ความเดิมตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้พูดถึงความสำคัญของข้อมูล และวิธีการ Import ข้อมูลจากไฟล์ Excel กันไปพอสมควร สำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอพูดถึงวิธีการส่งออกข้อมูล หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า “Export ข้อมูล” กันบ้าง เพื่อให้ผู้พัฒนาที่มีความสนใจสามารถพัฒนาโปรแกรมได้ครบวงจรทั้งแบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล โดยผู้เขียนจะไม่ขอพูดถึงในรายละเอียดที่ได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้า ผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ “เรียนรู้วิธีการ Import ข้อมูลในรูปแบบไฟล์ Excel ด้วย ASP.NET (C#)” สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนจะเน้นในส่วนของการ Export ข้อมูลเท่านั้น ซึ่งจะมีการอธิบายใน 2 ลักษณะเช่นกัน คือ แบบ Single sheet และแบบ Multiple sheet เพื่อให้เห็นเป็นแนวทางและสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับแต่ละท่านได้ กรณีส่งออกข้อมูล(Export) ซึ่งในบทความนี้จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ การส่งออกข้อมูลแบบ Single-sheet ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานไม่ซับซ้อนมากนัก ดังนี้ protected void btnExport_Click(object sender, EventArgs e) { //// ตารางสมมติ สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้พัฒนาเห็นภาพ หากเป็นกรณีใช้งานจริงจะเป็นข้อมูลที่ดึงจากฐานข้อมูลเพื่อ Export ในรูปแบบไฟล์ Excel DataTable table = new DataTable(); table.Columns.Add(“Name”, typeof(string)); table.Columns.Add(“Latitude”, typeof(decimal)); table.Columns.Add(“Longitude”, typeof(decimal)); table.Columns.Add(“Description”, typeof(string)); table.Rows.Add(“University1”, 7.006923, 100.500238, “Desc1”); table.Rows.Add(“University2”, 7.172661, 100.613726, “Desc2”); StringBuilder sb = new StringBuilder(); if (table.Rows.Count > 0) { string fileName = Path.Combine(Server.MapPath(“~/ImportDocument”), DateTime.Now.ToString(“ddMMyyyyhhmmss”) + “.xls”); //// ลักษณะการตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อด้วย OleDb ซึ่งในกรณีนี้ไฟล์ Excel จะต้องมีนามสกุลเป็น .xls แต่หากเป็นนามสกุลแบบ .xlsx ต้องเปลี่ยนการกำหนดค่าให้เป็น conString = @”Provider=Microsoft.ACE.OLEDB.12.0;Data Source=” + fileName + “;Extended Properties=’Excel 12.0;HDR=YES;IMEX=1;’;”; แทน string conString = “Provider=Microsoft.Jet.OLEDB.4.0;Data Source=” + fileName + “;Extended Properties=\”Excel 8.0;HDR=Yes;IMEX=2\””; using (OleDbConnection con = new OleDbConnection(conString)) { ////เขียนคำสั่งในการสร้างตาราง ซึ่งในที่นี้คือ WorkSheet ที่ต้องการ พร้อมทั้งกำหนดชื่อและชนิดของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ string strCreateTab = “Create table University (” + ” [Name] varchar(50), ” + ” [Latitude] double, ” + ” [Longitude] double, ” + ” [Description] varchar(200)) “; if (con.State == ConnectionState.Closed) { con.Open(); } ////รันคำสั่งที่เขียนในการสร้างตาราง OleDbCommand cmd = new OleDbCommand(strCreateTab, con); cmd.ExecuteNonQuery(); ////เขียนคำสั่งในการเพิ่มข้อมูล(insert) ข้อมูลในแต่ละฟิลด์ รวมทั้งประกาศพารามิเตอร์ที่ใช้ในการรับค่าข้อมูลที่อ่านได้ string strInsert = “Insert into University([Name],[Latitude],” + ” [Longitude], [Description]” + “) values(?,?,?,?)”; OleDbCommand cmdIns =