คู่มือเทคนิคการใช้งาน Function พื้นฐานใน Itextsharp สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1

หลังจากที่ผู้เขียนได้ทดลองใช้งาน Itextsharp มาเป็นระยะเวลานึง ในระหว่างที่ได้ทำการใช้งานนั้น ก็เกิดปัญหาต่างๆจากการใช้งานมากมาย ซึงมาจากความไม่รู้ของผู้เขียนเอง เลยได้ทำการรวบรวมข้อมูลวิธีใช้งานเบื้องต้น ให้กับผู้ที่สนใจใช้งาน Itextshap ได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วมีพี่ท่านนึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วบ้างส่วน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้จาก Link นี้ครับ สร้างเอกสาร PDF ด้วย iTextSharp ส่วนในบทความนี้จะทำการขยายรายละเอียดลงไปในแต่ละ Function ครับ โดย Function ที่จะพูดถึงในบทความนี้มีดังต่อไปนี้ 1. BaseFont และ Font คืออะไร ถ้าจะให้พูดถึง Function Basefont ให้เข้าใจง่ายๆแล้วละก็ หน้าที่ของมันคือเป็นการประกาศให้ตัว Itextsharp ทราบว่าเราต้องการใช้ Font อะไรในการทำงานบ้าง สามารถเทียบได้กับช่องเลือก Font ในโปรแกรม Office นั้นแหละครับ และ Function Font จะสร้างรูปแบบของ Font ได้ตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนา เอียง ขีดเส้นใต้ ขีดเส้นทับ เป็นค่าเริ่มต้นไว้ แล้วหลังจากนั้นเราก็สามารถนำไปใช้งานได้ตลอดการสร้างเอกสาร โดยอ้างอิง Font ที่ใช้งานมาจาก BaseFont อีกทีนึง ตอนนี้ก็มาดูรูปแบบการสร้าง BaseFont และทำ Font ต้นแบบเป็นตัวหนานะครับโดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ กรณีที่เรามีชุดของ Font มาแล้วนะครับ(คือแยกตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้น) BaseFont bf_bold = BaseFont.CreateFont(@”C:\WINDOWS\Fonts\THSarabunNewBold.TTF”, BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true); Font fnt = new Font(bf, 12); กรณีที่เรามี Font แค่รูปแบบเดียว BaseFont bf = BaseFont.CreateFont(@”C:\WINDOWS\Fonts\THSarabun.TTF”, BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true); Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD); จากตัวอย่างทั้ง 2 แบบ เราจะมี Font ที่มีรูปแบบของตัวหนาในชื่อของตัวแปร fnt ไว้ใช้งานได้เหมือนกันครับ โดยจะมีความแตกต่างกันคือ แบบที่ 1 นั้น จะเป็นการนำเอารูปแบบของ Font ที่ได้อ้างอิงเอาไว้มาแสดงผลบนเอกสารโดยตรง ต่างจากแบบที่ 2 จะเป็นการนำเอา Font ที่ได้ประกาศเอาไว้แบบตัวอักษรปกติมาแปลงผ่านตัว Itextsharp ให้กลายเป็นตัวหนา อีกทีโดยผ่านทาง property Font.BOLD ครับ แล้วหลายๆท่านคงสงสัยว่าทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ในแบบที่ 1 การแสดงผลของ font จะถูกต้อง สวยงามตามต้นฉบับ font ที่เราได้ทำการอ้างอิงไว้ครับ แต่ข้อเสียคือ ถ้าเราต้องการสร้าง Font ต้นแบบไว้ในหลายลักษณะ เราก็ต้องอ้างอิงตัวรูปแบบ Font ที่เราต้องการทั้งหมดไปด้วย ส่วนแบบที่ 2 นั้น เราสามารถใช้ Font อ้างอิงเพียงอันเดียว แล้วสร้างรูปแบบ Font ตามที่เราต้องการได้ไม่จำกัด แต่การแสดงผลอาจไม่สวยงามเท่ากับแบบที่ 1 แล้วถ้าเราต้องการที่จะใส่สีให้กับ font ของเราละ จะสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ครับ โดยใน Function Font นั้น ถูกออกแบบมาให้เราสามารถทำรูปแบบของ font ได้หลากหลายรูปแบบครับ มาดูตัวอย่างกัน BaseFont bf = BaseFont.CreateFont(@”C:\WINDOWS\Fonts\THSarabun.TTF”, BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true); Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD,BaseColor.red); Font fnt = new Font(bf, 16,Font.Italic,BaseColor.green); Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD | Font.Italic); Font fnt

Read More »

Remote Debugging ASP.NET application

ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชัน การที่จะ publish เว็บขึ้น server ผู้พัฒนาย่อมมีการทดสอบการทำงานของแต่ละฟังก์ชันแต่ละ process ผ่าน localhost ก่อนอยู่แล้ว ว่าสามารถทำงานได้ถูกต้อง ไม่พบ error หรือปัญหาใดๆ แต่ในบางครั้งพบว่า เมื่อ publish เว็บไปแล้ว กลับพบ error ในบางฟังก์ชัน ทั้งที่ฟังก์ชันนั้นผ่านการทดสอบบน localhost ว่าทำงานถูกต้องแล้ว ซึ่งอาจเกิดจาก Environment ในตอนที่เรา run ที่ localhost กับบน server ไม่เหมือนกัน หรือฐานข้อมูลที่ทดสอบกับฐานข้อมูลที่ใช้งานจริงมีข้อมูลที่ conflict กันอยู่ เป็นต้น ซึ่งบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ Remote Debugging Tool สำหรับผู้พัฒนาเว็บด้วย ASP.NET Remote Debugging Tool คือ เครื่องมือที่ใช้ในการ remote debug สำหรับ ASP.NET แอพพลิเคชัน ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็กที่มีชื่อว่า “Msvsmon.exe” ที่ให้เราสามารถ debug  code เพื่อหา error โดยการ remote จาก Visual Studio ไปยัง IIS server   ติดตั้ง Remote Debugging Tool บน Windows Server download ตัวติดตั้ง Remote tools ตาม version ของ Visual Studio ที่เราใช้งาน เมื่อ download มาเรียบร้อยแล้วให้ทำการติดตั้ง โดยคลิกขวาที่ไฟล์ติดตั้ง เลือก Run as administrator จะปรากฎหน้าต่างดังรูป   ให้เลือก Configure remote debugging จะเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งและจะปรากฏหน้าต่าง Remote Debugger ซึ่งตอนนี้ Remote debugger ทำงานแล้ว โดยรอการเชื่อมต่อจากฝั่ง Visual Studio (ภายหลัง สามารถเรียกใช้งาน Remote Debugger ได้จาก Start menu) Attach Process จาก Visual Studio เครื่องพัฒนา เปิด Visual Studio ขึ้นมา และเลือก project ที่จะใช้งาน ที่แถบเมนูด้านบน เลือก Debug >> Attach to Process ปรากฎหน้าต่าง Attach to Process ดังรูป ในส่วนของ Qualifier ให้ระบุชื่อหรือ IP ของเครื่อง server ที่ web เราวางอยู่ และกดปุ่ม Refresh ด้านล่างเพื่อ connect ไปยังเครื่อง server ดังรูป 4. เลือก process ที่ชื่อ w3wp.exe โดยสังเกตที่คอลัมน์ User Name เป็น path ของ site ที่เราต้องการทดสอบ หลังจากนั้นกดปุ่ม Attach ดังรูป 5. เปิด browser และพิมพ์ url ไซต์ของเรา http://<remote computer name> 6. เลือกมาร์กจุด breakpoint ที่จะ debug code ตามต้องการ เราก็จะสามารถ debug code โดยการ remote ไปยังเครื่อง server ที่เราได้ deploy เว็บของเราไปแล้วได้เหมือนการ debug บนเครื่อง

Read More »

Auto remove schema in EDMX on build

Entity Framework (EF)  คือ data access technology ที่เริ่มเปิดตัวครั้งแรกเป็นส่วนหนึ่งของ .NET Framework 3.5 SP1 โดยตัว EF จะทำหน้าที่เป็น object-relational mapper ที่ทำให้ผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียน code ในส่วน data access ก็สามารถใช้ข้อมูลจาก relational database โดยผ่าน object model การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ EF นั้นจำเป็นต้องมี Entity Data Model เป็น model ที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ entity และ relationship ระหว่าง entity นั้นๆ การสร้าง Entity Data Model สามารถแยกออกเป็น 2 แนวทางคือ “Code First” เป็นการกำหนดรูปร่างของ model โดยการสร้าง class (เขียน code) จะมี database หรือไม่มีอยู่ก่อนก็ได้  และ “Database First” ที่จะทำการสร้าง model ( reverse engineer) จาก database ที่มีอยู่โดย EF Designer ซึ่ง model ที่ได้จะเก็บอยู่ใน EDMX file (.edmx) สามารถเปิดหรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ด้วย EF Designer สำหรับ class ที่ใช้ในโปรแกรมจะถูกสร้างโดยอัตโนมัติจาก EDMX file ข้อมูล Entity Data Model ใน EDMX file อยู่ในรูปแบบ xml สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Storage model, Conceptual model และ Mapping ซึ่งในส่วนของ Storage model จะเป็นข้อมูลรายละเอียดของ entity จาก database เช่น ข้อมูล EntityType ที่ให้รายละเอียดของชื่อของ entity (table ใน database), ชื่อและประเภทของ property (column ของ table ใน database)  <EntityType Name=”VF_CONFIG_REPORT”> <Key> <PropertyRef Name=”ID” /> </Key> <Property Name=”ID” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ Nullable=”false” /> <Property Name=”REPORT_NAME” Type=”varchar2″ MaxLength=”512″ /> <Property Name=”REPORT_PATH” Type=”varchar2″ MaxLength=”512″ /> <Property Name=”GROUP_TYPE” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ /> <Property Name=”SIGN_NUM” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ /> <Property Name=”SIGNS” Type=”varchar2″ MaxLength=”128″ /> </EntityType> ข้อมูล EntitySet ที่ประกอบด้วย ชื่อ,ประเภทของ entity, schema และ query ที่ใช้ดึงข้อมูล <EntitySet Name=”VF_CONFIG_REPORT” EntityType=”Self.VF_CONFIG_REPORT” store:Type=”Views” store:Schema=”FINANCE”> <DefiningQuery> SELECT “VF_CONFIG_REPORT”.”ID” AS “ID”, “VF_CONFIG_REPORT”.”REPORT_NAME” AS “REPORT_NAME”, “VF_CONFIG_REPORT”.”REPORT_PATH” AS “REPORT_PATH”, “VF_CONFIG_REPORT”.”GROUP_TYPE” AS “GROUP_TYPE”, “VF_CONFIG_REPORT”.”SIGN_NUM” AS “SIGN_NUM”, “VF_CONFIG_REPORT”.”SIGNS”

Read More »

ทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งานเบื้องต้นกับ StringBuilder ใน .NET Framework(C#)

          โดยปกติแล้วนั้น ผู้พัฒนาโปรแกรมโดยใช้ .NET Framework มักจัดการข้อมูลที่เป็นอักษรหรือข้อความ (String) ด้วยคลาสของ String ที่มีใน .NET Framework ซึ่งประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นหรือเมธอดที่หลากหลายที่ติดมากับตัวคลาส เพื่อเตรียมมาไว้ให้ใช้งาน และสามารถรองรับความต้องการในการจัดการข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งมีวิธีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีมาตรฐานการใช้งานที่รู้จักโดยทั่วถึงกัน สะดวกและรวดเร็วทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกวิธีจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคลาสของ String จะมีเมธอดให้เราได้เลือกใช้กันอย่างมากมายและมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบในการใช้งานกับตัวแปรของคลาส String คือ การเชื่อมต่อหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าข้อความของตัวแปรชนิด String ในแต่ละครั้ง จะไม่สามารถเปลี่ยนรูป หรือกลับไปแก้ไขค่าของตัวแปรบนพื้นที่หน่วยความจำเดิมที่ถูกจองไว้ให้กับตัวแปรได้ หรืออาจพูดในทางโปรแกรมแบบง่ายๆได้ว่า หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรชนิด String เราจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขค่าใน object ของตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นเดิมในหน่วยความจำ หรือ Memory ที่สร้างไว้ในตอนแรกได้ แต่จะมีการสร้าง object ตัวใหม่ขึ้นมา ทุกครั้งที่มีการแก้ไข/จัดการข้อมูลค่า หรือมีการใช้งานเมธอดในคลาส System.String และใช้วิธีให้ pointer ของตัวแปรชี้ไปยังตำแหน่งของ object ตัวใหม่ที่มีค่าของตัวแปรที่ถูกแก้ไขภายหลังแทน ซึ่งหากมีกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าข้อมูล หรือเชื่อมต่อข้อความในตัวแปรดังกล่าวจำนวนหลายครั้ง หรือมีการวนลูปซ้ำในการเปลี่ยนแปลงค่าเป็นจำนวนมาก จะถือเป็นการใช้งานทรัพยากรหน่วยความจำอย่างสิ้นเปลือง เนื่องจาก object ของตัวแปรจะถูกสร้างขึ้นใหม่เรื่อยๆและมีการจองพื้นที่ให้กับ object ตัวที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามจำนวนครั้งที่ทำการแก้ไขหรือเชื่อมต่อข้อความนั่นเอง ดังภาพ ภาพการจองพื้นที่ในหน่วยความจำของตัวแปรชนิด String [ที่มาของภาพ : http://www.tutorialsteacher.com/csharp/csharp-stringbuilder]                     จากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เดิมทีมีการกำหนดค่าให้กับตัวแปรเป็นข้อความ “Hello World!!” แต่เมื่อมีการปรับแก้ค่าของตัวแปร จะมีการสร้าง object ตัวใหม่ โดยจะเก็บค่าที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความไปเป็น “Hello World!! From Tutorials Teacher” และเลื่อนตำแหน่งของ pointer ของตัวแปรที่จะชี้ไปเพื่อให้ได้ค่าใหม่นั่นเอง           จากปัญหาดังกล่าว .NET Framework ก็ได้จัดเตรียมคลาสที่มีชื่อว่า “StringBuilder” ขึ้นมา ซึ่งเป็นคลาสที่ใช้ในการจัดการกับข้อมูลชนิดข้อความเช่นเดียวกับคลาส String โดยยินยอมให้มีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนค่าในตัวแปรข้อความ(string) ดังกล่าวได้ใน object ตัวเดิมบนพื้นที่หน่วยความจำเดิม โดยไม่ต้องสร้าง object และทำการจองพื้นที่หน่วยความจำขึ้นใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าของข้อความดังเช่นในคลาส String นั่นเอง ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดการใช้ทรัพยากรหน่วยความจำได้ในกรณีที่มีการเชื่อมต่อข้อความหรือเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรจำนวนหลายครั้งได้  ภาพการจองพื้นที่ในหน่วยความจำของตัวแปรชนิด StringBuilder [ที่มาของภาพ : http://www.tutorialsteacher.com/csharp/csharp-stringbuilder]           ดังนั้น ในการจัดการข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือข้อความ ผู้พัฒนาควรเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะการใช้งาน เพื่อให้การใช้งานบนพื้นที่หน่วยความจำ และทรัพยากรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอพูดถึงวิธีการใช้งานในเบื้องต้นของการจัดการข้อมูลชนิด StringBuilder เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้พัฒนาต่อไป   หลักการทำงานและการจองพื้นที่ในหน่วยความจำของตัวแปรชนิด StringBuilder           โดยปกติแล้วนั้น ค่าของ “StringBuilder.Length” จะเป็นค่าของจำนวนตัวอักษรที่มีในตัวแปร object ของ StringBuilder และจะถูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการเพิ่มตัวอักษรหรืออักขระเข้าไปในตัวแปรนั้นโดยไม่มีการจองพื้นที่หน่วยความจำเพิ่ม จนกว่าค่าของ Length เท่ากับจำนวนของความจุที่จองพื้นที่หน่วยความจำไว้ ซึ่งก็หมายถึงค่าของ “Capacity” นั่นเอง และหากการเพิ่มตัวอักษรดังกล่าวทำให้ค่าของ Length มากกว่าค่าของ Capacity ใน object นั้นๆ จะมีการจองพื้นที่หน่วยความจำเพิ่มเป็นเท่าตัว เช่น จากเดิม 16 ตัวอักษรจะถูกเพิ่มเป็น 32 ตัวอักษร โดยจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่เกินค่าความจุสูงสุด หรือที่เรียกว่า “MaxCapacity” ซึ่งถ้าหากมีการเพิ่มตัวอักษรที่เกินค่าของ MaxCapacity แล้วนั้นจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ แต่หากไม่มีการกำหนดค่าให้กับ Capacity และ MaxCapacity แล้วนั้น ค่าตั้งต้นของ Capactity เริ่มต้นจะอยู่ที่ 16 ตัวอักษร และค่าของ MaxCapacity จะอยู่ที่ประมาณ 2 พันล้านตัวอักษร หรือเทียบเท่ากับค่าสูงสุดของ Int32.MaxValue นั่นเอง การอ้างอิง Namespace โดย Namespace ที่ต้องอ้างอิงเพิ่มเติมในการใช้งานคลาส StringBuilder มีดังนี้ using System; using System.Text; การประกาศตัวแปรของคลาส StringBuilder ในการประกาศตัวแปร object ของคลาส StringBuilder จะใช้หลักการเดียวกันกับการประกาศตัวแปร object ของคลาสโดยทั่วไป

Read More »

ASP.NET MVC Part 4: ทำความรู้จักกับ ViewData, ViewBag และ TempData

การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันใน ASP.NET MVC จะมีการส่งผ่านกันด้วย objects ซึ่งใน ASP.NET MVC จะมี object ที่ชื่อ ViewData, ViewBag และ TempData เป็น object ที่่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยในการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ การส่งผ่านค่าจาก Controller ไปยัง View การส่งผ่านค่าจาก Controller หนึ่ง ไปยัง Controller อื่น การส่งค่าระหว่าง Action หนึ่ง ไปยัง Action อื่น โดยทั้ง 3 objects จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้ ViewBag เป็น dynamic object ในการส่งค่าจาก controller ไปยัง view ViewData เป็น dictionary object ในการส่งค่าจาก controller ไปยัง view TempData เป็น dictionary object ในการส่งค่าข้ามกันระหว่าง controller และ action   การส่งผ่านข้อมูลจาก controller ไปยัง View การส่งผ่านข้อมูลจาก Controller ไปยัง View สามารถทำได้ 3 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลที่ต้องการส่งว่าเป็นข้อมูลลักษณะไหน มีความซับซ้อนเพียงใด แต่ละรูปแบบสามารถเขียนได้ดังนี้   ส่งผ่าน Model การส่งผ่านข้อมูลผ่านตัว model เป็นการส่งผ่านข้อมูลผ่านตัว model ตรงๆ โดยที่ข้อมูลจะมี property ตามที่มีอยู่ใน model ที่สร้างไว้ ดังตัวอย่าง สร้าง model ของ Book และ set ค่าให้กับ property ต่างๆ และ return model Book ไปยังหน้า View ฝั่ง Controller public ActionResult Index() { List<ฺBook> b = new List<Book>() { new Book{ Id = 1, Title = “Harry Potter”, Author= “JK. Rolling”}, new Book{ Id = 2, Title = “Inferno”, Author= “Dan Brown”} }; return View(b); } ฝั่งแสดงผล View ประกาศ type ของ model เป็น Book หลังจากนั้นใช้ตัวแปร model ในการเข้าถึง property ต่างๆของ Model @model MvcBook.Models.Book <table class=”table”> <tr> <th> @Html.DisplayNameFor(model => model.Title) th> <th> @Html.DisplayNameFor(model => model.Author) th> <th>th> tr> @foreach (var item in Model) { <tr> <td> @Html.DisplayFor(modelItem => item.Title) td> <td> @Html.DisplayFor(modelItem => item.Author) td> tr> }

Read More »