ASP.NET Core Part I
asp.net core คือ cross-platform framework สำหรับการพัฒนา web application ที่ทำงานบน .net core หรือ full .net framework เดิม ( .net core สามารถใช้งานได้ทั้ง Windows , Linux และ MacOS โดยที่ส่วนประกอบต่างๆของ .net core ไม่ว่าจะเป็น runtime, libraries, compiler, language และเครื่องมือต่างๆ เป็น open source ทั้งหมด ) ซึ่ง asp.net core ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพดีกว่า asp.net เดิมโดยแบ่งส่วนต่างๆออกเป็น module ย่อยเพื่อลด overhead ในการเริ่มต้นทำงาน ซึ่ง asp.net core ประกอบไปด้วยกลุ่มของ NuGet package แทนที่การใช้งาน System.Web.dll ใน asp.net เดิม ซึ่งผู้พัฒนาสามารถเลือกเฉพาะ package ที่ต้องใช้งานเท่านั้น ทำให้ application มีขนาดเล็กลง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น,การพัฒนา Web UI และ Web API จะใช้ libraries เดียวกัน, สนับสนุนการใช้งาน dependency injection, web application สามารถใช้งานบน IIS หรือ self-host ภายใต้ process ของตัวเอง ในการพัฒนา asp.net core เราสามารถใช้เครื่องมือที่เป็น text editor ธรรมดาหรือจะใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาอย่างเช่น Visual Studio ก็ได้ ในส่วนของโครงสร้างของ project asp.net core จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยการกำหนดค่า config ของ project สามารถกำหนดได้ที่ project.json { “title”: “asp.net.core”, “version”: “1.0.0”, “dependencies”: { “NETStandard.Library”: “1.6.0”, “Newtonsoft.Json”: “9.0.1” }, “frameworks”: { “netstandard1.6”: { “imports”: “dnxcore50″ } } } การ reference ไปยัง NuGet package ที่ต้องการใช้งานใน project สามารถกำหนดได้ใน project.json โดยพิมพ์ชื่อ NuGet package ที่ต้องการพร้อมทั้งระบุ vesrion ในส่วน “dependencies” ซึ่งเมื่อทำการบันทึก project.json เครื่องมืออย่างเช่น visual studio จะทำการ restroe NuGet package ให้กับ project โดยอัตโนมัติ asp.net core ได้รับการออกแบบให้รองรับ client-side framework ต่างๆเช่น AngularJS หรือ bootstrap โดยใช้เครื่องมือที่เป็น package manager ในติดตั้ง client-side package ที่ต้องการใช้งาน อย่างเช่น Bower ที่จะกำหนด package ที่ต้องการใช้งานใน bower.json { “name”: “asp.net”, “private”: true, “dependencies”: { “bootstrap”: “3.3.6”, “jquery”: “2.2.0”, “jquery-validation”: “1.14.0”, “jquery-validation-unobtrusive”: “3.2.6” } } หรือ npm ที่จะกำหนด package ที่ต้องการใช้งานใน package.json { “name”: