Category: Developer

งานพัฒนาระบบ, เขียนโปรแกรม

  • สร้างโปรแกรมทดสอบเว็บแอพพลิเคชันอัตโนมัติด้วย Selenium WebDriver : ตอนที่ 1 การติดตั้ง Web Driver

    “Selenium” คือ ชุดเครื่องมือที่ใช้สำหรับทดสอบเว็บแอพพลิเคชันอัตโนมัติ โดยประกอบด้วยเครื่องมือ 4 เครื่องมือ การใช้งานจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทดสอบในแต่ละองค์กร ได้แก่

    • Selenium Integrated Development Environment (Selenium IDE)
    • Selenium Remote Control (RC)
    • WebDriver
    • Selenium Grid

    SeleniumSuite

    โดยในปัจจุบัน ในส่วนของ Selenium RC (Selenium 1.0) และ WebDriver ได้ร่วมเป็น Selenium ในเวอร์นที่ 2 ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอเรียกว่า Selenium Web Driver เพื่อไม่ให้สับสนกับ Selenium ค่ะ ต่อไปก็ขออธิบายลงไปที่ Selenium Web Driver ต่อไปเลยค่ะ 

    Selenium Web Driver เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถสร้างโปรแกรมในการทดสอบเว็บแอพพลิเคชันกับ Web browser ได้หลายตัว ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติเด่นที่ดีกว่า Selenium IDE ค่ะ (Selenium IDE จะใช้งานได้เฉพาะ firefox เท่านั้น) โดยจะมี Web Driver เป็นตัวกลางที่มีไลบารีที่ช่วยในเราติดต่อกับ Web browser ได้ดังรูปค่ะ

    WebDriver_and_Browsers(1)

    โดยใช้การเขียนโปรแกรมในภาษาต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกัน ไม่ว่าจะเป็น JAVA, .Net (VB/C#), Ruby ติดต่อกับไลบารีของ WebDriver เพื่อเข้าถึงคอนโทรลที่แสดงผ่าน Web browser ได้ ทำให้เราสามารถสร้างโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลายมากขึ้น เช่น

    • ดึงข้อมูลที่ใช้สำหรับกรอกข้อมูลบนฟอร์ม จากฐานข้อมูลได้
    • สามารถใช้ทดสอบหลายๆ กรณี ได้อย่างต่อเนื่อง

    เริ่มเห็นประโยชน์กันบ้างยังค่ะ ต่อไปเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เราก็มาเริ่มการติดตั้งเลย โดยบทความนี้จะใช้ WebDriver ของ Firefox และภาษา C# ในการพัฒนา

    ขั้นตอนที่ 1 : โหลด Selenium Client และ WebDriver
    ไปยัง URL : http://www.seleniumhq.org/download/
    Selenium Client คือ ไลบาลีที่ใช้ติดต่อกับ WebDriver ซึ่งขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการพัฒนา

    11

    12

    (จากรูปด้านบน เลือกตามภาษาที่ใช้ในการพัฒนา)

    WebDriver คือ ไลบารีที่ใช้ติดต่อกับ Web brower ซึ่งในส่วนของ firefox จะติดมากับไลบารีของ Selenium Client อยู่แล้ว แต่ในส่วนของ IE , Chrome หรือ Safari ต้องโหลดแยกต่างหาก โดยในส่วนของเว็บ Selenium ก็มีให้โหลดเรียบร้อยแล้ว 

    13

    14

    (จากรูปบน เป็น Webdriver ของ Chrome เลือกตามระบบปฎิบัติการใช้งาน)

    15

    (จากรูปบน เป็นไฟล์ Webdriver ของ Chrome โดยเราจะเรียกใช้โดยการอ้างอิงจากพาร์ธ)

    ขั้นตอนที่ 2 : การติดตั้งไลบารีกับ Visual Studio

    เมื่อดาวน์โหลดมาเรียบร้อย ทำการแตกไฟล์จะได้โฟลเดอร์ตามรูป โดยเลือกใช้งานตาม .Net Framework ที่ใช้ในการพัฒนา

    16

    จากนั้นทำการสร้าง Project และทำการ Add Referrence

    1

    2

    ขั้นตอนที่ 3 : Hello World !!

    ขั้นตอนนี้ทำการเขียนโปรแกรม โดยการกดปุ่มจากฟอร์มและโปรแกรมทำการเปิดเว็บเพจ google ค้นหาคำว่า Hello World

    18

    3

    (จากรูปบน เป็นส่วนของการประกาศใช้งานไลบารีของ Selenium ซึ่งในกรณีนี้อยู่ที่ว่าจะใช้เรียกเว็บ browser อะไรก็เรียกใช้ไลบารีตัวดังกล่าว จากตัวอย่างผู้เขียนจะเรียกใช้ Firefox กับ Chrome)

    5

    (จากรูปบน เป็นการสร้างตัวแปรคลาส driver ของ Firefox)

    4

    (จากรูปบน เป็นการสร้างตัวแปรคลาส driver ของ Chrome โดยจะแตกต่างจากของ Firefox ตรงที่ต้องมีการระบุตำแหน่งของ driver ซึ่งในขั้นตอนที่ 2 ได้ทำการโหลดมา)

    6

    (จากรูปบน เป็นการเขียนโปรแกรมให้เว็บของ google ค้นหาว่า Hello World!!! คำอธิบายตาม comment เลยจร้า  โดยรูปแบบการค้นหายังมีอีกหลายวิธี ซึ่งอธิบายในตอนต่อไป  )

    เขียนเสร็จเรียบร้อย ลอง run ดูจะได้ผลลัพธ์ตามข้างล่าง ไป Hello World กัน !!! 

    17

    เป็นอย่างไรบ้าง ไม่ยากเลยใช่ไหมค่ะ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกท่านที่กำลังหาเครื่องมือในการทดสอบเว็บแอพพลิเคชัน ซึ่งในตอนถัดไปผู้เขียนจะอธิบายในส่วนของการค้นหาคอนโทรลบนเว็บที่มีเงื่อนไขมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคอนโทรลที่สร้างจาก jquery, dojo หรือ SVG เป็นต้น

    อ้างอิง :

    www.seleniumhq.org  
    www.guru99.com/selenium-tutorial.html

  • แจกฟรี Template สำหรับ Web Application แบบไทยๆ

    แจกฟรี! Template สำหรับ Web Application หน้าตาเว็บแอพแบบไทยๆ เอาไปใช้กันแบบไม่มีเงื่อนไข หลังจากค้นหาดูจากหลายๆ ที่ก็ไม่โดนใจและการนำไปใช้งานไม่เหมาะสมเท่าที่ควร… เลยทำเองซะเลยจากประสบการณ์ คิดว่าหน้ากากแบบนี้เหมาะกับระบบสารสนเทศแบบไทยๆ (แบบทางราชการ) หลังจากการศึกษาและสำรวจรูปแบบมาจากหลากหลายที่

    ส่วนของ source code ที่นำมาใช้และมีการปรับแต่ดังนี้ (จัดเต็ม..เวอร์ชั่นล่าสุด ณ 14/8/2558) (more…)

  • ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี pre-filled form URL

    จากตอนที่แล้ว “ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี link” เรารู้วิธีใส่ link ไปในเนื้อหาเมล ในตอนนี้เราจะมาเปลี่ยน static link เป็น dynamic link (คือ link ที่มีการอ้างชื่อ cell จึงเป็น link ที่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าที่อยู่ใน cell) จุดประสงค์ก็เพื่อส่ง link ให้ผู้ที่รับอีเมลกรอกข้อมูลลง google form ที่มีข้อมูลให้บางส่วนแล้ว (pre-filled form) ซึ่งเป็นข้อมูลของผู้รับอีเมลแต่ละคนที่แตกต่างกัน เช่น ให้มีฟิลด์ ชื่อ และ หน่วยงาน ไว้แล้ว เป็นต้น เมื่อเปิดฟอร์มจึงไม่ต้องกรอกชื่อ และ หน่วยงาน แต่ยังสามารถแก้ไขได้หากต้องการ แล้วให้กรอกข้อมูลเพิ่มในส่วนอื่น ๆ

    สมมติ
    1. เรามี google sheet ชื่อ members มี 4 คอลัมน์ อยู่แล้ว ดังนี้ รายการที่, ชื่อ, หน่วยงาน, อีเมล

    mmwp01

    2. เราต้องการสร้าง google form เพื่อสอบถาม ตอบรับร่วมงาน และ ประเภทอาหาร

    วิธีทำ ดังนี้
    1. สร้าง google form ขึ้นมา 1 อัน ตั้งชื่อว่า member-meeting1

    mmwp02

    2. สร้าง form field ดังนี้ ชื่อ, หน่วยงาน, ตอบรับร่วมงาน, ประเภทอาหาร

    3. เลือกเมนู Responses > เลือก Get pre-filled URL

    mmwp03

    4. กรอกข้อมูลชื่อตัวแปรลงในช่องข้อมูล เช่น ชื่อ ให้ใส่ f1, หน่วยงาน ให้ใส่ f2

    mmwp04

    5. กรอกเสร็จให้คลิก submit จะได้หน้าต่างแสดงเป็น URL และมีข้อความบอกให้เราคัดลอก (ctrl+c)

    mmwp05

    6. URL ที่คัดลอกนี้จะไปใส่ใน google sheet ชื่อ member ในคอลัมน์ใหม่ รวมเป็น 5 คอลัมน์ ดังนี้
    รายการที่, ชื่อ, หน่วยงาน, อีเมล, URL

    7. ที่ cell URL นี้ ให้ใส่ฟังก์ชั่น =HYPERLINK(“URL”,”URL”) และนำ URL ที่คัดลอกมาวางตรงคำว่า URL

    mmwp06

    8. ให้แทนที่ข้อความ ตรงที่มีคำว่า f1 ด้วย “&B2&”, แทนที่ f2 ด้วย “&C2&”

    mmwp07

    9. จากนั้นก็นำความรู้ในเรื่อง “ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี link” มาใช้ในการส่งอีเมลได้แล้ว
    9.1 เตรียมเนื้อหาจดหมายไว้ใน sheet ชื่อ Template
    mmwp08

    9.2 เตรียม range ของข้อมูล คีย์เองนะ

    mmwp09

    9.3 คัดลอก google script จากตอนที่แล้วมาใช้

    mmwp10

    9.4 สั่งให้ google script ชื่อ MailMergeWithLinkv2 ทำการส่งอีเมล

    mmwp11

    9.5 ตรวจสอบดูอีเมลที่ได้รับ

    mmwp12

    9.6 เมื่อคลิก link จากในเมล จะไปเปิด google form ขึ้นมา พร้อมข้อมูล 2 ฟิลด์แรก คือ ชื่อ และ หน่วยงาน ที่ดึงข้อมูลที่มีอยู่มาไว้ให้เลย จะได้ไม่ต้องคีย์บ่อย ๆ

    mmwp13

    9.7 ตรวจสอบข้อมูลที่กรอกผ่าน google form โดยที่เมนู Responses ใน form ให้เลือก Choose response destination และเลือก สร้างไฟล์ google spreadsheet ใหม่

    mmwp14

    จากนั้น จะได้ไฟล์

    mmwp15

    เปิดดู เห็นข้อมูลที่กรอกผ่าน google form มาเก็บไว้แล้ว

    mmwp16

     

    ความรู้นำมาจากเรื่องนี้:
    Pre-populate form answers
    https://support.google.com/docs/answer/160000?hl=en

  • ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี link

    ผมใช้ Yet another mail merge ซึ่งเป็น add-on เพื่อส่งอีเมลเรื่องเดียวกันไปยังเพื่อนๆจำนวนหนึ่ง ก็ใช้งานได้ดีมา 5 ครั้งแล้ว แต่พอครั้งหลังนี้ ผมต้องการส่งอีเมลที่ในเนื้อหามี link ให้ผู้ที่รับอีเมลสามารถคลิกเพื่อเปิดอ่านได้ แต่ลองหลายวิธีที่จะส่งด้วยวิธีที่เคยใช้ add-on ตัวนี้ก็จะแสดงเป็นข้อความ ไม่แสดงเป็น link ในอีเมล (อันนี้ต้องบอกก่อนว่า คาดว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมอีเมลที่มีการแสดงผลมากกว่าข้อความธรรมดา)

    ค้นหาดูก็พบว่า ต้องเปลี่ยนวิธีทำมาเป็นวิธีเขียน google script เพื่อส่ง mail merge แทน

    วิธีทำ ดังนี้
    1. สร้าง google sheet ตั้งชื่อ myusers
    1.1 sheet แรก ตั้งชื่อ Data ที่มีคอลัมน์ ดังนี้
    รายการที่, ชื่อ, คณะ, อีเมล, link1, link2

    mmwl01

    1.2 sheet สอง ตั้งชื่อ Template ที่มี 1 คอลัมน์ เพื่อเขียน subject และ ข้อความจดหมายที่มี link

    mmwl02

    1.3 sheet สาม ตั้งชื่อ Range ที่มี 3 คอลัมน์ ดังนี้
    header, data, template

    mmwl03

    2. ใส่ข้อมูลตามตัวอย่างรูปภาพ

    3. ที่ google sheet ให้คลิกที่ Tool > Script editor > เลือก Blank Project > ตั้งชื่อว่า myusers project

    mmwl04

    mmwl05

    4. แปะ google script ตามซอร์สโค้ดด้านล่างบทความนี้ และคลิก Save
    หมายเหตุ ซอร์สโค้ดนี้จะวางตำแหน่งอีเมลไว้ที่คอลัมน์ที่ 4

    mmwl06

    5. ปิดแท็บ google script (myusers project)

    6. ปิดแท็บ google sheet (myusers) แล้วเปิดใหม่

    7. เมื่อเปิดใหม่จะเห็นว่ามีเมนู Email และมี submenu ชื่อ MailMergeWithLinkv2

    mmwl07

    8. คลิกเมนู Email > MailMergeWithLinkv2
    จะมีการขอสิทธิในการรัน script ดังรูป

    mmwl08   mmwl09

    9. ไปตรวจสอบว่าอีเมลถูกส่งไปและมีเนื้อหาที่มี link ตามต้องการ

    mmwl10

    10. หากต้องการส่งอีกครั้งให้กับอีเมลที่ได้ส่งแล้ว ให้ดูที่คอลัมน์ อีเมล จะเห็นว่ามี Note เนื่องจากว่า google script นี้ได้เขียน Note ไว้ใน cell ใช้เป็นการป้องกันการส่งอีเมลซ้ำ

    mmwl11

    ให้คลิกขวาและเลือก Clear Note

    mmwl12

    ซอร์สโค้ดที่ใช้:

    function onOpen() {
      var submenu = [{name:"MailMergeWithLinkv2", functionName:"MailMergeWithLinkv2"}];
      SpreadsheetApp.getActiveSpreadsheet().addMenu('Email', submenu);  
    }
    
    function MailMergeWithLinkv2() {
      var ss = SpreadsheetApp.getActiveSpreadsheet(),
      DataSheet = SpreadsheetApp.setActiveSheet(ss.getSheetByName("Data")),
      TemplateSheet = SpreadsheetApp.setActiveSheet(ss.getSheetByName("Template")),
      RangeSheet = SpreadsheetApp.setActiveSheet(ss.getSheetByName("Range")),
    
      header = RangeSheet.getRange(2, 1).getValue(),
      data = RangeSheet.getRange(2, 2).getValue(),
      template = RangeSheet.getRange(2, 3).getValue(),
    
      dataRows = DataSheet.getRange(data).getValues(),
      headerRow = DataSheet.getRange(header).getValues(),
      numColumns = DataSheet.getRange(header).getNumColumns(),
      templateRows= TemplateSheet.getRange(template).getValues();
    
      for (var i=0 ; i < dataRows.length ; i++) {
        var mailmessage = "";
        for (var k=0 ; k < templateRows.length ; k++) {
          if ( k == 0 ) {
            var subject = templateRows[0][0];
          } else {
            mailmessage += templateRows[k][0] + "<br>\n"; 
          }
        }
        for (var j=0 ; j < numColumns ; j++) { 
          mailmessage = mailmessage.replace('{' + headerRow[0][j] + '}', dataRows[i][j]); 
        }
        //Test output with logger. Uncomment the line below.
        //Logger.log(mailmessage);
        //
        //Send Email start here, starting row is 2.
        var sender = "Sawadee Krub";   //email sender name
        var emailaddress = DataSheet.getRange(2+i, 4).getValue(); //email in column 4
        var options = {}
        options.htmlBody = mailmessage;
        options.name = sender;
        //Not send email again if it was sent. Clear note then can send email again.
        if (DataSheet.getRange(2+i, 4).getNote()) {
        } else {
          MailApp.sendEmail(emailaddress, subject, '', options);
          DataSheet.getRange(2+i, 4).setNote("Email sent on " + new Date); 
        }
        //Email sent
      } 
    }

     

    ความรู้นำมาจากเรื่องนี้:
    1) Embedding a link in Mail Merge
    https://productforums.google.com/forum/#!topic/docs/WvW-lAr3pg8
    และ
    2) Google Apps Scripts Workshop – Level 1
    http://sysadmin.psu.ac.th/2015/05/06/gasws-1/

    ในตอนต่อไป จะนำเสนอวิธีสร้าง link ที่เป็น pre-filled form URL ของ google form

  • รู้จักกับ Algebraic Specification

    สวัสดีครับ

    หลังจากใช้เวลานานในการคิดว่าจะเขียนอะไรดี ก็คิดได้ว่านำเอาความรู้ที่ได้จากการไปเรียนทบทวนเรื่องวิศวกรรมซอฟต์แวร์มาเล่าสู่กันฟังดีกว่า เรื่องที่จะเล่านี้ก็คือ การเขียน Specification ในรูปแบบหนึ่งซึ่งอาจจะใหม่สำหรับบางคน เรียกว่า Algebraic Specification (ชื่อภาษาไทยว่าอะไร ไปหาเอาเองนะครับ)

    Algebraic Specification เป็นรูปแบบหนึ่งของ Formal Specification (อย่าเพิ่งงงนะครับ) ในการเขียน specification รูปแบบนี้จะใช้คณิตศาสตร์เข้ามาช่วยเพื่อให้เห็นการติดต่อระหว่าง module หรือ component ที่ชัดเจน

    แล้วมันต่างจากที่เขียนอยู่ยังไง?

    ถ้าคุณเขียน specification พรรณนาด้วยภาษามนุษย์ยาวเป็นหน้า ๆ อันนั้นเรียกว่า form-based specification ครับ เป็นวิธีการเขียนที่มนุษย์อ่านแล้วเข้าใจมากกว่า แต่ในการใช้ภาษาเขียนนั้น อาจจะเกิดความกำกวมได้ครับ ประเภทที่คนอ่าน อ่านแล้วงง อ่านแล้วรู้สึกว่ามีหลายความหมายหรือเข้าใจไม่ชัดเจนซึ่งอาจเป็นผลมาจาก Requirement definition และ Requirement specification ที่กำกวมเช่นเดียวกัน

    ดังนั้นจึงมีผู้ปราดเปรื่องบางท่านคิด Algebraic specification ขึ้นมาซึ่งหน้าตาเป็นดังนี้

    ARRAY (Elem: [Undefined -> Elem])
    sort ArrayImports INTEGER
    DescriptionArrays are collections of elements of generic type Elem. They have a lower and upper bound (discovered by the operations First and Last). Individual elements are accessed via their numeric index.Create takes the array bounds as parameters and creates the array, initializing its values to Undefined. Assign creates a new array which is the same as its input with the specified element assigned the given value. Eval reveals the value of a specified element. If an attempt is made to access a value outside the bounds of the array, the value is undefined.
    OperationsCreate (Integer, Integer) -> ArrayAssign (Array, Integer, Elem) -> Array

    First (Array) -> Integer

    Last (Array) -> Integer

    Eval (Array, Integer) -> Elem

    AxiomsFirst (Create (x, y)) = xFirst (Assign (a, n, v)) = First (a)

    Last (Create (x, y)) = y

    Last (Assign (a, n, v)) = Last (a)

    Eval (Create (x, y), n) = Undefined

    Eval (Assign (a, n, v), m) =

    if m < First (a) or m > Last (a) then Undefined

    else

    if m = n then v

    else Eval (a, m)

    จะสังเกตได้ว่าอย่างไรเสียก็ต้องมีคำอธิบายที่มนุษย์เข้าใจอยู่บ้างใช่ไหมครับ แต่ในส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ operations และ axioms  การใช้คณิตศาสตร์ทำให้เราสามารถเห็น input output ของแต่ละการทำงานชัดเจน ลองเปรียบเทียบสองตัวอย่างนี้ดูนะครับ

    “สิ่งมีชีวิตสามารถกินอะไรก็ได้ที่กินได้”

    Eat (Life, Eatable)

    ทั้งนี้ที่ Algebraic specification ยังไม่เป็นที่นิยมก็เพราะว่าผู้ใช้เข้าใจยากครับ ตอนทวนสอบความต้องการอาจจะต้องอธิบายกันหัวหมุน แต่ข้อดีของมันก็น่าทึ่งเพราะคนที่อ่านเข้าใจก็จะเห็นส่วนการติดต่อเชื่อมโยงกันชัดเจนระหว่าง operation  module  หรือ  component  ทั้งนี้ผู้เขียนกำลังคิดอยู่ว่าจะเอาเจ้าสิ่งนี้มาทำประโยชน์ได้อย่างไร ถ้าคิดออกแล้วจะเอามาเล่าให้ฟังนะครับ

  • Icon Font

    บทความนี้จะพูดถึงคำ 2 คำ คือ Icon และ Font ที่ใช้งานบนเว็บ ซึ่งทุกคนคงจะรู้จัก Web Icon กันดีอยู่แล้วว่ามันคือรูปภาพขนาดเล็กที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ เช่น รูปแว่นขยายมีความหมายถึงการค้นหาข้อมูล รูปแผ่นดิสก์ใช้แทนความหมายของการบันทึกข้อมูล เป็นต้น รูปภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์นามสกุล .png ซึ่งสามารถทำเป็นรูปที่มีพื้นหลังโปร่งใสได้

    search-iconActions-document-save-all-icon

     

     

     

    ในส่วนของการใช้งาน Font บนเว็บไซต์นั้นสามารถอ่านได้จากบทความ @font-face ครับ กล่าวโดยสรุปแบบง่ายๆ คือ Font เป็นข้อความที่ใช้นำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ครับ และการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันนี้ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น เมื่อมีการนำ Icon และ Font มารวมกัน คือการทำ Icon ให้เป็น Font หรือการสร้างตัวอักษรที่มีรูปร่างเป็น Icon เรียกใช้งานผ่าน CSS class แล้วแสดงผลเหมือนเป็นรูปภาพรูปหนึ่ง ข้อดีของการทำแบบนี้คือเราสามารถจัดการเรื่องขนาด และสีได้ด้วยการใส่ CSS อย่างง่ายได้

    Icon Font ใน Bootstrap Framework

    Bootstrap Framework ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็ได้จัดเตรียมคอมโพเน้นต์ที่เป็น Icon Font ให้ใช้งานด้วยเหมือนกัน โดยจะใช้ชื่อว่า Gryphicons (http://getbootstrap.com/components/#glyphicons) ประกอบด้วย Icon ต่างๆ มากมายดังรูป

    gryphicons

    วิธีการใช้งานก็ไม่ยาก แค่กำหนด CSS class ให้กับแท็ก <span> ดังตัวอย่างนี้

    gryphicons-class-example

    Font Awesome

    font-awesome

    Font Awesome เป็นแหล่งรวม Icon Font ที่น่าสนใจมากอีกแหล่งหนึ่ง มี Icon สวยๆ ให้เลือกมากมาย วิธีการติดตั้งมี 2 วิธีเช่นเดียวกับการเรียกใช้งาน CSS ทั่วไป ดังนี้

    1. ติดตั้งผ่าน MaxCDN Bootstrap ในแท็ก <head> ดังนี้

    <link rel=”stylesheet” href=”//maxcdn.bootstrapcdn.com/font-awesome/4.3.0/css/font-awesome.min.css”>

    1. ดาวน์โหลดจากเว็บ http://fortawesome.github.io/Font-Awesome มาติดตั้งบนเว็บไซต์ของเราได้โดยตรง และติดตั้งในแท็ก <head> ดังนี้

    <link rel=”stylesheet” href=”path/to/font-awesome/css/font-awesome.min.css”>

    วิธีการใช้งานให้ใช้ผ่านแท็ก <i> หรือ <span> เช่น

    <i class=”fa fa-camera-retro”></i> fa-camera-retro

    ก็จะทำให้ได้ Icon รูปกล้องถ่ายรูปดังรูป

    camera-icon

    ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตัวอย่างในเว็บนี้ครับ http://fortawesome.github.io/Font-Awesome/examples

  • @FONT-FACE

    การใช้ฟอนต์นำเสนอข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ หรือ Web Typography ในยุคแรก นั้น Browser จะเป็นตัวกำหนดว่าจะนำเสนอด้วยฟอนต์อะไร ทำให้การแสดงผลในแต่ละ Browser ไม่เหมือนกัน ต่อมาใน HTML2 ได้มีการเพิ่มแท็ก <font> เข้ามา และใน CSS2 ก็อนุญาตให้เราสามารถกำหนดฟอนต์ได้เอง แต่ปัญหาที่เจอคือฟอนต์ที่เราเลือกใช้จะต้องถูกติดตั้งบนเครื่องฝั่งผู้ใช้ด้วย ดังตัวอย่างการกำหนดรูปแบบ font ด้วย CSS2 ดังนี้

    body { font-family: Gill, Helvetica, sans-serif }

    เมื่อ Web Browser อ่านเจอ CSS ดังกล่าว อันดับแรกก็จะดูว่าฟอนต์ที่ชื่อ Gill ถูกติดตั้งไว้ในเครื่องแล้วหรือยัง ถ้าติดตั้งแล้วก็จะแสดงผลเว็บไซต์ด้วยฟอนต์ Gill แต่ถ้ายังไม่ได้ติดตั้ง Browser ก็จะมองหาฟอนต์ตัวถัดไปคือ Helvetica และ sans-serif ตามลำดับ

    จากข้อจำกัดดังกล่าว จึงมีผลทำให้เราไม่สามารถใช้งานฟอนต์สวยๆ บนเว็บไซต์ได้ นักออกแบบเว็บไซต์จึงเลือกใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพแทน โปรแกรมกราฟิกที่ใช้กันก็อย่างเช่น Adobe Photoshop จะทำให้สามารถใส่ข้อความ และ effect ต่างได้อย่างสวยงาม แต่ปัญหาต่อมาที่เจอก็คือการแก้ไขข้อความในรูปภาพมีความยุ่งยากซับซ้อน

    อะไรๆ ก็ง่ายขึ้นด้วย @font-face

    ถือว่าเป็นข่าวดีของนักพัฒนาเว็บไซต์เป็นอย่างมาก เมื่อ CSS3 ได้กำหนด @font-face ไว้ใน specification ด้วย ทำให้การใช้ฟอนต์บนเว็บไซต์มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

    @font-face เป็นกลไกที่จะช่วยให้เราสามารถเรียกใช้ฟอนต์ที่ไม่ได้ถูกติดตั้งไว้บนเครื่องฝั่งผู้ใช้ได้ โดยให้ระบุแหล่งที่อยู่ (src) ของไฟล์ฟอนต์ไว้ใน Style Sheet ดังนี้

    @font-face {

    font-family: myFirstFont;

    src: url(‘www.mydomain.com/sansation_light.woff’);

    }

    จากโค้ดเมื่อ Web Browser อ่านเจอก็จะไปโหลดฟอนต์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้มาใช้งาน ทำให้เราสามารถกำหนดฟอนต์ได้ตามต้องการ

    ปัญหาต่อมาที่เจอคือแต่ละ Web Browser นั้นรองรับไฟล์ฟอนต์ในรูปแบบ (format) ที่แตกต่างกันออกไป ในโค้ดตัวอย่างใช้รูปแบบ Web Open Font Format (woff) รูปแบบอื่นที่มีการใช้งานกันได้แก่ EOT (Embedded OpenType), TrueType Font (ttf), Open Type Font (otf) และ Scalable Vector Graphics (SVG) เป็นต้น โดยแต่ละ Browser รองรับรูปแบบไฟล์ต่างกันดังรูป

    font-browser-supportที่มา : www.w3schools.com

    แล้วทีนี้เราจะเขียน CSS อย่างไรให้รองรับทุก Browser ล่ะ? คำตอบก็คือ ให้เราระบุแหล่งที่อยู่ของไฟล์ฟอนต์ (src) แต่ละรูปแบบต่อท้ายเข้าไปเลยดังนี้

    @font-face {

    font-family: myFirstFont;

    src: url(‘sansation_light.woff’);

    src: url(‘sansation_light.woff’) format(‘woff’),

    url(‘sansation_light.eot) format(‘embeded-opentype’),

    url(‘sansation_light.ttf) format(‘truetype);

    }

    จากโค้ดในส่วนของ format จะเป็นตัวบอก Browser ว่าไฟล์ที่ระบุตรงกับรูปแบบที่รองรับหรือไม่ ถ้าตรงก็โหลดมาใช้งาน แต่ถ้าไม่ตรงก็จะไม่โหลดลงมาให้เปลือง Banwidth

    แล้วจะหาไฟล์ฟอนต์ได้จากไหน?

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะกังวลว่า แล้วจะหาไฟล์ woff, eot, ttf เหล่านี้ได้จากไหน? คำตอบคือให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

    1. ดาวน์โหลดฟอนต์ในรูปแบบ ttf ที่ต้องการก่อนครับ แนะนำเว็บไซต์ f0nt.com จะมีฟอนต์ภาษาไทยสวยๆ ให้เลือกมากมาย และที่สำคัญคือสามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าลิขสิทธิ์
    2. เข้าเว็บไซต์ http://www.font2com/
    3. ให้อัพโหลดไฟล์ฟอนต์ที่เตรียมไว้ แล้วคลิกปุ่ม Convert & Download ได้เลยครับ จะได้เป็นไฟล์ zip มา ข้างในประกอบด้วยไฟล์ css, demo.html และไฟล์ฟอนต์ต่างๆ ให้เราเอาไปใช้งานได้เลยครับ

     

  • ASP.NET MVC Part2: เริ่มต้นสร้างเว็บด้วย MVC with Bootstrap

    สวัสดีค่ะ จากบทความที่แล้ว ASP.NET MVC Part 1 : ทำความรู้จักกับ ASP.NET MVC ได้กล่าวถึง ASP.NET MVC ไปบ้างแล้วว่าคืออะไร ในส่วนของบทความนี้จะแนะนำการเริ่มต้นสร้าง Project เพื่อพัฒนา Web Application ด้วย Microsoft Visual Studio 2013 โดยใน MVC5 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุด ได้มีการติดตั้ง Bootstrap มาให้ในตัว ช่วยให้การพัฒนาในส่วนของ View สามารถเรียกใช้งาน Bootstrap class ร่วมกับ Razor syntax(จะกล่าวถึงในบทความถัดไป) ในการแสดงผลหน้า View ได้ง่ายขึ้นและทำให้สามารถรองรับหลากหลายอุปกรณ์ที่มีหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกันออกไป โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งเพิ่มเอง

    Tools & Environment 

    • Microsoft Visual Studio 2013
    • Microsoft .Net Framework 4.5
    • ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา Visual C#

    Step 1: เปิด Visual Studio ขึ้นมา และคลืกที่ New Project

    รูปที่ 1


    Step 2: ที่เมนูด้านซ้ายให้เลือก Visual C# > Web >ASP.NET Web Application และตั้งชื่อ Project ดังรูปที่ 2 หลังจากนั้นให้กดปุ่ม OK

    รูปที่ 2
    Step 3: เลือก Template Web โดยเลือกเป็น MVC หลังจากนั้นกด OK
    รูปที่ 3
    Step 4: Check และ Update เวอร์ชัน Bootstrap
    สังเกตที่ solution explorer ฝั่งด้านขวา ที่โฟลเดอร์ Content และโฟลเดอร์ Scripts จะพบไฟล์ Css และ JavaScript ของ Bootstrap ติดตั้งมาให้เรียบร้อยแล้ว
    รูปที่ 4
    ตรวจสอบเวอร์ชันของ Bootstrap ว่าเป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้วหรือยัง โดย คลิกขวา ที่ Project แล้วเลือก Manage Nuget Packages ดังรูปที่ 5
    รูปที่ 5
    จะปรากฎหน้าต่าง Manage Nuget Package ซึ่งจะแสดง Package หรือ Library  ทั้งหมดที่ตอนนี้ Project เราติดตั้งอยู่ ให้เลือกดูที่ Boostrap และสังเกตคำอธิบายที่ช่องด้านขวา จะแสดงเวอร์ชั่นอยู่ ซึ่งจากรูปที่ 6 เป็น Bootstrap 3.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันปัจจุบันแล้ว หากยังไม่เป็นปัจจุบันจะขึ้นปุ่มให้สามารถ Update เวอร์ชันได้
    รูปที่ 6
     หลังจากนั้นให้ไปดูที่โฟลเดอร์ App_Start > BudleConfig.cs  ดังรูปที่ 7 โดยไฟล์ ฺBundleConfig.cs จะทำหน้าที่ลงทะเบียนเก็บ Path ของไฟล์ Java script และ CSS ต่างๆที่มีการเรียกใช้ในระบบไว้ที่นี่ เพื่อไว้เวลาเราอ้าง Path เราสามารถอ้าง Path ตามชื่อ Bundle ที่เราสร้างโดยไม่ต้องเรียกไปยัง Path File ตรงๆได้
    รูปที่ 7
    Step 5: ทดลอง Run preview ดูหน้าเว็บ
    ก่อนจะรัน ให้ไปที่ โฟลเดอร์ View > Shared >_layout.cshtml ซึ่งเป็น Layout ของระบบ(เทียบกับ Web Form ก็คือ Master Page) จากรูปที่ 8 จะเห็นว่า มีการเรียกใช้ Bootstrap Class ในการจัดวาง Component และ Layout ต่างๆไว้ให้
    รูปที่ 8

    กดปุ่ม Run  เพื่อดูผลลัพธ์ ออกมาดังรูป 9

    รูปที่ 9
    เมื่อทำการย่อปรับเป็นขนาด Mobile หน้าเว็บก็จะปรับตามขนาดของหน้าจอของอุปกรณ์ที่แสดงผลดังรูป  เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ^^
    ——–End——-
    บทความถัดไป : เป็นการแนะนำการเริ่มต้นสร้างส่วนของ Model ในการติดต่อกับฐานข้อมูล  >> ASP.NET MVC Part3: สร้าง Model ด้วย Entity Framework
  • ASP.NET MVC Part 1 : ทำความรู้จักกับ ASP.NET MVC

    สวัสดีค่ะ วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำให้รู้จักกับแนวทางการพัฒนา Web Application ด้วย ASP.NET MVC ก่อนหน้านี้ผู้เขียนจะพัฒนา Web Application ด้วย ASP.NET Web Forms มาตลอด และช่วงที่ผ่านมา ผู้เขียนเองมีโอกาสได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับ ASP.NET MVC มาซักระยะหนึ่ง จึงมาเขียนบทความเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ การพัฒนา Web Application ด้วย ASP.NET MVC ซึ่งในบทความนี้ อ้างอิงและแปลมาจากบทความ WebForms vs MVC ซึ่งจะประกอบไปด้วย

    • ASP.NET คืออะไร?
    • ASP.NET Web Forms คืออะไร?
    • MVC คืออะไร?
    • ASP.NET MVC คืออะไร?
    • เปรียบเทียบระหว่าง Web Forms และ MVC
    • เลือกใช้อะไรดี ระหว่าง Web Forms และ MVC ?

    ASP.NET คืออะไร?

       คือ Web application framework ที่ถูกพัฒนาโดย Microsoft สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนา web application ขึ้นมา โดยโปรแกรมด้วยภาษา C#,VB.NET และอื่นๆ ณ ปัจจุบัน มีอยู่ 2 รูปแบบในการเลือกใช้พัฒนา ได้แก่ Web Forms และ MVC
    ASP.NET Web Forms คืออะไร?
    คือ framework ในการพัฒนา web application ที่ถูกออกแบบมาในลักษณะ RAD(Rapid Application Development) คือ สามารถพัฒนา Web application ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้วิธีการลาก control มาวางบนพื้นที่ design หน้า page และเขียน code ภายใต้ control เหล่านั้น โดยอาศัย concept การทำงานของ Postback(การส่งข้อมูลไปมาระหว่าง server และ client) และ ViewState(การเก็บค่าให้คงไว้ระหว่างการทำ postback)
    วิธีการสร้างหน้า page ของ Web Forms
    การทำงานของ Web Forms

    MVC คืออะไร?
    คือ design pattern ที่ใช้ในการสร้าง Web Application แนวความคิดของ MVC design pattern จะจัดการแยกหน้าที่ขององค์ประกอบใน application ออกเป็นส่วนๆ(separation) เพื่อให้สะดวก รวดเร็ว และง่ายขึ้น ในการสร้าง พัฒนา และขยายระบบเพิ่มเติม รวมถึงมันจะทำให้เราทดสอบ application นี้เป็นส่วนๆได้โดยไม่กระทบ หรือกระทบน้อยที่สุดกับส่วนอื่น โดย MVC ย่อมาจาก Model, View และ Controller

    Model คือ คือส่วน Business Model หรือส่วนที่ติดต่อกับฐานข้อมูล
    Controller คือ ส่วนควบคุมและรับ request จาก user มาและไปดึงข้อมูลจาก Model มาเพื่อแสดงผลข้อมูลกลับไปยัง user ที่ส่วน View
    View คือ ส่วนที่แสดงผลข้อมูล

    ASP.NET MVC คืออะไร?
    คือ framework ในการพัฒนา web application ที่ถูกออกแบบให้รองรับ MVC pattern โดยจัดการแยกหน้าที่ขององค์ประกอบใน application ออกเป็นส่วนๆ(separation of concerns) ด้วยการจัดการที่แยกออกเป็นส่วนๆ ทำให้การทดสอบระบบ(Unit Testing)ที่ซํบซ้อน ทำได้ง่ายขึ้น

    วิวัฒนาการ ASP.NET Framework

    การทำงานของ ASP.NET MVC

    เปรียบเทียบระหว่าง Web Forms และ MVC
    1. Web Forms
    ข้อดี

    •      Web Form support Rich server control คือ มี control ฝั่ง server มาให้ใช้งานมากมายและหลากหลาย
    Tool box Control ที่ ASP.Net Web Forms เตรียมไว้ให้
    • เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Event Driven Programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะว่า “ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เราจะให้โปรแกรมของเราจัดการกับเหตุการณ์นั้นๆ อย่างไร”  สำหรับ ASP.NET Web Forms จะมีตัวช่วยในการเขียนลำดับเหตการณ์ ประกอบด้วย Code behind,กลไก postback ตัวเอง และ ViewState ซึ่งด้วยวิธีการนี้ นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องพึ่งพา Get/Post method ในการติดต่อกับ Server
    ตัวอย่าง Code Behind ภายใต้เหตุการณ์หลังจากการกดปุ่ม
    • Rapid Application Development จากการที่ Web forms มีการเตรียม Server control มาให้ใช้มากมาย และการเขียนโปรแกรมในลักษณะ Event driven จึงช่วยให้การพัฒนา Application เป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น นักพัฒนาสามารถลาก control Button(ปุ่ม) มาวาง และ double click เพื่อเขียน code logic การทำงานเข้าไปได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรู้การทำงานเบื้องหลังของ event นั้นๆ ก็สามารถสร้าง Application ให้ทำงานได้
    • Less Learning Effort จากการที่ Web forms มีการเตรียม Server control มาให้ใช้มากมาย และประกอบกับมีการทำงานด้วย ViewState ทำให้ผู้พัฒนาที่มี Skill ทางด้าน HTML และ Java script เล็กน้อย ก็สามารถสร้าง Application ขึ้นได้

    ข้อเสีย

    • Project Architecture 
                 code ทุกอย่างจะอยู่ภายใต้ code behind ซึ่งจะผูกติดกันอย่าแน่นหนากับ หน้า UI
    • Unit Testing  เนื่องจากภายใต้ code behind ที่มีจำนวน event ที่เยอะมาก ทำให้การทำ automatic unit testing ทำได้ยาก
    • Performance ด้วยการที่ Web forms ใช้ ViewState ในการเก็บค่าต่างๆของหน้า page ส่งผลให้ ขนาดของ ViewState ใหญ่ขึ้น ทำให้ performance ของระบบลดลงไปด้วย
    • Reusability  เนื่องจากการผูก code behind เข้ากับ UI ทำให้การ reuse code ทำได้ยาก
         จากรูป หากเราต้องการ binding ข้อมูลในลักษณะเดียวกับกับ Customer ทุกอย่างให้กับ UI อื่นๆ เราก็จะต้องสร้าง method binding ที่เหมือนกันกับในรูปขึ้นมาอีก เนื่องจาก code ถูกผูกเข้ากับ control gridview คนละตัวกัน
    • Less control over HTML control ที่มี่อยู่อาจไม่ support การทำงาน จำเป็นต้องนำเอา java script framework เข้ามาใช้ร่วมด้วย เช่น Jquery, AJAX เป็นต้น

    2. MVC

    ข้อดี
    Project Structure แบ่งแยกส่วนต่างๆ ของ code ออกจากกันชัดเจน
    • Test Driven Development and Reusability
      • ด้วยการแบ่งส่วนการทำงานของ code ออกจากกันชัดเจน ทำให้สามารถทำ Unit Testing ได้ง่ายขึ้น
      • Controller ไม่จำเป็นต้องผูกกับ View ใด View หนึ่ง สามารถ reuse ใช้ได้กับหลายๆ View ได้
    • Performance ใน MVC จะไม่มี ViewState และ event ทำให้ลดขนาด page size ลงไป ทำให้ได้ performance ที่ดีกว่า
    • Full control over HTML ใน MVC ไม่มี server control มาให้เหมือน Web Forms ทำให้เราสามารถใช้ control ของ HTML และ java script ได้อย่างอิสระ
    • SEO,URL Routing and REST มีการเรียก url แบบ REST service และการทำ SEO(Search Engine Optimization) ง่ายกว่า
    •  Support Parallel Development  ใน MVC มีการแบ่งส่วนการทำงานออกจากกันชัดเจน ทำให้ผู้พัฒนาสามารถพัฒนาคู่ขนานกันไปได้ เช่น คนที่รับผิดชอบส่วน View ก็ทำส่วน Design wxพร้อมกับที่ทำส่วน Controller ได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอใครทำเสร็จก่อนแล้วจึงจะทำต่อได้

    ข้อเสีย

    • More Learning Effort จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำ web application มาพอสมควร เนื่องจากจะไม่มี ViewState, Event และ Server control ที่อำนวยความสะดวกเหมือนใน Web Forms
    • ไม่มี server control ให้ลากวาง เหมือนใน Web Forms ต้องเขียน HTML ขึ้นมาเอง

    เลือกใช้อะไรดีระหว่าง Web Forms และ MVC?

        ในการพัฒนา web application เราจำเป็นต้องพิจารณาจากหลายๆปัจจัย เช่น หากเราต้องการ web application ที่ต้องการให้เสร็จเร็วและง่าย ก็ควรเลือกใช้แบบ Web Forms เนื่องจาก Web Forms ถือว่าเป็น RAD(Rapid Application Development) คือ เตรียมทุกอย่างมาให้พร้อมที่จะพัฒนาได้เลยเช่น Server control,ViewState,Event เป็นต้น แต่หากเราต้องการพัฒนา web application ที่ซับซ้อนและต้องการ performance ที่ดี ประกอบกับทีมพัฒนามีความรู้ทางด้านการพัฒนา web application เป็นอย่างดี ก็ควรเลือกใช้ MVC มาเป็นตัวเลือกในการพัฒนา

    ที่มา: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=685327044884788

    ในบทความถัดไปจะแนะนำการเริ่มต้นสร้าง web application ด้วย ASP.NET MVC ร่วมกับ Bootstrap >> ASP.NET MVC Part2: เริ่มต้นสร้างเว็บด้วย MVC with Bootstrap

    อ้างอิง :

    • http://www.codeproject.com/Articles/528117/WebForms-vs-MVC
    • http://www.codeproject.com/Articles/821275/Webforms-vs-MVC-and-Why-MVC-is-better