Category: กิจกรรมของ CoP

  • ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงานด้วย PSU12-Sritrang และ PSU Installer”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงานด้วย PSU12-Sritrang และ PSU Installer”
    วันที่ 27-28 มิ.ย. 56 เวลา 09.00-16.00 น. ห้อง 101 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.

    ท่านที่สนใจให้สมัครโดยส่งอีเมลมาที่ wiboon.w@psu.ac.th

    เนื้อหา
    1. เหมาะสำหรับ admin ที่กำลังมองหาวิธีการลดเวลาในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ และเหนื่อยกับการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน โดยการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์มาประยุกต์ใช้ และที่สำคัญคือลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และประหยัดค่าใช้จ่าย
    2. ฝึกปฏิบัติชุดโปรแกรม PSU12-Sritrang ซึ่งติดตั้งเป็น serverได้ง่ายด้วยเทคนิค Cloning
    ชุดโปรแกรมมีสรรพคุณดังนี้
    DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server
    Cloning Server – ระบบ Cloningผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOSTสามารถ Cloning ได้ทั้ง MS Windows และ Linux
    Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก serverสามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้
    Diskless Client – สามารถให้ PC ลูกข่ายบูทแผ่นซีดีที่เก็บไว้บน server ได้
    3. ฝึกปฏิบัติชุดโปรแกรมประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่าน network (prnews) เปลี่ยนข้อความได้ทุกวัน ทำให้ไม่พลาดข่าวกิจกรรมสำคัญของหน่วยงาน
    4. ฝึกปฏิบัติโปรแกรม Cygwin ใช้ในการเปลี่ยนชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์และสั่ง shutdown เครื่องได้ ไม่ต้องเดินปิดทีละเครื่อง program สั่ง shutdown automatic
    5. ฝึกปฏิบัติโปรแกรม pGinaสามารถควบคุมการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยตั้งค่าให้ใช้ radius server ที่พร้อมใช้งานอยู่ใน PSU12-Sritrang และมีระบบบันทึก log accounting
    6. แนะนำชุดโปรแกรม PSU Installer ที่นำไปติดตั้งเพิ่มลงใน ubuntu server 12.04 แล้วกลายเป็น server ที่ลดขั้นตอนการติดตั้ง เช่น PSU-Radius ติดตั้งเป็น radius server หรือ PSU-Netdrive ติดตั้งเป็น file server เป็นต้น

    รายละเอียดการฝึกปฏิบัติ
    วันที่ 1 เรื่อง cloning และ PRNews
    1. สาธิตให้ดู PSU12-Sritrang ทำอะไรได้บ้าง
    2. ลองให้เข้าใจการ cloning (เรียนรู้การทำ server และ cloning ด้วย client พร้อมใช้)
    3. ลองให้เข้าใจ PRNews และ Shutdown PC
    4. ลองให้เข้าใจการทำต้นฉบับอีกรอบหลังปรับแต่งโปรแกรม
    5. ลองให้เข้าใจการทำต้นฉบับมากกว่า 1 partition
    6. ลองให้เข้าใจการทำโครงสร้าง MS-DOS partition

    วันที่ 2 เรื่อง diskless และ file server and share file
    7. ลองให้เข้าใจการใช้งาน diskless
    -การประยุกต์ใช้งาน diskless ทำเป็น client เฉพาะงาน เช่น psu-lib
    -การประยุกต์ใช้งาน diskless ทำเป็น kios presentation
    8. แนะนำ PSU-Installers
    -PSU-radius (เชื่อมต่อ username database ที่มีอยู่ลงในเครื่อง server Guest1)
    -PSU-radius ใช้ร่วมกับ pgina for windows
    -PSU-Netdrive (เพิ่ม file server ลงในเครื่อง server Guest1)
    9. แนะนำ Private Cloud Storage สำหรับ share file สำนักงาน
    – แนะนำ ownCloud server

    รายชื่อวิทยากร
    1. นายวิบูลย์ วราสิทธิชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    2. นายวิศิษฐ โชติอุทยางกูร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    3. นายเกรียงไกร หนูทองคำ นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม

    1. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์    คณะทันตแพทยศาสตร์
    2. บัณฑิต ชนะถาวร    คณะทันตแพทยศาสตร์
    3. สุนิสา จุลรัตน์    สถาบันสันติศึกษา
    4. กฤษณะ คีรีวัลย์    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    5. ปิยะวัชร์ จูงศิริ    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    6. นิติ โชติแก้ว    คณะการแพทย์แผนไทย
    7. อรยา ธีระประภาวงศ์    นักศึกษาฝึกงานคณะการแพทย์แผนไทย (Q)
    8. อาทิตย์ อรุณศิวกุล    คณะศิลปศาสตร์
    9. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ    คณะเภสัชศาสตร์
    10. ธีรพันธุ์ บุญราช    คณะเภสัชศาสตร์
    11. วันชัย แซ่ลิ่ม    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    12. ฝาติหม๊ะ  เหมมัน    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    13. ชัยวัฒน์  พานิชกุล    คณะวิทยาศาสตร์
    14. ชยธร วัฒนชาลี    วิทยาเขตภูเก็ต
    15. ภาษิต เสกสรรค์    วิทยาเขตภูเก็ต
    16. โกวิทย์ สุดใจ    วิทยาเขตภูเก็ต
    17. ชัยวัฒน์  ศรีจันทร์กุล    คณะวิทยาการจัดการ
    18. เสะอันวา เสะบือราเฮง    คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
    19. เอกภพ  ถาวรจิตร    สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกะวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    20. กิตติพัฒน์  อุลบกาญจน์ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกะวีสุนทร
    21. ดุษณี โสภณอดิศัย    คณะนิติศาสตร์
    22. ยุวภา โฆสกิตติกุล    คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    23. เอกศักดิ์ เทพยา    โรงเรียนบริหารธุรกิจวิทยา (บธว) สงขลา (Q)
    24. โกศล โภคาอนนท์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    25. ทศพล สนธิกุล    วิทยาเขตตรัง
    26. คณกรณ์  หอศิริธรรม    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    27. นวพล  เทพนรินทร์   ศูนย์คอมพิวเตอร์
    28. จรัล บูลวิบูรณ์    คณะศิลปศาสตร์

    ปิดรับสมัคร ที่นั่งเต็มแล้ว เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 56

    หมายเหตุ Q คือ โควต้าบุคคลภายนอก

  • ติว “DHCP for IPv6 (DHCPv6)”

    Workshop Lab guide dhcpv6 https://sharedrive.psu.ac.th/public.php?service=files&t=d101ba43953c1a7c493b0d507db3b333

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป ติว “DHCP for IPv6 (DHCPv6)” วันที่ 31 พ.ค. 56 เวลา 09.00 – 16.00 น. ที่ห้อง 107 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่

    เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการระบบเครือข่ายสำหรับรองรับการใช้งาน IPv6 และฝึกปฏิบัติการติดตั้ง DHCPv6 สำหรับหน่วยงาน

    รายละเอียดหัวข้อติว
    9.00-10.15น. IPv6 Overview
    -IPv6 Addressing
    -IPv6 Address Allocations
    -IPv6 Header Types, Formats, and Fields
    -IPv6 Extension Headers
    -Internet Control Message Protocol for IPv6 (ICMPv6)
    -IPv6 and Routing
    -IPv6 and the Domain Name System (DNS)
    10.30-12.00น. Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) for IPv6
    -Specification Overview
    -Difference from IPv4 Standards
    -Security Ramifications
    -Unknown Aspects
    13.00-16.00น. ทำ LAB ติดตั้งและคอนฟิก DHCPv6 บน Ubuntu

    วิทยากร
    1. พรพิทักษ์ สันติภาพถาวร ศูนย์คอมพิวเตอร์
    ผู้ช่วยวิทยากร
    2. โกศล โภคาอนนท์ ศูนย์คอมพิวเตอร์

    หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้

    รายชื่อผู้เข้าร่วม

    1. วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    3. สุนิสา จุลรัตน์ สถาบันสันติศึกษา
    4. ก้องชนก ทองพรัด กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
    5. ชัยวัฒน์  ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    6. ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    7. อาทิตย์ อรุณศิวกุล คณะศิลปศาสตร์
    8. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์
    9. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    10. จรัล บูลวิบูรณ์ คณะศิลปศาตร์
    11. ประทีป โคตัน ศูนย์คอมพิวเตอร์
    12. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ คณะเภสัชศาสตร์
    13. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์
    14. ทิพาพร พัฒนศิริ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    15. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    16. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์
    17. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    18. สาวิตรี วงษ์นุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    19. ลักขณา ฉุ้นทิ้ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    20. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์
    21. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    22. นวพล เทพนรินทร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
    23. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์
    24. ภูเมศ จารุพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์
    25. กฤตกร อินแพง คณะพยาบาลศาสตร์
    26. พงศ์กานต์ กาลสงค์ คณะแพทยศาสตร์
    27. บัณฑิต ชนะถาวร คณะทันตแพทยศาสตร์
    28. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (อาหารมังสวิรัติ)
    29. กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
    30. จอมขวัญ สุวรรณมณี คณะพยาบาลศาสตร์
    31. พันธ์พงษ์ คงกระพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ. ปัตตานี
    32. สนธยา เมืองโต หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ. ปัตตานี
  • กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM3 “ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก”

    กิจกรรม CoP PSU sysadmin ลำดับถัดไปของเรา KM3 “ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก” วันที่ 15 มี.ค. 56 เวลา 09.00 – 12.15 น. ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ ครั้งนี้จะจัดต่างจากที่ผ่านมา คือ ขอจัดเป็นรายการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยผมได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมงานด้วย

    ผู้สนใจตอบรับเข้าร่วมได้ที่อีเมล wiboon.w@psu.ac.th หรือที่เฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/groups/psu.sysadmin/ ก็ได้ครับ (ดูรายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม)

    เสวนา เรื่อง “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” (ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส Linux Mint มีดีกว่าทำไมเพิ่งมาบอก)

    กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม

    • ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบ และผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ
    • ผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์

    วันที่จัด

    • 15 มีนาคม 2556 เวลา 09.00 – 12.15 น.

    สถานที่จัด

    • ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    เนื้อหา
    1.เป็นการแนะนำระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สชื่อ Linux Mint ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายลิขสิทธิ์การใช้งาน

    • Linux ถึงจุดเปลี่ยน…
    • มาทำความรู้จักกับ Linux Mint
    • ใช้ Windows จนชิน…ปี 2556 แล้วลองสลับมาใช้ Linux ดูไหม
    • Windows ทำได้ Linux หล่ะทำได้ไหม แล้วอะไรที่ Windows ทำไม่ได้

    2.เล่าเรื่องที่ม.อ.ซื้อ Microsoft Licenses อย่างไร อะไรบ้าง และใครได้ใช้ประโยชน์

    • Microsoft มีทั้งจุดดีและจุดด้อยครับ หาก ม.อ. ไม่ซื้อเลยก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยหาใช้ของเถื่อนมาใช้อยู่ดี
    • ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเงินที่ลงทุนไป
    • สิทธิประโยชน์ที่ Microsoft ให้ ม.อ. มีอะไรบ้าง บุคลากร, นักศึกษา, ห้อง Lab
    • สถิติการดาวน์โหลดและการลงทะเบียนเป็นจำนวนเท่าไหร่

    3.เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” ตัวอย่างหัวข้อในการเสวนา

    • การใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพื่อนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์จริงหรือไม่?
    • มีคณะไหนในชุมชน ม.อ. ประกาศไม่สนับสนุนซอฟร์แวร์เถื่อนหรือคิดจะทำแบบเป็นรูปธรรมบ้าง?
    • อนาคตของ open source ใน ม.อ. ทำอย่างไรจะผลักดันให้เกิดขึ้น?
    • การทำวิจัยสถาบันเพื่อสำรวจการใช้งานแต่ละแห่งโดยเฉพาะธุรการ อาจารย์ ใช้ Microsoft ทำอะไร ใช้อะไรบ้าง จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
    • การใช้ Linux มีข้อดีจริงหรือไม่ในเรื่องเหล่านี้เมื่อเทียบกับ Microsoft?
      – ลดปริมาณการละเมิดลิขสิทธิ์ (แผ่นเถื่อน)
      – นักศึกษาได้ประโยชน์ในเชิงพัฒนาต่อยอดความรู้ด้าน open source
      – เกิดการวิจัยด้านซอฟต์แวร์ open source ใมหาวิทยาลัยเพื่อให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยวิจัย
      – ม.อ.เป็นตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์ open source อย่างจริงจังเป็นการสร้างจุดแข็งให้กับองค์กร
      – ม.อ.บริการวิชาการให้กับชุมชน อบรมการใช้งาน Linux ให้กับชุมชนและท้องถิ่น

    กำหนดการ
    09.00-10.00 น. แนะนำ Linux Mint

    • โดยคุณศิริพงษ์ ศิริวรรณ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.

    10.00-10.15 น. พักเบรค
    10.15-10.50 น. บอกเล่าเรื่อง Microsoft Licences ที่ม.อ.ซื้อ

    • โดยเกรียงไกร หนูทองคำ ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.

    10.50-12.15 น. เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “แนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สพร้อมฟรีแวร์เพิ่มมากขึ้น” ร่วมเสวนาโดย

    • คุณวิบูลย์ วราสิทธิชัย ประธานชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • รศ.ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประธานชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สมัยแรก
    • รศ.ดร.วรวุธ วิสุทธิ์เมธางกูร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
    • รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์

    12.15-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน

    แจกแผ่น DVD Linux Mint สำหรับผู้ร่วมงานทุกท่าน
    พร้อมร่วมสนุกชิงรางวัล
    1. USB flash drive 16GB จำนวน 2 รางวัล
    2. ตุ๊กตาพวกกุญแจรูปนกเพนกวิน 2 รางวัล
    สนับสนุนโดยชมรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ม.อ.

    รายชื่อผู้แจ้งชื่อเข้าร่วม

    1. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ ม.อ.
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
    3. สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    4. สมชาย วนธนศิลป์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    5. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย ม.อ.
    6. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ.
    7. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    8. ธีรวัฒน์ แตระกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    9. ภูเมศ จารุพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.
    10. กฤตกร อินแพง คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.
    11. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
    12. จันทนา เพ็ชรรัตน์ สำนักวิจัยและพัฒนา
    13. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
    14. ณัฐพล เพชรจิระวรพงศ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    15. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ.
    16. จรรยา เพชรหวน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
    17. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
    18. ครูดนรอฝาด โส๊ะหัด โรงเรียนพัฒนาศาสตร์มูลนิธิ จ.สงขลา
    19. ผศ. ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ม.อ.
    20. เลียง คูบุรัตถ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
    21. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    22. เชวง ภควัตชัย คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
    23. เนาวรัตน์ ทองไทย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    24. อำนาจ สุคนเขตร์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.
    25. ธีรพันธุ์ บุญราช คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    26. น.ส.จุฑามาศ มากบุญ นักศึกษาฝึกงาน คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    27. น.ส. จุฑารัตน์ ปลื้มใจ นักศึกษาฝึกงาน คณะเภสัชศาสตร์ ม.อ.
    28. นายปัณณธร พูลสวัสดิ์ นักศึกษาฝึกงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    29. สมคิด อินทจักร คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
  • ติว “VirtualBox Networking + vi + Shell Scripts”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ก.พ. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.30 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว)

    ติว “VirtualBox Networking + vi + Shell Scripts”

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ

    วันและเวลา

    • วันที่ 28 ก.พ. 56 เวลา 09.00 – 16.30 น.

    สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้

    • ห้อง 101 เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 26 เครื่อง (ผู้เรียนจะนำโน้ตบุ๊คมาเองก็ได้)

    ระบบปฏิบัติการที่ใช้

    • Linux Mint/Ubuntu
    • Microsoft Windows (เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้อง 101)

    เนื้อหา

    • ฝึกปฏิบัติใช้ Oracle VirtualBox เพื่อทดสอบเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่อง และทดสอบระบบงานที่มีเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์หลายเครื่องอยู่ภายใน VirtualBox Networking
    • ฝึกปฏิบัติการใช้เอดิเตอร์ vi เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับแอดมิน
    • ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม Linux Shell Script

    รายละเอียดหัวข้อติว
    ช่วงเช้า

    1. VirtualBox Networking (NAT, Bridged Adapter, Internal Network, Host-only Adapter) แต่ละแบบทำงานอย่างไร
    2. โปรแกรมที่นำมาใช้เป็น Domain Name Resolver เพื่อทดสอบใน VirtualBox Networking
    3. ซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ทำเป็น Router แบ่ง subnet มากกว่า 1 net เพื่อทดสอบใน VirtualBox Networking

    ช่วงบ่าย

    1. เอดิเตอร์ vi
    2. แนะนำโปรแกรม Shell Script จากตัวอย่างในงานจริง ทั้งแบบรันตามต้องการ และสั่งทำงานผ่าน crontab
    3. การเขียนโปรแกรม Shell Script

    วิทยากร

    • วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • อ.ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วมติว

    1. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    3. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    4. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    5. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    6. อาทิตย์ อรุณศิวกุล งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    7. ธีรพันธุ์ บุญราช ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    8. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    9. ทิพาพร พัฒนศิริ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    10. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    11. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    12. ศุภกร  เพ็ชรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ (จอมขวัญ สุวรรณมณี สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ แจ้งยกเลิก)
    13. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (fb: Nick Justice)
    14. กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
    15. ปิยะวัชร์ จูงศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    16. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    17. พัฒนาวดี ศิวติณฑุโก คณะวิศวกรรมศาสตร์
    18. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    19. สราวุฒิ เลิศล้ำไตรภพ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    20. เกียรติศักดิ์ คมขำ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    21. ศรายุทธ จุลแก้ว ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    22. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    23. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์
    24. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    25. โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    26. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    27. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่

    (ปิดรับสมัคร)

  • กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM2 “Network Security”

    กิจกรรม CoP PSU sysadmin ลำดับถัดไปของเรา KM2 “Network Security” วันที่ 15 ก.พ. 56 เวลา 09.30 – 14.00 น. ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ ผมจัดงานแบบครั้งที่แล้วคือมาเจอกัน 09.15 กินกาแฟกันก่อน แล้วเริ่มสัก 09.30-09.40 น.

    ตอบรับเข้าร่วมได้ที่อีเมล wiboon.w@psu.ac.th หรือที่เฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/groups/psu.sysadmin/ ก็ได้ครับ มีอาหารเที่ยงเลี้ยงด้วย โปรดแจ้งประเภทอาหารที่ท่านรับประทานได้ครับ ขอบคุณครับ (ดูรายชื่อ)

    ในครั้งนี้ผมได้รับเกียรติจากเพื่อนๆมาช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลายคน มี สงกรานต์, พรพิทักษ์, โกเมน, คณกรณ์ และประทีป

    หัวข้อที่ผมได้รับเกียรติจากเพื่อนๆมาช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ
    1. สงกรานต์ มุณีแนม มาพูดเรื่อง
    – อัปเดต PSU Security Policy
    – อัปเดต ประกาศการควบคุมการใช้งานเครือข่าย ที่ใช้ในปัจจุบัน
    – Network security monitoring how-to and tools
    – Wi-Fi security ประสบการณ์ที่พบและการป้องกัน
    2. พรพิทักษ์ สันติภาพถาวร (เล็ก) มาพูดเรื่อง
    – firewall/network authentication ระดับมหาวิทยาลัย (อัปเดต Palo Alto Firewall เช่น ทำหน้าที่ใดบ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร)
    – การเก็บบันทึก traffic log จาก firewall
    – เรื่องที่ต้องการได้รับความร่วมมือจากแอดมินคณะ
    – แนวทางความร่วมมือต่อจากอีเมลที่ส่งจาก Palo Alto Firewall
    – vpn
    3. โกเมน เรืองฤทธิ์ (ใหญ่) มาพูดเรื่อง
    – firewall/network authentication ระดับคณะ/หน่วยงาน (เช่น ทำหน้าที่ใดบ้าง และได้ผลเป็นอย่างไร)
    – การเก็บบันทึก traffic log
    – ปัญหาของผู้ใช้งานที่พบในการให้บริการ
    4. คณกรณ์ หอศิริธรรม (หนุ่ม) มาพูดเรื่อง
    – server security (web and mail)
    – host firewall ด้วย shorewall และ fail2ban (ผมขอร่วมด้วยตรงนี้)
    5. ประทีป โคตัน (ทีป) มาพูดเรื่อง
    – กล้องวงจรปิดของมหาวิทยาลัย (อัปเดตข้อมูล)
    – กล้องวงจรปิดในหน่วยงานและซอฟต์แวร์ที่ใช้

    แล้วพบกันครับ
    ขอบคุณครับ
    วิบูลย์
    ผู้ประสานงาน CoP PSU sysadmin

    รายชื่อผู้นำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    1. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    2. พรพิทักษ์ สันติภาพถาวร ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    3. โกเมน เรืองฤทธิ์ คณะแพทย์ฯ
    4. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    5. ประทีป โคตัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่

    รายชื่อผู้เข้าร่วม

    1. ภัทธ์ เอมวัฒน์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    2. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    3. ธีรพันธุ์ บุญราช คณะเภสัชศาสตร์
    4. อาทิตย์ อรุณศิวกุล งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    5. ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    6. ทิพาพร พัฒนศิริ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    7. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    8. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    9. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    10. โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    11. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์
    12. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    13. จตุพร ชูช่วย ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    14. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ (*)
    15. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    16. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    17. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (*)
    18. ณัฐพล เพชรจิระวรพงศ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    19. ปิยะวัชร์ จูงศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    20. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    21. พัฒนาวดี ศิวติณฑุโก คณะวิศวกรรมศาสตร์
    22. พงษ์พันธ์ ประพันธ์ ม.อ.ตรัง
    23. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    24. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    25. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    26. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (แจ้งถอน ติดธุระ)
    27. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    28. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    29. พันธ์พงษ์ คงกระพันธ์ หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ.ปัตตานี (ผ่าน Video conference)
    30. จรัล บูลวิบูรณ์ คณะศิลปศาสตร์
    31. สถาพร สุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์

    ( (*) ไม่ได้เข้าร่วม)

  • ตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login

    ใน wordpress เราสามารถตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login ทำได้โดยการติดตั้ง plugin เพิ่ม ผมได้ติดตั้ง plugin ชื่อ member access (member-access.1.1.6.zip) เพิ่มตามคำแนะนำของทีมงาน (ใหญ่และน้อง ศูนย์คอมฯ ขอบคุณครับ)

    วิธีใช้งานคือ เมื่อท่านเขียนบทความเสร็จ ตัดสินใจแล้วว่าจะเผยแพร่แบบให้สมาชิกที่ login เข้าสู่ระบบแล้วจะดูได้เท่านั้น (เพราะจำเป็นจริงๆ อาจมีความลับบางอย่างไม่อยากให้พี่ google ไปบอกต่อ)

    ให้ท่านดูที่ด้านขวามือ จะเห็นเป็น
    Status: Published Edit
    Visibility: Public Edit ซึ่งถูกต้องแล้ว

    จากนั้นให้เลือกตัวเลือกของ Member Access ด้านล่าง
    ตั้งค่าตัวเลือก Ignore the default settings and make this post visible only to members

    ผลลัพธ์จากการตั้งค่าครั้งนี้ ทำให้บทความไม่แสดงในหน้าเว็บไซต์ ถ้าไม่ login เข้าสู่ระบบก็จะไม่เห็นบทความ เมื่อคัดลอก link ส่งไปให้ ผู้ที่ได้รับ link ก็จะถูก redirect มายังหน้า login

  • ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ม.ค. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    (หมายเหตุ วันที่ 30 ม.ค. 56 ทีมวิทยากรจะเตรียมห้องอบรมด้วยกัน) หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว)

    ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

    กลุ่มเป้าหมาย

    • ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ

    ระยะเวลา

    • 1 วัน

    สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้

    • ต้องใช้ห้องอบรมที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องต่อผู้เข้าอบรม 1 คน

    เนื้อหา

    • เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน
    • แนะนำโปรแกรม pGina บนวินโดวส์ เพื่อควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ radius server ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานอยู่ใน PSU-12 ต้นแบบพัฒนาจาก FreeRADIUS ซึ่งมี module ที่สามารถ authen กับ PSU-Passport ได้
    • ความรู้เกี่ยวกับ Disk/Partition/Booting
    • แนะนำชุดโปรแกรม PSU-12

    ชุดโปรแกรม PSU-12 ที่มีสรรพคุณดังนี้

    • Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก server
    • Cloning Server – ระบบโคลนนิงผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOST
    • โคลนนิงได้ทั้ง MS Windows และ Linux
    • DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server
    • มีระบบบันทึก log accounting
    • สามารถกำหนดให้ หาก PC ลูกข่ายไม่ต่อกับ network จะบูทไม่ได้
    • ประยุกต์ใช้งานบังคับให้อ่าน message of today จึงจะบูทเครื่องใช้งานได้
    • สามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้

    รายละเอียดหัวข้อติว
    ตอนที่ 1 – ติดตั้ง server

    • ติดตั้ง Ubuntu server
    • ติดตั้งชุด PSU-12
    • การปรับแต่งให้ PSU-12 เป็น radius server ที่สามารถ authen กับ @psu.ac.th และ PSU-Passport
    • ทดสอบ authen กับอีเมลของ @psu.ac.th
    • ทดสอบ authen กับบัญชีผู้ใช้ PSU-Passport
    • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะบุคลากรของ PSU หรือเฉพาะบุคลากรในหน่วยงานเท่านั้นที่ใช้บริการได้
    • สามารถปรับตั้งให้เฉพาะนักศึกษาในคณะเท่านั้นที่ใช้บริการได้

    ตอนที่ 2 – การโคลนนิ่ง

    • การ Cloning เครื่องต้นแบบไปเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับ (Backup Process)
    • การ Backup Partition Table
    • การ Backup Partition
    • การ Cloning เครื่องใหม่จากไฟล์ต้นแบบ (Restore Process)
    • การตั้งค่าเพื่อทำให้ระบบที่ Cloning มากลับมา boot ได้

    ตอนที่ 3 – ติดตั้งโปรแกรมสำหรับควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

    • แบ่ง partition ของฮาร์ดดิสก์โดยใช้แผ่นซีดี Sysresccd และลง Windows 7 ใหม่ใน partition ที่สร้างขึ้น
    • ติดตั้งโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ MS และบันทึกไว้บน server ที่เลือก
    • ติดตั้งโปรแกรม pGina เพื่อให้ login เข้าก่อนใช้เครื่อง MS
    • ตั้งค่า message of today
    • สามารถตั้งเวลา shutdown จาก server โดยตรงได้

    วิทยากร

    • ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    • ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิศิษฐ โชติอุทยางกุร คณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วมติว

    1. วันชัย แซ่ลิ่ม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์
    2. อาฮาหมัด เจ๊ะดือราแม งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคนิคการแพทย์ (*)
    3. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ คณะเภสัชศาสตร์
    4. ดุษณี โสภณอดิศัย คณะนิติศาสตร์ (*)
    5. ฝาติหม๊ะ เหมมันต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
    6. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    7. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
    8. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    9. เพียงพิศ สุกแดง คณะวิทยาการจัดการ
    10. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    11. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    12. สงกรานต์ มุณีแนม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    13. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    14. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    15. เกียรติศักดิ์ คมขำ ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    16. ศรายุทธ จุลแก้ว ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    17. ปุณณวัชร์ วิเทียมญลักษณ์ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (*)
    18. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    19. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    20. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    21. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ (fb: Nick Justice)
    22. นาลิวัน หีมเห็ม สำนักวิจัยและพัฒนา
    23. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    24. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ (*)
    25. กฤษณะ คีรีวัลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    26. เสะอันวา เสะบือราเฮง คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

    ( (*) ไม่ได้เข้าร่วม)

  • กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM1 “การทำงานกับ PSU Passport”

    กิจกรรม CoP PSU sysadmin KM1 “การทำงานกับ PSU Passport” วันที่ 21 ธ.ค. 55 เวลา 09.30 – 14.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยงด้วย พบกันที่ห้อง 102 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่ครับ

    กำหนดการ
    เวลา 09.30 – 10.00 น. ลงทะเบียนและรับประทานอาหารว่าง
    เวลา 10.00 – 12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การทำงานกับ PSU Passport”
    เวลา 12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. ตอบปัญหาและข้อซักถาม

    นำเสนอโดย คุณจตุพร ชูช่วย แอดมินทีมเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. หาดใหญ่
    รอบนี่้ผมคิดว่า คุยกันไม่ต้องเร่งรีบมาก ในช่วงแรก แล้วเบรคพักเที่ยง ทานข้าวด้วยกัน แล้วถ้ายังมีคำถามไว้ในช่วงบ่ายอีก 1 ชั่วโมงครับ (ดูรายชื่อผู้ที่แจ้งเข้าร่วม)

    หัวข้อที่จะเล่าและตอบคำถาม
    1. โครงสร้างของระบบ PSU Passport
    2. การนำเข้าข้อมูลเพื่อสร้าง Account บน PSU Passport
    3. บริการของระบบ PSU Passport (ldap/ldaps,web service,ระบบเปลี่ยนรหัสผ่าน)
    4. สิทธิการเข้าถึงชั้นความลับของ PSU Passport (ระบบความปลอดภัยของข้อมูล)
    5. ข้อกำหนดใช้บริการ PSU Passport (พรบ. คอม 50)
    6. ระบบจัดการข้อมูลบน PSU Passport (AdsAdmin)
    7. การออก Account ในกลุ่มอื่น ๆ (Guest,VIP,LAB)
    8. ตัวอย่างการเข้าใช้งานบน Application ต่าง ๆ (LDAP,Web Service)
    9. ระบบลงทะเบียน Server Authen ในอนาคต
    10. แนวทางการเผยแพร่ความรู้ในอนาคต
    11. ตอบคำถามกวนใจใคร

    ช่วง ตอบคำถามกวนใจใคร เช่น

    ผู้ใช้: อยากให้ศูนย์คอมฯมี database view ของ PSU Passport เพื่อให้คณะคอนเนคเข้ามาได้
    แอดมินศูนย์:
    – ข้อมูลอะไรครับ หากเฉพาะ user/password ก็ใข้ passport ได้อยู่แล้ว ?
    – หากเป็นข้อมูลบุคลากรให้ติดต่อการเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเพื่อขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลครับ
    – และหากเป็นข้อมูลนักศึกษาให้ติดต่อทะเบียนกลางเพื่อขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ครับ
    ผู้ใช้: ถ้าให้ 0com เป็นตัวกลาง ประสานงานให้ แบบ one stop service ได้มั้ยครับ
    แบบว่าไม่ต้องไปติดต่อหลายที่
    แอดมินศูนย์:
    ไม่ได้ครับ เพราะเราไม่ใช่เจ้าของข้อมูล เป็นแค่ที่เก็บ ต้องขอเจ้าของครับ

    ผู้ใช้: สามารถทำให้ antivirus แต่ละค่าย สามารถ
    update อัตโนมัติได้โดยไม่ต้อง authen psu passport ได้ไหม
    เพราะโดยปกติเครื่องคอมขึ้นมา โปรแกรม antivirus จะทำการ update
    ให้อัตโนมัติ เครื่องคอมผู้ใช้ ถ้าไม่ได้ authen psu passport
    ผ่านหน้าเว็บทันที จะขึ้น โปรแกรม antivirus จะเตือน update failed

    ผู้ใช้: ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้ ศูนย์คอมเปิดเป็น web service ให้กับคณะเรียกใช้หรือเปล่า

    ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน
    วิบูลย์

    รายชื่อผู้ดำเนินกิจกรรมครั้งนี้

    1. วิบูลย์ วราสิทธิชัย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    2. จตุพร ชูช่วย  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่

    รายชื่อผู้ที่แจ้งเข้าร่วม

    1. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์
    2. คณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    3. เกรียงไกร หนูทองคำ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    4. วชิรวิชญ์  จิวานิจ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    5. อาทิตย์ อรุณศิวกุล งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    6. ภูเมศ จารุพันธ์ สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    7. จอมขวัญ สุวรรณมณี สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    8. กฤตกร อินแพง สารสนเทศ คณะพยาบาลศาสตร์
    9. พรจรัส สุทธินันท์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม
    10. ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    11. อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    12. สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    13. ณัฏฐิกา หัตถกรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    14. สุนทรี นภิบาล ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    15. โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมพิวเตอร์  ม.อ.หาดใหญ่
    16. ภัทธ์ เอมวัฒน์ สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    17. ก้องชนก ทองพลัด กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่
    18. นิติ โชติแก้ว คณะการแพทย์แผนไทย
    19. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    20. บุญศิริ บุญยก สำนักงานเลขานุการ คณะวิทยาการจัดการ
    21. สุทิศา จรียานุวัฒน์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะทันตแพทยศาสตร์
    22. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะทันตแพทยศาสตร์
    23. เพียงพิศ สุกแดง  คณะวิทยาการจัดการ
    24. ธีรวัฒน์ แตระกุล ฝ่ายวิจัยและบริการ คณะเภสัชศาสตร์
    25. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ บัณฑิตวิทยาลัย
    26. กิตติศักดิ์ แก้วเนียม จากสำนักฯ ม.อ.ปัตตานี
    27. จรัล บูลวิบูรณ์ คณะศิลปศาสตร์
    28. เสกสรร มาลานุสรณ์ คณะศิลปศาสตร์
    29. จรรยา เพชรหวน งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    30. ยุวภา โฆสกิตติกุล คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    31. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    32. ดุษณี โสภณอดิศัย  คณะนิติศาสตร์
    33. ธิดาวรรณ์ แซ่เล่า
    34. ปิยะวัชร์ จูงศิริ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    35. สุรเชษฐ์ หนูแท้ คณะแพทยศาสตร์
    36. อาฮาหมัด เจ๊ะดือราแม งานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคนิคการแพทย์
    37. สุระเชษฐ์ วงศ์อารยพาณิช คณะวิศวกรรมศาสตร์
    38. สนธยา เมืองโต หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ.ปัตตานี
    39. สายัณ อินชะนะ หน่วยคอมพิวเตอร์ ม.อ.ปัตตานี
    40. หฤทัย สมบูรณ์รุ่งโรจน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    41. ทิพาพร พัฒนศิริ  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
    42. พงษ์พันธ์ ประพันธ์ ม.อ.ตรัง
    43. อนันต์ ทองนวล ม.อ.ตรัง
    44. ธีรพันธุ์  บุญราช คณะเภสัชศาสตร์
    45. นพชาติ เลิศพูนสวัสดิ์  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่
  • ติว PSU-netdrive: เทคนิคการแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คโดยไม่ต้องใช้ SAMBA วันที่ 30 พ.ย. 55

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในปีนี้ในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. 55 เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยประมาณ ที่ห้อง 106 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่

    รอบนี้ต้องขอรับจำนวนจำกัดเพียง 15 ที่เท่านั้น หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้

    รายละเอียดเรื่องที่ติว

    • การปรับแต่ง ubuntu server ให้เป็น file server เพื่อแชร์ไฟล์แก่ MS client ทำให้สามารถ map network drive โดยไม่ต้องใช้ SAMBA เพียงแค่ติดตั้งเป็น SSH File System รวมทั้ง client ใดๆ ในอินเทอร์เน็ต เช่น Linux desktop หรือ Android smart phone เป็นต้น ก็สามารถแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คร่วมกันกับ MS client ได้แล้วโดยใช้โปรแกรมที่รองรับโปรโตคอล SFTP
    • หากองค์กรมี user account อยู่แล้วสามารถติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account นั้นมาแชร์ไฟล์ร่วมกันได้ด้วย

    หัวข้อมีดังนี้

    • ติดตั้ง VirtualBox for Windows
    • ติดตั้ง Ubuntu server บน VirtualBox
    • ติดตั้ง Ubuntu desktop บน VirtualBox
    • ติดตั้ง Android บน VirtualBox
    • ติดตั้ง PSU-netdrive บน Ubuntu server
    • ติดตั้ง SFTP net drive for Windows บน MS client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ map network drive บน MS client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ mount SSHFS บน Ubuntu desktop client
    • ทดสอบการแชร์ไฟล์ ด้วย AndFTP บน Android client
    • เบื้องหลังการจัดการไฟล์ของ PSU-netdrive บนระบบปฏิบัติการ Linux
    • ติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account ที่มีอยู่แล้วมาแชร์ไฟล์ร่วมได้
    • (เพิ่มเติม) การตั้งค่าเพื่อใช้งานร่วมกับบริการ anonymous ftp server
      (เพิ่มเติม) การป้องกันและจัดการผู้ลักลอบเดารหัสผ่านด้วย fail2ban

    รายชื่อทีมวิทยากร

    1. นายวิบูลย์ วราสิทธิชัย
    2. นายวิศิษฐ โชติอุทยางกูร (อาหารมังสวิรัติ)
    3. นายเกรียงไกร หนูทองคำ

    รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมติว

    1. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ
    2. สาวิตรี วงษ์นุ่น คณะมนุษย์ฯ
    3. ลักขณา ฉุ้นทิ้ง คณะมนุษย์ฯ
    4. อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ
    5. อาทิตย์ อรุณศิวกุล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์
    6. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์  คณะทันตแพทยศาสตร์
    7. นิติ โชติแก้ว งานเทคโนโลยีสารสนเทศและงานโสตทัศนูปกรณ์ คณะการแพทย์แผนไทย ม.สงขลานครินทร์
    8. เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    9. นนทพน รัตนพิทยาภรณ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์