การติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET บน IIS

สำหรับนักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ที่จะต้องทำหน้าที่ครบวงจร (Full Stack Programer) สิ่งที่ต้องทำหลังจากพัฒนาเว็บขึ้นมาเสร็จแล้ว คือการติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ (Deploy) ในบทความนี้จะเล่าขั้นตอนหลักๆ ในการติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET (ไม่ว่าจะพัฒนาด้วย .Net Framework เวอร์ชันไหนก็ขั้นตอนเดียวกัน เปลี่ยนแปลงแค่ .Net Runtime ที่ใช้งาน) บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ IIS (Internet Information Services) ซึ่งหน้าตาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวอร์ชันของ IIS แต่ขั้นตอนการตั้งค่ายังคงคล้ายคลึงกัน Publish เว็บไซต์ (กรณีใช้ Visual Studio) 1.คลิกขวาที่ชื่อโปรเจ็ค เลือก Publish 2.จะได้หน้าจอเลือกประเภทในบทความนี้เลือกเป็น Folder เพื่อใช้วิธีการ Deploy แบบนำไฟล์ไปวางที่ Server เอง ดังรูป 3. เลือกที่ตั้งไฟล์ กด Finish 4. ตั้งค่าการ Publish จากในรูปคือให้ลบไฟล์ที่มีอยู่ก่อน และใช้รูปแบบ Release … Read more

ข้อมูลใน DropdownList แรกจนถึง DropdownList สุดท้ายกับค่าที่เหลืออยู่ของเขา ด้วย LINQ

ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระบบโดยมีการนำ LinQ มาใช้นิด ๆ หน่อย ๆ (มือใหม่หัดใช้ >< ) ซึ่งมีอยู่ฟังก์ชันนึงที่เกี่ยวกับ การ Bind ค่า DropdownList กรณีที่มี DropdownList หลาย ๆ ตัวและไม่อยากให้ค่าที่เคยเลือกจาก DropdownList ก่อนหน้าไปแสดงใน DropdownList ถัดไปอีก น่าสนใจทดลองใช้แล้วทำงานได้ดี ผู้เขียนจึงนำมาเขียนเพื่อไว้เตือนความจำ จะได้กลับมาอ่าน แนวคิดและวิธีการดังนี้ค่ะ ในขั้นตอนแรก สร้าง Data ที่ชื่อว่า MyList เก็บข้อมูล id และชื่อ เพื่อเตรียมเป็น DataSource สำหรับ Bind ให้กับ DropdownList1 ดังนี้ ต่อมากำหนดค่าให้กับ MyList เพื่อผูกให้กับ DropdownList1 ผลลัพธ์ของ DropdownList1 ได้ดังนี้ ID Name1 name12 name23 name35 … Read more

อยากดึงข้อมูลมาแสดงใน TreeView จะทำอย่างไรดี?

          ในบทความนี้ ผู้เขียนก็ยังคงอยู่ในเรื่องของ TreeView เช่นเคย เพื่อต่อยอดจากบทความก่อนในหัวข้อเรื่อง “มาทำความรู้จักกับพื้นฐานการใช้งาน “TreeView” สำหรับมือใหม่กันดีกว่า” ที่เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องการแนะนำวิธีจัดการกับ TreeView ด้วยการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ แต่งสีเติมกลิ่น ให้ TreeView ของเราน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ข้อมูลที่นำมาใช้ในการแสดงผลยังคงเป็นในลักษณะกำหนดเองเป็นค่าตายตัวจากหน้าจอและยังไม่เน้นเรื่องดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ในบทความนี้จึงถือเป็นภาคต่อจากบทความที่แล้วและขอเน้นในส่วนของการดึงข้อมูลมาแสดงผลบน TreeView ในเชิงโปรแกรมกันบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ทั้งในส่วนการกำหนดคุณสมบัติและการดึงข้อมูลมาแสดงไปประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาร่วมกันได้ ขั้นตอนในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงใน TreeView สร้าง TreeView ที่ต้องการใช้ในการแสดงผลข้อมูลตัวอย่าง code ในฝั่ง Client <body> <form id=”form1″ runat=”server”> <asp:TreeView ID=”TvOrganization” runat=”server” > </asp:TreeView> </form> </body> ติดต่อฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการแสดงผล ซึ่งในตัวอย่างนี้จะขอสมมุติข้อมูลจาก datatable ที่สร้างขึ้นแทนตัวอย่าง code ในฝั่ง Server (C#) ฟังก์ชั่นตอน Page_Load protected void Page_Load(object sender, EventArgs e) … Read more

มาทำความรู้จักกับพื้นฐานการใช้งาน “TreeView” สำหรับมือใหม่กันดีกว่า

          เชื่อว่านักพัฒนาโปรแกรม Web application ด้วย .Net หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของเจ้า “TreeView” กันมาบ้างแล้ว หรือบางท่านก็อาจจะเกือบลืมเจ้าเครื่องมือตัวนี้ไปแล้วก็ตามเพราะมันอาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่ถูกหยิบมาใช้บ่อยนัก ในบทความนี้ผู้เขียนจึงขอหยิบยกเจ้า “TreeView” มาปัดฝุ่น แนะนำลูกเล่นการใช้งาน การกำหนดคุณสมบัติต่างๆ และวิธีการใช้งานกันอย่างคร่าวๆก่อน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้กับมือใหม่หัดใช้ TreeView และรื้อความทรงจำให้กับผู้ที่เคยใช้ TreeView มาก่อนหน้านี้ เผื่อความสามารถที่ซ่อนอยู่จะไปเตะตาตรงใจท่านใดที่กำลังมองหาการทำงานแบบนี้อยู่พอดี จนอยากนำเครื่องมือตัวนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแสดงผลข้อมูลในงานพัฒนาของท่านกันอีกครั้งได้ค่ะ           แต่ก่อนจะพูดถึงลูกเล่นการทำงานของ TreeView คงต้องเกริ่นนำกันก่อนว่าเจ้าเครื่องมือตัวนี้ถูกจัดอยู่ในจำพวก Navigation Control ซึ่งบางคนอาจเกิดคำถามว่า ข้อมูลแบบใดบ้างจึงจะเหมาะนำมาใช้งานแสดงผลกับเจ้า TreeView นี้ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัวแล้วนั้น ผู้เขียนคิดว่าข้อมูลที่เหมาะจะมาแสดงผลด้วย TreeView ควรจะเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นแบบ Hierarchy หรือเป็นลักษณะโครงสร้าง มีลักษณะข้อมูลเป็นลำดับชั้นย่อยๆ เช่น โครงสร้างหน่วยงาน โครงสร้างองค์กร หรือข้อมูลที่เป็นประเภทหลักและประเภทย่อย เป็นต้น และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเรียนรู้วิธีจัดการกับ … Read more

ปัญหา “A potentially dangerous Request.Form value was detected from the client (ctl00$ContentPlaceHolder1$txtAbstractEng="…ontrol ” แก้ไขได้อย่างไร

ในการป้อนข้อมูลลงในเว็บ บางครั้งเราอาจจะพบปัญหาว่าไม่สามารถบันทึกข้อมูลที่ป้อนได้ ทั้งๆ ที่ปกติก็บันทึกได้อยู่ แล้วมันเกิดจากอะไร เรามาดู ปัญหา สาเหตุ และวิธีการแก้ไขกันค่ะ เผื่อจะเป็นปัญหาเดียวกัน ปัญหา : ในการบันทึกข้อมูลลงบางเว็บไซต์เราจะอาจจะพบปัญหาว่าหลังจากเราป้อนข้อมูลเสร็จแล้ว แต่ทำไมไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ เกิด error เช่น เมื่อบันทึกจะมีข้อความขึ้นดังภาพข้างล่าง ป้อนใหม่บันทึกใหม่ก็ยังไม่ได้ โอ๊ยเครียด จะทำยังไงดี สาเหตุ : อาจจะเนื่องมาจากมีการ copy ข้อมูลมาจากแหล่งอื่นที่มีตัวอักษรพิเศษบางตัว  เช่น ? ติดมาด้วย ทำให้เราจะไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงฐานได้ เราจะทำอย่างไร การแก้ไข : สามารถแก้ไขได้หลายวิธี คือ ในกรณีที่เป็นผู้ใช้งาน เราสามารถแก้ไขง่ายๆ ได้โดยการ นำ ? ออกจากข้อความ ดังรูปข้างล่าง แล้วบันทึกใหม่ 2. ในกรณีที่เป็นผู้พัฒนาระบบ เราจะเพิ่มข้อความ ValidateRequest=”false” ลงใน source ของหน้าจอที่ error ดังรูปข้างล่าง เพียงเท่านี้ปัญหาดังกล่าวก็จะหมดไปแล้วค่ะ ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ