Removing duplicate records by using Oracle’s ROWID

ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ?   การหาแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน เราสามารถหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้   select a,b,count(*) from test group by a,b having count(*) > 1; ผลลัพธ์ที่ได้ : A          B   COUNT(*) ———- ———- ———- 1          2        259 2          2          5   จากตัวอย่างในตาราง test นี้เราจะกำหนดว่าให้ค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว   การกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน เราสามารถกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยการใช้ rowid เข้ามาช่วย คราวนี้คุณต้องเลือกว่าจะเลือกเก็บข้อมูลแถวไหนไว้ เราลองมาดูข้อมูลที่ควรจะเป็นที่ไม่ซ้ำกันว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง โดยสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้ select a,b,count(*) from test group by a,b; A          B   COUNT(*) ———- ———- ———- 1          2        259 2          2          5 3          0          1   กรณีที่ต้องการลบและคงเหลือไว้เฉพาะแถวแรกที่ซ้ำสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้   — เราต้องการกำจัด 258 แถวที่ซึ่ง A = 1 และ B = 2 บวกกับ — 4 แถวที่ซึ่ง A = 2 และ B = 2 — ลองมา select แถวที่เราจะคงไว้ดูก่อน select min(rowid),a,b from test group by a,b; MIN(ROWID)                             A          B ——————————- ———- ———- AAAAyvAAGAAAABYAAA          1          2 AAAAyvAAGAAAABYAED          2          2 AAAAyvAAGAAAABYAEI           3          0   — คราวนี้ก็ถึงเวลาลบข้อมูลกันแล้ว — เริ่มกันเลย delete from test where rowid not in ( select min(rowid) from test group by a,b); 262 rows deleted.   — คราวนี้มาตรวจสอบกันว่าข้อมูลที่คงเหลือถูกต้องหรือไม่ select rowid,a,b from test; ROWID                                    

Read More »

อีกหนึ่งวิธีในการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันในตาราง

ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ? อีกวิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ในการกำจัดแถวที่ซ้ำซ้อนกันคือการใช้คำสั่ง select distinct และใส่ข้อมูลที่ได้ลงในตารางใหม่   จากที่เราสามารถตรวจสอบหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้ SQL> select a,b,count(*) from test group by a,b; ผลลัพธ์ที่ได้ A           B COUNT(*) ———- ———- ———- 1           2       259 2           2           5 3           0           1 จากตัวอย่างในตาราง test นี้ที่กำหนดไว้ว่าค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว   เรามาเริ่มต้นกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนอีกวิธีกันเลย   การหาแถวข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน เราสามารถหาข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select distinct ดังนี้ SQL> select distinct * from test; ผลลัพธ์ที่ได้          A           B ———- ———-           1           2           2           2           3           0   สร้างตารางใหม่ชั่วคราวเพื่อเก็บผลลัพธ์ที่ได้ SQL> create table new_test as (select distinct * from test);   ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ในตารางชั่วคราวนี้ SQL> select * from new_test; ผลลัพธ์ที่ได้          A           B ———- ———-           1           2           2      

Read More »

Auto remove schema in EDMX on build

Entity Framework (EF)  คือ data access technology ที่เริ่มเปิดตัวครั้งแรกเป็นส่วนหนึ่งของ .NET Framework 3.5 SP1 โดยตัว EF จะทำหน้าที่เป็น object-relational mapper ที่ทำให้ผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องเขียน code ในส่วน data access ก็สามารถใช้ข้อมูลจาก relational database โดยผ่าน object model การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ EF นั้นจำเป็นต้องมี Entity Data Model เป็น model ที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ entity และ relationship ระหว่าง entity นั้นๆ การสร้าง Entity Data Model สามารถแยกออกเป็น 2 แนวทางคือ “Code First” เป็นการกำหนดรูปร่างของ model โดยการสร้าง class (เขียน code) จะมี database หรือไม่มีอยู่ก่อนก็ได้  และ “Database First” ที่จะทำการสร้าง model ( reverse engineer) จาก database ที่มีอยู่โดย EF Designer ซึ่ง model ที่ได้จะเก็บอยู่ใน EDMX file (.edmx) สามารถเปิดหรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ด้วย EF Designer สำหรับ class ที่ใช้ในโปรแกรมจะถูกสร้างโดยอัตโนมัติจาก EDMX file ข้อมูล Entity Data Model ใน EDMX file อยู่ในรูปแบบ xml สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Storage model, Conceptual model และ Mapping ซึ่งในส่วนของ Storage model จะเป็นข้อมูลรายละเอียดของ entity จาก database เช่น ข้อมูล EntityType ที่ให้รายละเอียดของชื่อของ entity (table ใน database), ชื่อและประเภทของ property (column ของ table ใน database)  <EntityType Name=”VF_CONFIG_REPORT”> <Key> <PropertyRef Name=”ID” /> </Key> <Property Name=”ID” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ Nullable=”false” /> <Property Name=”REPORT_NAME” Type=”varchar2″ MaxLength=”512″ /> <Property Name=”REPORT_PATH” Type=”varchar2″ MaxLength=”512″ /> <Property Name=”GROUP_TYPE” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ /> <Property Name=”SIGN_NUM” Type=”number” Precision=”38″ Scale=”0″ /> <Property Name=”SIGNS” Type=”varchar2″ MaxLength=”128″ /> </EntityType> ข้อมูล EntitySet ที่ประกอบด้วย ชื่อ,ประเภทของ entity, schema และ query ที่ใช้ดึงข้อมูล <EntitySet Name=”VF_CONFIG_REPORT” EntityType=”Self.VF_CONFIG_REPORT” store:Type=”Views” store:Schema=”FINANCE”> <DefiningQuery> SELECT “VF_CONFIG_REPORT”.”ID” AS “ID”, “VF_CONFIG_REPORT”.”REPORT_NAME” AS “REPORT_NAME”, “VF_CONFIG_REPORT”.”REPORT_PATH” AS “REPORT_PATH”, “VF_CONFIG_REPORT”.”GROUP_TYPE” AS “GROUP_TYPE”, “VF_CONFIG_REPORT”.”SIGN_NUM” AS “SIGN_NUM”, “VF_CONFIG_REPORT”.”SIGNS”

Read More »

การเขียนโปรแกรม JSP เชื่อมต่อ ORACLE

     JSP หรือชื่อเต็มว่า Java Server Page เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา Application ที่ทำงานบนเว็บไซต์ โดยรูปแบบการทำงานจะทำงานคล้ายกับภาษา  ASP ,PHP และ .Net รูปแบบการทำงานจะแตกต่างกันตรงที่ JSP เป็น Subset ของภาษา Java โดยรูปแบบการเขียนนั้นจะใช้รูปแบบคำสั่งและชุด SDK ของ Java และใน JSP จะมีนามสกุลของไฟล์เป็น .jsp โดยการทำงานจะทำงานในรูปแบบของ Server และ Client แสดงผลและโต้ตอบกับ User Interface ผ่าน Web Browser เช่น  IE ,Chrome ,Firefox และอื่นๆ โดยจะสามารถทำงานร่วมกับ Client Tags เช่นพวก HTML / JavaScript / CSS และพวก jQuery ให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ที่สำคัญ JSP สามารถใช้งานได้ฟรี และสามารถรองรับได้ทุก Platform ไม่ว่าจะเป็น Windows ,Linux และ iOS รวมทั้ง Software อื่น ๆ      Oracle เป็น Database ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยติดต่อประสานระหว่างผู้ใช้และฐานข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฐานข้อมูลได้สะดวกขึ้น เช่น การค้นหาข้มูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลที่ง่ายและสะดวก โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างภายในของฐานข้อมูลก็สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลนั้นได้      เริ่มต้นในการเขียนโปรแกรมที่นิยมการ connect  oracle ด้วย jsp จะใช้การ connect  ด้วย  JDBC โดยในส่วน ภาษา jsp จะสามารถใช้ packet ของ java ที่จะสามารถ import class ของ JDBC มาใช้งานใน  jsp ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเขียน โปรแรกม เพิ่มเติมให้ยุ่งยาก   ขั้นตอนที่ 1 สร้างไฟล์ jsp โดยข้อมูลภายในจะมีsyntax เหมือนกับ HTML แต่ต่างกันที่นามสกุลไฟล์ จะเป็นนามสกุล .jsp <HTML> <HEAD> <TITLE>Simple JSP to Oracle connection Example</TITLE> </HEAD> <BODY> </BODY> <HTML> ขั้นตอนที่ 2 ทำการ import library ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ database oracle ด้วย java.sql.* <%@ page import=”java.sql.*” %> <HTML> <HEAD> <TITLE>Simple JSP to Oracle connection Example</TITLE> </HEAD> <BODY> </BODY> <HTML> ขั้นต้อนที่ 3 สร้างตัวแปลที่ใช้ในการเขื่อมต่อ String strdrive =”oracle.jdbc.OracleDriver”; //driver ของ oracle String url = “jdbc:oracle:thin:@localhost:1521:xe”; //server database String usr = “username”; //user name String pwd = “pwd”; //password ขั้นต้อนที่ 4 สร้าง connection การเชื่อมต่อไปยัง database Connection conn = null; ขั้นตอนที่ 5 ทำการเชื่อมต่อกับ database โดยใช้ ตัวแปลจากข้างต้น <% Connection conn = null; try { Class.forName(strdrive ); conn = DriverManager.getConnection(url, usr, pwd); out.println(“connected….!!”); } catch(Exception e) { out.println(“Exception : ” + e.getMessage() + “”); }

Read More »