำคู่ขนานกันไปได้ และหากส่วนใดเสร็จสิ้นการประมวลผลแล้วนั้นตัวเว็บเซอร์วิสก็จะส่งผลลัพธ์กลับมาให้แสดงยังฝั่งผู้ใช้เอง โดยเทคโนโลยีที่ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นสำหรับ client-side script นั่นก็คือ jQuery ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากประมวลผลได้เร็ว มีขนาดเล็ก และมีคุณสมบัติอีกหลายประการที่จะเข้ามาช่วยทำให้การพัฒนาโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่ง จากข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเว็บไซต์โดยหลีกเลี่ยงการ postback เมื่อมีการเรียกใช้งานไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ถือเป็นอีกทางเลือกของนักพัฒนาที่จะหยิบมาใช้ เพื่อลด over head ให้กับตัว web server และสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ได้รวดเร็วขึ้น ลดจำนวนในการโหลดเพจ และรอการตอบสนองทุกครั้งที่มีการส่งคำร้องขอ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการเรียกใช้หรือส่งคำร้องขอไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์แบบ Ajax ด้วย jQuery ดังนี้ การเรียกใช้เมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ตามแนวคิดของ Ajax ด้วย jQueryหลักการเขียนเพื่อเรียกใช้เมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิส ที่มาของภาพ :http://www.aspsnippets.com/Articles/Call-ASPNet-Page-Method-using-jQuery-AJAX-Example.aspx ตัวอย่างที่ 1 : การเรียกใช้งานเมธอดแบบส่งค่ากลับเป็น