Category: CMS (Joomla!, Moodle, Wordpress)

  • วิธีการแก้ปัญหา JAuthentication::__construct: Could not load authentication libraries ใน joomla 2.5

    สวัสดีครับวันนี้มาเขียนเรื่องการแก้ปัญหา joomla version 2.5 ที่ผู้ใช้ไม่สามารถ login เข้า back end ได้ ดัง error ที่ปรากฏดังนี้ JAuthentication: :__construct: Could not load authentication libraries ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นหากเป็น joomla version 1.5.xx  เก่าๆ ก็ไป jos_login  ซึ่งหาเจอง่ายมาก แต่นี่เวอร์ชั่นใหม่มันไปหลบซ่อนอยู่ที่   rwyai_extensions > plg_authentication_joomla (อยู่หน้าที่3)>เลือก edit ปรับ enable จาก 0 ให้เป็น 1 และก็ save จากนั้นท่านก็จะสามารถเข้าไปใช้งานฝั่ง back end ของ joomla 2.5 ได้เหมือนเดิมแล้วครับ

  • วิธีย้ายบล็อก wordpress ไปเครื่องใหม่ชื่อโดเมนเนมใหม่

    บันทึกขั้นตอน (ตัวอย่าง) ในการย้ายบล็อก wordpress จากเครื่องเดิม sysadmin.in.psu.ac.th ไปยังเครื่องใหม่ โดเมนเนมใหม่ sysadmin.psu.ac.th เนื่องจากเครื่องเดิมจะมี resources ไม่เพียงพอ และต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมอันใหม่ที่หลายคนว่าดูเหมาะสมและชื่อสั้นกว่า งานนี้บอกได้เลยว่าเล่นเอาเหงื่อตกเลย เพราะคิดว่าย้ายแบบ Joomla! ก็น่าจะได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ไม่ได้ครับ สุดท้ายสำเร็จกับการติดตั้ง Duplicator Plugin ไว้ที่เครื่องเดิมก่อน แล้วสร้าง backup ไว้นำมา restore ลงในเครื่องใหม่

    เนื้อหาค่อนข้างยาวสักนิด ผมมีเจตนาอยากให้เห็นว่าการทำเว็บไซต์ขึ้นมาหนึ่งอัน เราต้องใช้ความรู้พอสมควร และที่ทำส่วนใหญ่ก็อ่านจากเว็บไซต์ของพี่วิภัทร นั่นคือ opensource.psu.ac.th นี่แหล่ะครับ

    1. เริ่มต้นจากกำหนดจำนวน resources ที่จำเป็นใช้ เพราะว่าจะไปขอใช้ Virtual Machine ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ขอไว้คือ RAM 2 GB, Hard disk 40 GB, OS Ubuntu 12.04.1, TCP Port 80,443
      แล้วกรอกในแบบฟอร์ม
    2. งานบริการเซิร์ฟเวอร์ก็สร้าง VM ให้ที่ทำการอัปเดต OS ให้แล้ว แจ้ง username ให้เข้าใช้งานผ่าน ssh
    3. เมื่อ ssh เข้าได้แล้ว เข้าทำงานในสิทธิ root ด้วยคำสั่ง
      sudo su –
    4. ทำการติดตั้ง Apps ที่จำเป็น ผมเลือก LAMP คือชุดรวมของ Linux, Apache, MySQL และ PHP ที่จำเป็นต้องใช้กับ wordpress ด้วยคำสั่ง
      tasksel
      เลือก LAMP
      จะมีคำถาม รหัสผ่านของ MySQL root ให้ตั้งที่จะจำได้
    5. ติดตั้งส่วนเพิ่มเติมของ php เพิ่มด้วยคำสั่ง
      apt-get install php5-gd php5-imap php5-ldap php5-radius
    6. ติดตั้ง unzip เพิ่มด้วยคำสั่ง
      apt-get install unzip
    7. ปรับแต่ง apache2 ให้ใช้งานแบบ module rewrite
      sudo a2enmod rewrite
    8. ต่อไปก็มาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ http และ redirect http โดยแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default
      <VirtualHost *:80>
      ServerAdmin webmaster@localhost
      ServerName sysadmin.psu.ac.th           <==== เพิ่มบรรทัดนี้
      DocumentRoot /var/www/wordpress

      <Directory /var/www/wordpress>
      Options Indexes FollowSymLinks MultiViews
      AllowOverride All             <==== แก้ไขบรรทัดนี้จาก None เป็น All
      Order allow,deny
      allow from all
      </Directory>
      …     ที่เหลือเหมือนเดิม
      </VirtualHost>
      เพิ่มบรรทัดข้างล่างนี้ เพื่อให้ยังคงมีการ redirect ไปยังที่ใหม่หากใช้ชื่อเก่า
      <VirtualHost *:80>
      ServerName sysadmin.in.psu.ac.th
      Redirect / http://sysadmin.psu.ac.th/
      </VirtualHost>
    9. ต่อไปมาถึงเรื่องการปรับแต่ง apache2 ให้มี Virtual host แบบเปิด port สำหรับ https
      สั่งเปิด module ssl ด้วยคำสั่ง
      a2enmod ssl
      คัดลอกแฟ้ม PSU SSL certificates (file_a.crt, file_b.key และ file_c.ca-bundle) มาเก็บไว้ในไดเรกทอรีที่สร้างนี้
      mkdir -p /etc/apache2/ssl
      mv /home/username/file_* /etc/apache2/ssl/
      แล้วปรับเปลี่ยนสิทธิของแฟ้มด้วยคำสั่ง
      chown -R root:root /etc/apache2/ssl/file_*.*
      chmod 600 /etc/apache2/ssl/file_*.*
      แล้วแก้ไขไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default เพื่อจัดการเกี่ยวกับ https และ Certificates
      เพิ่มบรรทัดต่อท้ายไฟล์
      NameVirtualHost *:443
      <VirtualHost *:443>
      DocumentRoot /var/www/wordpress
      ServerName sysadmin.psu.ac.th
      SSLEngine on
      SSLCertificateFile /etc/apache2/ssl/file_a.crt
      SSLCertificateKeyFile /etc/apache2/ssl/file_b.key
      SSLCertificateChainFile /etc/apache2/ssl/file_c.ca-bundle
      </VirtualHost>
    10. ต้องสั่งรีสตาร์ท apache2 ดังนี้
      service apache2 restart
      (more…)
  • KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress

    KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress ในวันนี้จะเล่าให้ฟังถึงเรื่องต่างๆดังนี้

    การเขียนเนื้อเรื่อง

    1. หลังจากมีเรื่องที่จะเขียน ให้ login เข้า โดยไปที่เมนูด้านบน “เขียนเล่าเรื่อง”
      คลิก Add New
      ที่ช่องตั้งชื่อเรื่อง ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นภาษาไทย เช่น เรื่องที่เขียนนี้คือ
      “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress”
      ผมก็ตั้งเป็นว่า
      “KM How to authoring in wordpress”
      แล้วสังเกตที่บรรทัด Permalink มันตั้งให้เสร็จ สวยด้วย
      แล้วกลับไปแก้ไขเป็นชื่อภาษาไทย
    2. ตัวเอดิเตอร์ที่ใช้งานสามารถทำฟังก์ชันนี้ได้ คือ หากข้อความที่เขียนยาวมากๆ แนะนำให้ใช้เครื่องมือ Insert More Tag เพื่อแทรกแบ่งไปหน้าถัดไป
    3. อย่าลืมเพิ่ม Categories ของเรื่อง อยู่ทางด้านขวามือนะครับ
      รวมถึงเพิ่ม Tags ด้วยเพื่อใช้เป็นคำค้นนั่นเอง แล้วคลิก Add ด้วย
    4. โปรแกรม WordPress สามารถเก็บข้อความรอให้เขียนครบถ้วนก่อน เรียกว่า Save Draft ทำให้ได้ผลงานมากขึ้น
    5. คลิก View Post เพื่อดูว่าหากเผยแพร่โดยคลิก Publish แล้วผู้ใช้ทั่วไปจะเห็นอย่างไร
    การปรับแต่ง
    1. สำหรับ Profile ของผู้เขียน ถ้าใส่รายละเอียดในช่อง Biographical Info (อยู่ด้านล่าง) ไว้ เมื่อเผยแพร่ Post ไปแล้ว ผู้อ่านทั่วไปจะเห็นว่าผู้เขียนคือใคร มีอะไรที่ผู้เขียนอยากให้รู้เกี่ยวกับผู้เขียน และ
      อย่าลืมใส่รูปภาพที่คลิก Update Picture ด้วย หรือหากเคยสมัคร GRvatar ไว้แล้วก็ไม่ต้อง wordpress จะไปเอารูปภาพมาใส่ให้เอง
  • Joomla Folder 777

    • ก่อน เปลี่ยนต้องเปลี่ยน Site Offline เป็น yes ก่อนทุกครั้ง โดยการแก้ configuration.php แก้ไขบรรทัดที่เขียนว่า public $offline = ‘0’; เปลี่ยนเป็น public $offline = ‘1’;
    • โฟลเดอร์ที่ต้องเปลี่ยน permission เป็น 777 หรือเปลี่ยนให้ apache (www-data สำหรับ ubuntu) เป็นเจ้าของในระหว่างติดตั้ง component, module, language ได้แก่ (more…)
  • แล้วจะ Login เข้ามาเขียน Blog ได้ยังไง ??

    วิธีการคือ คลิกที่ “เขียนเรื่องเล่า” แล้วจึงพบปุ่ม Login

  • WordPress 3.4.2

    ผมสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็น portal แบบ Single Blog + Multiuser สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้กันในหมู่ PSU sysadmin ทำดังนี้

    1. เตรียมเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อม ระบบปฏิบัติการใช้ ubuntu, ติดตั้ง apache web server, ติดตั้ง mysql server และ php
    2. สร้าง database สำหรับ wordpress ที่ต้องการติดตั้ง
    3. แล้วกำหนดสิทธิ์การใช้ database
    4. ไปดาวน์โหลดรุ่นล่าสุดในขณะนี้คือ 3.4.2 ที่นี่ http://th.wordpress.org/wordpress-3.4.2-th.tar.gz
    5. เริ่มต้นตั้งค่าโดยใช้ไฟล์ตัวอย่าง wp-config-sample.php คัดลอกเป็นอีกไฟล์ wp-config.php
      แล้วใส่ค่า database name, user name, user password
    6. เข้าใช้งานครั้งแรกที่ http://servername/wordpress
    7. กำหนดค่าเริ่มต้น และชื่อที่จะเป็น admin
    8. เข้าใช้งานในชื่อที่มีสิทธิเป็น admin
    9. ปรับแต่ง timezone และค่าบางตัว
    10. ขอจดชื่อโดเมนเนม sysadmin.in.psu.ac.th เพื่อเป็น virtual host แทนการใช้ชื่อเครื่องจริง แก้ไขในไฟล์ /etc/apache2/sites-available/default
    11. ตอนนี้ตั้งค่าให้สามารถใช้ชื่อ URL http://sysadmin.in.psu.ac.th ได้แล้ว
    12. ติดตั้ง template Theme ใหม่ ชื่อ Theme Twenty Twelve ชื่อไฟล์ twentytwelve.1.0.zip
      และต่อไปก็เป็นการติดตั้งปลั๊กอิน (Plugins) เพื่อปรับแต่งสำหรับทำเรื่องต่างๆ
    13. สร้างบัญชีผู้ใช้งานทีละคน และติ๊กเลือกให้ wordpress ส่งอีเมลไปแจ้งว่าได้รับสิทธิเป็นผู้เขียนแล้ว
      และปรับแต่งค่าตัวเลือกให้แสดงชื่อ นามสกุล แทน username
    14. เพิ่ม self-signed certificate โดยขอ signed กับ PSU CA แล้วคอนฟิก apache2 web server ใหม่ คราวนี้เมื่อเข้าเว็บไซต์จะไม่ฟ้องว่าไม่ปลอดภัยอีกแล้ว แต่เบราว์เซอร์ต้องเคยลง PSU CA จากหน้าเว็บไซต์ passport.psu.ac.th ด้วยนะ

    ติดตั้งปลั๊กอิน

    • จัดให้ wordpress ทำการ authen กับ ldap server โดยใช้ปลั๊กอิน Simple LDAP Login (simple-ldap-login.1.4.0.5.1.zip)
      เลือกกำหนดค่าให้เข้ากับ AD ของมหาวิทยาลัย
      เลือกอนุญาตผู้ใช้งานเฉพาะราย ตั้งตัวเลือก Authenticate WordPress users against LDAP. I will create the accounts in wordpress myself. (default)
    • เปลี่ยนเอดิเตอร์ที่ใช้เขียนจากเดิม TinyMCE มีปุ่มให้ทำงานน้อยเป็นแบบปุ่มสำหรับทำ HTML เยอะกว่า ด้วยปลั๊กอิน Ultimate TinyMCE (ultimate-tinymce.zip)
    • ติดตั้งปลั๊กอิน User Avatar (user-avatar.zip) เพื่อให้แสดงรูปผู้เขียนด้วย
    • จัดให้ใช้ https สำหรับหน้า login และในโหมดผู้เขียนหรือ admin โดยใช้ปลั๊กอิน WordPress HTTPS (wordpress-https.3.2.1.zip)
    • สร้างฟอร์มสำหรับติดต่อกับทีมงานผู้เขียน ด้วยปลั๊กอิน Fast secure contact form (si-contact-form.zip)  เพื่อทำตัวฟอร์ม และปลั๊กอิน Contact Form to DB Extension (contact-form-7-to-database-extension.2.4.3.zip) เพื่อเก็บข้อมูลจากฟอร์มลงฐานข้อมูล
    • ติดตั้งปลั๊กอิน Facebook (facebook.zip)
    • ติดตั้งปลั๊กอิน Send From (send-from.1.3.zip) เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในช่อง From จากเดิม wordpress@sysadmin.in.psu.ac.th ใช้งานไม่ได้เพราะเซิร์ฟเวอร์นี้ไม่ได้เป็น mailbox user agent ไปเป็น อีเมลที่ใช้ได้จริง
    • ติดตั้งปลั๊กอินเพื่อแบ็กอัพฐานข้อมูล (เท่านั้น) คือ ปลั๊กอิน WordPress Database Backup (wp-db-backup.2.2.3.zip) ยังสงสัยว่าทำไมมันไม่แบ็กอัพไฟล์ด้วย ต้องใช้อันอื่นเพิ่ม
    • ติดตั้งปลั๊กอินเพื่อโคลนนิ่งเครื่องนี้ไปยังเครื่องใหม่ เรียกว่าย้ายบล็อก wordpress ข้ามเครื่องกันเลยทีเดียว ต้องใช้ปลั๊กอิน Duplicator (duplicator.0.3.2.zip) เพราะว่าต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนเนมจาก sysadmin.in.psu.ac.th ไปเป็นชื่อใหม่คือ sysadmin.psu.ac.th