Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL

จาก Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress ทำให้ได้ WordPress ซึ่งเป็น Web Application 2 เครื่องทำหน้าที่ Load Balance กัน ด้วย haproxy แล้ว จากนั้น ทำการเพิ่ม MySQL เข้าไปใหม่ แล้วตั้ง Application Name เป็น mysql-slave แล้ว Commit Chages จากนั้น สร้าง Relation เป็น mysql:master –> mysql-slave:slave เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ผลอย่างนี้ ทดสอบเพิ่ม Post ใหม่ แล้วเข้าไปใน mysql-slave (juju-xxx-xx เป็นชื่อเครื่องที่ Juju สร้างขึ้น) lxc exec juju-xxxx-xx  bash แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้ mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e ‘use wordpress; select post_title from wp_posts;’ ก็จะพบว่า mysql-slave ได้รับการ Update ตามไปด้วย บทความต่อไป จะกล่าวถึงวิธีการทำให้ WordPress สามารถใช้ mysql-slave ในการ Read ได้ เพื่อกระจายโหลดครับ  

Read More »

Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress

ในบทความนี้ จะแสดงวิธีการใช้ Juju เพื่อติดตั้ง WordPress พร้อมแสดงวิธีการเฝ้าระวังด้วย Nagios และ การ Scale Out เริ่มต้นจากคลิกที่ รูปเครื่องหมายบวก (+) สีเขียว ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า “wordpress” แล้วคลิก Enter จะปรากฏผลการค้นหา สิ่งนี้เรียกว่า Charm ซึ่งเป็น Image ของระบบปฏิบัติการ พร้อมทั้งการ Setup สิ่งที่เราต้องการมาให้เลย ในภาพให้คลิกที่คำว่า WordPress ด้านซ้ายมือ จากนั้น คลิก Add to canvas ต่อไป ทำซ้ำ โดยการค้นหาสิ่งต่อไปนี้ haproxy, mysql, nagios แล้วจัดระเบียบให้สวยงามตามต้องการ จากนั้น ลากเส้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน Juju จะสร้างการเชื่อมต่อต่างๆให้เองอัตโนมัติ ในภาพ จะเป็นการตั้งค่าให้ haproxy ทำหน้าที่เป็น Load Balance ให้ WordPress ซึ่งจะเกิดขึ้นอีกหลายเครื่องในอนาคต และ WordPress ก็จะเชื่อมต่อกับ MySQL นอกจากนั้น ก็มี Nagios ที่จะเฝ้าระวัง WordPress และ MySQL เมื่อลากเส้นเชื่อมโยงเสร็จแล้ว คลิก Commit Changes ด้านขวามือล่าง จากนั้นคลิกปุ่ม Deploy หลังจากนั้น Juju จะไปเรียก Image มาติดตั้ง และสร้างความสัมพันธ์ของระบบที่เราออกแบบไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะได้ผลดังภาพ ต่อไปคลิกที่ haproxy แล้วคลิกคำว่า Expose เพื่อบอกให้ระบบนี้สามารถเข้าถึงจากภายนอกได้ ใน Expose ให้เลือก On ระบบจะแสดง IP Address ให้ ในที่นี้คือ 10.107.107.215 ซึ่งจะเข้าถึงโดยใช้ TCP Port 80 ที่ Nagios ก็เช่นกัน ให้ Expose เป็น On แล้วจะเข้าถึงได้จาก IP 10.107.107.95 จากนั้น คลิก Commit Changes ที่ IP Address 10.107.107.215 ก็จะพบการเริ่มต้นใช้งาน wordpress ทันที เริ่มจาก เลือกภาษา แล้วคลิก Continue จากนั้น ตั้ง Site Title, Username ที่จะเข้าใช้, Password, email address แล้วคลิก Install WordPress แค่นี้ก็ใช้ wordpress ได้แล้ว ที่ Nagios ก็จะสามารถใช้งานได้ที่ IP 10.107.107.95 (วิธีการเข้าใช้งาน มี Username/Password ที่กำหนดไว้แล้ว) ใน Nagios คลิก Service เพื่อเฝ้ารายละเอียดของ Service ต่างๆ   ใน Nagios คลิกที่ Map เพื่อดูผังการเชื่อมต่อ เมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มเครื่อง WordPress เพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากขึ้นได้ โดยใน Juju คลิกที่ WordPress แล้วคลิก Scale จากนั้นให้เพิ่มเครื่องไปอีก 1 เครื่อง แล้วคลิก Confirm จากนั้นคลิก Commit Changes รอสักครู่ ก็จะพบว่า ใน Nagios ก็จะเพิ่มเครื่องใหม่ในการเฝ้าระวังให้เองอัตโนมัติด้วย จะง่ายไปไหน?  

Read More »

บาง plugin ก็ไม่อัปเดตขึ้นตาม WordPress

plugin ชื่อ member access (member-access.1.1.6.zip) ทำให้ในขณะนี้ไม่สามารถเพิ่มบทความที่ให้เฉพาะสมาชิกอ่านได้เท่านั้น แต่ต้องเปิดเป็น public ได้อย่างเดียว มิฉะนั้นในหน้าแรก (Home) จะไม่เป็นหน้าว่าง ๆ ต้อง login จึงเห็นบทความทุกเรื่องได้    

Read More »

อย่าเชื่อ Tools จนเกินไป : กรณี joomscan

ได้ยินหลายคนพูดถึงการใช้งานตรวจสอบ Website โดยเฉพาะ Joomla โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า joomscan ก็เลยลองติดตั้ง และ ทำการทดสอบกับ Web Server ใน VirtualBox ที่มีช่องโหว่ JCE ที่เจาะได้แน่ๆ เพื่อดูว่าเครื่องมือนี้ทำงานอย่างไร   ทำการโจมตีจาก Kali Linux ไปยังเครื่องเป้าหมาย ด้วย joomscan   รายงานผลแจ้งว่า joomscan มีการ Update ล่าสุด เมื่อ Oct 22, 2012 นั่นคือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว รายผลที่แจ้งช่องโหว่ ที่เจาะได้ มีดังนี้ แสดงให้เห็นว่า ด้วย Tools ตัวเดียวอาจจะไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ระบบของเราปลอดภัยหรือไม่ ฝากไว้พิจารณาครับ      

Read More »

แก้ไข wordpress post แล้ว update ไม่ได้ แอดมินต้องแก้ไขอย่างไร

หลังจากย้าย WordPress site ไปลง ubuntu 16.04.1 ก็ได้เตรียมติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ แต่แล้วเมื่อลองจะแก้ไขบล็อก กลับทำไม่ได้ ขึ้นข้อความว่า “The sysadmin.psu.ac.th page isn’t working sysadmin.psu.ac.th is currently unable to handle this request. HTTP ERROR 500” เกิดอะไรขึ้นหล่ะ แล้วเราจะต้องทำอย่างไร ค้นหาเจอเว็บนี้ ที่บอกเราว่า ให้ลองเปิด DEBUG https://wordpress.org/support/topic/http-error-500-internal-server-error-whole-blog-is-down “So to understand where the reason of 500 error is I suggest go to wp-config.php in the root of your website and add there two lines: define(‘WP_DEBUG’, true); @ini_set(‘display_errors’, 1); After that you can see exactly place which linked with 500 error. After fixing I suggest return it how it was by default (only one line) define(‘WP_DEBUG’, false);” เมื่อใช้คำสั่งตรวจสอบ error.log ครั้งแรก ไม่เห็นอะไรเพิ่มเติม แต่พบ error 404 ของ plugin ที่ชื่อ WP Like Button ก็ลองปิด plugin นี้ดูเราจึงจะพบ error ก็เห็น error ต่าง ๆ ได้จากคำสั่งข้างล่างนี้ tail -f /var/log/apache2/error.log Fatal error: Uncaught Error: Class ‘DomDocument’ not found in /var/www/wordpress/wp-content/plugins/google-sitemap-plugin/google-sitemap-plugin.php:144 ค้นหาต่อว่าทำไมจึงขาด DomDocument ก็เจอเว็บนี้ https://blog.namran.net/2009/03/10/php-fatal-error-class-domdocument-not-found-in-blabla/ แนะนำว่า “the solution turn out to be yum install php-xml” ตรวจสอบดู เออนะ ไม่มี php-xml จริง ๆ ด้วย ด้วยคำสั่งนี้ dpkg -l | grep php-xml dpkg -l | grep php7.0-xml   ทีนี้เราก็ติดตั้ง php-xml ด้วยคำสั่ง sudo apt install php-xml จะได้ libxslt1.1 php-xml php7.0-xml ทำให้สามารถใช้งานได้ปรกติแล้ว ซึ่งในกระบวนการ post และ ppdate post นั้น ได้แก้ไข post ให้แล้ว เพียงแต่ว่ามันไปทำต่อที่ google-sitemap-plugin ไม่สำเร็จจึงแสดงเป็น error ออกมา ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ช่วยกันแก้ไขเรื่องนี้ด้วยกันด้วยครับ

Read More »