[Google Calendar] วิธีตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

โดยค่าเริ่มต้น ปฏิทิน (Calendar) ของทุกคนในองค์กร จะตั้งค่าให้สามารถเห็นรายละเอียดของเหตุการณ์ (Event) ได้ จากตัวอย่าง ด้านขวามือ เป็นปฏิทินของ Boss ด้านซ้ายมือ เป็นปฏิทินของ Staff คนหนึ่ง เมื่อ Staff เรียกดูปฎิทินของ Boss จะเห็นรายละเอียดต่างๆได้ เมื่อสร้างเหตุการณ์ (Event) ใหม่ เช่น “10:00-12:00 หมอนัดตรวจ” ให้ตั้งค่า Show me as ⇒ Busy Visibility ⇒ Private ผลทำให้เฉพาะ Event นี้ มีความเป็นส่วนตัว หากต้องการให้ทั้งปฏิทิน เป็นส่วนตัว ให้คลิกที่ Share this calendar เลือก See only free/busy (hide details) แล้วคลิก Save ผลทำให้ทั้งปฏิทินนี้ มีความเป็นส่วนตัวทั้งหมด

Read More »

[Google Calendar] วิธีหาเวลาว่างที่ตรงกัน สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมหลายๆคน

ใน Google Calendar สร้าง Event ใหม่ ตั้งชื่อ และกำหนดเวลาที่ต้องการ เช่น ต้องการเวลาประชุม 2 ชั่วโมง เชิญผู้เข้าร่วมประชุม โดยใส่ Email Address ทีละคน หรือ ใส่ชื่อ Group ใน Contact หรือ ใส่ชื่อ Google Groups ที่สร้างไว้ก็ได้ คลิก Find a time เพื่อหาเวลาว่างที่ตรงกัน คลิกที่ Day หากเวลาที่ตั้งไว้ตอนแรกชนกับนัดของคนอื่น ก็สามารถเลื่อนไปมา เพื่อหาเวลาที่ลงตัวได้ หากในวันดังกล่าว ไม่มีเวลาว่างตรงกันเลย ให้คลิกที่ Weekเพื่อหาเวลาว่างในวันอื่นๆได้  

Read More »

ได้นามบัตรมา จะแปลงเป็น Google Contact ได้อย่างไร

เจ้านายได้นามบัตรมามากมาย ครั้นจะต้องพกไปไหนมาไหนตลอดคงไม่สะดวก ค้นหาก็ยาก เลขาอย่างเราจะช่วยอย่างไรดี ? ขั้นตอนการมอบหมาย (Delegate) การจัดการ Contact ให้เลขา จาก Google Mail คลิก Apps แล้วคลิก Contact คลิก More คลิก Manage Delegation Settings ใส่ email address ของเลขา แล้วคลิก Send จาก Google Drive Apps บน Smart Phone เปิด Folder ที่ตกลงกันไว้ แล้วคลิก + เลือก Upload ภาพนามบัตร เลขา สามารถดูภาพจาก  Google Drive คลิก Shared with me เปิด Folder ที่ตกลงกันไว้ คลิก Apps แล้วคลิก Contact คลิก ชื่อของเจ้านาย(ใต้ Delegated Contacts) แล้วคลิก NEW CONTACT ใส่ชื่อ และรายละเอียดต่างๆ แล้วคลิก Saved Now

Read More »

วิดีโอแนะนำการติดตั้ง PSU12-Sritrang Server โปรแกรมสำหรับการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ (cloning & control PC)

วิดีโอแนะนำการติดตั้ง PSU12-Sritrang Server โปรแกรมสำหรับการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ (cloning & control PC) โดย  Wiboon Warasittichai on youtube 01 PSU12-sritrang install (ตอนที่ 1 วิธีติดตั้ง) https://youtu.be/GAhZhGCciY0 02 PSU12-sritrang cloning (ตอนที่ 2 วิธีโคลนนิ่งฮาร์ดดิสก์) https://youtu.be/CegdT_LtE4k 03 PSU12-sritrang features (ตอนที่ 3 คุณสมบัติของแต่ละเมนู) https://youtu.be/Dw_wAyMa3vA 04 PSU12-sritrang control (ตอนที่ 4 การควบคุมเครื่องวินโดวส์ send, restart, shutdown, wakeonlan) https://youtu.be/o801BZ9ye0Y 05 PSU12-sritrang prnews (ตอนที่ 5 ประชาสัมพันธ์ข่าวด้วยภาพ เมื่อ boot from network) https://youtu.be/FA2X182oKXo 06 PSU12-sritrang windows master (ตอนที่ 6 เตรียมวินโดวส์ต้นฉบับที่ติดตั้ง cygwin) https://youtu.be/9XkLQQ-niz4 07 PSU12-sritrang windows computer name (ตอนที่ 7 เปลี่ยนชื่อเครื่อง) https://youtu.be/TuW8_Z2U7V4 08 PSU12-sritrang windows pgina freeradius (ตอนที่ 8 ตั้ง login ใช้ RADIUS server) https://youtu.be/58Pw-dbxljw 09 PSU12-sritrang windows partitions (ตอนที่ 9 เตรียมฮาร์ดดิสก์ของวินโดวส์ต้นฉบับ) https://youtu.be/jP4oSqRNvCo 10 PSU12-sritrang linuxmint master (ตอนที่ 10 เตรียมลินุกซ์มินท์ต้นฉบับ) https://youtu.be/zpR0UQbTy_U 11 PSU12-sritrang control linuxmint (ตอนที่ 11 การควบคุมเครื่องลินุกซ์มินท์) https://youtu.be/bVtfc4x-kKU 12 PSU12-sritrang server backup (ตอนที่ 12 สำเนาไฟล์เก็บไว้) https://youtu.be/dA7-pWjy35I และมีเอกสารแนะนำอยู่ที่ http://opensource.psu.ac.th/PSU-Open-server

Read More »

iTALC 2.0.2 โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน

มาแนะนำกันอีกสักรอบสำหรับ iTALC 2.0.2 โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน เป็นซอฟต์แวร์ชนิดโอเพนซอร์สที่บางคนก็ได้ลองใช้ในเวอร์ชั่นแรก ๆ ไปบ้างแล้ว ผมลองเข้าไปดูในเว็บไซต์ผู้สร้างโปรแกรมก็เห็นว่ายังคงอัปเดตปรับปรุงโปรแกรมกันอยู่ถึงปัจจุบัน ก็เลยสนใจลองทดสอบดูครับ iTALC ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น ผู้สอนสามารถ Lock หน้าจอเครื่องผู้เรียน สามารถส่งภาพหน้าจอเครื่องผู้สอนไปยังหน้าจอเครื่องผู้เรียนได้ สามารถรีโมทคอนโทรลเข้าไปเครื่องผู้เรียนได้ สั่งปิดเครื่องทุกเครื่องได้ หรือ สั่งเปิดเครื่องได้หาก BIOS พร้อมใช้งาน ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://italc.sourceforge.net/ ติดตั้งเสร็จจะได้ไอคอนที่หน้า Desktop ดังรูป และไอคอนที่หน้า Apps ดังรูป โปรแกรม iTALC Management Console เครื่องผู้สอน จะเรียกว่า master computer ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องผู้สอน ให้เลือก component iTALC service และ iTALC master และให้เลือก Create new access keys เครื่องผู้เรียน จะเรียกว่า client computer ในขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมที่เครื่องผู้เรียน ให้เลือก component iTALC service แต่ไม่เลือก iTALC master และให้เลือก Import public key วิธีที่จะทำให้เครื่องผู้สอนควบคุมเครื่องผู้เรียนได้ก็คือการ export public key ซึ่งจะได้ไฟล์ชื่อ italc_public_key.key.txt ด้วยโปรแกรม iTALC Management Console นั้นเช่นกัน แล้วนำไปใส่เข้าในเครื่องผู้เรียนด้วยโปรแกรมเดียวกัน เมื่อทำขั้นตอนติดตั้งเสร็จแล้ว ก็เป็นการตั้ง classroom ว่าชื่ออะไร และมีคอมพิวเตอร์ใดบ้าง (IP) อยู่ใน classroom นี้ แล้วก็ใช้งานซึ่งการใช้งานง่ายมากเลย ผมเขียนวิธีการสำหรับ Windows 8.1 ที่นี่ครับ http://opensource.cc.psu.ac.th/โปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน และวิธีการสำหรับ Linux Mint 17.1 ที่นี่ครับ http://opensource.cc.psu.ac.th/ติดตั้ง_iTALC_บน_Linux_Mint คำถามยอดฮิตคือ แล้วมันใช้ควบคุมได้กี่เครื่อง อันนี้ผมยังไม่ได้ทดสอบครับ ฮ่า ฮ่า รอท่านทดสอบแล้วบอกผมด้วยนะครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์ อย่างน้อยที่สุดเอามาใช้ควบคุมเครื่องที่อยู่ในความดูแลไม่กี่เครื่องก็ใช้ได้นะ

Read More »