ประยุกต์ใช้ Dropbox ช่วยสำรองข้อมูลเว็บไซต์ และพัฒนาเว็บได้ทุกที่

แนวความคิดนี้จัดทำเพื่อตอบโจทย์และสนองความต้องการดังนี้ คือ สามารถจัดเก็บและสำรองข้อมูลเว็บไซต์ และสามารถแก้ไขไฟล์ได้ทุกที่ อำนวยความสะดวกให้กับโปรแกรมเมอร์ มีความคล้ายคลึงกับพวก sub version control, github แต่ไม่เหมือน เพราะมีข้อด้อยและข้อดีกว่าดังนี้ ข้อด้อย – ไม่มีการควบคุมในส่วนของเวอร์ชั่นของโค้ดโปรแกรม – ไม่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมเป็นทีม อาจจะทำได้แต่ต้องจัดการบริหารให้ดี ข้อเด่น – เหมาะสมกับนักพัฒนาคนเดียว การทำงานสะดวกกว่าพวก version control มาก – ทันทีที่แก้ไขไฟล์ จะอัพเดตไฟล์ทันที ในการเลือกใช้ Strange Clouds (บริการเก็บไฟล์บนกลุ่มเมฆ)  อย่าง Dropbox มีความเหมาะสมที่สุด เพราะสามารถติดตั้งได้ทุกระบบปฎิบัติการ แต่ทีจะสาทิตนี้จะใช้เป็น Ubuntu/Linux Mint  ดังมีขั้นตอนดังนี้

Read More »

แนวทางการ Backup บน Ubuntu Server (กรณีระบบ PSU EMail) #2

ขยายความต่อจาก แนวทางการ Backup บน Ubuntu Server (กรณีระบบ PSU EMail) ลองมาดูทีละขั้นตอน 1. ใน directory username.s มีไฟล์ดังนี้ $ ls -l username.s total 0 -rw-rw-r– 1 mama mama 0 2013-04-29 14:31 a.txt -rw-rw-r– 1 mama mama 0 2013-04-29 14:31 b.txt -rw-rw-r– 1 mama mama 0 2013-04-29 14:31 c.txt -rw-rw-r– 1 mama mama 0 2013-04-29 14:31 d.txt -rw-rw-r– 1 mama mama 0 2013-04-29 14:31 e.txt 2. ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อทำการ Full Backup tar -zcf username.s-full.tar.gz -g username.s.snar username.s ดูไฟล์ใน username.s-full-tar.gz ด้วยคำสั่ง tar -ztf username.s-full.tar.gz -g username.s.snar username.s จะมีไฟล์ดังนี้ username.s/ username.s/a.txt username.s/b.txt username.s/c.txt username.s/d.txt username.s/e.txt 3. ต่อมามีไฟล์เกิดใหม่ 2 ไฟล์ ชื่อ f.txt, g.txt 4. เมื่อถึงเวลา ระบบทำการ Incremental Backup ด้วยคำสั่ง tar -zcf username.s-i01.tar.gz -g username.s.snar username.s ดูไฟล์ใน username.s-i01-tar.gz ด้วยคำสั่ง tar -ztf username.s-i01.tar.gz -g username.s.snar username.s จะมีไฟล์ดังนี้ username.s/ username.s/f.txt username.s/g.txt 5. ลบไฟล์ c.txt, e.txt และมีไฟล์ h.txt เกิดขึ้น 6. เมื่อถึงเวลา ระบบทำการ Incremental Backup ด้วยคำสั่ง tar -zcf username.s-i02.tar.gz -g username.s.snar username.s ดูไฟล์ใน username.s-i02-tar.gz ด้วยคำสั่ง tar -ztf username.s-i02.tar.gz -g username.s.snar username.s จะมีไฟล์ดังนี้ username.s/ username.s/h.txt 7. (ในระบบ Email ไม่มีเหตุการณ์นี้ แต่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง) ถ้ามีการแก้ไขไฟล์ a.txt ซึ่งเดิมเป็นไฟล์ว่างๆ แต่ต่อมา มีการแก้ไขไฟล์ โดยเพิ่มคำว่า “hello world” เข้าไป echo “hello world” > username.s/a.txt 8. เมื่อถึงเวลา ระบบทำการ Incremental Backup ด้วยคำสั่ง tar -zcf username.s-i03.tar.gz -g username.s.snar username.s ดูไฟล์ใน username.s-i03-tar.gz ด้วยคำสั่ง tar -ztf username.s-i03.tar.gz -g username.s.snar username.s จะมีไฟล์ดังนี้ username.s/ username.s/a.txt หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

แนวทางการ Backup บน Ubuntu Server (กรณีระบบ PSU EMail)

เนื่องจากจะจัดทำระบบ Backup and Recovery ระบบ Mail ซึ่งทำงานอยู่บน Ubuntu จึงทำการรบรวมข้อมูล และหาแนวทางที่เหมาะสม   ก่อนจะตัดสินใจเลือก แผนการ Backup ที่เหมาะสม ก็ควรพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ด้วย [1] 1. WHY: จุดประสงค์การ Backup/Restore, ถ้าข้อมูลสูญหายจริงๆจะเกิดความเสียหายขนาดไหน ? 2. WHAT: สิ่งที่จะทำการ Backup, ทั้ง Hard Drive? หรือเป็นข้อมูลบางส่วน? 3. WHEN: เวลาที่ดีที่สุดที่จะ Backup, บ่อยขนาดไหน, จะทำการ Full/Incremental Backup เมื่อใดบ้าง ? 4. WHERE: เก็บ Backup ไว้ที่ใด, ในเครื่องนั้นๆ, เก็บไว้ภายนอก หรือใช้บริการ Cloud Storage 5. MEDIUM: สื่อที่ใช้จัดเก็บ, USB Stick, External HDD, Tape หรือ Backup Server   ประเภทของการ Backup [1] 1. Full: สำรองทุกสิ่งอย่าง 2. Incremental: สำรองเฉพาะสิ่งที่เพิ่มขึ้นมา นับจากการสำรองครั้งล่าสุด 3. Differential:  เหมือนกับ Incremental แต่เก็บเฉพาะไฟล์ที่ยังไม่ปรับค่า Archive bit (ในกรณี Windows Filesystem)   วิธีการ Backup : จากการสำรวจ พบว่าบน Ubuntu มีเครื่องมือ และวิธีการให้ใช้มากมาย เช่น SimpleBackupSuite, grsync, pybackpack หรือที่ติดมาพร้อมกับ Ubuntu Desktop อย่าง Déjà Dup [1] แต่เครื่องมือเหล่านี้เหมาะสำหรับการใช้งานแบบ Desktop Computer มากกว่า แต่ในระบบ Mail Server ซึ่งมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก และเป็นของผู้ใช้จำนวนมาก (ในระบบมีผู้ใช้รวม 6000 คน) จึงควรต้องมีการทำงานที่ยืดหยุ่นกว่า และสามารถปรับแต่งตามต้องการได้ จึงพิจารณาใช้ tar เพื่อทำการ Full [2] และ Incremental Backup [3] แล้วจึงใช้ rsync ส่งไฟล์ไปเก็บไว้ที่ Backup Server ต่อไป   ในกรณี PSU Email มีลักษณะดังนี้ 1. เก็บ email แต่ละฉบับเป็นแบบไฟล์ ไฟล์ขนาดเล็กๆ 2. ไม่มีการเขียนทับไฟล์เดิม (เว้นแต่ Index ของ Mailbox ซึ่งไม่จำเป็นนัก เพราะ ต้อง rebuild ใหม่เมื่อทำการ restore) 3. เมื่อมี email ใหม่เข้ามา จะทำการสร้างไฟล์ใหม่ โดยแต่ละไฟล์จะเป็นตัวเลข เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ซ้ำเดิมแน่นอน 4. เมื่อผู้ใช้สามารถ สร้าง และ rename ชื่อ directory ได้ พิจารณาคำถามข้างต้น แล้วให้ตำตอบ WHY: เพื่อสำรอง email ไว้ให้ ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ใช้ลบ email ไปโดยไม่ตั้งใจ WHAT: email อยู่บน disk แยกออกไป, ทำการสำรองเฉพาะไฟล์ใน directory จัดเก็บ ซึ่งใช้เนื้อที่รวม 600 GB ซึ่งเป็นของผู้ใช้ในระบบ 6,000 คน, ข้อมูลมีลักษณะเป็นไฟล์ขนาดเล็กจำนวนมาก และมีการเพิ่มและลดจำนวน แต่ไม่มีการแก้ไขไฟล์, มีการเพิ่ม/ลบ/เปลี่ยนชื่อ directory WHEN: จากสถิติการใช้งาน พบว่า ผู้ใช้ใช้งานน้อยที่สุดหลังเวลา 03:00 ของทุกวัน

Read More »