Category: กิจกรรมของ CoP

  • ครบรอบ 7 ปี Web Blog sysadmin.psu.ac.th จัดกิจกรรม CoP PSU IT

    กิจกรรมที่ 1
    ในวาระเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน ครบรอบ 7 ปี Web Blog sysadmin.psu.ac.th ผมจัดกิจกรรมเล่าเรื่อง ผมเพิ่ม category ชื่อ “Share and Tell” ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ให้พวกเรามาเล่าเรื่องเกี่ยวกับงานที่ทำ ทั้งในหน้าที่ ขอช่วย และ งานอดิเรก อย่างใดก็ได้ เป็นสิ่งที่ “คิดว่าจะทำ” “กำลังทำอยู่” หรือ “ทำเสร็จแล้วและใช้งานอยู่” ก็ได้ และมีความคิดอยากมานั่งคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน

    เขียน Blog จะได้รับค่าตอบแทนมูลค่า 300 บาท/คน/เรื่อง สำหรับผู้ที่ส่งเรื่องเข้ามา 20 คนแรกเท่านั้น ขยายเวลารับเรื่องไปจนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562

    สำหรับงานที่เขียนในหัวข้อ “Share and Tell” เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จะได้นำไปจัดกิจกรรม “CoP PSU IT Share and Tell ครั้งที่ 1” ใน จัดงานในวันที่ 22 มกราคม 2563

    ข้อกำหนดสิ่งที่เขียน (หรือจะเรียกว่า แนวทางเขียนให้เป็น pattern เดียวกัน 555)

    ตั้งชื่อ Blog ด้วยชื่องาน และ เขียนไว้ในเว็บไซต์นี้
    1.ชื่องาน (โครงงาน)
    เช่น โปรแกรม micro:bit ทำรถบังคับ
    เช่น พัฒนาโปรแกรม … สำหรับ ….
    2.เป้าหมายของงานที่ทำ
    เช่น จะได้เป็นอะไรออกมา ใช้ทำอะไร
    3.สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงาน (โครงงาน)
    เช่น ต้องมีอุปกรณ์ใดบ้าง ใช้ซอฟต์แวร์ใดบ้าง ทำงานบน linux หรือ Windows ทำงานในเครื่อง server เดียว หรือ บน Cloud
    4.บรรยายสรุปสั้น ๆ ว่า ต้องใช้อะไรบ้างและทำอย่างไร (ไม่ต้องลงขั้นตอนละเอียด)
    5.อื่น ๆ อยากบอกอะไรเพิ่มเติม เขียนเพิ่มได้

    กิจกรรมที่ 2 ในทุกเดือนจะมี Lucky Draw จับรางวัลมูลค่า 500 บาท 1 รางวัล สำหรับงานเขียนในหัวข้อ category ต่าง ๆ ตามปรกติ

    สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในปีนี้ เพื่อให้พวกเราฝึกฝนการแลกเปลี่ยนความคิด ฝึกฝนการเขียน และ สนุกไปกับการจัดกิจกรรม CoP PSU IT ตลอดทั้งปีและต่อ ๆ ไปครับ

    ขอบคุณครับ
    วิบูลย์

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)

    ผมได้จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ในแนวทาง Virtual Desktop Infrastructure” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ อาคารวิทยบริการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

    คิดว่านำมาเล่าสู่กันฟังในที่นี้น่าจะเกิดประโยชน์

    คุณลักษณะของระบบ

    • VMware vSphere ESXi 6.7 เป็น software จัดการ server
    • Dell EMC PowerEdge Systems เป็น hardware ชนิด Rack Server จำนวน 5 เครื่อง แต่ละเครื่องมี RAM 512 GB มี GPU ชนิด NVIDIA Tesla M10 32 GB และมี SAN Storage ขนาด 50 TB
    • L2/3 network switch ที่มี 10 G Base-T จำนวน 2 ตัว
    • VMware Horizon 7 เป็น software สำหรับทำ VDI
    • เครื่องที่ให้ใช้งานเป็น PCoIP zero client จำนวน 480 ชุด
    • user account เป็น Local Microsoft AD สำหรับห้องคอม

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

    • ได้ทดลองใช้งานเป็นผู้ใช้งาน
    • ได้รับข้อคิดเห็นจากประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่จัดซื้อเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
    • ได้เห็นวิธีการ cloning VM ทำภายใน server สะดวกมาก เพราะ zero client ไม่มี hard disk เป็นแค่จอภาพ+อุปกรณ์เชื่อมต่อกับ server

    สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการนำระบบ VDI ไปใช้งาน

    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Virtualization Technology
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ DHCP Sever, DNS Server
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Microsoft AD
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้พื้นฐานการจัดการ PC , Windows
    • ผู้ดูแลควรมีการติดตั้งและทดสอบโปรแกรมที่จะนำมาใช้กับระบบ VDI
    • ผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบ Server และ Network
    • ระบบไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศภายในห้อง Data Center ที่มีประสิทธิภาพ

    ปัญหาที่เจอในการใช้งานระบบ VDI

    • vcenter ล่ม (ระบบไฟฟ้าภายในห้อง Data Center มีปัญหา,ไฟล์สำคัญโดนลบ)
    • การ Clone เครื่อง (ใช้งานได้ไม่ครบทุกเครื่อง)
    • ค่า Error ไม่สื่อความหมาย (Clone แล้วเครื่องไม่พร้อมใช้งาน)
    • ข้อมูลทั้งระบบมีขนาดที่โตขึ้น (การเก็บข้อมูลในเครื่องผู้ใช้งาน Drive C,D)
    • ทรัพยากรไม่เพียงพอเมื่อมีการสร้างเครื่องใช้งานเยอะเกินไป ต้องประเมิน Disk Storage ให้เพียงพอ
    • ปัญหาเกี่ยวกับ user account ที่จะใช้ VM ในตอนแรกจะให้ใช้ Microsoft AD ของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจาก AD ของมหาวิทยาลัยไม่ได้ออกแบบมาให้คอนฟิกได้ง่าย จึงเปลี่ยนเป็นสร้าง Local AD ผูกกับ zero client เป็นเครื่อง ๆ ไป เปิดเครื่อง กด Enter ก็เข้าถึงหน้าต่าง Windows ราว ๆ 30-40 วินาที

    ข้อดีของการนำระบบ VDI มาใช้งาน

    • การบริหารจัดการเครื่องมีประสิทธิภาพขึ้น เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • ประหยัดพลังงาน เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • ลดอุณหภูมิภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • มีความยืดหยุ่นในการใช้งานทรัพยากร เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะภายในห้อง LAB Computer เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC
    • การ Backup ข้อมูลทั้งระบบทำได้ง่าย เมื่อเทียบระหว่าง Zero Client กับ PC

    ถาม-ตอบ ที่พอจะประมวลได้จากการพูดคุย

    ถาม: วิทยาเขตตรัง มีนโยบายการให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน กี่แบบ
    ตอบ: มีแบบเดียว คือ มีเครื่องให้ใช้ร่วมกัน เก็บบันทึกไฟล์ไว้เอง เนื่องจากระบบ VDI ที่จัดซื้อทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะสร้าง VM แยกให้นักศึกษาหรือให้แต่ละวิชา

    ถาม: ระบบนี้มีค่าใช้จ่ายเท่าไร แยกเป็นค่าอะไรบ้าง ขอทราบ specification ที่ใช้งานอยู่
    ตอบ: ไม่สามารถระบุเฉพาะระบบ VDI ได้ เพราะเป็นการเช่ารวมกับ PC และ Notebook อีกจำนวนหนึ่ง (ประมาณหยาบ ๆ ได้เครื่องละ 20,000 บาท/3ปี หรือ คิดเป็นค่าใช้เครื่อง 18 บาท/วัน) ส่วนการกำหนด VDI specification ได้คำนวณจากปริมาณ (PC, RAM และ Disk) ที่ต้องการใช้งาน บวกส่วนเผื่อไว้อีก 25%

    ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับคณะที่ให้บริการห้องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนการติดตั้งโปรแกรมหรือไม่
    ตอบ: ทำได้เพราะเปิดสิทธิ Administrator เหมือนกับ PC

    ถาม: ระบบนี้น่าจะเหมาะกับหน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรมหรือไม่
    ตอบ: ขึ้นอยู่กับความพร้อมของ data center ให้บริการได้ต่อเนื่องหรือไม่ และโปรแกรมที่อบรมได้ทดสอบติดตั้งใช้งานแบบ VDI ได้

    ถาม: ระบบนี้ดีกว่าระบบเก่าอย่างไร
    ตอบ: มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มทรัพยากรให้ zero client ที่ต้องการใช้มาก ๆ ปรับเปลี่ยนได้สะดวก การ cloning สามารถ remote เข้าทำได้ที่ server ไม่ต้องทำที่ห้องคอม

    ถาม: ตั้งแต่เริ่มใช้ระบบนี้มีการประเมินการใช้งานแล้ว คุ้มหรือไม่คุ้ม ดีหรือไม่ดี อย่างไร
    ตอบ: ยังไม่ได้ประเมิน

    ขอขอบคุณข้อมูลที่ได้รับจาก presentation ของคุณพงษ์พันธ์ ประพันธ์ หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศและทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

  • DevOps Meeting #1

    รวม Link ที่ใช้งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ DevOps Meeting #1

  • เล่าเรื่อง KM การใช้งานโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ ตอน การทำวิดีโอสื่อการสอนง่าย ๆ

    มีเพื่อน ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งที่เป็น ผู้ดูแลระบบ และ อาจารย์ที่ให้ความสนใจ จำนวน 20 คน ผู้นำในการแลกเปลี่ยนฯในครั้งนี้คือ คุณคณกรณ์ หอศิริธรรม ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. ได้นำความรู้จากการปฏิบัติจริงมาถ่ายทอดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

    เริ่มด้วยแนะนำการบันทึกวิดีโอด้วย Hangouts on Air ผู้เรียนทุกคนใช้ PSU GAFE (Google Apps For Education) account ซึ่งก็คือ PSU Email ที่ใช้อยู่และได้ผ่านขั้นตอน Password Setting (https://webmail.psu.ac.th/src/resetpassword.html) ในหน้าเว็บ https://webmail.psu.ac.th/src/login.php แล้ว แต่อาจใช้ gmail account ที่มีอยู่ก็ได้

    hangoutsonairโดยเริ่มต้นที่ไอคอนรูป Google+ เมื่อมีไฟล์ presentation พร้อม (เช่น Microsoft Powerpoint เป็นต้น) ก็ทำการ share เข้ามาใน hangouts on air ซึ่งเลือกได้ว่าจะแชร์ทั้งหน้าจอหรือเฉพาะ presentation ที่เตรียมไว้ แล้วทำการเริ่มบันทึกวิดีโอ เมื่อเสร็จก็ไปตัดต่อไฟล์บน youtube สนุกมาก ง่ายด้วย

    ถัดไปก็แนะนำ CamStudio Screen Recorder ให้เอาจาก http://sourceforge.net/projects/camstudio/ แต่ให้ระมัดระวังอย่าคลิกที่ปุ่มสีเขียว Download แต่ให้คลิก hyperlink ที่เขียนว่า Browse All Files ข้างใต้ ซึ่งจะเป็นไฟล์ติดตั้งที่ปลอดจาก Adware ครับ camstudio-iconCamStudio นี้ก็เอาไว้ใช้บันทึกหน้าจอที่เราจะบันทึกวิดีโอ ซึ่งเลือกได้เช่นกันว่าจะบันทึกเฉพาะบริเวณใด หรือ ทั้งหน้าจอ เมื่อทำการ Save จะได้ไฟล์ที่มีความคมชัดสูง ไฟล์ชนิด .avi ขนาดค่อนข้างใหญ่ อย่าบันทึกวิดีโอนานเกินไป

    เมื่อได้ไฟล์ชนิด .avi มาแล้ว เราก็นำไฟล์ไปผ่านกระบวนการตัดต่อด้วยโปรแกรม Windows Movie Maker ซึ่งติดตั้งจากที่นี่ Windows Movie Maker 2012 http://windows.microsoft.com/en-us/windows/get-movie-maker-download

    moviemaker-iconเมื่อตัดต่อ เพิ่มเสียงเพลง เพิ่มเสียงคำบรรยาย เพิ่มข้อความคำบรรยาย เพิ่มหน้านำ เพิ่มหน้าจบ เสร็จ ก็มีตัวเลือกให้อัปโหลด youtube ได้เลย

    greenshot-iconสุดท้าย เราก็ได้เรียนรู้โปรแกม Screen Capture ที่น่าใช้มากทีเดียว ชื่อ Greenshot – a free screenshot tool optimized for productivity http://getgreenshot.org/ ใช้งานแทน Snipping Tools ของ Windows ได้ดีกว่า และใช้งานแทน Snagit ที่ต้องจ่ายค่าใช้งานซอฟต์แวร์ได้

    โดยสรุปคือ เราสามารถทำการบันทึกเป็นวิดีโอได้ด้วยโปรแกรม Hangouts on Air จะได้ไฟล์เก็บอยู่ที่ youtube ทันทีแล้วค่อยดาวน์โหลดลงมาตัดต่อก็ได้ หรือ ตัดต่อด้วย Tools บน youtube ก็ได้ เราสามารถเลือกอีกโปรแกรมที่เป็น Client รันบน Windows คือ CamStudio แล้วนำไปตัดต่อด้วย Windows Movie Maker จนเสร็จ แล้วจึง upload ขึ้นบน youtube

  • วิธีใช้เครื่องมือในการเขียนบล็อกใน wordpress

    how-to-add-new-post-in-wordpress

    ผมได้เขียนคำแนะนำวิธีใช้เครื่องมือในการเขียนบล็อกใน wordpress ไป วันนี้อยากนำมาเล่าสู่กันฟังอีกสักรอบ เพราะว่ามีสมาชิกใหม่ๆเข้ามาร่วมเยอะ

    เคยเขียนเรื่อง “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress” (http://sysadmin.psu.ac.th/2012/11/16/km-how-to-authoring-in-wordpress/) Posted on November 16, 2012 by วิบูลย์ วราสิทธิชัย

    อันนี้จะเป็นคำแนะนำวิธีการตั้งชื่อ URL Link เป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่า เราจะตั้งชื่อเรื่องเป็นภาษาไทย ต้องใช้วิธีการ manual ในการแก้ไข

    ตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login (http://sysadmin.psu.ac.th/2013/01/04/set-post-to-private/) Posted on January 4, 2013 by วิบูลย์ วราสิทธิชัย

    อันนี้จะเป็นคำแนะนำวิธีการซ่อนบทความที่ไม่ต้องการเปิดเผยเนื่องจากเป็นข้อมูลเฉพาะเจาะจงในม.อ. เช่น workshop PSU Passport Authentication อย่างนี้กำหนดค่าให้ login ก่อนจึงอ่านได้

    และวันนี้มีมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมครับว่า เราสามารถใส่รูปภาพ เพื่อเป็นรูปแรกสำหรับหน้าบล็อกเรื่องที่เขียนครับ โดยคลิกที่คำว่า Set featured Image อยู่ด้านขวามือข้างล่างหน้าบล็อกที่กำลังเขียน ให้อัปโหลดรูป (ต้องย่อขนาดรูปให้เล็ก ประมาณสัก กว้าง 130px สูง 130px ด้วยเครื่องมือตกแต่งรูปที่ใช้เป็น ก่อนอัปโหลดนะครับ) ขึ้นไปเก็บบน sysadmin.psu.ac.th แล้วคลิกเลือกมาใช้ ลืมบอกไปว่า Featured Image จะโผล่ในหน้าแรก (Home)

    ลองใช้งาน ติดขัดอย่างไรก็สอบถามมานะครับ

     

  • Workshop “PSU12-Sritrang Server for Cloning PC”

    กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ศูนย์คอมพิวเตอร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “PSU12-Sritrang Server for Cloning PC”

    วันที่ 8 พ.ย. 56 เวลา 09.00-16.00น. ที่ห้อง Training Room ชั้น 3 ตึก LRC ม.อ.หาดใหญ่

    เหตุผล
    1.เพื่อเผยแพร่เทคนิคในการ Cloning PC ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ ด้วยชุดโปรแกรมชื่อว่า PSU12-Sritrang ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็น server ที่ทำจาก Linux Ubuntu Server และเขียนโปรแกรมเพิ่มเพื่อให้ผู้ดูแลระบบทำงานได้ สะดวก ง่ายขึ้นมากๆ ด้วยเทคนิคการใช้โปรแกรม Dialog และเพิ่มเติมระบบอัตโนมัติในการติดตั้ง PSU12-Sritrang Server ด้วยแผ่นติดตั้ง ทำให้ผู้ดูแลระบบติดตั้งเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว
    2.เพื่อค้นหา Bug ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ในงานประชุม WUNCA28 ในเดือนมกราคม 2557

    กลุ่มเป้าหมาย
    ผู้ดูแลระบบที่ดูแลห้องบริการคอมพิวเตอร์ของคณะทุกวิทยาเขตของม.อ. จำนวน 25 คน

    ลักษณะของ workshop
    1.เรียนรู้วิธีการติดตั้ง PSU12-Sritrang Server โดยการใช้เครือข่ายจำลอง (ติดตั้งลงไปใน Oracle VM Virtualbox บนระบบปฏิบัติการ Windows ของเครื่อง PC ในห้อง Training Room)
    2.เรียนรู้วิธีการตั้งค่าทำเครื่อง Windows 7 ต้นฉบับ
    3.เรียนรู้วิธีการ Cloning PC และควบคุมเครื่อง PC ในห้องบริการคอมพิวเตอร์

    วิทยากร
    1.นายวิบูลย์ วราสิทธิชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
    2.นายเกรียงไกร หนูทองคำ นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    3.นายวิศิษฐ โชติอุทยางกูร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อาหารมังสวิรัติ)

    ผู้สนใจให้อีเมลแจ้งเข้าร่วมที่ wiboon.w@psu.ac.th ครับ

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม

    1. โฆษิต ช่วยชูฤทธิ์  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    2. ธีรพงศ์ ชื่นจิตร  ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.
    3. ศุภกร เพ็ชรรัตน์  คณะทันตแพทยศาสตร์
    4. ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล  คณะวิทยาการจัดการ
    5. ทวีศักดิ์ รักษ์สุวรรณ  สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
    6. โกศล โภคาอนนต์  ศูนย์คอมพิวเตอร์
    7. นิติ โชติแก้ว  คณะการแพทย์แผนไทย
    8. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์  คณะทันตแพทยศาสตร์
    9. บัณฑิต ชนะถาวร  คณะทันตแพทยศาสตร์
    10. จรัล บูลวิบูรณ์  คณะศิลปศาสตร์
    11. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ  คณะเภสัชศาสตร์
    12. ธีรวัฒน์  แตระกุล  คณะเภสัชศาสตร์
    13. ธีรพันธุ์ บุญราช  คณะเภสัชศาสตร์
    14. นิรุตต์ เจริญพร  ม.อ.สุราษฎร์ธานี
    15. ขวัญยืน ปานโม  ม.อ.สุราษฎร์ธานี
    16. สมพงศ์ หุตะจูฑะ  สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
    17. เอกภพ ถาวรจิตร  สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (อาหารมังสวิรัติ)
    18. กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์  สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ (อาหารมังสวิรัติ)
    19. วสันต์ แซ่แยะ  นักศึกษาฝึกงาน สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ
    20. อาทิตย์ อรุณศิวกุล  คณะศิลปศาสตร์
  • ติว (อบรมเชิงปฏิบัติการ) เรื่อง “System Monitoring & Backup Guide สำหรับผู้ดูแลระบบ”

    กิจกรรมของ CoP PSU IT รายการสุดท้ายของปีงบประมาณ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “System Monitoring & Backup Guide สำหรับผู้ดูแลระบบ” เป็นการนำเสนอเรื่องที่เตรียมมา ผู้เข้าร่วมนำโน้ตบุ๊คมาก็จะได้ลองทำตามดู และแลกเปลี่ยนถามตอบกันในประเด็น

    วันที่ 6 ก.ย. 2556 เวลา 09.00-16.00 น. ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ตึก LRC ม.อ.หาดใหญ่
    (อัปเดตล่าสุด ช่วงบ่ายลง lab จะใช้เครื่องคอมห้อง training room ชั้น 3 ครับ)

    System Monitoring = ผมคิดว่าน่าจะเป็นซอฟต์แวร์/วิธีการที่เราเลือกว่า ดีและเหมาะ สำหรับ ผู้ดูแลที่ติดตั้ง server ขึ้นมา 1 เครื่อง แล้วต้องใช้มันทุกวัน จะโดยอัตโนมัติ หรือ นั่งดูแบบ real time

    Backup Guide = ผมคิดว่าน่าจะเป็นวิธีการ/หลายๆเทคนิค ทั้งบน linux และ windows ว่า ใครที่ติดตั้ง server ขึ้นมา 1 เครื่อง ต้อง backup อะไรบ้าง เผื่อเมื่อเครื่องเสียหาย เช่น backup OS, user account, config file, website, database เป็นเบื้องต้น

    รายละเอียด
    09.00-09.40น. นำเสนอ เรื่อง “ระบบ ตรวจจับ POP3 Brute Force Attack กับ ระบบตรวจจับผู้ใช้ PSU Email ที่ถูกหลอกเอารหัสผ่านไป” โดย คณกรณ์ หอศิริธรรม/แลกเปลี่ยนความเห็น
    09.40-10.20น. นำเสนอ เรื่อง การสำรองข้อมูล web site ด้วย TAR เช่น mediawiki, wordpress เป็นต้น โดย วิบูลย์ วราสิทธิชัย และ การสำรองข้อมูล file server ด้วย RSYNC โดย กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์/แลกเปลี่ยนความเห็น
    10.20-10.40น. พัก (รับประทานอาหารว่างร่วมกัน)
    10.40-11.00น. นำเสนอ เรื่อง การดูแลระบบของคณะแพทยศาสตร์ โดย โกเมน เรืองฤทธิ์/แลกเปลี่ยนความเห็น
    11.00-12.00น. นำเสนอ เรื่อง การดูแลระบบของศูนย์คอมพิวเตอร์ โดย จตุพร ชูช่วย/แลกเปลี่ยนความเห็น
    12.00-13.00น. พักเที่ยง (รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน)
    13.00-16.00น. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจสอบการทำงานของเครื่องแม่ข่ายด้วยโปรแกรม Nagios โดยใช้ CentOS 6 + Epel โปรแกรมเสริม NRPE, NAGIOSQL (ตอนที่ 1) โดย จตุพร ชูช่วย และทีมงาน(เกรียงไกร หนูทองคำ)

    หากสนใจเข้าร่วม โปรดอีเมลมาที่ wiboon.w@psu.ac.th ครับ

    รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม

    1. ทวีศักดิ์ รักษ์สุวรรณ    สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
    2. วิศิษฐ โชติอุทยางกุร    คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    3. นิติ โชติแก้ว    คณะการแพทย์แผนไทย
    4. สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    5. สุทิศา จรียานุวัฒน์   คณะทันตแพทยศาสตร์
    6. จรรยา เพชรหวน    คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    7. ยุวภา โฆสกิตติกุล    คณะทรัพยากรธรรมชาติ
    8. จันทนา เพ็ชรรัตน์    สำนักวิจัยและพัฒนา
    9. นาลิวัน หีมเห็ม    สำนักวิจัยและพัฒนา
    10. ศุภางค์   อุลมัย    คณะทันตแพทยศาสตร์
    11. มงคล ทองเพชรคง    คณะทันตแพทยศาสตร์
    12. มาโนช จันทรวัฒน์    คณะทันตแพทยศาสตร์
    13. ศานิต แก้วเสถียร    โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
    14. ศุภกร เพ็ชรรัตน์    คณะทันตแพทยศาสตร์
    15. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ    คณะเภสัชศาสตร์
    16. ปรีชา  ศรีมนัสรัตน์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    17. ภัทธ์ เอมวัฒน์    ม.อ.ปัตตานี (สำนักวิทยบริการ)
    18. สมพงศ์ หุตะจูฑะ    สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
    19. เอกภพ ถาวรจิตร    สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    20. โกศล โภคาอนนต์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    21. ณัฏฐิกา หัตถกรรม    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    22. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ    บัณฑิตวิทยาลัย
    23. สุนิสา จุลรัตน์    สถาบันสันติศึกษา
    24. อานนท์ เหมือนกู้    ม.อ.ปัตตานี (วิทยาลัยอิสลามศึกษา) (อาหารมุสลิม)
    25. อัซมิง เซะ    ม.อ.ปัตตานี (วิทยาลัยอิสลามศึกษา) (อาหารมุสลิม)
    26. สัตยา บุญรัตนชู    ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
    27. ฮัมดัน มะเซ็ง    ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
    28. กิตติศักดิ์ แก้วเนียม    ม.อ.ปัตตานี (สำนักวิทยบริการ)
    29. ปิยะวัชร์ จูงศิริ    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    30. พัฒนาวดี ศิวติณฑุโก    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    31. ธีรเดช เขมะธีรรัตน์    คณะทันตแพทยศาสตร์
    32. ธีรพันธุ์ บุญราช    คณะเภสัชศาสตร์
    33. ขวัญยืน ปานโม    ม.อ.สุราษฎร์ธานี (ศูนย์สนเทศและการเรียนรู้)
    34. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    35. สราวุฒิ เลิศล้ำไตรภพ    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    36. ศรายุทธ จุลแก้ว    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    37. อำนาจ สุคนเขตร์    ม.อ.ปัตตานี (สำนักวิทยบริการ)
    38. อนันต์ คาเรง    ม.อ.ปัตตานี (สำนักวิทยบริการ) นักศึกษาฝึกงาน (Q)
    39. สหภาพ หีมเขียว    คณะพยาบาลศาสตร์

    หมายเหตุ Q คือ โควต้าบุคคลภายนอก

  • ติว “แนะนำและสอนการพัฒนาเบื้องต้นเกี่ยวกับ Application บนมือถือด้วย PhoneGap โดยใช้ HTML5 & Jquery Mobile”

    กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป ติว “แนะนำและสอนการพัฒนาเบื้องต้นเกี่ยวกับ Application บนมือถือด้วย PhoneGap โดยใช้ HTML5 & Jquery Mobile” เป็นการบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรม วันที่ 30-31 ก.ค. 56 เวลา 09.00-16.00 น. ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 3 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ตึก LRC ม.อ.หาดใหญ่ (รับจำนวน 50 คน)

    PhoneGap is a free and open source framework that allows you to create mobile apps using standardized web APIs for the platforms you care about.

    ท่านที่สนใจให้สมัครโดยส่งอีเมลมาที่ wiboon.w@psu.ac.th

    เนื้อหา
    วันแรก
    – เทคโนโลยีพื้นฐานของโมบายเว็บ
    – การพัฒนาโปรแกรมสําหรับมือถือ
    – เทคโนโลยีพื้นฐานของโมบายเว็บ
    – jQuery Mobile (JQM)
    – การติดตั้งเครื่องมือสำหรับพัฒนา Application บนมือถือโดยใช้ PhoneGap API
    วันที่สอง
    – PhoneGap Framework
    – PhoneGap sample workshop

    ทีมวิทยากร
    วิทยากร นายวิทยา พันดวง บริษัทพัฒนาซอร์ฟแวร์ส่วนตัว
    ผู้ช่วยวิทยากร ทวีศักดิ์ ปัญญาใส บริษัทพัฒนาซอร์ฟแวร์ส่วนตัว
    ผู้ช่วยวิทยากร พัฒนาวดี ศิวติณฑุโก คณะวิศวกรรมศาสตร์

    ประวัติวิทยากรประวัติการศึกษา
    ปริญญาตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ประวัติการทำงาน
    1.ผู้ช่วยวิจัยโครงการพัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศ NBIDS-BRT สังกัด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ BIOTEC
    2.พัฒนาฐานข้อมูล GGIS ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศสำหรับครูทั่วประเทศ พัฒนาร่วมระหว่างสสวท. และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ประวัติการเป็นวิทยากร
    1.อบรมการพัฒนาฐานข้อมูลบนเว็บด้วย PHP และ Google Maps API
    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
    2.อบรมการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย Yii Framework (PHP Framework)
    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
    3.อบรมการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย Yii Framework (PHP Framework)
    สถาบัน STEC อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
    4.อบรมการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย Yii Framework (PHP Framework)
    สำนักงานใหญ่ สรรพากรภาค 11 จ.สุราษฎร์ธานี
    5.อบรมการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ ด้วย Access และ Google Earth
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    6.อบรมการพัฒนา Application บน Android เบื้องต้น ให้อาจารย์และนักศึกษา
    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
    7.อบรมการพัฒนา Application บน Android เบื้องต้น ให้บุคลากรและนักศึกษา
    ณ ฝ่ายคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

    รายชื่อผู้สมัครเข้าร่วม

    1. ดุษณี  โสภณอดิศัย    คณะนิติศาสตร์
    2. กัมปนาท โชติกุล    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    3. ชาตรี คู่ณรงค์นันทกุล    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    4. ภัทธ์ เอมวัฒน์    สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    5. กิตติศักดิ์ แก้วเนียม   สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    6. ศิลประภา ศิลปรัตน์    สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี
    7. คณกรณ์ หอศิริธรรม    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    8. เกรียงไกร หนูทองคำ    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    9. เอกภพ  ถาวรจิตร    สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกะวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ)
    10. กิตติพัฒน์  อุบลกาญจน์    สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกะวีสุนทร
    11. นิติ โชติแก้ว    คณะการแพทย์แผนไทย
    12. จีรศักดิ์ สายนาค    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    13. อรยา ธีระประภาวงศ์    นักศึกษาฝึกงานคณะการแพทย์แผนไทย (Q)
    14. ธีระยุทธ์ ประสมพงศ์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    15. ธนานันต์ วุฒิสิทธ์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    16. วชิรวิชญ์  จิวานิจ    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    17. วรรณวรางค์ จิตผิวงาม    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    18. โกวิทย์ แซ่เล้า    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    19. ปรีชา  ศรีมนัสรัตน์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    20. สุนิสา จุลรัตน์    สถาบันสันติศึกษา
    21. สุวัฒน์ อนันตคุณูปกร    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    22. สราวุฒิ  เลิศล้ำไตรภพ    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    23. กิตติพงศ์ เซ่งลอยเลื่อน    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
    24. ลภัสรดา ศิริไพบูลย์ สงสุข   คณะวิศวกรรมศาสตร์
    25. จตุพร ชูช่วย    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    26. วิมลรัตน์ แดงสุวรรณ    บัณฑิตวิทยาลัย
    27. พรจรัส สุทธินันท์    คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.อ.
    28. สัมฤทธิ์  ฤทธิภักดี    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    29. สมชาย วนะธนศิลป์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    30. ไพโรจน์ กุลบุตร    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    31. พีรพล แซ่ไล่    บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (Q)
    32. พงศธร ทองราช    คณะแพทยศาสตร์
    33. สมคิด อินทจักร    คณะแพทยศาสตร์
    34. ศรายุทธ  จุลแก้ว    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    35. นวมน  อ่อนเจริญ    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    36. พิมประภา  จันทร์แก้ว    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    37. ธันวา  เจ๊ะอาแว    ศูนย์สื่อการเรียนรู้ (อาหารมังสวิรัติ)
    38. รัตนา  สุวรรณการ    ศูนย์สื่อการเรียนรู้
    39. นวพล เทพนรินทร์    ศูนย์คอมพิวเตอร์
    40. คฑาวุธ ถวัลย์วิลาสวงศ์    นักศึกษาปริญญาโท สาขา MIT ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Q)
    41. กู้สกุล วรรณบวร    คณะพยาบาลศาสตร์
    42. ณัฐพงษ์ หนิมุสา    กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี (อาหารอิสลาม)
    43. ศิริพงษ์ ศิริวรรณ    คณะเภสัชศาสตร์
    44. ดุษฏี บัวสกุล    บริษัท พิธานพาณิชย์ จำกัด (Q)
    45. เสกสรร  มาลานุสรณ์    คณะศิลปศาสตร์
    46. มงคล ทองเพชรคง    คณะทันตแพทยศาสตร์
    47. ศุภางค์ อุลมัย    คณะทันตแพทยศาสตร์
    48. วิศิษฐ โชติอุทยางกูร    คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ)
    49. ราชศักดิ์ บูรณะพาณิชย์กิจ    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    50. วิบูลย์ วราสิทธิชัย    ศูนย์คอมพิวเตอร์

    ปิดรับสมัครเนื่องจากที่นั่งเต็มแล้ว

    หมายเหตุ Q คือ โควต้าบุคคลภายนอก